ถอดประเด็น เวทีติดตามผลประเมินภายในเพื่อเสริมศักยภาพภาคีเครือข่ายTSQP Journey towards TSQM and Beyond

Share on

 494 

เวทีติดตามผลประเมินภายในเพื่อเสริมศักยภาพภาคีเครือข่าย TSQP Journey towards TSQM and Beyond 

การพัฒนาคุณภาพผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนผ่านคุณภาพครูและโรงเรียน การ Transform โรงเรียนที่ใช้ความรู้สำเร็จรูปตามที่ได้รับคำสั่ง หรือตำราบังคับเล่มใดเล่มหนึ่ง แต่ TSQP จะนำมาใช้ให้เหมาะกับบริบทของโรงเรียน กลุ่มนักเรียน เป็นการสร้างความรู้ที่ใช้งานตามคุณลักษณ์เฉพาะของโรงเรียนแต่ละแห่ง ใช้ความรู้ข้างนอกมาปรับให้เข้ากับสิ่งที่โรงเรียนต้องการ เกิด Growth Mindset ที่หลุดจากกรอบคำสั่ง

โรงเรียนเป็นที่สร้างความรู้จากการปฏิบัติ

หัวใจโรงเรียนที่พัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องนั้นต้องเป็นโรงเรียนที่มีทักษะและฉันทะในการสร้างความรู้จากการปฏิบัติ (Experiential Learning) สร้างความรู้ขึ้นเพื่อใช้งานและความรู้ที่สร้างขึ้นไม่ได้ติดอยู่กับที่ เมื่อเวลาผ่านไปการใช้งานก็ปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว เป็นโรงเรียนที่ใช้พลังทักษะ Experiential Learning ได้ โรงเรียน TSQP มีส่วนเปลี่ยนวงการการศึกษาไทย มีการเปลี่ยนในปริมาณที่มากเพียงพ่อที่จะสร้างแรงขับเคลื่อนในบริบทที่หลากหลาย

การใช้ TSQP เปลี่ยน Midnset วงการศึกษาไทย ต้องดำเนินการในทุกภาคส่วน 

ผู้อำนวยการโรงเรียน ต้องเป็นผู้บริหารที่เป็นนักพัฒนา ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำทางวิชาการ

ผู้เรียน ครูคือผู้เรียนรู้ที่สำคัญ ต้องเป็น Life Long Learner ทั้งผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ภาคีเครือข่าย พ่อแม่ และชุมชน 

การเรียนรู้เคลื่อนที่จากตื้น (Superficial) ใช้ความจำอย่างเดียว สู่เรียนรู้เชิงลึก (Deep) และเกิดการเชื่อมโยง (Transfer) นำไปใช้งานได้จริง (Authentic Learning) 

การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เกิดการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning )

การเรียนรู้ที่ทรงพลังคือ การเรียนจากสถานการณ์จริง (Authentic Learning) จากสภาพสังคมรอบตัวใช้ High Functioning Classroom 

การเรียนรู้ผ่านชุมชน

การเรียนแบบ Authentic การทำแผนที่ชุมชนให้นักเรียนเรียนผ่านการทำแผนที่ชุมชน ครูก็รู้ด้วยกัน ชุมชนก็ได้เรียนรู้ด้วยว่าการเรียนแบบ Authentic ในชุมชนเรียนได้ไหนบ้าง โรงเรียนจะได้สิ่งที่เรียกว่า Co-Educator คือผู้ปกครอง เด็ก ปู่ย่า ตายาย คนในชุมชนทำให้โรงเรียนสามารถดำเนินการไปได้ต่อเนื่อง

Active Learning not Passive Learning 

ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องจดเลคเชอร์ (Classroom) ตามครูสอน เปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้องเรียนปฏิบัติการ (Workshop Room)  โดยที่ห้องเรียนไม่จำเป็นต้อง 4 เหลี่ยม สามารถออกนอกโรงเรียนไปเน้นการเรียนรู้จากสถานที่จริง ไปทัศนศึกษาดูความเคลื่อนไหวของโลกห้องเรียนนอกโรงเรียน

