จิ๊กซอว์ แม่ ก กา มหาสนุก

Share on

 134 

ห้องเรียนของครูหนิง รุ่งนภา แย้มเสนาะ โรงเรียนบ้านสองสะโกม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาภาษาไทยนั้นใช้การจัดการเรียนการสอนโดยใช้จิตวิทยาเชิงบวกเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยของผู้เรียน โดยนำไปเชื่อมโยงเข้าสู่การเรียนการสอนมาตราแม่ ก กา โดยนำพฤติกรรมที่คาดหวังมา 2 อย่างคือ 1) ความใฝ่รู้ 2) ความใจดี มาให้นักเรียนได้ทำในกิจกรรม ขั้นตอนการทำกิจกรรมจะเริ่มจากให้นักเรียนได้รู้ความหมายของทั้ง 2 คำนี้ก่อน อาจมาจากการอธิบายของครูแล้วก็ผ่านพวกบัตรภาพในักเรียนได้รู้ นักเรียนก็จะเห็นภาพมากขึ้น ต่อจากนี้ก็ให้นักเรียนได้สวมบทบาทว่าจะเป็น ‘คนใฝ่รู้’ หรือเป็น ‘คนใจดี’ เป็นการประเมินตนเองไปในตัว เด็กก็จะสวมบทบาทนี้ตลอดกิจกรรมการเรียนรู้ แล้วก็มีการนำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้วงล้อบัตรภาพ ให้นักเรียนได้ทายคำว่าคำเหล่านี้คือคำที่มีตัวสะกดหรือไม่ สระเสียงสั้นหรือเสียงยาวใช่มั้ย นักเรียนก็จะตอบ ครูก็จะมาสรุปคำเหล่านี้คือคำที่ไม่มีตัวสะกด ใช้สระเสียงสั้นและเสียงยาว เรียกว่ามาตราแม่ ก กา เด็กๆ ก็จะได้องค์ความรู้ เราจะยกตัวอย่างจนกว่าเด็กๆ จะเข้าใจ เสร็จแล้วก็เข้าสู่กิจกรรมต่อจิ๊กซอว์แม่ ก กา มหาสนุก เด็กๆ ก็จะได้ทบทวนว่าตนเองเข้าใจมากขึ้นมั้ย กิจกรรมนี้ก็คือจะแสดงให้เห็นว่าเด็กคนไหนใฝ่รู้ เด็กคนไหนมีความใจดี เล่นเกมเสร็จแล้วก็จะให้นักเรียนนำเสนอว่าเพราะอะไรถึงต่อเสร็จ เพราะอะไรถึงไม่เสร็จ เกิดอะไรขึ้น ส่วนสุดท้ายนักเรียนจะได้ประเมินตนเองว่าความใฝ่รู้และความใจดีที่ตนเองเลือกมา นักเรียนให้คะแนนตนเองเท่าไหร่ แสดงพฤติกรรมออกมาเราพอใจแค่ไหน อย่างให้หัวใจ 3 ดวง แปลว่าพอใจมาก 2 ดวงปานกลาง 1 คือน้อยสุด จะมีบางคนให้ตัวเอง 1 หัวใจ ถามนักเรียนว่าเพราะอะไร เด็กๆ ตอบว่าเพราะผมยังทำได้ไม่ดีพอ หลังจากนี้ก็ให้บัตรภาพของเพื่อนทุกคน เด็กๆ ก็จะได้ภาพของเพื่อน เอามาประเมินว่าเพื่อนที่ตนเองได้เป็นคนใฝ่รู้หรือเป็นคนใจดี ให้เด็กๆ ได้ประเมินเพื่อนบ้าง

นักเรียนเรียนรู้ความหมายและพฤติกรรมจากคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็ง  2 คุณลักษณะ
คือ 1) ความใฝ่รู้ 2) ความใจดี เลือกบทบาทแค่ 1  คุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งโดยเลือกจากสองคุณลักษณะคือ ความใฝ่รู้ ความใจดี ที่ตนเองอยากให้เกิดขึ้นในวันนี้

💬 : ทักษะในศตวรรษที่ 21 มีหลากหลายให้ครูเลือก เพราะอะไรครูหนิงเลือกจิตวิทยาเชิงบวกมาใช้ในห้องเรียน

