พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาภูเก็ตกับทิศทางการศึกษาโลก

Share on

 319 

การบรรยายในครั้งนี้เป็นการมองพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของจังหวัดภูเก็ตที่ไปเชื่อมกับแนวทางการศึกษาโลก เมื่อประมวลทั้งหมดแล้วประเด็นสำคัญ ๆ ที่ ศ. นพ.วิจารณ์ พานิช เรียกว่า “มรรค 8” 8 ประเด็นสำคัญแนวทางการศึกษาของจังหวัดภูเก็ตที่จะไปเชื่อมต่อกับทิศทางการศึกษาโลก

มรรค 8 ในมุมมองด้านการศึกษานั้นประกอบด้วย 

  1. “ครู” เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ครูถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบการศึกษาทั้งโลก ครูนั้นต้องเป็นผู้นำในเรื่องการเปลี่ยนแปลงการศึกษา หน่วยงานที่สนับสนุนการทำงานของครูต้องเน้นการขยายขีดความสามารถให้ครูเป็นผู้ริเริ่มและมีอิสระในการทำงาน ครูต้องเป็นผู้สร้างความรู้ เป็นกระบวนกร และผู้แนะนำให้นักเรียนเข้าใจความจริงที่ซับซ้อน ครูต้องได้รับการสนับสนุนให้เปลี่ยนหน้าที่จากผู้ถ่ายทอดความรู้ เป็นครูผู้หนุนศิษย์ให้สร้างสมรรถนะใส่ตน เปลี่ยนปฏิสัมพันธ์แนวดิ่งและทางเดียว เป็นปฏิสัมพันธ์แบบร่วมมือกัน ครูทำหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ความสงสัย และความอยากรู้ ทำหน้าที่หนุนศิษย์สร้างขีดความสามารถ ความสนุก และความมีวินัยในการแก้ปัญหาใส่ตัว ส่งเสริมให้ออกแบบและจัดการหลักสูตร รวมทั้งดำเนินการปรับและจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของนักเรียน

อ.วิจารณ์ พานิช หยิบยกประเด็นจากเวทีการประชุมสุดยอดทางการศึกษา Transforming Education Summit ที่จัดเมื่อ 20 กันยายน 2565  ที่นายอันโทนิโอ กุเตอเรส เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวเปิดงานและให้วิสัยทัศน์ถึงเรื่องการพัฒนาการศึกษาใน 3 ประเด็นที่สำคัญ 

– ความเสมอภาค & ความสอดคล้อง (Equity & Inclusion)

– คุณภาพ (Quality)

– สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และสังคม (Relevance)

นายอันโทนิโอ กุเตอเรส ได้แสดงวิสัยทัศน์เรื่องการพลิกโฉมการศึกษาที่ความไม่แน่นอนของการเมือง นั้นมีปัจจัยสำคัญ 4 ด้านเพื่อแสดงให้เห็นว่าวิกฤตการศึกษานั้นส่งผลกระทบต่อทุกคน 

1) เปลี่ยนเป้าหมายศึกษาและเนื้อหาการศึกษาสำหรับศตวรรษ 21 ที่ไม่ใช่แค่เรียนแค่รู้ (No learn to know)

  • เรียนรู้เพื่อเรียนรู้ (Learn ot learn)
  • เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน (Learn to live together)
  • เรียนรู้เพื่อปฏิบัติ (Learn to do)
  • เรียนรู้ที่จะเป็น (Learn to be)

2) พลิกโฉมระบบการศึกษาเพื่อให้ถึงเป้าประสงค์ที่สูงขึ้น

  • เปลี่ยนสภาพแวดล้อมการศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคน
  • หนุนเสริมครูผู้เป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาสามารถพลิกโฉมให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
  • พัฒนาดิจิทัลสำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของการศึกษาสาธารณะ

3) ลงทุนให้เพื่อให้เกิดความเสมอภาคเพื่อให้เกิดประสิทธิผลด้านการศึกษาที่ดียิ่งขึ้น