TSQP เปลี่ยน Mindset วงการศึกษาไทย 

การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นตลอดเวลา แล้วนิเวศการเรียนรู้จะจัดอย่างไรให้ครบ VASK เพื่อกล่อมเกลาให้เกิดการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน โดยแกนหลัก (Conceptualize) ของกระบวนการบ่มเพาะกล่อมเกลา VASK ได้ดังนี้

เป้าหมาย 4 ด้านผสานเป็นเกลียว VASK – โดยเป้าหมายการเรียนรู้ต้องครบ VASK  

V Values ค่านิยม อะไรเป็นสิ่งที่ยึดถือ คุณธรรมในการดำเนินชีวิต

A Attudes สร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ 

S Skills  Hard Skills / Soft Skills (Transferable skills / Future skills) ทักษะทั้งวิชาการ ทักษะทางสังคมเน้นการเรียนแบบปฏิบัติและการ Reflection ซึ่ง Soft Skills นั้นเกี่ยวข้องกับ Values และ Attitudes

K Knowledge ความรู้ที่นำไปใช้เพื่อการพัฒนาเป็นสมรรถนะ

VASK ผสานกันเป็นสมรรถนะ (Competency)   ในรูปผสานกันเป็นเกลียวเชือก แต่ความเห็นของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ว่าน่าจะผสมกลมกลืนกันเหมือนขนมเปียกปูนมากกว่า ครูต้องไม่หลงจัดการเรียนรู้ที่เน้นเฉพาะด้านความรู้หรือความรู้กับทักษะเท่านั้น ต้องเอาใจใส่ Values และ Attitudes ด้วย ในทุกคาบสอน ทุกกิจกรรม นักเรียนต้องได้เรียนรู้ครบ 4 ด้านของ VASK ครูพึงตระหนักและสังเกต การเรียนรู้ 4 ด้านนี้ของนักเรียนอยู่ตลอดเวลา หากนักเรียนอ่อนในด้านใดครูต้องหาทางช่วยเหลือเสริมแรง  

 

เพื่อพัฒนาครบด้าน Holistic Learning พัฒนาสมรรถนะ

โดยทุกกระบวนการนั้นเน้นเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน 

ครูต้องใช้ทักษะความเป็นคนช่างสังเกต สังเกตทุกสิ่งโดยเฉพาะนักเรียน 20 คน นั้นมีทักษะการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน ครูต้องมีทักษะการประเมินอีกทางด้วย โรงเรียนที่จะมีคุณภาพสูงนั้นต้องประเมินผลงานเพื่อ Feedback as Feedforward ที่จะไปปรับปรุงแก้ไขประเมินการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนให้ก้าวหน้า

การประเมิน 

Assessment of Learning (AOL) (Summative Evaluation) เป็นการประเมินอย่างต่อเนื่อง มีเครื่องมือที่ช่วยประเมินให้ชัดเจนขึ้นเพื่อให้เห็น Effect Size เพื่อดูว่าสามารถยื่นมือเข้าจัดการ หรือวิธีการจัดการเรียนรู้ของเรา ที่ดีไม่ดี แค่ไหน ที่ยืนยันได้โดยการประเมินที่มีคุณภาพ แม่นยำ และคำนวณ effect size ว่าเป็นอย่างไรเห็นการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลัง (Before – After) 

Assessment for Learning (AfL) ที่ปกติใช้กัน เป็นการประเมินระยะไกล การช่างสังเกตง่าย ๆ ในรายชั่วโมง คาบเรียน  แต่ AfL นั้นต้องตามด้วย Constructive Feedback (การวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์) 

Assessment as learning (AaL) 

การฝึกให้นักเรียนประเมินตนเองเป็น และประเมินเพื่อนได้ด้วย (Peer Assessment) 

Assessment of Learning (Aol) การประเมินที่วัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนอย่างครอบคลุมทักษะการเรียนรู้อย่างรอบด้าน 

