เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้“โรงเรียนพัฒนาตนเอง : การสนับสนุนและขยายผลโรงเรียนพัฒนาตนเอง”

วันที่ 1-2 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุม Magnolia โรงแรมทีเค. พาเลซ โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

Share on

 399 

การสนับสนุนและขยายผลโรงเรียนพัฒนาตนเอง
“การทำงานของเขตพื้นที่สู่โรงเรียนเป้าหมาย”

นำเสนอโดย

กุญช์พิสิฏฐ์ คงนุรัตน์

ศึกษานิเทศก์ สพป.สุรินทร์ เขต 2

เครือข่ายสพป.สุรินทร์ เขต 2

เครือข่ายสพป.สุรินทร์ เขต 2 เป็นโหนดหนึ่งที่ได้รับโอกาสพัฒนาตนเองพร้อมทั้งได้เติมเต็มหลายกระบวนการเรียนรู้หลากหลาย มีการใช้ Smart Coaching Team การทำงานของเขตพื้นที่สู่โรงเรียนเป้าหมายเครือข่ายให้พัฒนาตนเองได้ โดยในปีแรกนั้นเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ณรงค์ศักดิ์ เหมือนชาติ เป็นผู้รับนโยบายโครงการ และในปีที่สอง รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อรรถพล ชาติรัมย์ และศึกษานิเทศก์ กุญช์พิสิฏฐ์ คงนุรัตน์ มารับช่วงต่อ ซึ่งในปีก่อนหน้ารูปแบบการบริหารคือ SURIN234 แต่ปีนี้ที่ได้รับการเติมเต็มจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ความอนุเคราะห์เพิ่มรูปแบบการบริหารเพื่อให้กรอบการดำเนินงานแข็งแรงขึ้น กลายเป็๋นโมเดล SURIN344  เพื่อเพิ่มคุณภาพเป้าหมายผู้เรียน ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ และการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้สอดคล้องกับเป้าหมายของผู้เรียน 

🔰 โดยเติมเต็มด้วยหลักคิด “SURIN344” นั้นประกอบด้วย 

S: School  U: Unity  R: Reflection  I: Information  N: Network 

3: กลุ่มบุคคลในการพัฒนา 

– ผู้บริหารปรับเปลี่ยนการบริหาร 

– ครูปรับเปลี่ยนวิธีการสอน เป็น Active Learning โดยประยุกต์ใช้ 5 Steps

– นักเรียน

4: เครื่องมือสำคัญในการพัฒนา 4 ประเภท 

– Professional Learning Community (PLC)

– ระบบการช่วยเหลือนักเรียน

– Coaching กระบวนการชี้แนะการโค้ชชิ่งภายใน  

– INFO ข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ที่ช่วยในการจัดการข้อมูลเช่นระบบ Q INFO  

4: บุคลากร 4 กลุ่ม 

– บุคลากรในพื้นที่

– เครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา เครือข่ายวิชาการ

– ผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญ

– Smart Coaching Team ทีมที่ช่วยเสริมสร้างหนุนเสริมพลังการเรียนรู้ด้วยทีมที่เป็นเลิศ

ในมิติด้านการบริหารจัดการของเขตพื้นที่ สพป.สุรินทร์ เขต 2 ได้นำเครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่องซึ่งทาง ศน. กุญช์พิสิฏฐ์ ได้เล่าให้เห็นภาพการทำงานทำงานเป็นส่วนอย่างเข้าใจง่ายดังนี้

☑️ การประเมินตนเองระดับเขตพื้นที่ ด้วยเครื่องมือ Developmental Evaluation (DE) 

เข้าไปสู่กระบวนการพัฒนาผู้เรียนการลงไปสำรวจเขตพื้นที่ ที่ก่อนหน้าพบปัญหาที่ไม่เคยได้ลงไปสำรวจในพื้นที่หลายอย่างเช่น

