“เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่แตกต่างให้เลือกใช้ตามบริบทของตนเอง” โครงการพัฒนาทักษะครูและนักจัดการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนในศตวรรษที่ 21

Share on

 434 

ย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปี ก่อนหน้าที่จุดเริ่มต้นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูและนักจัดการเรียนรู้ ให้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน สร้างคุณลักษณะผู้เรียนให้มีคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 สำหรับหลักสูตรการออกแบบการเรียนรู้ โดยโครงงานนวัตกรรมชุมชน จะเน้นไปที่การวิเคราะห์ผู้เรียนเบื้องต้น วิเคราะห์บริบทโดยรอบ โดยมุ่งเป้าหมายสำคัญคือการสร้างการมีส่วนร่วมให้กับผู้เรียน ควบคู่ไปกับการสร้างลักษณะนิสัยการเรียนรู้ และวินัยที่สร้างความมุ่งมั่นพัฒนาในตัวเอง โดยสิ่งที่คาดหวังที่จะได้จากโครงการ คือด้านความคิดสร้างสรรค์ ความยืดหยุ่น โดยมีผลลัพธ์ความสำเร็จที่เกิดขึ้นที่ตัวนักเรียน

 

ทีม I AM KRU. สังคมสร้างสรรค์ของคนสอน ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์กิจกรรมการอบรม On Site ของโครงการนี้ทั้งสองกิจกรรมตามเนื้อหาคอนเทนต์ที่ปรากฏก่อนหน้า ผู้สนใจสามารถสรุปเนื้อหาได้ตามลิงก์ที่จะแทรกไว้ด้านล่างโพสต์นี้ และได้พูดคุยกับ ดร.พรนับพัน วงศ์ตระกูล ด็อกเตอร์นักพัฒนา หัวหน้าโครงการ ฯ เกี่ยวกับตัวโครงการ ความคืบหน้าและผมสัมฤทธิ์ของโครงการตลอด 3 ปี ที่ผ่านมา 

โครงการพัฒนาทักษะครูและนักจัดการเรียนรู้ สำหรับห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 
เป็นเนื้อหาที่พัฒนาขึ้นจาก Insight ความต้องการของคุณครู 

โครงการอบรมและพัฒนาครูครั้งนี้เป็นปีที่ 3 แล้ว แต่ว่าปีแรกที่ทำก็ลองผิดลองถูกและหาคุณภาพหลักสูตร โดยใช้วิธีการสอบถาม สำรวจความต้องการจากตัวคุณครูโดยตรงว่ายังขาดองค์ความรู้เรื่องไหนที่คิดว่าจะมาพัฒนาให้ห้องเรียนเกิดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 ได้ คุณครูก็โหวตมาว่าควรจะเป็นเรื่องเหล่านี้ ทางทีมเราก็นำความต้องการของคุณครูทั้งหมดมารวมกันว่าจะจัดเป็นหลักสูตรการอบรมอะไรได้บ้าง เลยเกิดขึ้นตอนเพื่อการพัฒนาเนื้อหาขึ้นตามตลอด 3 ปี โดย

ปีที่หนึ่ง เน้นไปที่หัวข้อการเรียนรู้ที่คุณครูต้องการนำไปพัฒนาห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ของตัวเอง โดยการคัดเลือกผู้เข้าร่วมอบรม

ปีที่สอง ได้หัวข้อเรื่องที่ชัดเจนแล้ว พวกเรากลับมาทำการบ้านกันเยอะมากขึ้นว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความยั่งยืนทางการเรียนรู้ ทำข้อตกลงกับพื้นที่การศึกษาโดยการคัดเลือกศึกษานิเทศก์ที่มีความสนใจและต้องการพัฒนาการเรียนรู้ตามศตวรรษที่ 21 ให้ช่วยค้นหาครูที่คุณลักษณะและมีศักยภาพตรงตามหัวข้อที่กำหนด เพื่อให้เข้ามาอยู่โครงการได้ด้วยค่ะ พอเข้ากระบวนการนี้ทำให้ค้นพบว่าโครงการจบแล้วตัวนักวิจัยอาจจะอยู่ไกลจากคุณครูในพื้นที่ แต่พี่เลี้ยงที่มาจากเขตพื้นที่เป็นกำลังสำคัญในการช่วยมอนิเตอร์ให้การสนับสนุนคุณครูอย่างเหมาะสม 

