โครงการวิจัยและพัฒนาแนวทางการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน – ในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

โครงการวิจัยและพัฒนาแนวทางการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

สำนักพัฒนาคุณภาพครูและสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดำเนินงานโครงการรวิจัยและพัฒนาแนวทางการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน ในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง หรือโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) มีเป้าประสงค์ที่จะสนับสนุนให้ครูในโครงการใช้การประเมินเพื่อพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ซึ่งเป็นเครื่องมือในลักษณะที่ครูเป็นผู้พัฒนา (Teacher-developed Tool) และเป็นแบบทดสอบมาตรฐาน (Standardized Test) ประเภทอิงกลุ่ม (Norm-referenced Test) ที่มาจากกระบวนการพัฒนาเครื่องมือร่วมกันระหว่างครูและผู้เชี่ยวชาญทั้งผลการเรียนรู้ด้านทักษะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามกรอบ Core Learning Outcomes ที่ กสศ. กำหนดไว้ เพื่อที่จะทำให้ทราบถึงพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนตลอดช่วงปีของการดำเนินโครงการ TSQP ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้วางแผนการสอนที่เหมาะสมกับพื้นฐานของผู้เรียน

วัตถุประสงค์

1) สังเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตาม Core Learning Outcomes

2) พัฒนากรอบการประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตาม Core Learning Outcomes และเครื่องมือประเมินเพื่อพัฒนา ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม

3) ติดตามการนำเครื่องมือประเมินเพื่อพัฒนาไปใช้ในห้องเรียน

4) ถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาเครื่องมือ การปรับเครื่องมือ และแนวทางประเมินเพื่อพัฒนา

ระยะเวลาการดำเนินงาน

ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายในการร่วมพัฒนาเครื่องมือ ได้แก่

(1) ครูแกนนำจากโรงเรียนในโครงการ TSQP จำนวน 90 คน (จากโรงเรียนแกนนำ 30 แห่ง ๆ ละ 3 คน โดยกำหนดให้เป็นช่วงชั้นละอย่างน้อย 1 คน) มีบทบาทหน้าที่คือร่วมพัฒนาเครื่องมือประเมินเพื่อพัฒนา รวมถึงนำเครื่องมือไปใช้

(2) ผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการ TSQP จำนวน 30 คน (จากโรงเรียนแกนนำ 30 แห่ง) มีบทบาทหน้าที่คือ ร่วมพัฒนาเครื่องมือประเมินเพื่อพัฒนา รวมถึงสนับสนุนให้ครูนำเครื่องมือไปใช้

(3) เครือข่ายพัฒนาโรงเรียนในโครงการ TSQP จำนวน 15 คน (จาก 5 เครือข่าย ๆ ละ 3 คน) มีบทบาทหน้าที่คือ มีส่วนร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมการเรียนรู้ที่เครือข่ายใช้ ข้อมูลเกี่ยวกับ Core Learning Outcomes พฤติกรรมบ่งชี้และคุณลักษณะของผู้เรียนที่คาดหวังรวมถึงร่วมพัฒนาเครื่องมือประเมินเพื่อพัฒนา

(4) ผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น ศึกษานิเทศก์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการทดสอบผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมิน เป็นต้น

พื้นที่ดำเนินการ

โรงเรียนแกนนำในโครงการ TSQP รุ่นที่ 1 ที่มีระดับการเปลี่ยนแปลงด้านทักษะครูมาก จำนวน 30 แห่งจาก 5 เครือข่ายร่วมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายในโรงการ ที่ครอบคลุมทั้ง 4 ภูมิภาค

ผลการวิจัยและองค์ความรู้จากการดำเนินงานโครงการ รายละเอียดตามไฟล์แนบ

1. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

2. สื่อ Infographic สรุปความรู้

3. คู่มือการประเมินเพื่อพัฒนา

4. คู่มือการปรับเครื่องมือประเมินเพื่อพัฒนาให้เหมาะสมกับห้องเรียน

 7,787 

Writer

5 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

โปรดกรอกข้อมูลเพื่อรับไฟล์เอกสาร

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการ TDRI กสศ.

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า