“Digital Footprint เครื่องมือช่วยเหลือหรือการละเมิดสิทธิ ?”- Missing(2023)

เรียนรู้ที่จะรักษาข้อมูลทางดิจิทัล เพื่อป้องกันภัยบนโลกออนไลน์

Share on

 380 

เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าร่องรอยบนโลกอินเทอร์เน็ตที่เราทิ้งไว้มาจะกลับมาในรูปแบบใด?

Missing(2023) ภาพยนตร์แนว Thriller ,Drama ภาคต่อของ Searching (2018) ที่นำแสดงโดย จอห์น โช ในบท เดวิด คิม ที่ตามหาลูกสาวที่หายไปผ่านข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของลูกสาวและอินเทอร์เน็ต ในครั้งนี้เรื่องจะโฟกัสไปที่เด็กสาวไฮสคูลนามว่า จูน ที่กำลังพบความผิดปกติบางอย่างเมื่อแม่ของเธอ เกรซ ได้ออกท่องเที่ยวโคลัมเบียกับแฟนใหม่ เควิน และทั้งคู่ก็หายตัวไปแบบไร้ร่องรอย จูนจึงตัดสินใจใช้เทคโนโลยีใกล้ตัวอย่างโน้ตบุ๊กและสมาร์ตโฟน ในการรวบรวมข้อมูลและตามหาร่องรอยของเเม่เธอที่หลงเหลืออยู่บนโลกดิจิทัล แต่ยิ่งจูนได้รู้เรื่องราวมากขึ้นกลับขุดลึกไปในอดีตที่แม่เธอปกปิดเอาไว้ และเต็มไปด้วยปริศนาการหายตัวที่ยากจะคาดเดา

เทคนิคการเล่าเรื่องที่ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้แต่ต่างจากภาพยนตร์ระทึกขวัญเรื่องอื่น ๆ คือวิธีการนำเสนอเรื่องราวทั้งหมดผ่านหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น หน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต รวมถึงหน้าจอของนาฬิกาสมาร์ตวอทช์ นอกจากตัวละครที่สื่อสารกันไปมาผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รวมถึงแสดงให้เห็นว่าอินเทอร์เน็ตเองเป็นเครื่องมือช่วยเหลือและอาวุธที่พร้อมจะทำลายในเวลาเดียวกัน อยู่ที่ผู้ใช้งานจะเลือกใช้อย่างไร ซึ่งตัวภาพยนตร์ก็ได้พูดถึงประเด็นของการปล่อย “ข้อมูล” ของเราลงไปในโลกดิจิทัล อาจนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ยากจะคาดเดาได้หากข้อมูลของเราหลุดไปอยู่ในมือของใครบางคน 

ร่องรอยบนโลกดิจิทัล (Digital Footprint) คือข้อมูลของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานเว็ปไซต์ แอปพลิเคชั่น หรือเเพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น Facebook ,Instagram ,Tiktok ,Twitter เป็นต้น โดยเราสามารถแบ่ง ร่องรอยบนโลกดิจิทัลได้ 2 แบบ 

1.ร่องรอยที่ทิ้งไว้โดยไม่ตั้งใจ (Passive Digital Footprint) เช่น IP Address ,ประวัติการค้นหา 

2. ข้อมูลที่เราตั้งใจเปิดเผย (Active Digital Footprint) เช่น อีเมล ,ข้อความที่เราโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย

ข้อความที่เราโพสต์ลงในโซเชียลมักจะสร้างปัญหาตามมาอยู่บ่อยครั้ง ยกตัวอย่างในกรณีของผู้ที่มีชื่อเสียงในสังคมมักจะถูกขุดข้อความที่เราเคยโพสต์ทิ้งไว้เมื่อนานมาแล้วมาใช้ในการโจมตี ดังนั้นการโพสต์ข้อความลงบนซื่อโซเชียลมีเดียไม่ได้ต่างอะไรจากการที่เราแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะ แรงสะท้อนกลับที่ตามมาจากคำพูดไม่กี่คำอาจส่งผลต่อชีวิตและอนาคตของเราต่อจากนี้ได้เช่นกัน ความฉลาดทางดิจิทัลจึงมีความจำเป็นอย่างมาที่จะช่วยสร้างความรับผิดชอบในการใช้โซเชียลมีเดีย เพื่อไม่ให้พฤติกรรมบนโลกออนไลน์ของเราส่งผลร้ายต่อตัวเองและผู้อื่น

ในช่วงเวลาที่แอปพลิเคชั่นอย่าง Tiktok ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากรวมไปถึงคุณครูที่รักในการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย มีครูจำนวนมากได้ถ่ายคลิปวิดีโอกับเด็กนักเรียนของตัวเองอย่างสร้างสรรค์เราได้เห็นมุมมองการมีปฎิสัมพันธ์ในแนวราบของคุณครูและเด็กในยุค 4.0 หรือการประยุกต์ใช้ Tiktok เป็นเครื่องมือเผยแผ่ความรู้ควบคู่ความบันเทิงให้เเก่นักเรียน แน่นอนว่าไม่ใช่คุณครูทุกคนที่ใช้งานอย่างสร้างสรรค์ คุณครูที่ขาดความฉลาดทางดิจิทัลอาจไม่ได้ตระหนักในการใช้สื่อโซเชียลมีเดียจนเกิดกรณีที่เลวร้ายตามมา ไม่ว่าจะเป็นการตีนักเรียน ล้อเลียนกลั่นแกล้ง รวมไปถึงคอนเทนต์ที่สื่อสารไปในทางเพศร่วมกับนักเรียน และที่เป็นอันตรายที่สุดคือการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของนักเรียนออกไปโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ เช่น ชื่อ ,ที่อยู่ ,ใบหน้านักเรียน(หากไม่ได้รับการยินยอมหรืออนุญาต)

Missing คือภาพยนตร์ที่ชวนให้เราได้ตระหนักถึงภัยที่เกิดขึ้นจากโลกออนไลน์สู่ชีวิตจริง เมื่อเราไม่ได้ระวังตัวในการใช้สื่อดิจิทัล โดมถึงยังแฝงประเด็นของ “สื่อ” บนโลกออนไลน์ที่เห็นเรื่องของคนอื่นเป็นเพียงความบันเทิง การแสดงความคิดเห็นโดยไม่ได้สนใจความรู้สึกของผู้ถูกกระทำ หรือเฟคนิวส์ที่แพร่กระจายจนบิดเบือนความเป็นจริงก่อให้เกิดความอันตรายจนถึงร่างกายละชีวิต สามารถรับชม Missing(2023) ได้บนเเพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง Netflix

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : https://thematter.co/brief/digital-footprint-explained/79341

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า