Cragside Primary School (โรงเรียนประถมแครกไซด์) จัดการผู้เรียนบนความหลากหลายและไม่มีเด็กหลุดจากระบบการศึกษา

Share on

 430 

จากบทความก่อนหน้าที่พาไปดูกระบวนการผลิตครูที่มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล จุดเริ่มต้นที่เชื่อมโยงมาถึงบริบทของโรงเรียนฝึกปฏิบัติการสอนจริงของนักศึกษาครูของ ม.นิวคาสเซิล บทความนี้จะพาไปเยี่ยมชมการทำงานครูโรงเรียนประถมในเมืองนิวคาสเซิล ความน่าสนใจของโรงเรียนแห่งนี้มีคล้ายคลึงกับโรงเรียนของกรุงเทพมหานคร และมีส่วนผสมของโรงเรียนเรียนปลายทางของครูรัก(ษ์)ถิ่น ในพื้นที่ห่างไกลมีความหลากหลายชาติพันธุ์และภาษาแม่มากกว่า 2 ในการสื่อสาร

“Cragside” เป็นโรงเรียนประถมตั้งอยู่ย่าน High Heaton (ไฮฮีตัน) เมืองนิวคาสเซิล โรงเรียนสหศึกษาที่มีนักเรียนประมาณ 400 กว่าคน มีอัตราครู 1 คน ต่อนักเรียน 25 คน นักเรียนมีความหลากหลายด้านประชากร ภาษาพูดมากกว่า 40 ภาษา และฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง

 

ความโดดเด่นของ Cragside Primary School

ผู้บริหารและครู

  • ผู้บริหารมีภาวะผู้นำทางวิชาการ ใช้งานวิจัย (Research) พัฒนากระบวนการเรียนการสอน และการบริหารจัดการ
  • การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ (Continuing Professional Development (CPD))  พัฒนาความรู้ครูให้เท่าทันโลก จัดการอบรมภายในเพื่อเพิ่มทักษะ หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ โดยใช้งบประมาณที่โรงเรียนจัดตั้งและจากท้องถิ่น
  • มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ระหว่างโรงเรียนที่มีขนาดและบริบทต่างกัน ที่เรียกว่า “School Buddy” เป็นการทำงานแบบ Critical Friend Conversation โดยเน้นคำแนะนำฉันท์เพื่อนที่สร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์

การจัดการเรียนการสอน

  • การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) ทำงานร่วมกับเครือข่ายครูในหลากหลายภูมิภาค ทั้งงานวิจัย การพัฒนาหลักสูตร และพัฒนาผู้เรียน 
  • ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอย่าง  PLC (Professional Learning Community) ครอบคลุมทุกกระบวนการ ทั้งงานวิชาการ การพัฒนานักเรียน และการพัฒนาครู 
  • การเรียนการสอนแบบ High Functioning Classroom 
  1. เน้นกระบวนการคิดมากกว่าคำตอบ อย่างไร (How) และทำไม (Why)
  • วิธีต่างกันผลลัพธ์เหมือนกัน 
  • อภิปรายประเด็นร่วมกัน 
  • เปิดพื้นที่ให้เด็กแสดงความคิดเห็น
  1. รู้จักลักษณะนิสัยความสามารถของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อจัดการสอนให้สอดคล้องกับศักยภาพของนักเรียน

3.Peer learning ใช้ความเป็นเพื่อนที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ ทำให้เด็ก เปิดใจเรียนรู้ง่ายขึ้น

  • สร้างความเท่าเทียมให้เกิดในห้องเรียน 

เด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถเรียนร่วมชั้นกับเพื่อนได้อย่างราบรื่น โดยที่เด็กไม่รู้สึกแตกต่างหรือแบ่งแยก ให้โอกาสเรียนรู้อย่างเต็มที่สามารถแสดงความคิดเห็นหรือตอบคำถามในชั้นเรียนได้ทัดเทียมกับเพื่อนร่วมชั้น

การใช้หลักเศรษฐกิจแบบองค์รวม (Inclusive Economy)

เมืองนิวคาสเซิล มีเด็กกว่า 42% เป็นเด็กยากจน ภาครัฐจึงดำเนินยุทธศาสตร์ที่เน้นการขับเคลื่อนการศึกษาไปพร้อมกับเศรษฐกิจแบบองค์รวม  (Inclusive Economy) เป็นระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เน้นให้ทุกภาคส่วนให้สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ ต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง โดยกำหนดเป้าหมายความช่วยเหลือไปยังผู้ที่ไม่ได้รับโอกาสในการเข้าถึงการจ้างงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม โดยส่งเสริมความเสมอภาคให้ผู้ที่ด้อยโอกาสกว่ามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

  • สร้างความเท่าเทียมด้วยสวัสดิการ ผู้ปกครองเข้าถึงสิทธิประโยชน์ สวัสดิการที่ควรได้รับ
  • ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง ให้รู้สึกว่าการศึกษาของบุตรหลานต้องไม่ใช่การเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย

ผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงานโดยใช้เศรษฐกิจแบบองค์รวม  (Inclusive Economy) ทำให้อัตราเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาของโรงเรียนประถมแครกไซด์เป็นศูนย์ (Zero Dropout)

ชุมชน 

  • ด้วยเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของภาษาและวัฒนธรรม ทางโรงเรียนจึงใช้ศิลปะและวัฒนธรรมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในชุมชน

เด็กและครอบครัว

  • การศึกษาต้องไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง โรงเรียนจึงมีการแนะนำสิทธิและสวัสดิการของรัฐให้ผู้ปกครองทราบอยู่เสมอ 
  • ให้ความสำคัญแฟ้มประวัติ (Portfolio) ของเด็ก โดยเก็บรวบรวมด้านพฤติกรรม ข้อมูลเชิงวิชาการ เป็นพอร์ต ฯ ประจำตัวเพื่อส่งต่อกับโรงเรียนที่เด็กจะไปศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษา
  • การพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ (Leaning Outcome) เป็นการทำงานร่วมกับครอบครัวของเด็กโดยตรง มีการพูดคุยและให้คำปรึกษาถึงค่าใช้จ่าย สิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่าง ๆ 

กุญแจความสำเร็จ (Key of Success) 

  • การทำงานแบบกระจายอำนาจ ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องคือส่วนสำคัญในการร่วมพัฒนาโรงเรียน
  • เน้นการทำงานร่วมกัน โดยปราศจากความขัดแย้ง สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างครู นักเรียน ผู้ปกครอง และเครือข่าย 
  • ทุกความคิดเห็นสำคัญ เปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วม ภาคี และเครือข่าย 
  • มีความยืดหยุ่น ในการบริหารงาน มีแผน A B ที่ปรับใช้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น  
  • จัดทำแผนการทำงาน ไล่ลำดับความสำคัญ  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด 

5 อุปนิสัยแห่งการเรียนรู้ที่บรรจุอยู่ในหลักสูตรของโรงเรียนประถมแครกไซด์ (Cragside Primary School)

ที่โรงเรียนแครกไซด์เน้นหลักสูตรที่ส่งเสริม 5 อุปนิสัยแห่งการเรียนรู้ที่ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ คิดค้น ทดลอง เติบโต กล้าเสี่ยง แหกกฎ กล้าลองผิดลองถูก และเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน ช่วยเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจในการเรียนได้อย่างลึกซึ้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถอดรหัสระบบผลิตและพัฒนาทักษะครู “มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล”

อ่านบทความ 8 ปัจจัยที่ส่งเสริมห้องเรียนประสิทธิภาพสูง (High Functioning Classroom)

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า