Effect Size ใช้การวัดทักษะเด็ก เรียนดี เรียนอ่อน หรือมีทักษะการกีฬา ศิลปะ ที่นักเรียนถนัด และการวัดประเมินการเรียน

Constructive Feedback (การวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์) เป็นสิ่งที่สำคัญมากเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้อำนวยการ ครู โรงเรียน กระตุ้นใส่ใจ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องผ่านกระบวนการ 

  • Professional Learning Community
  • Plan-Do-Check-Act (PDCA) หรือ วางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ-ปรับปรุง
  • Kolb’ Experiential Learning Cycle การเรียนรู้เพื่อการปฏิบัติ สำคัญมากในการที่จะพัฒนาตนเอง 

Double Loop Learning การเรียนรู้

 

ที่มา : https://brocku.ca/pedagogical-innovation/resources/experiential-education/pedagogy-of-experiential-education/

หลักการที่สำคัญที่เน้นเพื่อการเป็น TSQP > TSQM คือการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ทำอะไร สังเกต เกิดอะไรขึ้น เห็นผลอะไร ก้าวหน้าอย่างไร ติดเครื่องมือสะท้อนคิดให้ตัวผู้เรียนเกิดการสะท้อนคิดเป็น ทำให้การตั้งคำถามเก่ง ครูต้องเป็นโค้ชมากกว่าสอนนักเรียน ตัวครูก็ต้องตั้งคำถามเป็น เพื่อโยนเข้าสู่การเรียนรู้ในสิ่งนั้น แล้วผู้เรียนจะค่อย ๆ ซึมซับพัฒนา VASK ได้ 

ความรู้เชิงเทคนิค วิธีการ สะท้อนคิด เรื่องเทคนิควิธีการ การเรียนรู้ Superficial ->  Deep -> Transfer Learning สะท้อนคิดสิ่งที่เกิดขึ้นและเข้าสู่หลักการ ฝึกฝนเป็นนิสัย กลายเป็นวัฒนธรรม กลายเป็นอุปนิสัยที่ติดตัวไปตลอด เกิดการตกผลึกหลักการว่า ควรเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง เพื่อตั้งคำถามตรวจสอบให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้องและชัดเจน

TSQP เป็นเวทีของ Experiential Learning การเรียนรู้สู่ → TSQM

เป้าหมายยิ่งใหญ่ที่การพัฒนานักเรียน ช่วยให้คนทั้งระบบการศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้ 

กลุ่มโรงเรียนพัฒนาตนเองเกิดการ Transformation ในการสังเกตลูกศิษย์ ครูสามารถบอกได้ว่า นักเรียนเป็นอย่างไร แต่ละคนมีความสามารถต่างกันอย่างไร เกิด Co-educator นักเรียนที่เรียนรู้เร็วก็ช่วยเหลือเพื่อนหรือเป็นผู้ช่วยครูในหลายเรื่อง ให้นักเรียนช่วยสร้าง Values ให้กับตัวเอง เด็กที่มี Values สูง เด็กจะไม่รังแกใครและไม่ถูกใครรังแก ครูต้องเสริมสร้างจิตวิทยาเชิงบวกและทำให้เกิดสนามพลังบวกในห้องเรียน เสริมพลังความเป็นมนุษย์พลังวิชาชีพครู ต้องหยุดวิธีคิดแบบ Fixed Mindset ที่ไม่เน้นการพัฒนาให้เท่าทันปัจจุบัน เพื่อให้ครูเดินทางต่อยอดการพัฒนา VASK ให้พลเมืองไทยโดยมีเป้าหมายที่เป็นปีติสุขของครูเป็นอุดมการณ์ที่ยิ่งใหญ่ของเหล่าครู

SOURCE วิดีโอ 

เวทีติดตามผลประเมินภายในเพื่อเสริมศักยภาพภาคีเครือข่าย หัวข้อ TSQP Journey towards TSQM and Beyond

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า