▪ เสียงสะท้อนจากผู้ปกครอง + นักเรียน บอกว่า “ครูดูแลเด็กไม่เท่าเทียมกัน” 

▪  ผู้บริหารกับครูไปด้วยกันไม่ได้

แต่พอเข้าสู่กระบวนการละลายพฤติกรรมลดช่องว่างระหว่าง คุณครู ผู้บริหาร ช่องว่างสลายลงทำให้มองเป้าหมายที่ “ผลลัพธ์ที่ผู้เรียน” ไปด้วยกันในปีแรก และเกิดการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

☑️ จัดทำโครงการที่สอดรับกับการประเมินตนเอง

พอกำหนด Developmental Evaluation (DE) โรงเรียนจะมีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนของตัวเอง ที่ทำครอบคลุมอย่างรอบด้านทั้งเด็ก โรงเรียน ครู และชุมชนแบ่งเป็น Key Result Are หรือ KRA 4 กลุ่มนี้

  1. ชุมชน 
  2. นักเรียน 
  3. ครู 
  4. ผู้บริหารเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารเป้าหมายนี้ 

 ด้านผู้เรียน 

เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านทักษะและพฤติกรรมอย่างเห็นได้ชัดเจน  ที่อยากทำให้เกิดขึ้นในเขตพื้นที่ แต่ให้บุคลากรภายนอกเรานำประธานเครือข่ายนายกคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา (กตปน) นายกสมาคมโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขยายโอกาส เข้ามาร่วมในการสังเคราะห์กระบวนการนี้ออกมา ซึ่งผลที่เกิดขึ้นในด้านผู้เรียนมีดังนี้ 

1.  กล้าแสดงออก เป็นเด็กดี  มีความรับผิดชอบ

2.  มีทักษะชีวิต ด้านกีฬา ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  การอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น

3. สื่อสารภาษาอังกฤษ

4. ใช้เทคโนโลยีได้

ด้านโรงเรียน

1. พัฒนาคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง

2. สนับสนุนการดำเนินการของครู 

3. สนับสนุนอุปกรณ์สื่อที่หลากหลาย

4. ผู้อำนวยการต้องลดละอบายมุข 

5. มีอาหารกลางวันที่ครบ 5 หมู่

6. ผู้อำนวยการเป็นแบบอย่างที่ดี 

7. โรงเรียนสะอาดปลอดภัย

ด้านครูผู้สอน

1.  เป็นแบบอย่างที่ดี

2. เอาใจใส่ในหน้าที่ 

3.  ต้องพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ   

4. ใช้สื่ออย่างหลากหลาย 

5. มีความรู้รอบด้าน

6. มีคุณธรรม จริยธรรม 

7. อยู่อย่างพอเพียง

8.  สอนเต็มเวลา 

9. ใช้สื่อเทคโนโลยี

ด้านเขตพื้นที่ 

1.จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความปลอดภัยให้กับนักเรียน   

2.  สร้างการรับรู้นโยบายที่ชัดเจน 

3. ส่งเสริมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม     

4. สนับสนุนงบประมาณ 

5. ลดขั้นตอนในการติดต่อราชการ     

6. จัดสรรอัตรากำลังครูให้ครบตามเกณฑ์ 

7. พัฒนาฝึกอบรมครูผู้สอน     

8. การพัฒนา ICT ให้บุคลากร 

☑️ ประชุมเตรียมการดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ ปี 2565 

มองเป้าหมายทั้งโครงการของ กสศ. โครงการเป้าหมายของเขตพื้นที่ และของทาง สพฐ. ที่มีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกันคือที่ “พัฒนาผู้เรียน”

1. จัดการเรียนการสอน Active Learning 

2. มีกระบวนการ PLC 

3. มีระบบช่วยเหลือนักเรียน 

4. โรงเรียนต้องมีเครือข่ายวิชาการ 

5. ต้องมีการใช้สารสนเทศ (Q-INFO)

