“โลกสีชมพูที่ทั้งหอมหวานและขื่นขมในเวลาเดียวกัน” – Barbie (2023)

หากระบบสังคมบดบัง ไม่ให้มองเห็นคุณค่าในตัวของเรา

Share on

 540 

Barbie (2023) จะเล่าเรื่องของ ‘บาร์บี้’ รุ่นพิมพ์นิยม (มาร์โก้ ร็อบบี้) ผู้มีชีวิตสมบูรณ์แบบ มีเพื่อนฝูงและบ้านหลังงามในเมือง ‘Barbieland’ มีเต็มไปด้วยสีชมพูสดใส ในขณะที่ชีวิตของบาร์บี้ดำเนินไปได้ด้วยดี ในวันหนึ่ง เท้าของเธอที่เคยเขย่งกลับแบนราบ และบาบี้ร์เริ่มคิดถึงเรื่องความตายขึ้นมา ทำให้บาร์บี้ต้องออกเดินทางไปสู่โลกแห่งความจริงเพื่อหาคำตอบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมี เคน (ไรอัน กอสลิ่ง) แฟนหนุ่มของเธอติดตามไปด้วย ก่อนที่จะพบว่าโลกแห่งความจริงได้นำความวุ่นวายเข้ามาสู่ Babieland อย่างคาดไม่ถึง

ภาพยนตร์ Barbie เป็นผลงานที่ดัดเเปลงมาจาก ‘ของเล่น’ หนึ่งในผลิตภัณฑ์ของ ‘แมทเทล’ (Mattel) บริษัทผู้ผลิตของเล่นรายใหญ่สัญชาติอเมริกา ที่ผลิตมาเพื่อเด็กผู้หญิงทำบาร์บี้มีหลากหลายอาชีพไม่ว่าจะเป็นหมอ วิศวกร หรือประธานาธิบดี ดั้งเดิมบาร์บี้เป็นของเล่นที่ผลิตมาเพื่อเด็กผู้หญิง ทำให้บาร์บี้หนุนเสริมให้ผู้หญิงมีภาพลักษณ์ที่เก่งกาจ งดงาม เข้มเเข็ง แต่กลับกันในส่วนของเคนเป็นแค่เพียงเเฟนหนุ่มของบาร์บี้ถูกกดทับอยู่ภายใต้ระบบของบาร์บี้เเลนด์ที่ผู้หญิงเป็นใหญ่ ทำให้เมื่อเคนทางมาถึงโลกเเห่งความเป็นจริงและพบว่าผู้ชายเองก็สามารถเป็นหมอ นักธุรกิจ หรือผู้นำได้เช่นกัน ทำให้เคนตัดสินใจนำระบบ ‘ปิตาธิปไตย’ (Patriarchy) เข้าสู่ดินเเดน Barbieland

‘ปิตาธิปไตย’ เป็นเเนวคิดที่ว่าด้วยระบบที่เพศชายเป็นผู้กุมอำนาจบทบาททางการการเมืองและศีลธรรม ซึ่งค้านกับแนวคิด ‘เฟมมินิส’ (feminism) หรือ แนวคิด ‘สตรีนิยม’ ซึ่งมีสารานุกรมบริแทนนิกา (สารานุกรมภาษาอังกฤษ) ได้นิยามความหมายไว้ว่าเป็น ‘ความเชื่อเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง’ ในประเด็นนี้บาร์บี้ได้จำลองแนวคิดการปกครองในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสีสันอมชมพูอันสดใส แต่เบื้องหลังกลับมีคนที่ถูกกดทับและได้รับผลกระทบจากแนวคิดที่สุดโต่งจนเกินไป เราไม่เพียงได้เห็นเพศหญิงที่ถูกกดทับอยู่ในระบบปิตาธิปไตยเพียงฝ่ายเดียว แต่เพศชายเองก็ตกเป็นเหยื่อของแนวคิดที่ไม่มีพื้นที่ให้เเสดงความอ่อนแอและกำหนดบทบาทให้เพศชายต้องเข้มแข็ง เป็นผู้นำอยู่เสมอ ทำให้ไม่สามารถแสดงตัวตนที่แท้จริงออกมาได้ คุณครูสามารถใช้ภาพยนตร์ Barbie เป็นสื่อการเรียนรู้ในห้องเรียนได้เลย เพราะภาพนยตร์ได้ย่อยข้อมูลที่ยากต่อการทำความเข้าใจมาเสนอผ่านเรื่องราวที่สดใสแต่แฝงไปด้วยแนวคิดเรื่องค่านิยมสังคม ความเท่าเทียมกันทางเพศ การเคารพซึ่งกันเเละกันของเพื่อนมนุษย์

ปัจจุบันภาพยนตร์และสื่อบันเทิงพยายามที่จะเกาะกระเเส ‘Woke Calture’ กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดกระเเสทั้งในเเง่บวกและเเง่ลบปะปนกันไป ก่อนอื่นอยากชวนคุณครูมาทำความรู้จักกับคำว่า ‘Woke’ ซึ่งทำหน้าที่เป็นช่องสองของคำว่า ‘Wake’ ที่แปลว่าตื่น ในความหมายที่ว่า ตื่นตัวทางการเมือง เชื้อชาติ ความหลากหลายเพศ ซึ่งในบางกรณีก็สร้างความไม่พอใจให้กับคนบางกลุ่ม ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์ The Little Mermaid ที่เปลี่ยนสีผิวของตัวละคร ซึ่งกระเเสสังคมมองว่าผู้สร้างยัดเยียดความ WOKE มากเกินไปจนไม่เคารพต้นฉบับ แต่ Barbie กลับได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไป แม้จะมีประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเชื้อชาติและความเท่าเทียมทางเพศ แต่ถูกสอดเเทรกผ่านเรื่องราวได้อย่างพอเหมาะ กระตุ้นให้คนในสังคมมากขึ้นและกระตุ้นให้เกิดความตื่นรู้เรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศ

Barbie เป็นภาพยนตร์ที่ดูได้ทุกเพศทุกวัยเด็กสามารถดูและสนุกไปกับเรื่องราว ผู้ใหญ่ก็ได้ตกตะกอนถึงการมองหาคุณค่าในตัวเอง โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของระบบหรือโครงสร้างทางสังคมที่กำหนดบทบาทค่านิยมในเเต่ละเพศ ไม่ว่าจะเกิดมาในเชื้อชาติใด ไม่ได้เก่งเท่าคนอื่น ไม่ได้สวยตามมาตรฐานความงาม (Beauty Standard) แต่เราทุกคนต่างงดงามและมีคุณค่าในเบบของตัวเอง

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : 

https://thematter.co/thinkers/woke/28575

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า