ห้องเรียน PBL ยกกำลัง 2 – โรงเรียนวัดลัฏฐิวนาราม

Share on

 194 

โรงเรียนต้นเรื่อง โรงเรียนวัดลัฏฐิวนาราม 

ครูต้นเรื่อง เกริกฤิทธิ์ สุขสมบูรณ์

ห้องเรียน PBL ยกกำลัง 2

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Active Learning ภายใต้ PBL ยกกำลัง 2 

จากแรงบันดาลใจที่อยากเปลี่ยนแปลงห้องเรียน ด้วยความอยากเป็นครูตั้งแต่เด็กและมีประสบการณ์เรียนในตอนเด็กที่ไม่ชอบก็ไม่อยากให้เกิดในห้องเรียนของตัวเอง ส่งผลให้เมื่อมาเป็นครูจึงอยากพัฒนาให้ห้องเรียนเป็นอย่างที่อยากเห็นอยากให้ห้องเรียนดีขึ้น ๆ 

การสอนแบบปรากฏการณ์เป็นฐาน (Phenomenal based learning : PhBL) ไม่ใช่แค่เรื่องวิทยาศาสตร์แต่สามารถนำมาประยุกต์ในเชิงพฤติกรรมและเสริมเข้ากับด้านสังคมศาสตร์

ผศ.ดร.ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ

ทำไมถึงเป็น PBL กำลัง 2 ครูโดม เกริกฤิทธิ์ สนใจในการเรียนการสอนแบบปรากฏการณ์เป็นฐาน (Phenomenal based learning : PhBL) พอได้เข้าร่วมโครงการ TSQP ทำให้เห็นภาพการเรียนการสอนชัดเจน ค้นพบว่านี่แหล่ะคือเครื่องมือสำคัญที่อยากพัฒนานักเรียนของเราและตัวเองด้วย ทำให้เกิดของเรียนปรากฏการณ์แบบฐาน  PhBL ที่ไม่ใช่แค่เรื่องวิทยาศาสตร์แต่สามารถนำมาประยุกต์ในเชิงพฤติกรรมในบริบทของเหตุการณ์ในโรงเรียนและเสริมเข้ากับเครื่องมือด้านสังคมศาสตร์การศึกษาชุมชน การใช้แผนที่เดินดินมาใช้ประกอบการเรียนการสอน

ครูจะใช้กิจกรรมนี้ในห้องเรียนเลยได้หรือไม่ ครูโดมบอกว่า สามารถทำได้เลย แต่ครั้งแรกอาจจะไม่สมบูรณ์ อาศัยการเรียนรู้จากความผิดพลาดและช่องโหว่ในกระบวนการที่เกิดขึ้นแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข สิ่งที่ครูควรจะมีคือ การบริหารจัดการชั้นเรียนในเชิงบวก และจิตวิทยาเชิงบวก ก็สามารถนำ PBL ยกกำลัง 2 นี้ไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนกับการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงเรื่องราวบทเรียนกับชีวิตจริงโดยเฉพาะเรื่องของการพัฒนาด้านสมรรถนะของผู้เรียน 

Visual Note โดย สุติมา งอกเงิน

สาระการเรียนรู้

  1. การส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่นและประเทศ
  2. ผลจากการรักษาและทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน

  1. การสื่อสาร (Communication: CM)
  2. การรวมพลังทำงานเป็นทีม (Teamwork and Collaboration: TC)
  3. การคิดขั้นสูง (Higher Order Thinking: HOT)
  4. การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง (Active Citizen: AC)

จุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ทักษะศตวรรษที่ 21 (3R x 8C)

R1 ทักษะการอ่าน (Reading)

R2 ทักษะการเขียน (Writing)

C1 ทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสามารถแก้ปัญหาได้ (Critical Thinking and Problem Solving) 

C2 การคิดอย่างสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม (Creativity and Innovation)

C3 ความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและกระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม

C4 ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะความเป็นผู้นำ(Collaboration Teamwork and Leadership)

C5 มีทักษะในการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ (Communication Information and Media Literacy)

C8 มีความเมตตากรุณา มีคุณธรรม และมีระเบียบวินัย (Compassion)

