‘โมเดลทับเที่ยง’ การเรียนรู้ที่สร้างเข้าใจประวัติศาสตร์และสร้างสำนึกรักชุมชน

Share on

 243 

โรงเรียนอนุบาลตรัง อีกหนึ่งโรงเรียนตัวอย่างที่นำหลักสูตรโครงงานนวัตกรรมจากประสบการณ์โลกหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า IPที่เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานวัตกรรมโดยใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based Learning) บูรณาการร่วมกับการใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Approach) เพื่อนําไปสู่การพัฒนานวัตกรรม (Innovation) ของผู้เรียน ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยสำนักพัฒนาคุณภาพครูและสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นแอปพลิเคชันทับเที่ยงโมเดล (Thap Thiang Model) 

โดยการจัดการเรียนรู้ของ IP2 นั้นพัฒนาและปรับปรุงมาจากกระบวนการจัดการเรียนรู้โครงงานนวัตกรรมชุมชน (Community Innovation Projects: CIP) ในการส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนานวัตกรรมที่เชื่อมโยงกับการสร้างคุณค่าให้กับชุมชน และเน้นไปที่การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ให้กับผู้เรียน โดยใช้หลักการและทฤษฎีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยองค์กร Creativity Culture & Education (CCE) รวมถึงการใช้เครื่องมือสร้างการเรียนรู้ของ OECD เช่น เทคนิค Force Connection เพื่อเปิดประเด็นการเรียนรู้  ห้องเรียนประสิทธิภาพสูง (High Functioning Classroom)  และคุณลักษณะของทักษะคิดสร้างสรรค์ (Creative Habit of Mind) เพื่อที่เปิดโอกาสให้เกิดกระบวนการคิดที่ไม่ยึดติดกับกรอบความคิดแบบเดิม ๆ เป็นกระบวนการที่ใช้ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ตอบโจทย์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาพื้นฐาน พ.ศ. 2551

คริสตจักรตรัง

จุดเด่น ของตำบลทับเที่ยง อยู่ในเขตอำเภอเมือง เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานเป็นที่ตั้งของ ‘ชุมชนร้อยปีเมืองทับเที่ยง’ ที่มีความหลากหลายทางด้านสถาปัตยกรรม ผสมผสานวิถีชีวิตวัฒนธรรมของผู้คนทั้งชาวไทย มุสลิม คริสต์ และจีน ที่ต่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีมิตรไมตรีต่อกัน บริเวรชุมชนสามารถเดินเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ ได้ภายใน 1 ชั่วโมง 

สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเมื่อไม่รู้ก็กลายเป็นเรื่องไกลตัว ‘โมเดลทับเที่ยง’ ทำให้เด็กเรียนรู้และเข้าใจประวัติศาสตร์ของชุมชน

ก่อนที่จะเกิด ‘โมเดลทับเที่ยง’ นักเรียนให้ความสนใจในเรื่องราวชุมชนตนเองค่อนข้างน้อย เด็ก ๆ ไม่ค่อยรู้ประวัติความเป็นมาในเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม แม้จะเดินผ่านสัญจรถนนเส้นนี้กันทุกวัน และมีทั้งโบสถ์คริสต์ มัสยิด โบราณสถาน อาร์ตสตรีท ที่ตั้งอยู่ในชุมชนอีกหลายแห่ง 

หลังจากที่เรียนรู้โครงงานนวัตกรรมประสบการณ์โลก 6 ขั้นตอนที่เป็นการเรียนรู้โดยพานักเรียนออกนอกห้อง ไปศึกษาเรียนรู้วิถีชุมชน ที่ครูร่วมออกแบบประสบการณ์เรียนรู้ร่วมกับนักเรียนเพื่อออกเดินทางสำรวจพื้นที่ของชุมชนตนเองว่ามีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร หรือมีแหล่งเรียนรู้อะไรที่น่าสนใจในชุมชนตนเอง สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการเรียนรู้ที่น่าประทับใจในครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ตอนที่จัดการเรียนการสอนอยู่ในช่วงโควิด – 19 เวลาชั่วโมงสอนครูนั้นจะเชิญให้ผู้ปกครองเข้าระบบ Zoom ด้วย เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของชุมชนไปพร้อมกัน และหลังจากที่เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อเด็ก ๆ มีโอกาสเขาจะพาคุณพ่อคุณแม่ คุณปู่ คุณย่า ของพวกเขาไปยังจุดที่ได้เรียนรู้กับครูและเพื่อนร่วมชั้น เกิดการส่งต่อความรู้ให้คนในครอบครัวได้รู้จักประวัติศาสตร์ของชุนชนของตนเอง บางครั้งนักเรียนได้ส่งรูปกิจกรรมให้ครูดูว่าพาผู้ปกครองไปเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่ไหนมาบ้าง 

ส่วนหนึ่งของสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏใน ‘ทับเที่ยงโมเดล’

