โรงเรียนวัดพังยอม STAR : SR โมเดลการบริหารที่พร้อมรับทุกสถานการณ์

Share on

 470 

 

ย้อนกลับไปในช่วงก่อนโควิดเป็นช่วงที่โรงเรียนวัดพังยอมเข้าร่วมโครงการ TSQP 2 และกำลังดำเนินการอย่างสวยงาม  และแล้วโควิด-19 ก็เกิดขึ้น แนวทางการเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันจาก On-site เป็นการเรียนเป็น On-line หรือ On-demand แทนที่จะเป็นทางเลือกที่ช่วยให้เรียนช่วงโควิดผ่านไปได้ด้วยดี แต่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของความท้าทายการบริหารในการดูแลของ ผอ.ณัฐพัชร์ อีกรูปแบบหนึ่ง ปัญหาเรื่องความไม่พร้อมทั้งเครื่องมือสื่อสารที่จะช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่จากที่บ้านและสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ใช่ว่าเด็กทุกคนจะเข้าถึงได้  

ด้วยที่ร่วมโครงการ TSQP ที่อยู่ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จึงได้รับความอนุเคราะห์ IPAD เพื่อจัดการเรียนรู้ และ ซิมอินเทอร์เน็ต จาก กสศ. เพื่อจัดการเรียนการสอนแบบ Online เมื่อเกิดความพร้อมด้านอุปกรณ์ จึงจัดการสอนอย่างเต็มรูปแบบออนไลน์ แต่ความท้าทายที่เกิดขึ้นถัดมา คือ เด็กที่เรียนออนไลน์โดยเฉพาะชั้นประถมเด็กให้ความสนใจน้อย และใช้อุปกรณ์ไปเล่นเกมเป็นหลัก ส่วนเด็กเล็กเช่นอนุบาลจำเป็นต้องมีผู้ปกครองอยู่ด้วยระหว่างจัดการเรียนการสอนเพื่อเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็ก

พอการเรียนแบบ On-demand  เป็นใบงานให้ผู้ปกครองมารับให้เด็กกลับไปเรียนรู้ที่บ้าน ก็เจอความท้าทายอีกแบบ  ผู้ปกครองทำใบงานให้กับเด็กเพราะไม่มีเวลามานั่งสอน ปู่ ย่า ตา ยาย ออกไปทำมาหากิน เกิดคำถามที่ว่า จะทำอย่างไรที่การเรียนการสอน On-line ให้นักเรียนเกิดประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการเรียนในห้องเรียนและสามารถวัดผลประเมินผลได้ 

กระบวนการ PLC ครูจึงเกิดขึ้นเพื่อจัดการเรียนการสอนบูรณาการการสอนเข้าด้วยกัน แบบข้ามกลุ่มสาระ โดยนำตัวชี้วัดมากางดูและจัดหน่วยการเรียนรู้ให้เป็นไปตามเกณฑ์หน่วยชี้วัด หน่วยการเรียนรู้ต้องเป็นเรื่องไม่ไกลตัวนักเรียน และตอบโจทย์การเรียนรู้ในช่วงโควิด-19 

‘ไข่’ จึงกลายเป็นหน่วยการเรียนรู้ที่ไม่ไกลตัว เป็นของที่อยู่ในบ้านโดยที่เด็กทุกคนและไม่ต้องออกไปเรียนรู้นอกบ้าน

‘หน่วยไข่’ จึงเป็นหน่วยการเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ 6  คุณครูช่วยกันออกแบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระ โดยวิเคราะห์ตัวชี้วัด สังคม วิทยาศาสตร์ มีตัวชี้วัดอะไรที่สอดคล้องและสามารถจัดการเรียนการสอนเชิงรุก  ใช้นวัตกรรมแผนการสอนหน้าเดียวที่ไม่ซับซ้อนเหมาะกับสถานการณ์ วิธีการประเมินผลจากใบงานหรือคลิปที่นักเรียนส่งซึ่งการประเมินตรงนี้จะนำไปสู่ Q-Info ได้เลย

แรงใจและพลังสำคัญที่ทำให้การบริหารโรงเรียน ตนเองเป็นผู้บริหารแต่การทำงานกับครูนั้นเราเป็นเพื่อนกัน เป็นครู โค้ช เป็นครูฟา มุ่งพัฒนานักเรียนโดยใช้หัวใจนำและทำให้ดีที่สุดจึงจะประสบความสำเร็จ

การจัดการเรียนรู้หลังภาวะโควิด-19 คลี่คลาย

หลังโควิดเจออะไร และมีวิธีบริหารจัดการอย่างไร

ผอ. ณัฐพัชร์ เพชรประสิทธิ์ เล่าสถานการณ์หลังจากโควิด-19 คลี่คลาย โรงเรียนสามารถเปิดการเรียนการสอนได้บ้างแล้ว ความท้าทายใหม่เกิดขึ้นทันทีที่เปิดการเรียนการสอน พบว่าช่วงที่เรียนออนไลน์นักเรียนเกิดถดถอยทางการเรียนรู้อย่างชัดเจน และเป็นปัญหากับเด็กทุกช่วงชั้นเรียน สิ่งที่สังเกตพบอีกเรื่อง คือนักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ 

ในฐานะผู้บริหารควรออกแบบจัดการอย่างไรหากเกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดอย่าง โควิด-19 เกิดขึ้นอีก จึงเกิดโมเดลการบริหารโรงเรียนครอบครัวพังยอม STAR : SR  เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการโรงเรียน การจัดการเรียนรู้ และพฤติกรรมเด็กได้ตรงเป้าหมาย ที่ใช้เป็นแผนแม่แบบการดำเนินงานที่ใช้กับโครงการต่าง ๆ ของโรงเรียนที่สะท้อนผลการดำเนินงานด้านคุณภาพมายังโรงเรียนการความสำเร็จด้านการบริหาร รางวัลความสำเร็จจากเวทีต่าง ๆ 

รูปแบบการบริหารโรงเรียนวัดพังยอม STAR : SR 

กำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์สู่ความสำเร็จ โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA  กิจกรรมจิตตปัญญา การสื่อสารเชิงบวกเพื่อปรับพฤติกรรม 

S Standard มุ่งตามมาตรฐาน

T Teamwork เน้นการทำงานร่วมกันและวง PLC

A Archievement มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

R Realistic ใช้ข้อมูลตามสภาพจริงเพื่อพัฒนา

S Systematic ความเป็นระบบ

R Reacher ใช้การวิจัยเป็นฐาน 

ผลลัพธ์     

1. ผู้เรียนมีคุณภาพ ตามสมรรถนะ และกล้าแสดงออกตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน 

2. ครูผู้สอนทุกคน การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ (อนุบาล 1 – ป3 บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย) 

3. ชุมชนมีส่วนร่วมการพัฒนาโรงเรียน (ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา อบต.  อบจ.) 

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า