ครูแค่ตั้งคำถาม แล้วปล่อยให้เด็กเรียนรู้ ห้องเรียนคณิตศาสตร์ที่เปลี่ยนข้าวโพดเป็น ‘สารสนเทศของชุมชน’ 

Share on

 420 

เสาวลักษณ์  ศรีรักษา  ครูฝ้าย ครูสาระวิชาคณิตศาสตร์ ดูแลนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองโร  สพป. สุราษฎร์ธานี เขต 3 มานำเสนอผลของหลักสูตร ทักษะการตั้งคำถามเพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงเหตุผล ที่มาด้วยแปลงข้าวโพดย่อม ๆ ที่ทำให้ผู้ร่วมงานเห็นพอจะจินตนาการภาพบรรยกาศการเรียนการรู้ที่โรงเรียนได้เป็นอย่างดี 

ก่อนหน้าใช้การสอนในรูปแบบเป็น Active Learning  แล้วแต่หน่วยการเรียน โชคดีว่าด้วยความที่เขาเป็นนักเรียนชั้น ป.3 เด็ก ๆ เขาไม่ต้องการให้ครูบรรยายอย่างเดียว ต้องการเกม การเคลื่อนไหวร่างกาย ร่วมตอบคำถาม ทำกิจกรรมหน้าชั้น แต่พอเป็นรู้สึกว่าหลักสูตรการตั้งคำถามรอบนี้  ใช้อุปกรณ์น้อยกว่า Active Learning ตัวอื่น หรือแทบไม่ต้องใช้อุปกรณ์เลยถ้าชุดคำถามดีพอ สามารถทำให้ไปถึงเป้าหมายการเรียนรู้เหมือนกัน

💬 : เล่าถึงห้องเรียนของครูฝ้ายให้ แฟนคลับครูเพจ I AM KRU. รู้จักกันสักนิด

ครูฝ้าย : ห้องเรียนของฝ้ายเป็นวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถ้าเราเร่งรัดให้เกิดการเรียนรู้ที่จัดเต็มก็จะหนักเกินไป จึงเลือกหลักสูตรการตั้งคำถามเพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงเหตุผล จึงนำไปบูรณาการกับวิชาโครงงาน  ซึ่งในปีนี้นักเรียนชั้น ป.3 ทำโครงงานเรื่องข้าวโพด เป็นการบูรณาการระหว่างคณิตศาสตร์ออกมาเป็นโครงงานข้าวโพด เกิดเป็นหน่วยการเรียนแผนภูมิรูปภาพและตารางทางเดียวที่ประกอบแผนการเรียนรู้ 10 ชั่วโมง เวลาจัดกิจกรรมก็จะแบ่งตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล ลงมือทำแผนภูมิ นำเสนอข้อมูล การเก็บข้อมูลจุดเด่นของแผนการเรียนรู้ก็คือพานักเรียนไปสำรวจข้อมูลจริงในชุมชน ให้เขาไปสำรวจข้อมูลอาชีพ พืช ผัก ที่ปลูกแล้วก่อให้เกิดรายได้ของแต่ละครอบครัว แล้วนำข้อมูลมาสร้างเป็นแผนภูมิรูปภาพ แบ่งกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มไปสืบค้น เก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มละ 7 ครอบครัวห้ามซ้ำกัน ตอนไปเก็บก็มีครูคอยประกบเพื่อความปลอดภัย 

💬 : คนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างไรบ้าง

ครูฝ้าย : คนชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่เขาตกใจนิดหน่อยที่เห็นเด็กนักเรียนออกนอกโรงเรียนช่วงกลางวัน กรูกันเข้ามาถามว่ามาทำอะไรกัน เขาตื่นเต้นกันนะ และรู้สึกสนุกและภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง เหมือนได้เป็นครูอีกคนหนึ่ง นักเรียนกลุ่มไหนโชคดี ไปสำรวจบ้านที่ปลูกผลไม้ ก็อาจจะได้ลองกองกลับมา ได้มังคุดกลับมาทานบ้าง