บ้านตระกูลไทรงาม    

สถานีรถไฟตรัง

วัดกะพังสุรินทร์ พระอารามหลวง

ตรังสตรีตอาร์ท

เปิดโลกประวัติศาสตร์พร้อมสร้างจิตสำนึกต่อชุมชน

นอกจากเป็นการเรียนรู้ที่ใช้เรื่องราวของชุมชนให้ได้เรียนรู้แล้วยังเป็นการปลูกฝังสำนึกรักชุมชนท้องถิ่น ความเป็นอัตลักษณ์ ให้เด็กรู้คุณค่าของสิ่งที่อยู่ในชุมชนควบคู่กันไปด้วย เป็นการจุดประกายเล็ก ๆ ให้เด็กเกิดความสำนึกรักบ้านเกิดกระตุ้นพวกเขาอยากดูแลรักษาพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ปฏิกิริยาของคนในชุมชนก็ชื่นชม ให้ความสนใจ ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีที่ชุมชนได้เป็นส่วนหนึ่งของหนึ่งองค์ความรู้ของเด็ก ๆ 

ครูสุรีย์เล่าเพิ่มเติมถึงหลักสูตรนั้นก็มีความยากในช่วงเริ่มต้น เนื่องจากมีเรื่องการออกแบบแอปพลิเคชันที่พื้นฐานความรู้นักเรียนไม่เท่ากัน ยิ่งเป็นเรื่องหลักสูตรนวัตกรรมประสบการณ์โลกที่เน้นให้นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ที่ยกระดับขึ้น การสอนชุดนี้ได้ครูวัฒนา คงขำ ผู้เชี่ยวชาญมาเสริมกำลังในการออกแบบการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กต่อยอดไปสู่การออกแบบแอปพลิเคชันอย่างเป็นขั้นตอน การที่เด็กที่มีทักษะเรื่องเทคโนโลยีไม่เท่ากันก็เป็นเรื่องปกติ ตัวครูเองก็ต้องส่งเสริมให้เด็กเก่งช่วยเหลือเพื่อนนักเรียนที่อ่อนกว่า ส่วนเรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้นทางโรงเรียนสนับสนุนการเรียนรู้อย่างเต็มที่ และการเรียนรู้ในลักษณะนี้ตอบโจทย์การเรียนรู้ตามความต้องการของผู้เรียน ที่การเรียนแบบเดิมไม่สามารถตอบโจทย์ได้ ไม่ต้องท่องจำ เป็นการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งทักษะที่ได้จากการเรียนรู้นั้นได้ทั้ง 3R 8C ทักษะในศตวรรษที่ 21 และที่สำคัญเป็นองค์ความรู้และทักษะที่นักเรียนนำไปใช้งานได้จริง” ครูสุรีย์สรุปทิ้งท้าย 

ความสำเร็จจากการทำงานด้านการพัฒนาการศึกษาอย่างมุ่งมั่นส่งผลให้ครูครูสุรีย์ คำนวน ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับยอดเยี่ยมนวัตกรรมด้านการสอน จุดเน้นที่ 2 การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  การประกวด “นวัตกรรมการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ” จัดโดยศึกษาธิการจังหวัดตรัง  ปี 2566 ด้านโรงเรียนอนุบาลตรังยังได้รับคัดเลือกเป็น ห้องเรียนต้นแบบ ตามโครงการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กสศ. สำหรับใช้เป็นแหล่งศึกษาดูงานเผยแพร่ขยายผลการสอนโครงงานนวัตกรรมจากประสบการณ์โลก (IP2) ให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งได้รับคัดเลือกและนำเสนอผลงานในการเปิดห้องเรียนต้นแบบ Active Learning จาก นายอัมพร  พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ณ โรงแรม TK Palace กทม.

การเรียนรู้ในลักษณะนี้ตอบโจทย์การเรียนรู้ตามความต้องการของผู้เรียน ที่การเรียนแบบเดิมไม่สามารถตอบโจทย์ได้ ไม่ต้องท่องจำ

ผลงานของนักเรียน Thap Thiang Model แอปพลิเคชันเพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชนและเกิดประโยชน์ต่อชุมชนในเรื่องการเข้าถึงความรู้โบราณสถานและมรดกทางวัฒนธรรมตำบลทับเที่ยงซึ่งเป็นนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาที่นักเรียนค้นพบด้วยตนเอง นั้นสามารถดาวน์โหลดใช้ได้จริงผ่าน Google Play Store 

สามารถดาวน์โหลดได้จาก Google Play Store หรือสแกน QR Code ด้านล่าง

หน้าเว็บไซต์สําหรับดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
Thap Thiang Model (ทับเที่ยงโมเดล) 

ผู้สนใจสามารถรับชมวิดีโอสรุปการจัดการเรียนการสอนโครงงาน “ทับเที่ยงโมเดล” โรงเรียนอนุบาลตรัง หลักสูตรโครงงานนวัตกรรมจากประสบการณ์โลก IP2 ตามลิงก์ด้านล่าง

https://onlinelearning.iamkru.com/course-online/vdo/31

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า