ปีที่สาม ปีที่เข้าสู่การเรียนรู้ จุดเด่นของโครงการที่แตกต่างจากหลักสูตรที่อื่น คือ การทำกระบวนการ ระหว่างดำเนินงานก็มีปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสม ซึ่งตัวการออกแบบกระบวนการเป็นเรื่องที่ทั้งยากและสำคัญ โดยเฉพาะกระบวนการที่กระตุ้นให้ครูมีส่วนร่วมเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตัวเองและนำไปใช้ได้อย่างแท้จริง ได้ลงมือทำกิจกรรมจริง ๆ จะออกแบบอย่างไรให้พื้นที่ครูได้ลงมือทำกระบวนการอย่างเต็มที่ เพราะว่าถ้ามานั่งเรียนเฉย ๆ พอไปนำไปใช้จริงที่ผ่านมาก่อนหน้าก็จะพบว่ามีปัญหาที่เกิดขึ้นมากมาย แล้วไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร 

แต่ถ้าเกิดกระบวนการที่ได้ทดลองทำ ได้คำแนะนำจากวิทยากร หรือจากเพื่อน ๆ เป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของตัวเองจะนำไปสู่การไปใช้งานอย่างแท้จริง จึงทำให้โครงการเน้นของเราเน้นการทำกระบวนการมาก ๆ เป็นหลัก 

ภาพการอบรมเชิงปฏิบัติการ : ห้องเรียนอัจฉริยะ

โดยมูลนิธิสตาฟิช คันทรีโฮม พ.ศ. 2563

สิ่งที่สำคัญหลังจากอบรมเสร็จแล้วนั้น คือทำอย่างไรให้เกิดความยั่งยืนในการเรียนรู้สิ่งที่สำคัญหลังจากเสร็จสิ้นการอบรมไปแล้ว สิ่งสำคัญคือ “พี่เลี้ยง” จะอยู่กับครูตั้งแต่เริ่มการอบรม บางครั้งสิ่งที่ครูอยากรู้อาจจะไม่อยู่ในเนื้อหาเราก็มีพี่เลี้ยงคอยแนะนำ เราให้ครูทำเรื่องนี้เพื่อให้เกิดประสบการณ์จริง โดยให้ครูวางแผนว่าเวลาจะเอาไปใช้ที่ห้องเรียนต้องมีกระบวนการอะไรบ้าง

องค์ความรู้ที่ได้จากการอบรม 
สามารถนำไปแก้ปัญหาที่ หนึ่ง สอง สาม สี่ ในตัวได้เลยทีเดียวกัน

ความสนใจและผลตอบรับที่ได้จากกลุ่มครูที่เข้าร่วม 

คิดว่าอย่างแรกเกิดที่ตัวครูก่อน เพราะครูมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะมาอบรมเพราะอะไร แล้วระหว่างการอบรมครูก็นึกถึงจุดประสงค์ตลอดเวลาเข้าร่วมกิจกรรมว่าเขาจะนำเรื่องที่เรียนรู้ไปใช้ในห้องเรียน แล้วสุดท้ายก็ได้กำไรจากจุดประสงค์แรกที่ตั้งใจ และได้จากจุดประสงค์อื่นที่เกิดขึ้นระหว่างทางการอบรม 

ยกตัวอย่าง ครูบางท่านมาด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นที่ทำงานมาอบรมรอบนี้เพื่อที่จะแก้ไขปัญหานั้น แต่พอทำอบรมไปแล้วก็ค้นพบสิ่งที่ได้เรียนรู้ไม่ได้ช่วยแก้ได้แค่ปัญหาเดียว องค์ความรู้ที่ได้จากการอบรม สามารถนำไปแก้ปัญหาที่ หนึ่ง สอง สาม สี่ ในตัวได้เลยทีเดียวกัน 

อยากให้ ดร. พรนับพัน เล่าถึงหลักสูตรการจัดการห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างจุดแข็งผู้เรียน Strengths-Based Classroom เพิ่งจบไป