ขั้นตอนการเรียนรู้ของ PBL ยกกำลัง 2 

ขั้นนำ กําหนดปัญหา

ครูโดมแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 บ้าน และแบ่งตำแหน่งหน้าที่ในบ้านเพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนผ่านกิจกรรม “ถ้าพี่ได้เป็นนายกคนที่ 30 พี่จะ . . . ” โดยเทคนิค “Think & Share” 

แผนที่ : โรงเรียนเจ้าปัญหา 

ตอนนี้ครูโดมให้นักเรียนมีสถานะเป็นพรรคการเมือง ที่ต้องร่วมกันศึกษาปัญหาในโรงเรียน ให้นักเรียนเป็นส่วนร่วมในการเสนอปัญหาที่ตนเองอยากแก้ไข นักเรียนเริ่มอภิปรายในกลุ่มถึงปัญหาในโรงเรียนที่อยากแก้ไข 

ปัญหาที่นักเรียนเลือกแก้ไขเร่งด่วนนำเข้าไปสู่ขั้นตอนการเรียนรู้ต่อไป

ขั้นสอน ทำความเข้าใจกับปัญหา 3 ข้อ สิ่งที่อยากแก้ไขซึ่งพบปัญหามากมายดังนี้

อุจจาระสุนัข ลืมราดน้ำห้องน้ำ ลืมปิดน้ำ นักเรียนอมก๊อกน้ำ เล่นกันแรง ขยะล้น ขี้นกพิศวง โดยสองกลุ่มได้สรุปปัญหาเร่งด่วนที่ต้องการแก้ไข 

กลุ่มที่หนึ่ง บ้านหมาป่า

  • อุนจิสไปเดอร์แมน 
  • เพื่อนเล่นแรง จนเกิดการบาดเจ็บ ข้าวของพัง
  • ขยะล้น

ความร่วมมือจะแก้ปัญหาโดยประสานความร่วมมือคนในโรงเรียน แม่บ้าน สภานักเรียน 

กลุ่มที่สอง บ้านมังกร 

  • ขี้นกพิศวง เนื่องจากนกทำรัง
  • นักเรียนอมก๊อกน้ำ
  • อุนจิสไปเดอร์แมน 

ความร่วมมือจะแก้ปัญหาโดยประสานความร่วมมือกับเพื่อน ๆ 

สังเคราะห์ความรู้

ปัญหาที่นักเรียนค้นพบจะเป็นการนำเข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหา นักเรียนร่วมสังเคราะห์ข้อมูล และออกแบบนโยบายแก้ไขปัญหาที่วิเคราะห์ได้จาก แผนที่ : โรงเรียนเจ้าปัญหา  จากนั้นนักเรียนบันทึกนโยบายที่พรรคของกลุ่มตนเองว่า และวางกรอบเวลา เพื่อเข้าสู่ “นโยบายนี้…พี่ทำได้” ทำอะไร ทำอย่างไร ทำกับใคร

  • ต้นตอของปัญหา – ใครเป็นทำ 
  • ปัญหาคืออะไร – ปัญหาที่เกิด
  • วิเคราะห์ปัญหา – เกิดจากสาเหตุอะไร
  • จะแก้ปัญหาร่วมกับใคร – ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น
  • จะแก้อย่างไร – ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา

ในตอนนี้ครูโดมสวมบทบาทเป็นผู้ตรวจสอบนโยบายพรรคการเมืองทั้ง 2 พรรค และสอบถามนักเรียนเพื่อประเมินค่าของคำตอบว่าวิธีการแก้ไขเกิดผลดีกับใคร อย่างไร นักเรียนร่วมเสนอแนวคิด

นำเสนอ “นโยบายนี้…พี่ทำได้” โดยครูโดมให้ นายก (ตัวแทนนักเรียน) นำเสนอนโยบาย โดยนำเสนอสรุปกระบวนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อนำเสนอเป็นนโยบายต่อสภานักเรียนในเทอมถัดไป

ขั้นสรุป

นักเรียนร่วมกันในคะแนนนโยบายที่ตนเองเห็นว่าน่าจะเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข และตอบโจทย์ปัญหาที่แก้แล้วหลายฝ่ายเกี่ยวข้องได้ประโยชน์จากนโยบายที่โหวตกัน กระบวนการนี้เสริมสร้างกระบวนการประชาธิปไตยในโรงเรียน 