☑️ จัดทำโครงการขยายผลระดับเขตพื้นที่ในแผนปฏิบัติการประจำปี 

ใช้การ Smart Coaching Team ในพื้นที่ตามแผนปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 

รับชมบันทึกการถ่ายทอดสด

เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “โรงเรียนพัฒนาตนเอง : การจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์ของชีวิต เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ” 

“การทำงานของเขตพื้นที่สู่โรงเรียนเป้าหมาย” ฉบับเต็มได้ที่ 

https://fb.watch/lICkigEz1_/

https://fb.watch/lICBqai3_T/

การสนับสนุนและขยายผลโรงเรียนพัฒนาตนเอง
“การขับเคลื่อนขยายเครือข่าย TSQP”

การสนับสนุนและขยายผลโรงเรียนพัฒนาตนเอง

“การขับเคลื่อนขยายเครือข่าย TSQP

นำเสนอโดย

รัชญา นิ่มยี่สุ่น

ศึกษานิเทศก์ สพป.นครสวรรค์ เขต 2

เครือข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร

ปัญหาของพื้นที่คือโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล คุณครูขอย้ายออกนอกพื้นที่บ่อย ส่วนครูผู้ช่วยที่บรรจุเข้ามาเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบวาระก็ขอทำเรื่องย้ายพื้นที่ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นอุปสรรคในการขยายการขับเคลื่อนขยายเครือข่าย TSQP รุ่นที่ 2 เครือข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร ปี 2564 ในพื้น สพป.นครสวรรค์ เขต 2 

โดยคุณรัชญา นิ่มยี่สุ่น ศึกษานิเทศก์ได้หยิบยกประเด็นมานำเสนอกระบวนการที่ปฏิบัติในพื้นที่ดังนี้ 

ขับเคลื่อนกิจกรรมด้วยเครือข่ายที่เริ่มต้นด้วยเพียง 3 โรงเรียน 1. โรงเรียนบ้านวังชุมพร 2. โรงเรียนวัดหนองตางู 3. โรงเรียนอนุบาลชุมตาบง โดยทีมโค้ชจากทางมหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้บริหารและครูแกนนำได้เข้ามาอบรม main course ของโครงการโรงเรียนเครือข่าย TSQP ที่ มรภ.นครสวรรค์ และพาครูไปศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาโรงเรียนทางเลือกต้นแบบของจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อศึกษารูปแบบของโรงเรียนต้นแบบที่ดำเนินงานภายใต้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ซึ่งมีความแตกต่างกับบริบทการดำเนินงานของ สพฐ. ทำให้มองเห็นปัญหาเรื่องความคล่องตัวในการจัดการ จึงเปลี่ยนเส้นทางการดูงานไปยังโรงเรียนที่มีบริบทใกล้เคียงกันคือที่โรงเรียนหนองกุลาที่จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งทำให้ผู้บริหารและครูแกนนำเห็นแนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทุกคนร่วมเดินทางการพัฒนาไปด้วยกัน

พอเริ่มดำเนินงานในช่วงเริ่มต้นหน้าที่สำคัญของศึกษานิเทศก์ คือนิเทศติดตามที่เป็น Coach ของทีมพื้นที่นครสวรรค์ ต้องเข้าถึงห้องเรียนเพื่อดูการจัดการเรียนการสอน ที่เริ่มต้นขึ้น และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งกิจกรรม onsite – online ไม่เว้นแม้แต่ช่วงโควิด-19 ด้วยกระบวนการดังนี้ 

