“ฆาตกรต่อเนื่อง”ความชั่วร้ายโดยกำเนิดหรือเกิดจากโครงสร้างสังคม?-Monster:The Jeffrey Dahmer Story (2022)

“เจฟฟรีย์ ดาห์เมอร์” คือหนึ่งในรายชื่ออันดับต้น ๆ ด้วยการก่อเหตุฆาตกรรมจำนวนมาก จนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 17 ราย ผู้คนต่างกล่าวขานกันถึงการกระทำอันชั่วร้ายของดาห์เมอร์ ทำให้เรื่องราวของดาห์เมอร์แทรกซึมอยู่ใน "ป๊อบคัลเจอร์" (Pop Culture) ที่เป็นสื่อบันเทิงมากมายไม่ว่าจะเป็นคอมมิค ภาพยนตร์ เพลงและซีรีย์อย่าง Monster:The Jeffrey Dahmer Story (2022)

Share on

 846 

หากจะกล่าวถึงฆาตกรต่อเนื่องที่สร้างความสั่นประสาทให้เเก่ประชาชนชาวสหรัฐอเมริกาในช่วงยุค 90 “เจฟฟรีย์ ดาห์เมอร์” คือหนึ่งในรายชื่ออันดับต้น ๆ ด้วยการก่อเหตุฆาตกรรมจำนวนมาก จนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 17 ราย ผู้คนต่างกล่าวขานกันถึงการกระทำอันชั่วร้ายของดาห์เมอร์ ทำให้เรื่องราวของดาห์เมอร์แทรกซึมอยู่ใน “ป๊อบคัลเจอร์” (Pop Culture) ที่เป็นสื่อบันเทิงมากมายไม่ว่าจะเป็นคอมมิค ภาพยนตร์ เพลงและซีรีย์อย่าง Monster:The Jeffrey Dahmer Story (2022) ที่มีให้รับชมได้บนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง netflix

ซีรีย์จะนำเสนอให้เราเห็นภาพการกระทำที่โหดเหี้ยมของดาห์เมอ ที่ลงมือสังหารผู้คนไปเป็นจำนวนมาก สถานะของดาห์เมอร์ในสายตาผู้ชม คือ “ปีศาจ” ที่ไร้สามัญสำนึก แต่หากมองลึกลงไปแล้วดาร์เมอร์ไม่ใช่ปีศาจเขาคือ มนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง หากมองแบบนี้แล้วคำถามที่ตามมาคือ ดาห์เมอร์เติบโตมาอย่างไร? แน่นอนว่าดาเมอร์ในวัยเด็กไม่ได้เติบโตมาจากครอบครัวที่อบอุ่น พ่อและแม่ไม่ได้ให้ความใส่ใจกับดาห์เมอร์มากเท่าที่ควร อีกทั้งสภาพสังคมในช่วงสถานการณ์ที่มีการเหยียดเชื้อชาติ เหยียดสีผิวและเหยียดเพศเป็นเรื่องปกตินั้น ได้สร้างแรงกดดันให้ดาห์เมอร์ ผู้เป็น LGBT ต้องกดทับความรู้สึกของตัวเองเอาไว้ ท้ายที่สุดแล้วดาห์เมอก็เป็นเพียงคนธรรมดาที่ถูกโครงสร้างทางสังคมผลิตออกมาให้กลายเป็นฆาตกร

เรื่องราวของ เจฟฟรีย์ ดาห์เมอร์ ช่วยสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงดูในวัยเด็กเล็ก หากเด็กเติบโตมาในวัฒนธรรม หรือสภาพสังคมที่มีความรุนแรงสูง ครอบครัวใช้ความรุนเเรง ใช้คำหยาบคายด่าทอ หรือเด็กถูกทอดทิ้ง จะนำไปสู่ความเครียดสะสมในจิตใจ รวมถึงสื่อกระแสหลัก สื่อโซเชียลมีเดีย หรือสื่อบันเทิงต่าง ๆ ที่มีเนื้อหารุนเเรง จะค่อย ๆ ซึมซับเข้ามาเด็กเกิดความรุนเเรงกลายเป็น “ความปกติ” (normalize) ไปในที่สุด ครอบครัวจึงต้องสร้างสัมพันธภาพให้เเก่เด็ก ให้การเลี้ยงดูด้วยความเมตตา ใช้เวลาทำกิจกรรมร่วม รวมทั้งการคัดกรองสื่อให้เหมาะสมกับวัยของเด็กอยู่เสมอ หรือคอยให้คำเเนะนำอยู่ข้าง ๆ ครอบครัวจะกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ส่งผลให้เด็กมีภาวะทางอารมณ์ที่มั่นคงสามารถควบคุมการกระทำและรู้จักการยับยั้งชั่งใจได้ เเละเติบโตขึ้นโดยหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนเเรงได้

ปัจจุบันซี่รี่ย์เรื่องนี้กำลังเกิดประเด็นเป็นที่ถกเถียงกันอยู่บนโลกออนไลน์ เมื่อญาติของผู้เสียชีวิตจากการก่อเหตุของดาห์เมอร์ เกิดความไม่พอใจที่ผู้จัดทำซีรีย์เรื่องนี้นำเรื่องราวของผู้เสียชีวิตและญาติของผู้เสียชีวิตมานำเสนอโดยที่ไม่ได้ขออนุญาติ อีกทั้งในมุมมองของกลุ่มญาติมองเห็นว่าการนำเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาพูดถึงอีกครั้งได้สร้างความบอบช้ำให้แก่พวกเขา แม้ว่าซีรีย์เรื่องนี้ได้สะท้อนภาพปัญหาในหลาย ๆ มิติ และตั้งคำถามต่อสถาบันครอบครัวและโครงสร้างทางสังคมที่มีปัญหา แต่กลับกันแล้วตัวของผู้จัดทำซีรีย์เองได้สะท้อนคิดอย่างถี่ถ้วนหรือไม่ ว่าการนำเสนอเรื่องราวของดาห์เมอร์บนสื่อบันเทิงในครั้งนี้กำลังสร้างผลกระทบให้กับใครอยู่หรือเปล่า ?

 847 

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า