ถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ปี 2564 ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและบึงกาฬ

Share on

 202 

ถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนปี 2564 ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและบึงกาฬ 

การวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อศิษย์และคุณภาพของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเป้าหมาย โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

สร้างโมเดลการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) แบ่งออกเป็น 3 หมวด ดังนี้ 

  1. การพัฒนาสมรรถนะครู

Input จะทำยังไงให้ครูมีเป้าประสงค์ตามที่เรากำหนด โดยใช้ SBM : School Based Management เป็นฐาน

  • ชุมชน ใช้ BCG โมเดล ให้คนในพื้นที่ยอมรับครูเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม นำวัสดุในโรงเรียนเพื่อนำมาหมุนเวียนมาใช้ประโยชน์
  • Bio Economy การนำมาใช้โดยให้เกิดคุณค่าเพิ่มมากขึ้น

Circular Economy การใช้วัสดุอุปกรณ์ให้ได้นานที่สุด

Green Economy การเพิ่มมูลค่าจากของที่มีอยู่ เช่น การแปรรูป ออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging)

  • Farm School กับการเรียนการสอนเพื่อสร้างหลักสูตรบูรณาการ จากวิชาพืชผักสวนครัว ก็นำไปบูรณาการกับวิชาอื่น ๆ แล้วดึงตัวชี้วัดของแต่ละวิชามารวมกันมาสอนรวมหน่วย เป็นการลดเวลาเรียนเวลาครูผู้สอน
  • แผนจากกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ที่ทาง กสศ สนับสนุน
  • การสอนภาษาอังกฤษแบบ Content-Based Instruction ที่เสริมความรู้ และนำไปใช้ เสริมระหว่างการเรียนให้ได้รู้คำศัพท์รอบตัว  เสริมความรู้ด้านภาษาอังกฤษ คำศัพท์ การออกเสียง (Phonics) ให้กับโรงเรียน ตชด. 
  • สร้างหัวข้อของการเรียนรู้ (Theme) ในแต่ลำดับชั้นสร้างหัวข้อในการเรียนรู้
  1. การพัฒนาโรงเรียน ตชด. 
  • เป้าหมายชัดเจนคือครูใหญ่ที่ช่วยสนับสนุนเกื้อหนุน กำกับติดตาม แนะนำได้
  • ให้ชุมชนร่วมสร้างการเรียนรู้และมีบทความในการขับเคลื่อน 
  • ครู ตชด. สามารถเขียนและทำแผนวัตถุประสงค์การเรียนการสอน วัดผล และประเมินผลได้ แผนเดียวสามารถบูรณาการหลายวิชาทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพขึ้น 
  1. การพัฒนาเครือข่าย 
  • การพัฒนาเครือข่าย โรงเรียนร่วมพัฒนา ช่วยหนุนเสริมกระบวนการ PLC การดึงโรงเรียนคู่พัฒนาเข้ามามีส่วนร่วม ทำให้เห็นการทำงานของ PLC ได้ชัดเจนที่สุด

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า