☑️ กระบวนการจิตศึกษา 

☑️ การเรียนรู้แบบ Active Learning 

☑️ กระบวนการ Professional Learning Community (PLC) ของคุณครู

☑️ การทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR) กับนักเรียน 

หลังจากนิเทศติดตามแล้วก็รายงานผลให้เครือข่ายได้รับทราบผ่านระบบออนไลน์ และพอหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้นก็เริ่มจัดกิจกรรม on-site เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนที่อยู่ในเครือข่าย ม.นเรศวร กับอีกพื้นที่ 5 จังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ และสร้างเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเองกับโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์ด้วยกิจกรรมที่เรียกว่า Brush up เกิดการขยายผลและเครือข่ายในจังหวัดที่ขยายออกไปมากขึ้น จากเดิม 3 โรงเรียนแกนนำ ขยายผลเป็น 27 โรงเรียน 

รับชมบันทึกการถ่ายทอดสด

เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “โรงเรียนพัฒนาตนเอง : การจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์ของชีวิต เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ” 

“การขับเคลื่อนขยายเครือข่าย TSQP” ฉบับเต็มได้ที่ 

https://fb.watch/lICkigEz1_/

https://fb.watch/lICBqai3_T/

การสนับสนุนและขยายผลโรงเรียนพัฒนาตนเอง
“โรงเรียนพัฒนาตนเองทั้งระบบกับการหนุนนําอย่างต่อเนื่องของหน่วยงานต้นสังกัดสู่ PHUKET EDUCATION SANDBOX”

การสนับสนุนและขยายผลโรงเรียนพัฒนาตนเอง

“โรงเรียนพัฒนาตนเองทั้งระบบกับการหนุนนําอย่างต่อเนื่องของหน่วยงานต้นสังกัดสู่ PHUKET EDUCATION SANDBOX”

นำเสนอโดย

ปัณณธร ละม้าย 

ศึกษานิเทศก์ สพป. ภูเก็ต 

เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

การนำเสนอของ ศน. ปัณณธร ละม้าย เริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า “ศึกษานิเทศก์นั้นเข้าไปมีส่วนร่วมในการนำ TSQP ไปสู่พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้อย่างไร” ศน. ได้เล่าถึงไทม์ไลน์การดำเนินงานเพื่อให้เห็นภาพเส้นทางการสนับสนุนโรงเรียนเพื่อการพัฒนาเชิงระบบในพื้นที่ สพป. ภูเก็ต

2556 – 2557 

โครงการ Coaching and Mentoring การสนับสนุนช่วยเหลือจากทีมมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

2559 – 2560 

โครงการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง (School Quality Improment Program: sQip) 

โครงการโรงเรียนเสริมสร้างสุขภาวะ โดยการสนับสนุน จากมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

2563 – 2565

โครงการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบรุ่นที่ 2 TSQP

2566 

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโดยการขับเคลื่อนทั้งจังหวัดภูเก็ตภายใต้การนำของท่านณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต

จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงโดยมีเป้าหมายคือ “อยากพัฒนาผู้เรียน” แต่ความเท่าเทียมการศึกษานั้นไม่ได้เท่าเทียมกันอยู่ทุกโรงเรียนอยู่แล้ว ไม่ว่าขนาดไหนก็ตาม แต่ว่าโครงการ TSQP ของ กสศ. ได้เข้ามาเติมเต็มในจุดของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้โอกาสที่จะทำให้โรงเรียนมีคุณภาพเท่าเทียมกับโรงเรียนขนาดใหญ่หรือว่าโรงเรียนอื่นโดยจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งเป้าหมายไว้

🔰 กำหนดเป้าหมายโรงเรียน ทาง ศน. เข้ามาดูแลตั้งแต่จุดเริ่มต้น ดูความถนัดว่าแต่ละโรงเรียนมีความถนัดและมีทักษะด้านใด

▪ ดําเนินงานตามเป้าหมาย (School Goal)

▪ TSQP สู่ Area -based Education

▪ ส่งเสริมการพัฒนาครูและโรงเรียนทั้งระบบ 

▪ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน กรรมการสถานศึกษา 

▪ กระบวนการประเมินเชิงพัฒนา (DE)

