พวกพ้อง ศักดิ์ศรี สถาบัน ความรุนแรง ปลายทางการต่อสู้ อาจเหลือเพียงความว่างเปล่า – 4 Kings II (2023)

Share on

 185 

“มึงทำเพื่อใคร เพื่อนมึงเหรอ โรงเรียนมึงเหรอ ศักดิ์ศรีมึงรึเปล่า”

.

4 Kings II (2023) ภาคต่อเรื่องราวของเด็กอาชีวะยุค 90s ที่ติดอยู่ในวังวนของความรุนแรง ใช้ชีวิตโดยการยกพวกตีกับมหาลัยคู่อริกันเป็นกิจวัตร โดยที่ไม่รู้เลยว่าปลายทางที่รออยู่คือความสิ้นหวังที่ไม่อาจย้อนกลับไปแก้ไขอะไรได้ สามารถรับชม 4 KINGS II ได้ทุกโรงภาพยนตร์

ทุกคนต่างต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อบางสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำ พ่อแม่ต่อสู้เพื่อลูก ครูต่อสู้เพื่อนักเรียน แต่ยังคนอีกบางกลุ่มเลือกต่อสู้และทำร้ายผู้อื่นเพื่อพวกพ้อง ศักดิ์ศรีและสถาบัน แน่นอนว่าเรากำลังพูดถึง ‘นักเรียนช่างกล’ ‘เด็กอาชีวะ’ หรือ ‘เด็กช่าง’ กับการต่อสู้กันระหว่างสถาบัน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาวัยรุ่นเลือดร้อนสังคมไทยที่มีมาตั้งแต่ยุค 90s มีประชาชนมากมายถูกลูกหลงและได้รับความเดือดร้อน จากสงครามของเหล่าเด็กช่างที่แม้แต่ตัวของเด็กช่างเองก็อาจไม่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักเหตุและผลเสียด้วยซ้ำว่าต่อสู้กันไปทำไม? จุดเริ่มต้นของการตีกันมีที่มาจากไหน? แต่พวกเราทุกคนที่เป็นเห็นมองจากภายนอกเข้าไปที่เหล่าเด็กช่างกลุ่มนี้ ต่างรู้ได้อย่างชัดเจนว่าปลายทางที่รออยู่นั้น ไม่สวยงามอย่างแน่นอน

4 KINGS II อาจเปรียบได้ว่าข้อความที่หวังดีจากรุ่นพี่ส่งต่อสู่รุ่นน้อง เพราะผู้กำกับอย่าง คุณพุฒิพงษ์ นาคทอง ที่ต้องการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ เพื่อถ่ายทอดปัญหาของเหล่าวัยรุ่นวัยร้อน ที่กำลังมัวเมาไปกับความคึกคะนองทำให้มองไม่เห็นปัญหาที่ตัวเองได้ก่อขึ้น แน่นอนว่าต่อให้ไม่มีภาพยนตร์เรื่องนี้เกิดขึ้น เราก็รับรู้ปัญหาเด็กช่างกลตีกันได้ตามหนังสือพิมพ์อยู่ดี แต่ 4 KINGS II ต้องการที่จะเจาะลึกให้เห็นแนวคิด ความคึกคะนอง ความรุนแรงที่ตัวละครเหล่านี้ก่อขึ้น โดยไม่ได้เชิดชูความกล้าหรือความเท่ของเด็กช่างในตอนที่สู้กัน แต่เผยให้เห็นความน่าสลดอดสู ของคนที่เลือกเดินทางผิดและปลายทางที่เกิดขึ้น กลับไม่มีอะไรรออยู่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ชนะหรือผู้แพ้ แต่ราคาที่ต้องจ่ายไประหว่างทางกลับมีราคาสูง ไม่ว่าจะเป็นชีวิต เงินทอง ความพิการของร่างกาย ช่วงเวลาชั้นของวัยคะนอง อาจเป็นช่วงเวลาที่สูญเสียทุกอย่างในชีวิตไปเลยก็ได้เช่นกัน