4) ผู้นำต้องร่วมมือกันรักษาคำมั่นสัญญาในการดำเนินนโยบายด้านการศึกษา

  1.  เป้าหมายการศึกษามีความซับซ้อน ซึ่งหมายความว่าเป้าหมายผลลัพธ์ของการเรียนรู้มีหลายแบบ อ. วิจารณ์ ได้สรุปถึงเป้าหมายที่ซับซ้อนนั้นต้องตีความผ่านการปฏิบัติ ซึ่งในเวทีการประชุมสุดยอดทางการศึกษา Transforming Education Summit ได้พูดถึงผลลัพธ์การเรียนรู้ไว้ 4 ประการ 
  1. เรียนรู้เป็น (Learn to learn)
  2. อยู่กับคนอื่นเป็น (Learn to live together)
  3. ทำเป็น (Learn to do)
  4. ดำรงตนเป็น (Learn to be)

ซึ่งใน 4 ข้อดังกล่าวด้านนั้น อ.วิจารณ์นั้นเห็นว่าเพียง 4 ข้อนี้ยังไม่ครอบคลุมเรื่องผลลัพธ์การเรียนรู้ จึงเสนอข้อที่ 5 เพื่อให้ครบลูปผลลัพธ์การเรียนรู้

  1. เปลี่ยนขาดตนเอง (Learn to transform) เพราะการพลิกโฉมในเรื่องการศึกษาไม่ใช่แค่เส้นตรงเชื่อมจุด ก. ไป ข. แต่เป็นวงจรที่ยกระดับการเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ ที่นักเรียนต้องเข้าใจการเดินทางแห่งชีวิต ต้องเปลี่ยนตนเองจากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงได้ 

อ.วิจารณ์ยังได้กล่าวถึงผลลัพธ์การเรียนรู้ในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้เห็นภาพผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้นั้นมีความซับซ้อนนั้นมีผลลัพธ์เป็นจำนวนมากซึ่งได้นำเสนอบนเวทีเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการศึกษาไว้นี้ดังนี้

  • เป้าหมายของการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Learning) : สมอง หัวใจ (จิตวิญญาณ) ลงมือทำ(Holistic Learning)  โดย อ.วิจารณ์ได้ยกตัวอย่างบนเวทีถึงทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เวที World Economic Forum (WEF) ที่ได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการของตลาดแรงงาน ได้ผลสรุปจำนวน 16 ทักษะโดยแบ่งออกเป็นใน 3 ด้านสำคัญดังนี้ 
  1. Foundational Literacies — กลุ่มทักษะพื้นฐาน ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จำนวน 6 ทักษะ การอ่านออกเขียนได้ (Literacy) ทักษะด้านการคำนวณ (Numeracy)  ทักษะด้านเทคโนโลยี (ICT Literacy) ทักษะด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) ทักษะด้านวัฒนธรรมและพลเมือง (Cultural & Civic Literacy) และทักษะบริหารด้านการเงิน (Financial Literacy)
  2. Competencies — กลุ่มทักษะเพื่อแก้ปัญหา จำนวน 4 ทักษะ เป็นทักษะที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และจัดการกับปัญหา (Critical Thinking & Problem Solving) ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และทักษะด้านการสื่อสาร (Communication) และทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration) 
  3. Character Qualities —  กลุ่มทักษะที่ใช้ในการจัดการตัวเองกับสภาพแวดล้อม จำนวน 6 ทักษะ ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) การริเริ่มสร้างสรรค์ (Initiative) ความวิริยะและความมุ่งมั่น (Persistence/Grit) ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ความเป็นผู้นำ (Leadership) และความตระหนักในด้านสังคมและวัฒนธรรม (Social & Cultural Awareness)

ที่มา:  Fostering Social and Emotional Learning through Technology, World Economic Forum March 2016

กรอบแนวคิดสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21

                                ที่มา: https://www.battelleforkids.org/networks/p21

กรอบแนวคิดสำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นที่ยอมรับในการสร้างทักษะการเรียนรู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางเนื่องด้วยเป็นกรอบแนวคิดที่เน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับนักเรียน ทั้งในด้านความรู้สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ทักษะชีวิตและวิชาชีพ (Life and Career Skills) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) และทักษะสื่อสารนิเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills) ที่จะช่วยนักเรียนได้เตรียมความพร้อมในหลากหลายทักษะที่จำเป็นต้องการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ได้แก่มาตรฐานและการประเมิน หลักสูตรและการเรียนการสอน การพัฒนาเพื่อความเชี่ยวชาญ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้