🔰 พัฒนาครู ผู้บริหาร ด้วยกระบวนการ PLC ในเริ่มแรกโครงการคุณครูส่วนใหญ่ออกแบบการจัดการเรียนรู้ไม่ค่อยเป็น ศึกษานิเทศก์จึงเข้ามาจัดกระบวนการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ PLC / ศึกษาชั้นเรียน (LS) ให้ สะท้อนผลของแผนต่าง ๆ ตาม school goal ที่ตั้งเป้าหมายไว้

▪  เป็นผู้นําทางวิชาการ

▪ พัฒนาบริหารงานตามเป้าหมาย

▪ สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของครู

▪  Area Coach 8 กลุ่มเครือข่าย 

▪ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community / การศึกษาชั้นเรียน Lesson Study

🔰 จัดระบบสารสนเทศ Q-INFO ที่มีตั้งแต่ระยะแรกเริ่มโครงการที่มีข้อมูลอยู่แล้ว นำมาเป็น Big Data ที่จะดำเนินการต่อ เพื่อออกแบบการจัดการเรียนการสอน กระบวนการช่วยเหลือนักเรียน 

▪ ฐานข้อมูลผู้เรียน

▪ รายงานผลการเรียน

▪ ระบบดูแลช่วยเหลือ

🔰 พัฒนาการเรียนการสอน ในชั้นเรียน  ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้สู่เป้าหมายคือผู้เรียน

▪ ใช้ PLC / การศึกษาชั้นเรียน Lesson Study (LS) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ 

▪ เรียนแบบ Active Learning

▪ สังเกตการณ์ชั้นเรียน

▪ สะท้อนผล Reflection

▪ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

▪ คุณลักษณะอันพึงประสงค์

▪ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

🔰 สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน Network PLC ทำให้เกิดเครือข่ายโดยเฉพาะช่วงโควิด -19 ทำให้เกิดกระบวนการ Online Network PLC 

▪ แบ่งสาย 5 สาย 24 โรงเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้

🔰 นิเทศทีมโค้ช มีการคิดตามอย่างสม่ำเสมอ 

▪ การทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review AAR)/ Coaching & Mentoring

▪ กำกับติดตาม ส่งเสริมตามบริบท สรุป พัฒนาต่อยอด แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ในตอนท้าย ศึกษานิเทศก์ ปัณณธร ละม้าย ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง Mindset ก่อนเข้าและหลังร่วมโครงการ TSQP ที่เป็นประเด็นน่าสนใจที่เพิ่มเติมจากเวทีการนำเสนอ กับทาง I AM KRU. เพิ่มเติมในกระบวนการทำงาน TSQP ปีแรกนั้น ศน.ปัณณธร ตอนนั้นยังเป็นครู เพิ่งเข้ามามีบทบาทในปีที่สอง รูปแบบการนิเทศแต่เติมก็เป็นไปตามนโยบายของ สพฐ. ที่กำหนดรูปแบบไว้เป็นการเก็บข้อมูลแล้วก็กลับไปรายงานผล แต่พอมี TSQP เปลี่ยน Mindset การทำงาน มีเครื่องมือที่ช่วยในการดำเนินงานคือ  Developmental Evaluation (DE) และ Professional Learning Community (PLC) ที่ทำให้เห็นเป้าหมายและการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ 

ทำให้ มรภ. ภูเก็ต ดึงมานิเทศติดตามมากขึ้น มีการเปลี่ยนรูปแบบการสะท้อนผล ไปสังเกตห้องเรียน Open Class ตามเครื่องมือการเก็บข้อมูลการสอนของครูตามแผนการสอนที่นั่งดูอยู่นั้นว่าเป็นการเรียนรู้เชิงรุกมากน้อยแค่ไหน เด็กมีส่วนร่วมคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ไม่เหมือนเดิมที่เคยแค่มาดู 60 นาทีก็กลับ แต่ TSQP ทำให้หลังจากนั้นก็มีกระบวนการ PLC  และสะท้อนผลว่ากิจกรรมที่สอนมานั้นเป็นอย่างไร อะไรดีแล้ว อะไรที่ต้องเพิ่ม หรือสิ่งที่ตกหล่นขาดหายไป และพัฒนาต่อให้ดีขึ้นตรงไหนและอย่างไรบ้าง 