ครูหนิง พฤติกรรมเด็ก ๆ ก่อนหน้านี้ไม่เชิงดื้อนะคะ แต่อยากให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นในเชิงบวก อยากให้มีความสุขและสนุกกับการเรียน จิตวิทยาเชิงบวกมาใช้เพื่อให้เด็กได้เข้าใจตนเองมากขึ้น เพราะบางทีเด็กก็เรียนไปเรื่อยๆ แต่ไม่รู้ว่าตนเองมีจุดเด่นด้านไหน ให้นักเรียนรู้จุดเด่นของตนเอง ครูก็จะรู้จุดเด่นของนักเรียนด้วย เด็กทั้งห้องอาจจะมีไม่ครบทั้ง 24 ตัว เด็กบางคนก็มีจุดเด่นเหมือนกัน ก็ต้องค่อย ๆ เรียนรู้ไป โดยหน้าที่ครูจะต้องสังเกตดูจากการเรียนรู้ เช่นให้ใบงานเด็กระบายสี ก็จะดูว่าคนนี้ระบายสียังไง ถ้าคนนี้ลงสีดี ลงสีสวย อ๋อคนนี้ทักษะศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสะท้อนอยู่ในผลงานของนักเรียน

💬 :  ครูหนิงมีวิธีส่งเสริมจุดเด่นของนักเรียนอย่างไรบ้าง

ครูหนิง : ถ้าภาษาไทย อย่างเด็กมีความมุมานะในการคัดลายมือ ก็จะมีกิจกรรมศิลปหัตถกรรม เราจะพานักเรียนไปฝึก ไปแข่ง ส่งเสริมให้ได้รับรางวัล เด็กบางคนมีความใจดี มาขอคุณครูจัดหนังสือ เราก็จะเห็นว่าคนนี้ใจดี พยายามให้เขาได้แสดงออก ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ดี ใช้วิธีการชื่นชมและบอกเพื่อน ๆ ว่าพฤติกรรมแบบนี้เป็นพฤติกรรมที่ดี ควรจะเอาเยี่ยงอย่าง ก่อนหน้านี้มีใช้การชื่นชมเด็กเป็นหลักอยู่แล้ว พอเข้าใจหลักการสอนที่มีวิธี 1 2 3 4 เป็นลำดับขั้นไปค่ะ 

💬 : เมื่อถามถึงการเปลี่ยนแปลงห้องเรียนครูหนิงเห็นการเปลี่ยนไปยังไงบ้าง 

ครูหนิง : ก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เด็กๆ ชัดเจนในพฤติกรรมของตนเองมากขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงตรงที่ว่า ปกติเราไม่ค่อยสังเกตจุดเด่นของนักเรียนมากเท่าไหร่ แต่พอได้พฤติกรรมที่เป็นจุดแข็งมา เราก็สังเกตมากขึ้นและพร้อมจะสนับสนุนเขา

💬 : ครูหนิงรู้จุดแข็งของนักเรียน แล้วอะไรคือจุดแข็งของครูหนิงที่ได้เรียนรู้จากห้องเรียนนี้

ครูหนิง : เป็นเรื่องของระเบียบวินัย ตัวครูหนิงก็จะเข้มงวดกับนักเรียนในเรื่องนี้ การมีวินัยแต่ไม่ใช่เชิงดุ แต่เป็นในเชิงอย่างการวางรองเท้าต้องวางให้เป็นที่เป็นทาง จะบอกว่าทำแบบไหนถึงถูกต้อง หรือทำแบบไหนไม่ถูก 

💬 : การเปลี่ยนแปลงห้องเรียนของครูหนิงขยายผลต่อยอดไปยังห้องเรียนอื่น อย่างไรบ้าง 

ครูหนิง : ตอนนี้ในโรงเรียนมีคุณครูแกนนำที่ไปอบรมด้วยกันคือ 4 คน เริ่มใช้แผนที่เกี่ยวกับจิตวิทยาเชิงบวก ต่อจากนี้ก็จะมีการอบรมให้ครูทุกคนในโรงเรียนได้ใช้แผนจิตวิทยาเชิงบวกเหมือนกัน

💬 : จิตวิทยาเชิงบวกสำคัญกับคนที่เป็นครูยังไงบ้าง

ครูหนิง สำคัญมาก เพราะเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนเข้าใจตนเอง และส่งเสริมให้ห้องเรียนของเรามีความสุขและสนุก พอครูใช้วิธีนี้แล้วมีพัฒนาการการเรียนที่ดีขึ้น มีตัวอย่างของน้องนิวตัน เขาเลือกใฝ่เรียนรู้ เขาก็จะคอยฝึก คอยถามครู คอยช่างสังเกต รักในการเรียนรู้มากขึ้น ที่ผ่านมาได้ไปฝึกเกี่ยวกับท่องภาษาอังกฤษ เขาก็ใฝ่รู้กับครูผู้สอน ไม่จำเป็นต้องเป็นวิชาภาษาไทยอย่างเดียว ครูทุกวิชาสามารถนำเรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ได้