โค้งสุดท้ายของกิจกรรมครูโดมให้นักเรียนนั่งล้อมวงเพื่อสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากกิจกรรมแผนที่ : โรงเรียนเจ้าปัญหา ร่วมกัน

  • โรงเรียนแห่งนี้เป็นของใคร

คำตอบ: เป็นของทุกคน 

  • นักเรียนได้ประโยชน์อะไรจากโรงเรียนนี้

คำตอบ: ทักษะ ได้เรียนรู้ เพื่อน เงินมาโรงเรียน ความสนุก ได้รู้ว่าชอบเรียนรู้อะไร

  • ปัญหาที่เกิดในโรงเรียน หากไม่ได้รับการแก้ไข จะเกิดผลอย่างไร กับใคร

คำตอบ: เกิดปัญหากับคนทุกคนในโรงเรียน โรงเรียนเสื่อมเสียชื่อเสียง ผลเกิดกับทุกคนที่ได้ประโยชน์ 

  • ปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน หากได้รับแก้ไข จะเกิดผลอย่างไร กับใคร

คำตอบ: โรงเรียนสะอาดน่าอยู่ ไม่มีเชื้อโรค สุขภาพจิตใจดีขึ้น น่าอยู่ มีคนมาเรียนมากขึ้น ผลเกิดกับทุกคนที่ได้ประโยชน์ในโรงเรียน

  • ใครควรมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนมากที่สุด เพราะอะไร

คำตอบ: ทุกคนในโรงเรียนได้ประโยชน์และมีส่วนร่วมกันอย่างเท่าเทียม

  • ชอบอะไรที่สุด ทำอะไรได้ดีที่สุด 

คำตอบ: ทุกคนได้แลกเปลี่ยน ชอบทำกิจกรรม พูดคุยได้เข้าใจกันมากขึ้น 

ข้อสังเกตที่ได้จากห้องเรียนนี้

  • ครูโดม รับฟังนักเรียนอย่างเข้าใจ ไม่ตัดสิน และพร้อมหนุนเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนในทุกเรื่องที่นำเสนอความคิดเห็นในห้องเรียน 
  • นักเรียนเกิดการวิเคราะห์
  • นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างเท่าเทียมผ่านกิจกรรมแผนที่ : โรงเรียนเจ้าปัญหา 
  • ประชาธิปไตยในห้องเรียนที่ทุกคนส่วนร่วมในการนำเสนอแก้เพื่อแก้ไขปัญหาในโรงเรียนที่ทุกคนมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเปิดใจรับฟังปัญหาร่วมกัน
  • ความคิดของนักเรียนไม่มีผิด มีแต่อาจจะยังไม่เหมาะกับปัญหาที่เกิดขึ้นตอนนี้แต่อาจจะเหมาะสมกับปัญหาอื่น ๆ แค่ยังไม่ถึงโอกาสได้ใช้เท่านั้น

หนุนเสริมเติมเต็มจากผู้ทรงคุณวุฒิ

  • กระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูโดมในครั้งนี้ สามารถขยายเป็น Open Approach ได้ โดยให้เสริมกระบวนการ Inquiry ให้นักเรียนสืบเสาะโดยหาประเด็นที่นักเรียนสนใจเพื่อจัดการเรียนรู้ต่อ
  • กระบวนการเก็บข้อมูลที่ครูโดมรวบรวมไว้ให้ทำออกมาเพื่อสะท้อนไปที่นักเรียน ที่เรียกว่า Assessment as Learning (AaL) การประเมินผลผู้เรียนขณะเรียนรู้

บทความที่เกี่ยวข้อง 

การจัดการเรียนรู้ที่ดีเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 “VASK กับการสร้างนักเรียนเป็นผู้คิดเชิงสร้างสรรค์”

นำเสนอโดย ครูโดม เกริกฤิทธิ์ สุขสมบูรณ์ 

https://web.facebook.com/photo?fbid=591346936519124&set=a.398463585807461

รับชมไลฟ์โรงเรียนต้นเรื่อง โรงเรียนวัดลัฏฐิวนาราม 

ห้องเรียน PBL ยกกำลัง 2

ครูต้นเรื่อง เกริกฤิทธิ์ สุขสมบูรณ์

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 

ได้ที่  https://fb.watch/mRbibVOn-k/

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า