อีกสิ่งที่น่าสนใจ กระบวนการ TSQP และการประเมิน ว.PA มีคอนเซปต์เหมือนกัน ไม่มีอะไรต่างกัน แค่ TSQP ไม่ได้นำมายื่นเป็นวิทยฐานะ แค่ครูสามารถแนวทางความรู้ที่ได้ 

ส่วนในหน่วยการเรียนรู้ของครูมีหลายหน่วยซึ่งครูสามารถนำความรู้ที่ได้จาก TSQP นำมาประยุกต์ใช้กับหน่วยหรือแผนที่ตัวเองถนัด

รับชมบันทึกการถ่ายทอดสด

เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “โรงเรียนพัฒนาตนเอง : การจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์ของชีวิต เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ” 

โรงเรียนพัฒนาตนเองทั้งระบบกับการหนุนนําอย่างต่อเนื่องของหน่วยงานต้นสังกัด สู่ PHUKET EDUCATION SANDBOX” 

ฉบับเต็มได้ที่ 

https://fb.watch/lICkigEz1_/

https://fb.watch/lICBqai3_T/

มาตรการสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการของโรงเรียน
“การใช้กระบวนการ DE เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของทีมวิชาการ 
ในการติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนทั้งระบบ”

นำเสนอโดย 

รวินันท์ พิมพ์พงษ์ อำนวยการโรงเรียนบ้านบึงมะลู จังหวัดศรีสะเกษ

เครือข่ายมูลนิธิสยามกัมมาจล

บริบทโรงเรียน อนุบาล 2 – ประถมศึกษาปีที่ 6 คณะครูและผู้อำนวยการ รวมทั้งสิ้น 14 คน และจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 268 คน นักเรียนส่วนใหญ่ใช้ภาษาถิ่น ไทย-อีสาน ไทย-ลาว และสัดส่วนไทย-เขมร มีถึง 80% จึงต้องพัฒนาทักษะภาษาไทยเรื่องการอ่านและการออกเสียง ผู้อำนวยการ รวินันท์ จึงสมัครเข้าร่วมโครงการโรงเรียนนวัตกรรมและเลือกใช้ นวัตกรรม Brain-based Learning (BBL) เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านออกเขียนได้โดยเริ่มใช้นวัตกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน

วิสัยทัศน์โรงเรียนบ้านบึงมะลู

นักเรียน โรงเรียนบ้ํานบึงมะลูมีความสามารถในการเรียนรู้ มีความสามารถอ่านและเขียนได้ ตามช่วงวัย มีทักษะการสื่อสาร และ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง โดยครูมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านการใช้ นวัตกรรม Brain Based Learning ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความหลากหลายของนักเรียน ผ่านการรู้จักและประเมินนักเรียนรายบุคคล นำไปสู่การวางแผน พัฒนานักเรียนร่วมกับ ผอ. ที่มีความเป็นผู้นำทางวิชาการ เป็นนักพัฒนาตนเองมีสัมพันธภาพที่ดีกับครู มีการกำกับนิเทศติดตาม และสามารถแบ่งบทบาทตามความถนัดโดยใช้วง PLC ในการพัฒนาครู ชุมชนและผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการศึกษาผ่านการมีส่วนร่วมในการสร้างการเรียนรู้ให้กับนักเรียน (ที่บ้านและโรงเรียน)และสามารถสะท้อนร่วมแลกเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อร่วมกันพัฒนานักเรียนได้ 

