6 หัวใจ การพัฒนาเครือข่าย “เมืองแห่งการเรียนรู้”

Share on

 647 

หัวใจสำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาและดำเนินการด้านนโยบายเพื่อการขับเคลื่อนการศึกษา โดยนโยบายต้องสามารถสนับสนุนความคิดริเริ่มการเรียนรู้ตลอดชีวิตในท้องถิ่นที่เป็นส่วนสำคัญของการเปลี่ยนแปลงจากล่างขึ้นบน ( Bottom Up Approach)  นำทางสู่วัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่านการเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาและฝึกอบรมและสถาบันวัฒนธรรม

เมือง มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านการเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาและฝึกอบรมและสถาบันวัฒนธรรม และการมีส่วนร่วมของพันธมิตรที่หลากหลาย เช่น ตัวแทนภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคม และนายจ้าง หน่วยงานภาครัฐ เอกชน การสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้พลเมืองสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้กับกิจกรรมประจำวันภายในสภาพแวดล้อมใกล้เคียงและสร้างเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง 

การดำเนินงานพัฒนาให้สำเร็จตามเป้าหมายไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากปราศจากการมีส่วนร่วมของพันธมิตรที่หลากหลาย อาทิ ตัวแทนภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ร่วมสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้พลเมืองสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้กับกิจกรรมประจำวันภายในสภาพแวดล้อมใกล้เคียงและสร้างเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต กลายเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน  เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน จะมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นแรงขับเคลื่อนสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้เกิดทักษะแก่ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเมืองที่ครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่น และยั่งยืนมากขึ้น

บทบาทและหน้าที่ของเมือง

  • ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านการเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาและฝึกอบรมและสถาบันวัฒนธรรม
  • เชื่อมโยงการมีส่วนร่วมของพันธมิตรที่หลากหลาย เช่น ตัวแทนภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน
  • สร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้พลเมืองสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้กับกิจกรรมประจำวัน ในสภาพแวดล้อมใกล้เคียงและสร้างเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง
  • กระตุ้นพลเมืองให้เรียนรู้ตลอดชีวิต
  • ขับเคลื่อนสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้วยวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • เป็น Learning City ขับเคลื่อนการเรียนรู้ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตของทุกช่วงวัย 
  • ดึงคนในภาคีที่เครือข่ายทั้งในและอยู่นอกวงการศึกษา มาร่วมขับเคลื่อน
  • พร้อมยกระดับคุณภาพการศึกษาให้มีคุณภาพ

กรณีศึกษาเมืองแห่งการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ทั่วโลกของยูเนสโก โดยเป็นมีเมืองที่มีความโดดเด่นในการส่งเสริม  6 ด้านสำคัญ

  1. การวางแผนและยุทธศาสตร์ (Planning and Strategies)
  2. การลงทุนงบประมาณเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning Investment)
  3. การอำนวยความสะดวกเข้าถึงการเรียนรู้ (Accessibility)
  4. ความเสมอภาคและให้ทุกคนมีส่วนร่วม (Equity and Inclusion)
  5. การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนความยั่งยืนและสุขภาวะ (Education for Sustainable Development and Health)
  6. การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองโลก (Global Citizenship Education)
ด้านที่ 1 การวางแผนและยุทธศาสตร์ (Planning and Strategies)  

กรณีศึกษาเมืองแห่งการเรียนรู้ด้านที่เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ทั่วโลกของยูเนสโกด้าน “การวางแผนและยุทธศาสตร์ (Planning and Strategies)”

🌏 เฉิงตู | จีน เมืองแห่งการเรียนรู้ยอดเยี่ยม (2019)

 เมืองเอกของมณฑลเสฉวน เป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจและการค้าที่สำคัญที่สุดของภาคตะวันตกของจีน เป็นเมืองที่มีทั้งวัฒนธรรมดั้งเดิมและศูนย์กลางเทคโนโลยีสมัยใหม่ 

นโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้:

