การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษากับ “TSQP”

Share on

 2,474 

บทสัมภาษณ์ ผู้จัดการโครงการบริหารจัดการชุดโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2) ปี 2564 (TSQP)

“คิดเอง ทำเอง” แนวคิดการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) อาจารย์เพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์ ผู้จัดการโครงการบริหารจัดการชุดโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง ได้ให้โอกาส I AM KRU. ได้พูดคุยเพื่อเรียนรู้ในการดำเนินงานของโครงการพัฒนาตนเอง หรือ TSQP ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ไปผลักดันให้โรงเรียนขนาดกลางได้มีการพัฒนาตนเองทั้งระบบ ทั้งระบบการบริหารจัดการของโรงเรียน และกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอน โดยทั้ง 2 ส่วนนี้จะต้องให้ผลลัพธ์ไปเกิดที่ตัวผู้เรียน

.

1.เป้าหมายสำคัญของโครงการ
การดำเนินดโครงการมีเป้าหมายในการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบคือ ระบบการบริหารจัดการของผู้อำนวยการและระบบการจัดการเรียนการสอนที่ต้องสร้างผลลัพธ์ที่เกิดที่ตัว “ผู้เรียน” เป็นสำคัญ

2.โครงการสนับสนุนกลไกสำคัญในการเสริมสร้างพลังครูและโรงเรียนอย่างไร
โครงการฯ ตั้งเป้าหมายการดำเนินโครงการ 3 ปี ในการเข้าไปช่วยพัฒนาทั้งระบบโรงเรียนทั้ง 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 คือ การบริหารจัดการของผู้บริหาร เช่น การปรับตารางสอน การมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการ PLC และส่วนที่ 2 การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน โดยทั้ง 2 ส่วนจะต้องมุ่งเน้นผลลัพธ์ไปที่ “ผู้เรียน”
การดำเนินงานโครงการเป็ฯการรทงานแบบร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ใช้ระบบโค้ชช่วยเหลือในระยะ 1 – 3 ปีแรก หลังจากนั้นโค้ชและพี่เลี้ยงจะถอยออกเพื่อให้โรงเรียนสามารถทำด้วยตนเอง

3.ความเหลื่อมล้ำควรเป็นบทบาทใคร
บทบาทการแก้ไขความเหลื่อมล้ำเป็นหน้าที่ของทุกคนที่อยู่ในโครงสร้างระบบ แต่การแก้ปัญหาในส่วนหลักเป็นของหน่วยงานต้นสังกัดควรออกแบบในเชิงนโยบายที่สามารถตอบสนองต่อผู้คนที่มีความแตกต่างให้เกิดความเสมอภาค

 2,475 

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า