ภาพจาก Facebook โรงเรียนบ้านบึงมะลู

โรงเรียนได้เข้าโครงการ TSQP และได้รู้จักมูลนิธิสยามกัมมาจลทำให้รู้จักเครื่องมือที่ชื่อว่าการประเมินเชิงพัฒนา  (Developmental Evaluation) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า  DE

ความร่วมมือเพื่อกำหนดเป้าหมายการประเมินเชิงพัฒนาของทุกภาคส่วนก็ได้เริ่มขึ้น มาทำ DE ร่วมกันสะท้อนเพื่อให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นอยู่ ชัดขึ้น แล้วจะแก้ไขและพัฒนาต่อไปได้อย่างไร และก็ค้นพบ Red Zone ที่ต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนใน 3 เรื่อง เป้าหมายร่วมที่จะเดินหน้าต่อ เพื่อเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ภูเขาน้ำแข็งความซับซ้อนปัญหาเพื่อกำหนดเป้าหมายในการพัฒนานักเรียนนำมาตั้งประเด็นวิเคราะห์ 

  1. เด็กบางส่วนอ่านไม่ค่อยออก เขียนไม่ค่อยได้ (ตามช่วงวัย)
  2. เด็กเรียนรู้ช้า
  3. เด็กขาดความรับผิดชอบ

การทำ DE ทำให้เห็นปัญหาอย่างครอบคลุมว่าต้นไม้ของปัญหาที่เกิดขึ้นถึงขั้นแบบแผนพฤติกรรมเป็นอย่างไร และที่สำคัญทำให้เห็นต้นเหตุปัญหาที่ทำให้เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ นั้นเกี่ยวข้องทั้งผู้ปกครอง ตัวคุณครู ทางผู้อำนวยการก็มองเห็นปัญหาของตนเอง ทั้งเรื่องการออกแบบแผนการเรียนรู้เหมาะสมกับเด็กแล้วหรือยัง กระบวนการเรียนการสอนที่ไม่เป็นการเรียนรู้แบบ Active Learning

นอกจากนั้น DE ทำให้เห็น KRA พื้นที่ผลลัพธ์ที่สำคัญ (Key Result Areas) และ KPI ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (Key Performance Indicator) ทำให้เห็นปัญหาชัดขึ้น คมขึ้น และมองวิธีการแก้ไขปัญหาได้ชัดเจนขึ้น และทำ DE ที่โรงเรียนทำขึ้นเข้าสู่แผนการพัฒนาโรงเรียนประจำปี 

แต่แผนการประเมินนั้นยังไม่ทำให้เห็นภาพปัญหาเพียงแค่ภาพรวม เช่น เด็กคนนี้อยู่ในเกณฑ์ดี เกณฑ์พอใช้ เกณฑ์ปรับปรุง แต่ไม่ชัดเจน พอดีทาง ผอ.รวินันท์ ได้รับโอกาสจากทางมูลนิธิสยามกัมมาจล ชวนเข้าร่วมใช้เครื่องมือการวัด การอ่านออกเขียนได้ จากแบบทดสอบวิชาภาษาไทยของ อาจารย์ไซหนับ เอสเอ  ครูที่ดูแลเรื่องวิชาการได้เริ่มทดลองจากชั้นเรียนตนเองก่อนแล้วนำเข้าสู่ PLC ของโรงเรียน และที่สำคัญทางมูลนิธิสยามกัมมาจลได้ให้ทางโรงเรียนบ้านบึงมะลู และโรงเรียนในจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมพัฒนาเครื่องมือให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่โรงเรียนอีกด้วย และนำเป็นวาระแห่งชาติเพื่อทดสอบเด็กทั้งโรงเรียน

ดาวน์โหลดได้ที่นี่  เครื่องมือติดตามความก้าวหน้าของนักเรียนชุดแบบทดสอบวิชาภาษาไทย