  • สร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่าย (เทศบาล ภาครัฐ เอกชน ประชาชน)
  • สาธารณูปโภคพื้นฐานรองรับเมืองแห่งการเรียนรู้  (ออนไลน์ ออฟไซต์)
  • ส่งเสริมการศึกษาในเมืองและชนบทและเสริมสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้
  • การส่งเสริมองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้
  • บูรณาการความรู้ องค์ความรู้ แหล่งข้อมูล แผนที่แสดงแหล่งเรียนรู้ ไม่มีค่าใช้จ่าย
  • มีการจัดตั้งโปรแกรมนวัตกรรมที่ผสมผสานการเรียนรู้เข้ากับการเดินรอบเมือง โดยแต่ละเส้นทางจะมุ่งเน้นไปที่สาขาวิชาที่แตกต่างกัน เช่น วัฒนธรรมดั้งเดิมและอุตสาหกรรมสมัยใหม่ แสดงให้เห็นถึงการใช้ทรัพยากรสาธารณะและไม่ใช่สาธารณะอย่างชาญฉลาด

🌏 เบลฟาสต์ (2021)

เป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองใหญ่สุดของไอร์แลนด์เหนือ เมืองท่าเก่าแก่มาอย่างยาวนานขึ้นชื่อในด้านอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือ ที่สำคัญ RMS Titanic ประกอบขึ้นที่นี่ ด้วยความเป็นเมืองอุตสาหกรรมทำให้เบลฟาสต์เป็นเมืองที่มีความหลายด้านเชื้อชาติจากประชากรวัยแรงงานที่ปักหลักทำงานที่อยู่เมืองนี้ ทำให้นโยบายของที่นี่เน้นในไปเรื่องสร้างความสัมพันธ์อันดีบนความหลากหลายของเชื้อชาติ 

นโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้:

  • กลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์ที่ดี (Good Relation Strategy)
  • ใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนจากภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ส่งเสริมผู้นำพลเมืองที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนโดยเน้นหลักธรรมาภิบาลแก่ผู้มีส่วนร่วม
  • เมืองแห่งการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ที่ขับเคลื่อนโดยเยาวชน – เยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์ที่แตกต่างและสิ่งที่มีร่วมกันภายในเมืองของตน
  • เน้นกลุ่มเยาวชนให้มีพื้นที่แสดงอัตลักษณ์ของตนเองตามแต่ละเชื้อชาติ

ด้านที่ 2 การลงทุนงบประมาณเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning Investment)

ตัวอย่างกรณีศึกษาเมืองแห่งการเรียนรู้ด้านที่เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ทั่วโลกของยูเนสโกด้าน “เมืองที่ลงทุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning Investment)”

🌏 แกลร์มง-แฟรองด์ (2021)

มีนโยบายสร้างจุดมุ่งหมายเพื่อให้พลเมืองเข้าถึงความรู้เพื่อเสริมพลังให้ตนเองและมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตยในการสร้างเมืองพลวัต (Resilient Cities) แกลร์มง-แฟรองด์  เป็น ‘เมืองแห่งการเรียนรู้’ (Learning City) เมืองแรกของประเทศฝรั่งเศส ที่อยู่ในเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก (The UNESCO Global Network of Learning Cities – GNLC)  มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พลเมืองเข้าถึงความรู้เพื่อสร้างอำนาจให้ตนเองและมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตยในการสร้างเมืองแห่งพลวัต

นโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้:

  • ในปี 2021 เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของเมืองในการพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เทศบาลเมืองแกลร์มง-แฟรองด์ ได้จัดสรรเงินมากกว่า 2 ล้านยูโรจากงบประมาณประจำปีของเทศบาลเพื่อเป็นทุนสำหรับโครงการการเรียนรู้ 380 โปรเจกต์ ที่คัดเลือกโดยประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง
  • ทุ่มงบประมาณกว่า 13% ให้กับการศึกษาและพัฒนาเยาวชน
  • จัดสรรงบประมาณราว 10% ให้กับภาควัฒนธรรม ส่งเสริมกิจกรรมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้กว่า 25,000 บริษัท นักเรียน 35,000 คน นักวิจัย 1,300 คน ห้องปฏิบัติการวิจัย 35 แห่ง และศูนย์อบรมและศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ
  • สร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ระยะยาวที่ส่งเสริมความสำเร็จของทุกคนผ่านนวัตกรรมทางสังคม