💬 : แล้วครูฝ้ายมีการวางแผนหรือวางประเด็นการเรียนรู้ก่อนให้นักเรียนออกไปสำรวจ

ครูฝ้าย : ก่อนที่ให้นักเรียนออกไปสำรวจชุมชน ได้ให้ชุดคำถามว่าเป้าหมายของการสำรวจข้อมูลครั้งนี้คืออะไร นักเรียนสามารถตอบให้ได้ว่า เป็นการสำรวจข้อมูลพืชผลไม้ที่ก่อให้เกิดรายได้ในครอบครัว มีคำถามสเต็ป ๆ ไปเรื่อย ๆ เตรียมจนเขาพร้อมแล้วถึงจะพาออกไปลงพื้นที่ 

ครูฝ้ายมีกระดาษแบบสำรวจง่ายๆ ให้เขาจดข้อมูล ครูเขียนชื่อพืชไปให้แล้วบางส่วนที่มีในชุมชนเช่น ปาล์ม ยางพารา ถ้าครอบครัวนี้ปลูกยางพาราก็สามารถวงคำตอบได้เลย ถ้าไม่มีตัวเลือกก็ต้องเขียนสะกดคำเอง ได้ฝึกการสะกด เสร็จแล้วก็นำข้อมูลกลับมา สร้างแผนภูมิรูปภาพที่โรงเรียน ตรงนี้เขาได้เห็นกระบวนการทั้งหมด จากที่เมื่อก่อนเขาได้รับสถานการณ์จำลองในห้องเรียน แต่ตอนนี้นักเรียนกลายเป็นคนสร้าง เป็นผู้ที่นำข้อมูลมาด้วยตนเอง จากนั้นนำมาสรุปในห้องเรียน  

💬 :  ข้อมูลเหล่านี้จะไปใช้อย่างไรต่อได้บ้างนอกจากการเรียนรู้ 

สมมติเกิดปัญหาอะไรที่ต้องการความช่วยเหลือ สมมติช่วงน้ำท่วม ปกติโรงเรียนเราน้ำท่วมปีเว้นปีอยู่แล้ว ก็จะรู้เลยว่าบ้านหลังนี้เขามีรายได้จากอะไรบ้าง แต่ ณ ตอนนี้เขาก็ยังไม่ได้เห็นภาพใหญ่ของเรา ยังอยู่แค่ในห้องเรียน

💬 :   ครูฝ้ายนำชุดวิชาเหล่านี้มา plug-in กับสิ่งที่ครูฝ้ายอยากให้เด็กเรียนรู้ ทีนี้การจัดการ ความยากง่ายที่นำสองสิ่งนี้มาบูรณาการกัน ครูฝ้ายมีวิธีทำให้กลายเป็นแผนวิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างไร

ครูฝ้าย : เริ่มแรกก็ดูวิชาคณิตศาสตร์ก่อนว่าเขาเรียนเรื่องอะไรบ้าง เก็บรวบรวมข้อมูล สร้างแผนภูมิ สร้างตารางทางเดียวให้ได้ ตอนตั้งเป้าหมายการทำโครงงานนอกจากศึกษาข้อมูลแล้ว คิดว่าต้องมีการผลิตภัณฑ์สักชิ้น โดยอาศัยว่าจับกับโอกาสไหน ที่จริงตอนที่นักเรียนทำโครงงานข้าวโพดมีต้องออกไปไร่ข้าวโพด แต่พอนำโครงงานมาจับกับวิชาคณิต นักเรียนไม่ได้แค่ไปเที่ยวไร่ข้าวโพด แต่เป็นการไปสัมภาษณ์ สำรวจ สัมภาษณ์ชุมชนในสองชั่วโมง ที่เขาออกไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สร้างทักษะในหลายด้านกับเด็ก

💬 : ในฐานะที่พาเด็กๆ ออกนอกห้องเรียนไปเจอชุมชนเห็นประโยชน์อะไรเขามี Feedback ยังไงบ้าง