7 หัวใจสำคัญ ในการขับเคลื่อน Effect Size โรงเรียนบ้านบึงมะลู จ.ศรีสะเกษ

  1. วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของนักเรียน
  2. ตั้งเป้าหมายร่วมทำแผนพัฒนาโรงเรียนประจำปีจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ด้วยเครื่องมือ Developmental Evaluation (DE)

• เด็กอ่านไม่ออก/เขียนไม่ได้

• เด็กขาดความรับผิดชอบ

• เด็กเรียนรู้ช้า

  1. วางแผนและทดสอบความก้าวหน้าวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้น ป.1-6 (Pre-test) และวิเคราะห์ผล
  2. หัวหน้าวิชาการ ชวน ผอ. และเพื่อนครูแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการทดสอบ (ES) ผ่านวง PLCเพื่อให้ครูปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ตอบโจทย์สถานการณ์ปัญหาจริงของนักเรียน ที่เป็นผลจากแบบทดสอบ
  3. ผอ. หัวหน้าวิชาการและคณะครูทั้งโรงเรียน นิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้ของครูและสะท้อนผลผ่านวง PLC
  4. ทดสอบความก้าวหน้าวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้น ป.1-6 (Post-test) และวิเคราะห์ผล
  5. ผู้อำนวยการ เป็นหัวหน้าวิชาการ และคณะครูทั้งโรงเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการทดสอบ

(ES) ผ่านวง PLC เพื่อให้ครูปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้และวางแผนการทดสอบความก้าวหน้าของนักเรียน ในปีการศึกษาต่อไป

บทบาททางวิชาการของทีมโรงเรียนบ้านบึงมะลู 

1. ทีมวิชาการเห็นว่าการประเมินเป็นเรื่องสำคัญ ขับเคลื่อนวาระการประเมินทุกชั้นเรียน และครูทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม โดย ผอ.สนับสนุน ให้กำหนดเป็นปฏิทิน และแผนงานประจำทุกเทอม โดยมีการประเมิน Pre-test ต้นเทอม และPost-test กลางเทอม และปลายเทอม โดยมีแนวคิดในการขยายผลการประเมินวิชาภาษาไทย ไปใช้ในวิชาอื่น ๆ

2. เป็นเจ้าภาพในการจัดวง PLC และนิเทศชั้นเรียนเห็นความสำคัญของเป็นเจ้าภาพในการจัดวง PLC และนิเทศชั้นเรียนเพื่อสร้างการเรียนรู้ของครูทั้งโรงเรียน และหยิบยกผลการประเมินนักเรียน มาเป็นประเด็นในการพูดคุยใน PLC เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาจนเกิดการรับรู้กันทั้งโรงเรียน และระดมสมองในการแก้ปัญหา

3. ยอมรับผลตามสภาพจริง  ครูวิชาการยอมรับผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนตามสภาพจริง ทำให้ครูทั้งโรงเรียน พร้อมที่จะเข้ามาช่วยเหลือ

4. จัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ และนำเข้าข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วใน

รูปแบบของกราฟ เพื่อให้สามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้งานได้ทั้งโรงเรียนโดย ผู้อำนวยการและครูทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา

5. มีระบบพัฒนาครูใหม่ มีระบบพัฒนาครูใหม่ ผ่านคู่ Buddy และวง PLC ทำให้ครูใหม่เห็นสถานการณ์ห้องเรียน เห็นนักเรียนที่ตนเองต้องไปดูแลชัดเจนเป็นรายบุคคล ง่ายต่อการเตรียมตัว และมีเป้าหมายในการทำงานชัดเจนมากขึ้น

ภาพจาก Facebook โรงเรียนบ้านบึงมะลู

รับชมบันทึกการถ่ายทอดสด

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “โรงเรียนพัฒนาตนเอง : การจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์ของชีวิต เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ” 

“การใช้กระบวนการ DE เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของทีมวิชาการ ในการติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนทั้งระบบ”ฉบับเต็มได้ที่ https://fb.watch/lMSsfnJVfG/.

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า