🌏 สุราบายา | อินโดนีเซีย (2019)

เมืองใหญ่อันดับสองของอินโดนีเซีย มีความหลากหลายทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและธรรมชาติ สุราบายา เมืองแห่งนี้เคยมีบทบาทสำคัญในช่วงปี ค.ศ. 1945-50 อันเป็นช่วงการปฏิวัติประชาชาติของชาวอินโดนีเซีย (Indonesian National Revolution) ซึ่งนับเป็นหนึ่งในการต่อสู้ที่โหดร้ายของสงครามการกอบกู้เอกราชที่เกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้ ทำให้สุราบายาได้ถูกขนานนามว่าเป็น “เมืองแห่งวีรชน” ของอินโดนีเซีย 

นโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้: 

  • จัดสรร 30% ของงบประมาณประจำปีให้กับการศึกษา และพัฒนากลไกการแบ่งปันค่าใช้จ่ายกับผู้มีส่วมร่วมในการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต

🌏 เซียงไฮ้ | จีน (2021)

เซียงไฮ้ (Shanghai) เป็นเมืองศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุด ได้รับการขนานนามว่าเป็น “นครปารีสแห่งตะวันออก” ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มมหานครไฮโซอันดับ 5 ของโลก รองจาก กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. นิวยอร์ก ลอนดอน และ ปารีส รูปแบบการปกครองของมหานครเซี่ยงไฮ้จัดอยู่ในกลุ่มเมืองที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง ซึ่งไม่ขึ้นต่อมณฑลใด ๆ เป็นข้อดีที่ทำให้สามารถกำหนดนโยบายเพื่อบริหารเมืองได้โดยตรง

นโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้: 

  • ออกกฎหมายให้บริษัทที่เปิดทำการในเซียงไฮ้ ต้องจัดการศึกษาและอบรมทักษะความรู้ให้แก่พนักงานไม่ต่ำกว่า 80% ของพนักงานทั้งหมด
ด้านที่ 3 การอำนวยความสะดวกเข้าถึงการเรียนรู้ (Accessibility)

ตัวอย่างกรณีศึกษาเมืองแห่งการเรียนรู้ด้านที่เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ทั่วโลกของยูเนสโกด้าน “การอำนวยความสะดวกเข้าถึงการเรียนรู้ (Accessibility)”

🌏 เปตาลิงจายา | มาเลเซีย (2019)

หนึ่งในความพยายามบุกเบิกของสภาเทศบาลเมืองเปอตาลิงจายา (MBPJ) สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ 10 ปีระหว่างปี 2559-2569 และแผนแม่บทความยั่งยืนปี 2573 ของเปตาลิงจายา โดยมีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการเปลี่ยนเปตาลิงจายาให้เป็นเมืองชั้นนำ มีพลวัต และยั่งยืน แผนยุทธศาสตร์ 10 ปีที่สรุปแรงผลักดันเชิงกลยุทธ์ 4 ประการ ได้แก่ ธรรมาภิบาล ชุมชน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ เน้นความสำคัญของการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของเจ้าหน้าที่สภา ผู้อยู่อาศัยในเมือง และชุมชนธุรกิจ 

นโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้:

  • พัฒนาขนส่งสาธารณะให้สะดวกต่อการเดินทาง
  • จัดเส้นทางรถบัส 4 สาย พร้อมข้อมูลแหล่งเรียนรู้จุดต่าง ๆ ภายในรถเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนเดินทางไปยังศูนย์การเรียนรู้