ครูฝ้าย : ผู้ใหญ่บ้านชอบให้เราทำกิจกรรม และภาพรวมผู้ปกครองให้ความร่วมมือ ตอนทำก็อนุญาตทุกคน รอให้ครูส่งภาพกิจกรรม ชาวบ้านก็ตั้งคำถามว่าข้อมูลนี้จะออกมาเป็นแผนภูมิรูปภาพได้จริงเหรอ หรือแม้กระทั่งตัวนักเรียนเองก็ตั้งคำถาม ว่ามันจะเป็นแผนภูมิรูปภาพได้ยังไงคะ 

ในระดับชั้น ป.3 ให้สำรวจกันกลุ่มละ 7 ครอบครัว ข้อมูลตรงนี้ถือเป็น ‘สารสนเทศของชุมชน’ ได้เลยว่ามีพืชผักอะไรบ้างที่ปลูกในชุมชน เราสำรวจได้แค่ 21 ครอบครัว แต่ในความเป็นจริงถ้าเล่น scale ที่ใหญ่ขึ้นก็จะเป็นข้อมูลของชุมชนได้ สมมติเกิดปัญหาอะไรที่ต้องการความช่วยเหลือ สมมติช่วงน้ำท่วม ปกติโรงเรียนเราน้ำท่วมปีเว้นปีอยู่แล้ว ก็จะรู้เลยว่าบ้านหลังนี้เขามีรายได้จากอะไรบ้าง แต่ ณ ตอนนี้เขาก็ยังไม่ได้เห็นภาพใหญ่ของเรา ยังอยู่แค่ในห้องเรียน

ก่อนที่จะให้เขาไปสำรวจ เราเรียนทฤษฎีในห้องเรียนไปแล้วว่าแผนภูมิรูปภาพเป็นแบบนี้ แต่วันที่เราไปสำรวจมีข้อมูลของตัวเอง ครูก็บอกว่า เดี๋ยวเรากลับมารวมข้อมูลและทำกันที่โรงเรียน สุดท้ายเขาได้เห็นด้วยตนเองว่ามันออกมาเป็นแผนภูมิจริง ๆ ด้วย 

คณิตศาสตร์บูรณาการโครงงานเรื่องข้าวโพด หน่วยที่ 5
แผนภูมิรูปภาพและตารางทางเดียว 
ครูฝ้าย ได้กำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้เพื่อให้ันักเรียนได้ทักษะด้านต่าง ๆ ดังนี้

✅ สาระการเรียนรู้
 ▪️ การเก็บรวบรวมข้อมูลและจำแนกข้อมูล
✅ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
▪️ ความสามารถในการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
▪️ ความสามารถในการให้เหตุผล
✅คุณลักษณะอันพึงประสงค์
▪️ มีวินัย
▪️ ใฝ่เรียนรู้
▪️ มุ่งมั่นในการทำงาน

💬 : ดูเหมือนว่าขึ้นกับวิธีการวางแผนและใช้คำถามของครูฝ้าย (ค่ะ) ทีนี้พอเป็นวิชาถามตอบ ทักษะการพูด การนำเสนอความคิดเป็นคำพูด เด็กมีไม่เท่ากัน ครูฝ้ายจัดการยังไงให้เด็กเก่งรักษามาตรฐานเดิม ให้เด็กอ่อนกล้าพูดมากขึ้น