อาจจะมีหลายคนบอกว่าสถาบันการศึกษาหรือสถาบันครอบครัวจะเป็นอย่างไรนั้นไม่สำคัญ เพราะการที่คนเราจะเลือกสิ่งดีชั่วนั้น ตัวเราเป็นคำกำหนดเอง แต่นั่นอาจจะเป็นการมองปัญหาที่เกิดขึ้นง่ายจนเกินไป อย่าลืมว่าคนทุกคนล้วนแตกต่างกันไป การตัดสินใจ ทัศนคติ สภาพจิตใจของแต่ละคนมีไม่เท่ากัน ทำให้เมื่อตกอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบเดียวกัน แต่การตัดสินใจย่อมแตกต่างกันเป็นเรื่องปกติ ซึ่งบางคนอาจถูกสภาพแวดล้อมหลอมรวม หรือสิ่งถูกโดนล้างสมองจากเหล่ารุ่นพี่ ให้เข้าร่วมเดินสายตีรันฟันแทงกับกลุ่มคู่อริต่างสถาบัน ดังนั้นในบางมุมเด็กช่างอาจเป็นเหยื่อที่ถูกชักจูงด้วยความรุนแรง โดยมีผลมาจากความล้มเหลวของสถาบันการศึกษาและสถาบันครอบครัว ที่ไม่สามารถผลิตเด็กให้เติบโตมาเป็นคนที่มีคุณภาพได้

หากต้องการหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กเติบโตมาเป็นคนที่เลือกใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา การพัฒนา ‘ความฉลาดทางอารมณ์’(EF) ตั้งแต่ในวัยเด็กก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้เกิดทักษะการยับยั้งชั่งใจ ควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ผ่านการไตร่ตรอง ซึ่งทักษะเหล่านี้จะติดตัวมาเป็นอุปนิสัยเมื่อเติบโตขึ้นมาในช่วงวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้ควรเสริมทักษะการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลเสริมเข้าไป บ่อยครั้งที่เราได้ฟังตรรกะเด็กช่างที่ชวนอุทานในใจ และไม่อยากเชื่อว่าจะมีคนที่คิดแบบนี้อยู่ในสังคมจริง ๆ ดังนั้น ‘ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์’(Critical Thinking) ทักษะที่จำเป็นของศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่แค่เฉพาะเด็กช่าง แต่เด็กไทยทุกคนควรมีติดตัวไว้ เพื่อเพิ่มความสามารถในการคิดแบบมีเหตุมีผล มีข้อสนับสนุน โดยไม่ใช้อารมณ์ ความเชื่อ และอคติ มาใช้ในการตัดสินใจ ซึ่งควรเป็นทักษะพื้นฐานที่ควรมีติดตัวแต่บ่อยครั้งเรากลับไม่เห็นการทักษะการคิดแบบนี้อยู่ในเด็กช่าง บางทีอาจเป็นเพราะสภาพแวดล้อมของสังคมไม่เอื้ออำนวยให้เด็กได้ ‘คิด’ แต่สนับสนุนให้เด็ก ‘เชื่อ’ มากกว่า

วัฒนธรรมการตีกันยังคงถูกสืบสานมาจนถึงปัจจุบัน ยังมีผู้คนได้รับความเดือดร้อน พ่อแม่เสี่ยงสูญเสียลูก ที่แย่กว่าคือลูกหมดอนาคตกลายเป็นคนพิการ แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มกล้าที่จะเอาอนาคตตัวเองไปเสี่ยง และเลือกเดินเส้นทางแห่งความรุนแรงและนองเลือด เราได้แต่หวังว่าต่อจากนี้หน่วยงานภาครัฐจะให้ความสำคัญกับการลบภาพจำของวัฒนธรรมการตีกันของเด็กช่างให้หายไปได้ในสักวัน หรืออย่างน้อยขอให้เด็กช่างที่ได้ผ่านมาดูภาพยนตร์เรื่อง 4 KINGS II เกิดการตกตะกอนทางความคิดว่าสุดท้ายแล้วความรุนแรงไม่ได้ให้อะไรเลยนอกจากความสูญเสีย

สามารถอ่านต่อเรื่องทักษะ EF และ Critical Thiking ต่อได้ที่ลิงก์นี้ :
https://www.planforkids.com/kids_corner/ef-executive-functions-9-group?fbclid=IwAR195_mXj2ImyCqK0Mal_v1AK8kppxiQFyGlSbdhz6n87CTWuUtgy2R3Km0
https://codegeniusacademy.com/critical-thinking/

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า