🌏 นัมยางจู | เกาหลีใต้ (2016)

เป็นเมืองหนึ่งในจังหวัดคยองกีจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในเกาหลีใต้ห่างจากกรุงโซลไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อจำนวนประชากรมากจะทำอย่างไรให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาและการเรียนอยู่ได้อย่างเท่าเทียม 

นโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้:

  • โมเดล 1-2-3 แหล่งการเรียนรู้แบบตลอดชีวิต ศูนย์การเรียนชุมชน ห้องสมุด ที่เดินทางไปได้ภายใน 10-20-30 นาที 
  • สร้าง  ‘Learning Lighthouse’ ที่เปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่ามาเป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับชุมชน 
  • ภาครัฐและภาคเอกชนที่มาช่วยสนับสนุนการให้ความรู้ทั้งจากพิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี ศูนย์สวัสดิการสังคม และภาคีเครือข่ายสนับสนุน

🌏 มาราเกซ | โมร็อกโก  (2022) 

มาราเกซ (Marrakech) อีกหนึ่งเมืองท่องเที่ยวสำคัญของประเทศโมร็อกโก อยู่ตรงเชิงเขาแอตลาส เมื่อก่อนเมืองโอเอซิสแห่งนี้เป็นที่พักของกองคาราวานอูฐที่มาจากทางตอนใต้ของโมร็อกโก  เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 4  รองจากกาซาบล็องกา แฟ็ส และราบัต ปัจจุบันถือเป็นเมืองหนึ่งที่คับคั่งที่สุดในแอฟริกา เป็นเมืองศูนย์กลางการค้า และจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว

นโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้:

  • นโยบายเมืองที่สนับสนุนโครงการนวัตกรรมระดับชาติเพื่อการขนส่งส่วนรวมที่ปรับให้เหมาะกับคนพิการในพื้นที่
  • การเรียนรู้ผ่านความร่วมมือแบบกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นภาคประชาสังคม
  • จัดหายานพาหนะให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงจุดที่เป็นแหล่งการเรียนรู้ (Learning Space) ได้อย่างเท่าเทียม 

ด้านที่ 4 ความเสมอภาคและให้ทุกคนมีส่วนร่วม (Equity and Inclusion)

ตัวอย่างกรณีศึกษาเมืองแห่งการเรียนรู้ด้านที่เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ทั่วโลกของยูเนสโกด้าน “ความเสมอภาคและให้ทุกคนมีส่วนร่วม (Equity and Inclusion)”

🌏 ฮวาซอง | เกาหลีใต้ (2022)

ฮวาซองตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของคาบสมุทรเกาหลี ตั้งอยู่ในจังหวัดคย็องกีมีพื้นที่ทางการเกษตรเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัด ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อ น้ำผึ้ง สมุนไพร ฯ เป็นสินค้าสร้างชื่อ และป้อมฮวาซองสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี 1997

นโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้:

  • นโยบายการให้ทุนการศึกษา Hwaseong Lifelong มอบเงินจำนวน 300,000 วอน (ประมาณ 7,650 บาท) ให้กับประชากรที่อาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจนจำนวน 3,300 คน
  • ออกบัตรการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเมืองที่มีแหล่งเรียนรู้กว่า 119 ศูนย์ และมีวิชาให้เลือกเรียนรู้กว่า 1,500 หลักสูตร 
  • นโยบายเพื่อคนทุกกลุ่ม Benefit of All 
  • โครงการความรู้พื้นฐานสำหรับคนชายขอบ
  • โครงการสร้างสิ่งแวดล้อมและสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชนบท
  • จัดการศึกษาให้กับแรงงานที่อายุ 40-60 
  • พัฒนาทักษะแรงงานในธุรกิจ SMEs 
  • ศูนย์การเรียนรู้ใกล้บ้าน
  • โรงเรียนภาคค่ำเพื่อคนพิการ

🌏 นิลัมบูร์ | อินเดีย (2022)