ครูฝ้าย : ปกติเด็กจะนั่งเป็นคู่ แต่พอเป็นสัปดาห์โครงงาน นักเรียนจะนั่งเป็นกลุ่มคละนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม ในแต่ละกลุ่มมีความสามารถที่คละแล้ว เก่งกลางอ่อน ก็จะให้เขาเห็นความสำคัญของเพื่อนแต่ละคน เราจะรู้ว่าชุดคำถามไหนง่าย จะระบุตัวไปที่เด็กคนนี้ซึ่งเขาอ่อน สร้างความมั่นใจให้เขา เขารู้ว่าเขาตอบได้ เราเป็นครูเราจะรู้ว่าเขาตอบได้ เขาก็จะมั่นใจมากขึ้นในการตอบครั้งต่อไป ช่วงแรกที่ครูถาม ต้องระบุตัว เพราะครูรู้ว่าชุดนี้เหมาะกับคนกลุ่มนี้ ให้มีการกระจาย เด็กจะไม่รู้ตัวว่าครูวางแผนมาแล้ว ครูอยากให้ทุกคนได้ตอบ ไม่ใช่ว่าหน้าที่ตอบจะต้องเป็นหน้าที่ของคนเก่งที่สุดในห้องเท่านั้น หลังๆ พอเริ่มมีความมั่นใจมากขึ้นก็เริ่มปล่อย คำถามไม่ได้เป็นคำถามถูกผิดชัดเจน กว่าจะถึงคำถามถูกผิดก็คือท้ายๆ มากแล้ว เขาได้สะสมความรู้มาแล้ว 

เป้าหมายในการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนได้ทักษะด้านต่าง ๆ ดังนี้

✅ การวัดผลและประเมินผล
▪ บอกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและจำแนกข้อมูลได้ (K)
▪ เก็บรวบรวมข้อมูลและจำแนกข้อมูลได้อย่างถูกต้อง (P)
▪ นำความรู้เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลและจำแนกข้อมูลไปใช้ในชีวิตจริงได้ (A)

✅แบบสังเกตพฤติกรรม
▪ พฤติกรรม ด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ

💬 : คำว่า Active Learning เปลี่ยนแปลงเด็กไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหน

ครูฝ้าย : นักเรียนเขารู้สึกว่าความรู้ที่เขาได้ยั่งยืนกว่าที่ครูบรรยาย เวลาผ่านมาจนปิดเทอมแล้ว ถ้าดูจากการประมวลผลในแบบทดสอบปลายเทอม เขาก็ยังทำเรื่องนี้ได้ดีอยู่ เขาได้จับ ลงมือทำ พอเขาทำข้อสอบนี้ ก็จะรู้เลยว่าต้องไปยังไง ต้องอ่านตรงไหนก่อนเพื่อให้ได้ข้อมูล ฝ้ายรู้สึกว่ามันยั่งยืนกว่าเพราะเขาได้ลงมือทำ  และสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนวิธีนี้ พวกเขาเห็นโอกาสว่าที่จริงแล้วทุกการเรียนรู้สามารถเริ่มต้นได้หมดเอง จากที่เมื่อก่อนนักเรียนเป็นปลายทางเอาข้อมูลมาสร้าง แต่นี่เขาเห็นเลยว่ากระบวนการเริ่มต้นของข้อมูลมานั้นมาอย่างไร  ส่วนที่บูรณาการกับโครงงานข้าวโพด ต่อยอดเป็นพุดดิ้งนมสดข้าวโพด พอหลังจบกระบวนการก็ได้นำพุดดิ้งไปให้ครอบครัวรับประทาน ได้ทำแบบสอบถามความพึงพอใจ ถือเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล เหมือนกับหน่วยการเรียนรู้ในวิชาคณิต เขาจะได้ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่อไป 

📌 สำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงผู้เรียนด้วย หลักสูตรทักษะการตั้งคำถามเพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงเหตุผล สามารถเข้าอบรมพร้อมรับเกียรติบัตรหลังจบการอบรมที่ได้

📚 หลักสูตรทักษะการตั้งคำถามเพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงเหตุผล

https://onlinelearning.iamkru.com/course-online/courses/13

🎥 รับชมเทปบันทึกการถ่ายทอดสดงาน เปิดบ้าน “ห้องเรียนต้นแบบ Active Learning”

โครงการพัฒนานักจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สู่การขยายผลพื้นที่ต้นแบบได้ที่

▪️ ช่วงแรก

https://fb.watch/o1tmTBop33/

▪️ ช่วงที่สอง

https://fb.watch/o1tkxX8X0y/

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า