  • Integrated Learning : VASK การบูรณาการการเรียนรู้ VASK ส่งเสริมให้นักเรียนสร้างและพัฒนาสมรรถนะตนเอง (Competenices) ใน 4 ด้านผสมกลมกลืนกัน แต่การศึกษาไทยให้ความสำคัญกับด้านทักษะและความรู้ โดยครูนั้นต้องเสริมการพัฒนานักเรียนในด้าน ค่านิยมและเจตคติให้มากขึ้นเสมือนเข็มทิศชีวิตไม่ให้ยึดถือค่านิยมที่ชั่วร้าย เป้าหมายการเรียนรู้ ต้องเป็นของนักเรียน ครูมีหน้าที่ช่วยจัดกระบวนการให้นักเรียนร่วมกันกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้  นอกจากนั้นนักเรียนต้องทบทวนเป้าหมายเป็นระยะ ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าเข้าใจเป้าหมายการเรียนรู้ที่แท้จริง
    • Values ค่านิยม
    • Attitude เจตคติ
    • Skills ทักษะ
    • Knowledge ความรู้

หลักสูตรฐานสมรรถนะ คิดได้ ทำเป็น เห็นคุณค่า ด้วยสมรรถนะทั้ง 6 ด้าน
ที่มา: https://cbethailand.com/

นอกจากตัวอย่างด้านบนที่ อ. วิจารณ์ ได้กล่าวมานั้นยังมีประกอบด้วยผลลัพธ์ของการเรียนรู้ในด้าน Experiential & Reflective Learning โดยยกตัวอย่างวงจรการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning Cycles) ที่คิดค้นโดย David Kolb เน้นทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญในวงจรใน 4 ด้าน ที่ต้องทำให้นักเรียนสะท้อนคิดเป็น

  • ทักษะการเรียนรู้การสร้างประสบการณ์ (Concrete Experience) ประสบการณ์จากการลงมือทำ
  • ทักษะการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) ที่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่แท้จริง 
  • ทักษะการตกผลึกหลักการเชิงนามธรรม (Abstract Conceptualisation) จากประสบการณ์หรือการปฏิบัติ เป็นการเรียนรู้ที่สะท้อนการตกผลึกหลักการเพื่อนำไปสู่ขั้นต่อไป 
  • ทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้ (Active Experimentation)

เพื่อให้เกิดการสะท้อนคิดว่าเห็นหรือตกผลึกได้หลักการอะไร 

เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้อีกอย่างที่สำคัญในการสร้าง 7 แกนพัฒนาตัวตนของนักเรียนตามทฤษฎีของนักคิดชื่อว่า Arthur Wright Chickering ที่โรงเรียนต้องหนุนให้นักเรียนเกิดการสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง รู้ว่าตนเองเป็นใคร ต้องการเป็นคนแบบไหน ต้องการมีชีวิตแบบไหน รู้ว่าตนเองมีจุดอ่อน-จุดแข็งตรงไหน เคารพตัวเอง มั่นใจตนเองและเคารพผู้อื่น ให้เกียรติผู้อื่นเป็น เป็นความท้าทายอย่างยิ่งที่ครูจะทำอย่างไรให้เด็กเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สร้างตัวตนที่มีคุณค่าได้

 7 แกนพัฒนาตัวตนของนักเรียน (Chickering’s Seven Vectors)