เป็นเมืองขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในรัฐเกรละใกล้กับเทือกเขาเทือกเขานิลคีรีของฆาฏตะวันตกเป็นเมืองแห่งไม้สัก และเป็นรัฐที่มีชื่อเสียงเรื่องเมืองท่องเที่ยวติดทะเลชายหาดมีความสวยงาม อินเดียเป็นประเทศที่มีการปกครองตามระดับชั้นวรรณะ ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความไม่เสมอภาค ความไม่เท่าเทียม และการกีดกันทางเพศ

นโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้:

  • เมืองที่เป็นมิตรกับผู้หญิงต้องสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันในทุกภาคส่วนเพื่อส่งเสริมการเสริมสร้างศักยภาพและลดการคุกคาม
  • สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการรักษาพยาบาลฟรีสำหรับประชาชนทุกคน – อาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อให้การรักษาแบบ ‘ถึงหน้าประตูบ้าน’ (door-to-door) สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการแพทย์ทางไกล
  • การใช้ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและการสร้างชุมชนระดับรากหญ้าให้เกิดการมีส่วนร่วม
  • โปรแกรมการศึกษาก่อนประถมวัยสำหรับเด็กทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี
  • โปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 15-50 ปี เพื่อรับวุฒิการศึกษาเทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 
  • จัดให้มีกิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจสำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ สนับสนุนให้กลุ่มคนเหล่านี้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่เปิดโล่งและสวนสาธารณะของเมืองให้ได้มากที่สุด

ด้านที่ 5 การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนความยั่งยืนและสุขภาวะ (Education for Sustainable Development and Health)

ตัวอย่างกรณีศึกษาเมืองแห่งการเรียนรู้ด้านที่เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ทั่วโลกของยูเนสโกด้าน“การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนความยั่งยืนและสุขภาวะ (Education for Sustainable Development and Health)”

🌏 วินด์แฮม | ออสเตรเลีย (2021) 

วินด์แฮมเป็นเมืองที่อยู่ทางเหนือสุดของออสเตรเลียเป็นเมืองท่าเรือ ประชากรประมาณ 3 แสนคน ส่วนใหญ่เป็นชาวพื้นเมืองอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสคิด

นโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้:

ริเริ่มโครงการ ‘ฮีโรประจำบ้าน’ (Resident Heroes) ทำหน้าให้ความรู้เกี่ยวกับพืชพื้นเมืองในท้องถิ่น (ออสเตรเลีย) ของสวนในบริเวรที่พักอาศัย และการสร้างสวนขนาดเล็กสำหรับสัตว์ป่า

โครงการ Three for School การประชุมสุดยอดด้านสิ่งแวดล้อม

🌏 เมืองอุตสาหกรรมจูเบล | ซาอุดีอาระเบีย (2021) 

เมืองอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองอุตสาหกรรมจูเบลพยายามส่งเสริมการผลิตเพื่ออุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนในอนาคต ให้พลเมืองของเมืองนั้นมีความรู้และทักษะที่ครอบคลุมในหลายด้าน

นโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้:

– การพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการเป็นผู้ประกอบการ และสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 

– ยกระดับทักษะพลเมือง ประชากรเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะผ่านความรู้และวิชาต่าง ๆ  5,000 รายการ 

– นโยบายช่วยให้พลเมืองและสตรีมีโอกาสสร้างธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

– สร้างแคมเปญให้ความรู้ด้านสุขภาพ ผ่านกิจกรรมในโรงเรียน กิจกรรมชุมชน

– โครงการริเริ่มอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชากร 

🌏 ดับลิน | ไอร์แลนด์ (2021)

ดับลินเป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม การปกครอง และเศรษฐกิจของประเทศมาอย่างช้านาน โดยใน ค.ศ. 2018 ดับลินได้รับการจัดอันดับให้ติด 30 อันดับแรกของ “เมืองสำคัญของโลก” ประเภทแอลฟา โดยโครงข่ายวิจัยโลกาภิวัฒน์และนครโลก

นโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้:

– หลักการเรียนรู้เพื่องาน ชีวิต และความสนุกสนาน

– โครงการเมืองดับลินเมืองแห่งสุขภาวะที่ดี ดำเนินการผ่านโปรแกรมการเรียนรู้ 6 โปรแกรม เพื่อพัฒนาสุขภาพส่วนบุคคล ร่างกาย และจิตใจของประชาชน ซึ่งมีประชากรมากกว่า 1.2 ล้านคนได้รับประโยชน์จากโปรแกรมเหล่านี้

🌏 บูอาเก | โกตดิวัวร์ 

โกตดิวัวร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไอวอรีโคสต์ เป็นประเทศในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่บริเวณแอฟริกาตะวันตก ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ในอดีตเป็นประเทศที่เจริญรุ่งเรืองแห่งหนึ่งของแอฟริกา แต่ช่วงหลังต้องเผชิญปัญหาสงครามกลางเมืองและการคอร์รัปชัน แต่ทางหน่วยงานท้องถิ่นได้พยายามดำเนินการทางนโยบายเพื่อส่งเสริมให้ ‘บูอาเก’ เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้

นโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้:

– แผนฟื้นฟูศูนย์สุขภาพในท้องถิ่น เศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน ผ่านการสร้างชมรมพลังงานในโรงเรียนประถมศึกษา 

– สอนประโยชน์ของการใช้พลังงานต่ำ ปรับปรุงโรงอาหารของโรงเรียนเพื่อใช้อุปกรณ์ไบโอแก๊ส

– ตั้ง Energy Club ในโรงเรียนประถม เพื่อเรียนรู้เมืองสีเขียว (Green City)

ด้านที่ 6 การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองโลก (Global Citizenship Education)

ตัวอย่างกรณีศึกษาเมืองแห่งการเรียนรู้ด้านที่เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ทั่วโลกของยูเนสโกด้าน “การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองโลก (Global Citizenship Education)”

🌏 บันดาร์ คาเมียร์ | อิหร่าน

อิหร่านเป็นประเทศใหญ่เป็นอันดับสองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ของโลก บันดาร์คาเมีย เป็นเมืองมีอารยธรรมเก่าแก่และมีวัฒนธรรมหลากหลาย

นโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้:

– ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์

– ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านความคิดริเริ่มที่ออกแบบมาเพื่อเสริมพลังและปลุกจิตสำนึกพลเมืองของตน

– พลเมืองของตนเป็นกุญแจสู่ความสามัคคีและความยืดหยุ่นทางสังคม

– มีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนพวกเขาให้เป็นพลเมืองโลกที่ทำหน้าที่ในท้องถิ่น

– สร้างทักษะของพวกเขาผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการศึกษา

– จัดสร้างศูนย์กลางทางสังคมเช่นศูนย์ CEpA (การศึกษาด้านการสื่อสารและการรับรู้การมีส่วนร่วม)

🌏 ยองจู | เกาหลีใต้ 

เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในจังหวัด “คย็องซังเหนือ” (North Gyeongsang Province) ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของประเทศเกาหลีใต้  ในอดีตเป็นต้นกำเนิดของ ‘อาณาจักรซิลลา’ ในปัจจุบันคนพื้นถิ่นยังคงรักษาขนบธรรมเนียม และประเพณีทางวัฒนธรรมให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา และเรียนรู้วิถีชีวิตของคนในอดีต 

นโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้:

– โครงการเทศบาล 3 โครงการที่สนับสนุนสุขภาพของประชาชนโดยการส่งเสริมให้เป็นเมืองพลวัต (Resilient City)

– โครงการหมู่บ้านป้องกันภัยพิบัติที่เน้นการจัดการเหตุฉุกเฉิน

– บริการจำหน่ายหน้ากากอนามัย

– นโยบายเพื่อช่วยเหลือ/สนับสนุนประชากรที่ย้ายถิ่นฐาน

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า