สงครามเปลี่ยนมนุษย์ให้เป็นอสุรกาย- Gyeongseong Creature (2023)

Share on

 241 

สภาพแวดล้อมบีบให้มนุษย์
กลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่เหี้ยมโหด

“คงเป็นธรรมชาติของมนุษย์มั้งคะ ที่ปรับตัวได้ไวไม่ว่ากับเรื่องอะไร ไม่ว่าจะความเจ็บปวดหรือแม้แต่ความสิ้นหวัง”

.

Gyeongseong Creature กล่าวถึงฤดูใบไม้ผลิปี 1945 ที่เมือง ‘คยองซอง’ ประเทศเกาหลี ในขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ใกล้จะสิ้นสุดลง ‘จางแทซัง’ (พัก ซอ-จุน) ชายหนุ่มผู้มั่งคั่ง เจ้าของโรงรับจำนำสมบัติทองคำ ต้องร่วมมือกับ ‘ยุนแชอ๊ก’ (ฮัน โซ-ฮี) นักแกะรอยสาว จำเป็นต้องร่วมมือกันออกตามหาชาวหญิงสาวชาวเกาหลีที่หายตัวไป โดยอาจมีกองทัพญี่ปุ่นอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งนำไปสู่การทดลองอันแสนโหดร้ายในการพยายามสร้าง ‘อสุรกาย’ ของกองทัพญี่ปุ่น สามารถรับชมได้ตอนนี้ผ่านทาง Netflix

ในยามสงครามทุกฝ่ายต่างใช้ทุกวิถีทางเพื่อเอาชนะฝ่ายปรปักษ์ให้ได้ แม้จะต้องสูญสิ้นความเป็นมนุษย์ไปก็ตาม เรื่องราวของ Gyeongseong Creature เกิดขึ้นในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นใกล้จะพ่ายแพ้สงครามเต็มที กองทัพญี่ปุ่นตั้งเป้าหมายที่จะทำการทดลองสร้างอสุรกายขึ้นมา โดยวาดหวังว่าอสุรกายตนนี้จะเป็นอาวุธที่ใช้ต่อกรกับฝ่ายสัมพันธมิตรได้ แม้ว่าจะต้องสังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์มากมายก็ตาม ทำให้ระหว่างดำเนินเรื่องเราจะได้เห็นความโหดร้ายของทหารญี่ปุ่นที่กระทำต่อชาวเกาหลีราวกับไม่ใช่มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการสังหาร ทรมานหรือจับไปเป็นเข้าร่วมการทดลองที่ละเมิดศีลธรรมและจรรยาบรรณ ซึ่งการกระทำของมนุษย์ดูน่ากลัวและโหดร้ายกว่าอสุรกายในเรื่องเสียอีก

แม้ว่า Gyeongseong Creature จะเป็นการดัดแปลงประวัติศาสตร์และเหตุการณ์จริง เพื่อเรียบเรียงให้เข้ากับเนื้อหาที่ต้องการจะนำเสนอ แต่ก็มีการอ้างอิงถึงหน่วย Unit 731 ที่มีตัวตนอยู่จริง ๆ ซึ่งปฏิบัติการในช่วง ค.ศ. 1936-1945 โดยมีเป้าหมายในการทดลองอาวุธชีวภาพ สารเคมี เชื้อโรค วัตถุระเบิด อาวุธ แน่นอนว่าทั้งหมดทดลองกับมนุษย์ด้วยกันเอง ซึ่งคาดการณ์ในปัจจุบันว่ามีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการทดลองราว ๆ 400,000 คน อาจดูเหมือนเป็นการขุดประวัติศาสตร์ที่ไม่ชวนพิสมัยขึ้นมา ทำให้มีชาวญี่ปุ่นบางกลุ่มเกิดความไม่พอใจ จนส่งผลให้นักแสดงซีรีส์เรื่องนี้ถูกโจมตีผ่านทางโซเชียลมีเดีย แต่หากลองได้ดูแล้วซีรีส์เรื่องนี้อาจแค่ต้องการพาเรากลับไปทบทวนความโหดร้ายที่เกิดขึ้นต่อเพื่อนมนุษย์มากกว่าสร้างความขัดแย้ง เพื่อไม่ให้เรากลับไปเดินบนเส้นทางที่ผิดพลาดดังในอดีต