เนื้อหาการอบรมนี้ อาจารย์นก เคยจัดไปบ้างแล้ว แต่จาก feed back ครูที่เข้าร่วมครั้งนี้ก็จะพบว่าเนื้อหาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การเรียนครั้งนี้นอกจากเน้นย้ำความรู้เดิมให้แข็งแรง และยังได้เนื้อหาที่ปรับปรุงขึ้นในแง่มุมที่มากขึ้นไปด้วย เนื้อหา  Strengths-Based Classroom  ถ้ามุมมองในโครงการ เป็นสิ่งที่ทำให้คุณครูได้รู้ว่าผลกระทบได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่ครูกระทำ ครูจะเกิดความมุ่งมั่นที่จะพยายามป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในห้องเรียนได้ด้วย
ทำให้ครูมองลำดับที่เกิดขึ้นเป็นขั้นตอน ในการทำกิจกรรมจิตวิทยาเชิงบวกมันทำให้เราเห็นถึงมิติของคนที่เป็นคนทำให้เรามองภาพอนาคตที่เป็นผลของกันและกัน ถ้าครูทำเรื่องที่ดีเด็กก็จะรับผลดี ถ้าหากละเลยในบางเรื่องก็อาจจะนำมาซึ่งผลกระทบไม่ดีที่เกิดขึ้น แต่หากเพียงแค่เราปรับกระบวนการทำงานก็อาจช่วยเด็ก ๆ  ที่จดลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับสังคมได้ ส่วนเด็กที่ดีเราต้องพัฒนาต่อ และเด็กที่เขามีปัญหาต้องปรับปรุงและหาทางช่วย ถึงแม้หากช่วยไม่ได้เราก็ต้องหาทาง เพราะเราต้องรู้ผลกระทบของการที่ปล่อยเด็กคนหนึ่งเป็นไปตามยถากรรม มันจะเกิดอะไรขึ้นกับเด็กบ้าง เราก็จะมองเห็นการส่งต่อการดูแลที่เหมาะสมกับเด็กก็ได้ ทำให้ครูมองเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ทำให้รู้คุณค่าของความเป็นครู รู้คุณค่าการทำงานหนัก และจับจุดแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง

ภาพกิจกรรมการจัดการห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างจุดแข็งของผู้เรียน

 Strengths-Based Classroom

แล้วถ้าการศึกษาจิตวิทยาเชิงบวกที่ขยายผลไปสู่ผู้ปกครองจะเป็นอย่างไร

สำหรับอาจารย์นก เห็นด้วยนะคะเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะว่าเวลาผู้ปกครองอยู่กับเด็กน่าจะพอ ๆ กับเด็กที่มาที่โรงเรียน เพราะเรามีโครงตัวอย่างการขยายผลไปสร้างความเข้าใจให้ผู้ปกครอง รู้ว่ากิจกรรมที่ลูก ๆ ทำอยู่คืออะไร จะได้ให้การสนับสนุนเขาอย่างถูกต้อง แต่ก็มีอุปสรรคที่ทำให้เกิดขึ้นได้ยากคือ บริบทของผู้ปกครอง คือผู้ปกครองไม่ได้ไม่อยากทำ แต่เพราะว่าไม่มีเวลาทำเพราะว่าส่วนใหญ่ต้องออกไปทำงานหาเลี้ยงชีพเพื่อดูแลครอบครัว และส่วนมากเด็กก็ถูกเลี้ยงด้วย ปู่ ย่า ตายาย 

เป็นปัญหาเรื่องปากท้องที่ทำให้เราไม่มีเวลาทำงานกับร่วมกับผู้ปกครอง และที่สำคัญคือโรงเรียนต่างก็มีบริบทสภาพแวดล้อมแตกต่าง มีความยากง่ายไม่เหมือนกันด้วย ครั้งหนึ่งเคยทำโครงการนี้กับโรงเรียนขนาดใหญ่มีความพร้อมก็ได้รับความร่วมมืออย่างดี  แล้วความท้าทายคือเด็กที่ด้อยโอกาส กลุ่มเด็กที่ผู้ปกครองต้องมาเข้าร่วมกิจกรรมนี้กับเรา จะช่วยเขาได้อย่างไร แต่ก็กำลังหาความเชื่อมโยงอยู่ว่าจะเป็นไปได้อย่างไรได้บ้าง 

