ใครหนอใครเปรียบเปรย ‘ครู’ ไว้ ว่าเป็น ‘เรือจ้าง’ 

ยังจำเป็นอยู่หรือไม่? ที่ครูต้องรับบาทผู้เสียสละ

Share on

 553 

“พระคุณที่สามงดงามแจ่มใส แต่ว่าใครหนอใครเปรียบเปรยครูไว้ว่าเป็นเรือจ้าง…”

เชื่อคนทั่วไปจะต้องคุ้นหูกับประโยคข้างต้นนี้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเพลง “พระคุณที่สาม” ของครูสุเทพ โชคสกุล ผู้ประพันธ์เนื้อร้องและทำนอง เป็นบทเพลงที่ครูทุกคนและนักเรียนสามารถได้ยินอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากพระคุณที่สามเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในวันครูแห่งชาติซึ่งตรงกับวันที่ 16 มกราคม ของทุกๆ ปี โดยเนื้อหากล่าวถึงการระลึกถึงพระคุณของครูที่อุทิศตนมาประทานความรู้ให้แก่เหล่าลูกศิษย์ เป็นเพลงที่มีเนื้อหาสร้างเเรงบันดาลใจให้กับครูมากมายทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่อตอกย้ำว่าอาชีพครูคือผู้ ”เสียสละ” แต่ในทางกลับกันก็อาจเป็นวาทกรรมที่กำลังกดทับอาชีพของครูอยู่

การเปรียบเทียบ “อาชีพครู” กับ “เรือจ้าง” ในสังคมไทยตอนนี้เป็นเรื่องปกติ เพราะทั้งสองอาชีพก็ต่างเป็นอาชีพสุจริตที่มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไม่ต่างกัน แต่ค่านิยมของครูผู้เสียสละควรเป็นประเด็นที่ถูกตั้งคำถามเสียมากกว่า การทำให้อาชีพครูดูโรแมนติก(Romanticized) แน่นอนว่าการเป็นครูไม่ใช่เรื่องง่ายต้องมีความอดทนต่อนักเรียนและปัญหา แต่ครูไม่จำเป็นต้องอดทนกับความอยุติธรรม ค่านิยมเรื่องครูผู้เสียสละนี้เองอาจกำลังกดทับให้ครูไม่สามารถส่งเสียงบอกเล่าถึงปัญหาได้ หรือบางครั้งครูอาจจะชาชินกับสภาพความเป็นอยู่จนเกิดความเข้าใจว่าการเสียสละเป็นเรื่องปกติ ทำให้บางครั้งเราต้องกลับมาทบทวนกันดูว่า ครูคือผู้เสียสละหรือโครงสร้างกำลังผลักภาระให้ครูจำนวนมากต้องกลายเป็นผู้เสียสละอย่างเลี่ยงไม่ได้กันเเน่? 

ครูคือผู้เสีย “เสียสละ” ถูกนำเสนอออกมาในอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงไทยมาตลอดหลายปีไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ โฆษณาที่ต่างก็ยกย่องครูผู้เสียสละชีวิตส่วนตนมาสอนสั่งลูกศิษย์ หรือ ชื่นชมครูผู้เดินทางไปสอนหนังสือในพื้นที่ห่างไกล แต่น้อยครั้งที่สื่อบันเทิงจะกลับมาตั้งคำถามว่าครูไทยในวันนี้ต้องเจอกับอะไรบ้าง เพราะการเป็นครูในพื้นที่ห่างไกลอาจจะไม่ได้โรเเมนติกอย่างที่สื่อบันเทิงได้นำเสนอ ครูในบางโรงเรียนต้องรับหน้าที่มากมายที่นอกเหนือจากการสอนหนังสือเป็นหน้าที่หลักแล้ว บางโรงเรียนครูอยู่เวรช่วงกลางคืน พ่อครัว/แม่ครัวทำอาหารกลางวัน งานเอกสารต่างๆ แต่สวัสดิการและค่าจ้างกลับดูไม่สมเหตุสมผล เพราะในภาพยนตร์ไม่ได้เผยให้เห็น “ผลที่ตามมา” จากการเสียสละของครูนั้นเป็นอย่างไร?

ปัจจุบันนี้ครูอาจไม่ได้รู้สึกเจ็บปวดที่ถูกเปรียบเทียบกับอาชีพเรือจ้าง แต่อาจปวดใจมากกว่าหากค่าจ้างไม่สมเหตุสมผลกับภาระหน้าที่ เพราะการที่ครูยังคงต้องรับบทผู้เสียสละอยู่ตอนนี้ก็อาจหมายความว่าการศึกษาไทยอาจยังไม่พร้อมที่จะเดินหน้าต่อไปในเร็ววัน

Writer

5 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า