“คงเป็นธรรมชาติของมนุษย์มั้งคะ ที่ปรับตัวได้ไวไม่ว่ากับเรื่องอะไร” เป็นประโยคที่ตัวละครผู้ตกเป็นเชลยของทหารญี่ปุ่นพูดขึ้น เพื่อประโลมใจจิตรกรหนุ่มที่เสียขวัญจากการเริ่มทำงานในหน่วย Unit 731 เป็นวันแรก เป็นคำพูดปลอบประโลมที่ช่วยเยียวยาและชวนสิ้นหวังไปพร้อมกัน เป็นคำพูดที่สะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์สามารถปรับตัวเข้าสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายได้ คล้ายกับ ‘การปรับตัวแบบไม่บูรณาการ’ (Non-integrative Adjustment) เมื่อไม่สามารถเผชิญกับหรือแก้ปัญหาไม่ได้ เราก็จะหาวิธีคิดเพื่อคลายความทุกข์ลง เป็นการใช้กลไกป้องกันตัวเพื่อลดทอนความเครียด เพื่อให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย แต่จะดีกว่าหากไม่มีใครต้องตกเป็นเหยื่อของสงคราม

สภาพแวดล้อมไม่ได้เปลี่ยนแปลงแค่ผู้ถูกกระทำแต่ตัวเปลี่ยนแปลงผู้กระทำด้วยเช่นกัน ในภาวะสงครามมนุษย์สามารถปฏิบัติตามคำสั่งที่ไร้ศีลธรรมได้ โดยรู้สึกผิดน้อยลง โดย ‘การทดลองของมิลแกรม’ (Milgram Experiment) และ ‘การทดลองเรือนจำสแตนฟอร์ด’ (Stanford Prison Experiment) ช่วยสะท้อนผลให้เห็นว่าคนปกติสามารถทำคำสั่งของผู้มีอำนาจได้ถึงขนาดสังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์ หากพวกเขาเชื่อว่ารับว่าอำนาจของตนกำลัง ‘ทำตามหน้าที่และทำสิ่งที่ถูกต้อง’ และเชื่อว่าตัวเองมีความชอบธรรมในการทำร้ายผู้อื่น และเชื่อว่าตัวเองไม่ต้องรับผิดชอบการกระทำที่เกิดขึ้น 

เราอาจสรุปได้ว่าสงครามและคำส่งของผู้มีอำนาจสามารถเปลี่ยนแปลงให้คนธรรมดากลายเป็นอสุรกายที่เข่นฆ่ามนุษย์โดยไม่รู้สึกผิดได้ เฉกเช่นเดียวกับการสร้างห้องเรียนที่ดี ครูจำเป็นต้องระวังในการใช้อำนาจ เพราะบางครั้งการมอบอำนาจให้นักเรียนบางคนมากเกินไปก็สามารถสร้างความขัดแย้งในกลุ่มนักเรียนได้ หรือบางทีครูอาจเป็นผู้ที่ใช้อำนาจเกินขอบเขตจน อย่างการใช้ความรุนแรงลงโทษ พูดจาข่มขู่ พูดประชดประชัน จิกกัดปมด้อย โดยไม่รู้ตัวเลยว่าครูกำลังเป็นผู้ที่ทำลายพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการเรียนรู้ และแทนที่ครูจะสร้างพลเมืองดีเข้าสู่สังคมอาจกลับกลายเป็นการสร้างอสุรกายแทนก็เป็นไปได้

Unit 731
https://thaipublica.org/2023/12/series-society50-gyeongseong-creature/
การปรับตัวของมนุษย์
https://www.blockdit.com/posts/6183623ec82c8d0509aabda5
การทดลองของมิลแกรม
https://www.thepeople.co/read/30465

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า