  1. สมรรถนะ (Developing Competence)
  2. จัดการอารมณ์ (Managing Emotions)
  3. ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ  (Moving Through Autonomy to Interdependence)
  4. การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เติบโตขึ้น  (Developing Mature Interpersonal Relationship)
  5. สร้างอัตลักษณ์ (Establishing Identity)
  6. จุดมุ่งหมายในชีวิต (Developing Purpose)
  7. ความมั่นคงในคุณธรรม (Developing Integrity)
  1.  ต้องคำนึงถึงความต้องการที่แตกต่างหลากหลาย นักเรียนนั้นมีความแตกต่างกันครูผู้สอนต้องเข้าใจความแตกต่างที่หลากหลายที่เกิดขึ้น โดย
  • การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่หนุนการพัฒนาของนักเรียนทุกคน 
  • ใช้พหุปัญญา (Multiple Intelligence) หนุนนักเรียนให้สร้างเอกลักษณ์ ความมั่นใจในตนเอง และเคารพผู้อื่น
  • เอาใจใส่นักเรียนรายคนซึ่งเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครู
  • ทุกคนบรรลุเกณฑ์ขั้นต่ำของผลลัพธ์ทางการเรียนรู้
  • เอาใจใส่สภาพแวดล้อมนอกโรงเรียนความแตกต่างหลากหลายของสภาพแวดล้อม นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาครูสามารถนำองค์ความรู้รอบ ๆ มาจัดการเรียนรู้เสริมได้
  1.  เรียนรู้เชิงรุกให้ห้องเรียนที่เป็นที่เรียนรู้ที่มีสมรรถนะสูง (High Functioning Classroom) เด็กเรียนรู้จาก การปฏิบัติและเกิดการสะท้อนคิดมากขึ้น
  • นักเรียนร่วมตั้งเป้าหมาย ร่วมออกแบบ ร่วมจัดการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในการวัดผล
  • การเรียนรู้ที่ดีนักเรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ ครูสร้างกุศโลบายให้เด็กมีส่วนร่วม ส่วนครูทำหน้าที่เป็นโค้ช
  • เรียนสนุกสนานเพลิดเพลินและสอดแทรกความรู้เข้มข้นไปพร้อมกัน
  • นักเรียนทุกคนต่างมีส่วนร่วมทำกิจกรรม ไม่ทิ้งให้ใครโดดเดี่ยวทางการเรียนรู้
  • นักเรียนร่วมกันสร้างสมรรถนะใส่ตัว ครูมีหน้าที่เป็น FA ส่งเสริมนักเรียน ทุกครั้งที่มีกิจกรรมต้องมีการสะท้อนคิด
  • ครูต่างเป็น co-educators สวมบทบาทนักเรียนร่วมเรียนรู้ด้วย เรียนรู้จากพฤติกรรมนักเรียนรายคน
  1.  เรียนกับประเมินบูรณาการเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน
  • AfL – Assessment for Learning = การประเมินเพื่อหนุนการเรียนรู้ เพื่อให้ฟีดแบ็คเชิงบวก (Constructive Feedback)
  • AaL – Assessment as Learning =  ฝึกประเมินตนเองและประเมินเพื่อน (Peer Assessment)
  • AoL – Assessment of Learning =  ครูและโรงเรียนประเมินเป็น (Summative Evaluation) เพื่อวัดผลและคุณภาพ
  1.  ครูเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในชั้นเรียนร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันกับศิษย์ 
  • การทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR) กันในวง PLC ของ โรงเรียน
  • ครูช่วยกันเก็บเกี่ยวประสบการณ์โดยเข้าสังเกตชั้นเรียน (Lesson Study) แล้ว PLC / สานเสวนา (Dialogue) แลกเปลี่ยนร่วมกันเพื่อหาทางแก้ปัญหา
  • เก็บเกี่ยวประสบการณ์โดยถ่าย VDO ชั้นเรียน เพื่อย้อนหลังดูปฏิกิริยาของนักเรียนระหว่างการเรียนรู้ 
  • เรียนรู้จากวง Online PLC มี ที่โค้ชภายนอกช่วยหนุนเสริม
  • เรียนรู้จากวง DE (Developmental Evaluation)  มี กระบวนกร (Facilitator) และ คนสรุปประเด็น (Note-taker)
  • ทำวิจัยชั้นเรียน – R2R (Routine to Research) เพื่อให้ได้ “ผลงานแท้” 
  • เรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเรียนรู้หลักการ (ทฤษฎี) 

เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Communities) ได้นั้นต้องอาศัยหลักการที่เรียกว่า The Pedagogy of Listening การเรียนรู้โดยการฟังซึ่งกันและกัน ที่นักเรียนร่วมปฏิบัติ ร่วมมือ ร่วมสะท้อนคิด และมีการใช้ การสานเสวนา (Dialogue) กระบวนการสื่อความหมายการเรียนรู้เพื่อเข้าใจตนเองเปิดใจ พูดคุยฟังกันและกันอย่างลึกซึ้งด้วยเมตตา 

กลุ่มการสานเสวนา (Dialogue) ที่เกิดขึ้น

นักเรียน <-> นักเรียน

คุณครู <-> คุณครู

นักเรียน <-> คุณครู

โรงเรียน <-> ชุมชน

  1.  ครูมีกัลยาณมิตรร่วมพัฒนาห้องเรียนสมรรถนะสูง (High Functioning Classroom)
  •  ทีมโค้ช ทำหน้าที่กัลยาณมิตร ร่วมเรียนรู้โดยการสะท้อนคิด Reflection ใช้ Kolb’s Experiential Learning Cycle 
  •  ประสบการณ์จากวง Online PLC Coaching  ที่มีทีม “คลินิก” ทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้การหนุนเสริม
  •  ประสบการณ์จากวง DE ที่มีทีมจากมูลนิธิสยามกัมมาจล (SCBF) ทำหน้าที่กัลยาณมิตร
  1.  ทุกภาคส่วนเพื่อการศึกษา 

ไม่มีใครทำงานแบบโดดเดี่ยวเดียวดายต่างเป็นฝ่ายหนุนเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน นักเรียนเป็นหุ้นส่วนการเรียนรู้ให้ทั้งเพื่อนให้ครู พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นหุ้นส่วนที่สนับสนุนส่งเสริมการศึกษา  ศึกษานิเทศก์ในพื้นที่เป็นส่วนสำคัญที่แนะนำให้ครูและโรงเรียนได้สะท้อนคิดการเรียนการสอน กรรมการโรงเรียน ผู้นำชุมชนที่ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ในพื้นที่ รวมถึงธุรกิจในชุมชนที่เป็นกระบอกเสียงความต้องการด้านแรงงานเพื่อให้จัดการเรียนรู้เพื่อตอบโจทย์การเรียนเพื่อทักษะการประกอบอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นใครต่างมีส่วนสำคัญที่เป็นกำลังหนุนเสริมการศึกษาในพื้นที่

ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ได้สรุปทิ้งท้ายว่าการศึกษาที่ตอบโจทย์ทิศทางการศึกษาโลกทั้งที่ อ.วิจารณ์ได้นิยามว่ามรรค 8 นั้น ทั้งหมดมีอยู่แล้วในจังหวัดภูเก็ต เพียงแค่จะดำเนินการอย่างไรให้การเรียนรู้ที่ดีของโรงเรียนหนึ่ง ไปสู่อีกโรงเรียนได้ จะทำอย่างไรให้องค์ความรู้นี้กระจายอย่างทั่วถึงและมีการพัฒนาด้านการศึกษาให้มากขึ้น มีแนวทางอย่างไรบ้างที่ทุกภาคส่วนต้องเข้าไปหนุนเสริมโรงเรียนและครูให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ที่จะเปลี่ยนให้ห้องเรียนเป็น “ห้องเรียนสมรรถนะสูง” นักเรียนได้เรียนรู้จากองค์ความรู้ของชุมชนที่อยู่รายรอบโรงเรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ของทุกคนที่ภูเก็ตให้เป็น “คนตงห่อ”

รับชมไลฟ์กิจกรรมทั้งหมดได้ที่ 

https://fb.watch/mKGemFy9qL/

https://fb.watch/mKGfHsN8Al/

สรุปประเด็นเนื้อหาจากเวที มหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนพัฒนาตนเองระดับพื้นที่ครั้งที่ 3 “กลไกขับเคลื่อนการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดภูเก็ต สู่มหกรรมการศึกษาไทย” 

วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมดวงจิตต์ ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต

ติดตามบทความด้านการศึกษาของ ศ. นพ.วิจารณ์ พานิช เพิ่มเติมได้ที่ https://www.gotoknow.org/user/vicharnpanich/posts

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า