สิ่งที่ I AM KRU. อยากรู้จึงหันไปถามกับเด็ก ๆ ว่าครูหนิงของพวกเขาเป็นอย่างไร เด็ก ๆ ตอบว่า ครูหนิงใจดี แล้ววิชาที่ครูหนิงสอน มาตราแม่ ก กา. นั้นสนุก น้อง ๆ ก็แนะนำวิธีการการอ่านแม่ ก กา ให้ฟังอย่างคล่องแคล่วผ่านวงล้อทายภาพที่เด็ก ๆ เตรียมการมาแนะนำในชั่วโมงนำเสนอในเวทีห้องเรียนเปิดบ้าน Active Learning จากภาพการนำเสนอเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ นี้ สะท้อนให้เห็นว่านักเรียนกล้าแสดงออก มีความมั่นใจ พูดจากฉะฉาน ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่มาจากห้องเรียนที่คุณครูเป็นผู้ริเริ่มด้วยการเสริมศักยภาพด้วยจิตวิทยาเชิงบวก


กระบวนการเรียนรู้แม่ ก กา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 

1. นักเรียนเรียนรู้ความหมายและพฤติกรรมจากคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็ง  2 คุณลักษณะ คือ ความใฝ่รู้ ความใจดี
2. นักเรียนเลือกบทบาทแค่ 1  คุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งโดยเลือกจากสองคุณลักษณะคือ ความใฝ่รู้ ความใจดี ที่ตนเองอยากให้เกิดขึ้นในวันนี้
3. นักเรียนร่วมกันสังเกตวงล้อบัตรภาพว่าสังเกตเป็นรูปของอะไร สะกดคำได้ว่าอย่างไร เป็นคำที่มีตัวสะกดหรือไม่ คำเหล่านี้เรียกว่าอะไร และเรียนรู้เรื่องมาตราแม่ ก กา
4. แต่ละกลุ่มจะได้รับติดต่อต่อให้เป็นภาพ กลุ่มละ 3 ภาพ และกระดาษการสำหรับเขียนคำ
5. นักเรียนมีเวลา 10 นาที ในการต่อจิ๊กซอ กลุ่มไหนต่อเสร็จก่อนจะนำกระดาษกราฟสำหรับเขียนคำไปแปะบนกระดาน
6. แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ วิธีการ ว่าทำอย่างไรจึงต่อจิ๊กซอว์ให้สำเร็จและเร็ว
7. รับสติกเกอร์หัวใจคนละ 3 ดวง นำสติกเกอร์หัวใจไปติดในบอร์ดคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็ง (Character strengths) โดยเป็นการให้คะแนนความพึงพอใจของตนเอง พอใจมากให้ 3 ดวง พอใจปานกลางให้ 2 ดวง และพอใจน้อยที่สุดให้หนึ่งดวง
8. หยิบรูปภาพของเพื่อนจากกล่องสุ่ม ที่ครูเตรียมไว้ให้ไปลงกระถางคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็ง (Character strengths) โดยเลือกใส่เพียงกระถางเดียวจากสิ่งที่คิดว่าเห็นได้ชัดเจนที่สุดจากเพื่อนในการร่วมกิจกรรม
9. นักเรียนทุกคนทำใบงานที่ 1 เรื่องมาตราแม่  ก กา

📌 สำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงผู้เรียนด้วย หลักสูตรหลักการจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อการเสริมสร้างอุปนิสัยผู้เรียน สามารถเข้าอบรมพร้อมรับเกียรติบัตรหลังจบการอบรม

📚 หลักสูตรหลักการจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อการเสริมสร้างอุปนิสัยผู้เรียน

https://onlinelearning.iamkru.com/course-online/courses/21

ติดตามรับชมการนำเสนอของนักเรียนคุณครูหนิง รุ่งนภา แย้มเสนาะ โรงเรียนบ้านสองสะโกม ผ่านช่องทางดังนี้

🎥 การถ่ายทอดสดงาน เปิดบ้าน “ห้องเรียนต้นแบบ Active Learning” โครงการพัฒนานักจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สู่การขยายผลพื้นที่ต้นแบบได้ที่

▪️ ช่วงแรก

https://fb.watch/o1tmTBop33/

▪️ ช่วงที่สอง

https://fb.watch/o1tkxX8X0y/

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า