ปัญหาระบบการศึกษา ปัญหาปากท้องผู้ปกครองก็เป็นส่วนสำคัญ 

ทั้งสองปัญหานี้ก็สำคัญเพราะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กในห้องเรียน ถ้าผู้ปกครองพร้อมมีเวลาให้เรียนรู้กับลูกหลาน อย่างเรื่องมอบหมายการบ้านผู้ปกครองก็สามารถ follow up ได้ เป็นทีมสนับสนุนการเรียนรู้ ในขณะเดียวกันกับครอบครัวที่ผู้ปกครองต้องออกไปทำงานเวลาเด็กกลับมาถึงบ้านไม่เจอพ่อแม่หรือผู้ปกครอง ก็ขาดกำลังที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้หรือทบทวนได้จากที่บ้าน เด็กเรียนรู้เพียงลำพังทำให้ไม่เกิดการพัฒนาการเรียนรู้อย่างที่ควรจะเป็น 

จุดนี้จึงทำให้เกิดโครงการที่อุดหนุนผู้ปกครองให้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่ โดยที่ไม่ต้องพะวงเรื่องออกไปหาเงินเลี้ยงชีพ เพราะผู้ปกครองบางคนหยุดงาน = ไม่มีเงิน โครงการนี้เกิดขึ้นเพียง 3 ครั้ง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากกิจกรรมก็เป็นข้อพิสูจน์ว่าสิ่งนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตัวผู้ปกครอง เกิดความเข้าใจกับกระบวนการดูแลลูกหลานมากขึ้น ผู้ปกครองบางเห็นผลดีของโครงการและผลไม่ดีก็เกิดขึ้นกับบางคนที่ต้องไปดูแลกันต่อ เพียงแต่ว่าความสม่ำเสมอเรื่องงบประมาณจึงทำให้การดำเนินงานไม่สามารถไปต่อในระยะยาวได้ค่ะ 

ภาพกิจกรรมนวัตกรรมบอร์ดเกม เพื่อการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

จากห้องที่ครูเรียนรู้ สู่ห้องเรียนของคุณครูเอง

ส่วนเรื่องการต่อยอดโครงการ ขยายผล ถ้าส่วนงานดูแล เขตพื้นที่ต้นแบบที่คัดเลือกที่ต้องสานต่อโครงการให้บรรลุผล แล้วส่วนนี้ทำไว้บริการคุณครูที่ walk in เข้าร่วมกิจกรรม แล้วหลังจากนี้เป็นการติดตามผล คุณครูที่เข้าอบรมทั้งหมดจะนำสิ่งที่ได้ไปใช้ในห้องเรียน ทางโครงการก็ให้เคสตามที่ตั้งโจทย์ไว้ จากนี้ไปก็เป็นการติดตามรายงานผลว่าคุณครูนำไปใช้ได้ผลอย่างไร แล้วแก้ไขได้ตามที่ตั้งเป้าหมายหรือไม่ และระหว่างทางคุณครูค้นพบความต้องการอยากพัฒนาเรื่องอะไรต่อไป

ส่วนด้านเนื้อหาในเขตพื้นที่ต้นแบบ ที่เราเข้าไปพัฒนาตั้งแต่ปีที่สอง เป็นเรื่องสร้างความยั่งยืนให้แต่ละจังหวัดจะมีหนึ่งเขตพื้นที่ที่มีวิทยากรอบรมอยู่แล้ว ซึ่งตอนนี้เปรียบเสมือนแม่ไก่ที่กำลังออกไข่ ผลผลิตที่สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดในพื้นที่เขา คนที่เข้าร่วมอบรมก็มีบริบทที่มีความใกล้เคียงกัน ลักษณะการจัดกิจกรรมในพื้นที่ก็จะตอบโจทย์ แล้วช่วยแก้ไขปัญหาให้คุณครูได้มากกว่า  

สำหรับคุณครู นักจัดการการเรียนรู้ หรือผู้ที่สนใจสามารถเข้าเรียนรู้ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้ที่เว็บไซต์

https://onlinelearning.iamkru.com/course-online/courses

** ทุกกิจกรรมอบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมรับเกียรติบัตรหลังจบการอบรม** 

และติดตามข่าวสารเผยแพร่ข่าวสารในการอบรมและความเคลื่อนไหวของโครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้ที่เฟซบุ๊กโครงการตามลิงก์ด้านล่าง

https://www.facebook.com/educatorskill/

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า