“การเพิกเฉยต่อความรุนแรงเท่ากับการสนับสนุนความรุนแรง”- The Glory(2023) PART 2

“ฉันขอให้ทุกคนร้อนรุ่ม เหมือนที่ฉันเป็น” The Glory (2023) บทสรุปเรื่องราวการล้างแค้นของ ‘มุนดงอึน’ ครูแผนกประถม ที่กลับมาล้างแค้นอดีตเพื่อนร่วมชั้นของเธอ เพื่อทวงความยุติธรรมที่กฎหมายให้กับเธอไม่ได้

Share on

 641 

“ฉันขอให้ทุกคนร้อนรุ่ม เหมือนที่ฉันเป็น”

มาถึงพาร์ทที่ 2 ของ The Glory (2023) บทสรุปเรื่องราวการล้างแค้นของ ‘มุนดงอึน’ ครูแผนกประถม ที่กลับมาล้างแค้นอดีตเพื่อนร่วมชั้นของเธอ เพื่อทวงความยุติธรรมที่กฎหมายให้กับเธอไม่ได้ เธอได้เก็บความแค้นที่มีอยู่และเฝ้ารอวันให้คนที่เคยทำร้ายเธอเติบโตขึ้น มีชีวิตครอบครัว มีหน้าที่การงานที่ดี และมีลูกสาวที่น่ารัก เมื่อถึงเวลานั้น มุนดงอึนได้เข้าไปเป็นครูประจำชั้นให้กับลูกสาวของคนที่เคยทำร้ายเธอ เพื่อให้คนที่เคยกลั่นแกล้งเธอได้ลิ้มรสความทรมานเฉกเช่นเดียวกันกับเธอ สามารถรับชมซีรีส์ The Glory(2023) ได้บนสตรีมมิ่งออนไลน์ Netflix

การกลับมาในพาร์ทที่ 2 เรื่องราวการล้างเเค้นของมุนดงอึนยังคงเต็มไปด้วยความเข้มข้นและความเชือดเฉือน และยังคงสะท้อนให้เห็นถึงความเจ็บปวดของเหยื่อที่ถูกกลั่นแกล้งได้เป็นอย่างดี แม้ในวันนี้ซีรีส์ The Glory จะเดินทางมาถึงบทสรุป แต่เรื่องราวของการกลั่นแกล้งและความรุนแรงในสถานศึกษาทุกรูปแบบยังคงอยู่ ความรุนแรง การบูลลี่ ยังคงเกิดขึ้นในหลายโรงเรียน ในรูปแบบที่ต่างกัน อาทิ การกลั่นแกล้งให้เกิดความเจ็บใจ เสียใจ และได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย ซึ่งในบางครั้งการกลั่นแกล้งกันของเด็กก็ไม่ได้เกิดขึ้นในที่ครูสามารถมองเห็นได้ชัดเจน แต่ต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ๆ ที่เปลี่ยนไป เพราะการกลั่นแกล้งไม่ได้เกิดขึ้นรูปแบบของการทำร้ายทางวาจาหรือร่างกายให้เห็นได้อย่างชัดเจน แต่เด็กก็ใช้การเมินเพื่อน หรือถูกแบนออกจากกลุ่มเพื่อน (boycott) ลดคุณค่าเด็กคนหนึ่งให้ไม่มีตัวตัวอยู่ในห้องเรียน 

ในซีรีส์บทบาทของ “ตัวร้าย”  ในเรื่องราวจะดูเป็นตัวละครที่เลวร้ายมากแค่ไหน ในบทบาทที่นักแสดงได้สวมบทบาทถ่ายทอดออกมาให้เราได้รับชม แต่หากในความเป็นจริงแล้วการที่ใครสักคนจะเติบโตมาเป็น ‘ตัวร้าย’ ได้ ล้วนมีปัจจัยมาจากวัยเด็กเป็นส่วนสำคัญ หากครูขาดความเข้าใจในธรรมชาติของเด็ก เมื่อเกิดเหตุการณ์กลั่นแกล้งขึ้น ครูจึงมองข้ามเรื่องของเด็กนักเรียน และตีความไปว่าเด็กทะเลาะกันเป็นเรื่องเล็กน้อย ก็แค่เด็กๆ เล่นกัน ปัญหาจึงไม่ได้ถูกแก้ไข เด็กที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้งก็เข้าใจผิดต่อไปว่าการกระทำของตัวเองเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ประกอบกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนก็ยังไม่สามารถป้องกันต่อเหตุการณ์กลั่นแกล้งหรือการใช้ความรุนแรงขึ้นได้เท่าทัน  และปัญหาไม่ได้ถูกแก้ไขอย่างจริงจัง ส่งผลให้ยังคงเกิดปัญหาและเป็นเรื่องที่น่าเศร้าเมื่อเกิดเหตุที่เด็กหาทางออกด้วยการออกนอกระบบหรือจบชีวิตจากแรงกดดันเพียงเพราะการกลั่นแกล้ง บูลลี่ เป็นต้นเหตุ ดังนั้น โรงเรียนควรจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่นักเรียนทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข แต่ตอนนี้โรงเรียนอาจกลายเป็นแหล่งผลิตความรุนแรงในตัวเด็กขึ้นมาเสียเอง

มิติของการกลั่นแกล้งในบางครั้งผู้ที่เป็นครูก็ยากที่จะมองเห็นและรรับรู้ได้อย่างชัดเจน เพราะ “ความกลัวมีอำนาจเหนือความกล้า” ภายในจิตใจของเด็กทำให้ไม่สามารถนำเรื่องที่เกิดขึ้นไปบอกกับคุณครูหรือผู้ปกครองได้ หรือแม้กระทั่งเพื่อนในห้องที่ไม่ได้เห็นด้วยกับการกลั่นแกล้งก็ไม่กล้าที่จะเข้าไปช่วยเหลือหรือเป็นปากเสียงให้กับเด็กที่ถูกกระทำ เพราะ “กลัว” ตัวเองจะโดนกลั่นแกล้งไปด้วยเช่นกัน หากเราลองมาชำเเหละถึงสาเหตุ “ความกลัวของเด็ก” ที่เกิดขึ้น ว่าทำไมเด็กที่อยู่ภายใต้การดูแลของครูในโรงเรียนถึงไม่กล้าบอกครู เมื่อเกิดความรุนแรงขึ้นหรือเป็นเพราะ “ความไม่ไว้ใจต่อตัวครู” และ “ไม่เชื่อมั่นต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน” มากพอว่าจะสามารถช่วยเหลือเขาได้ ถ้าหากบอกครูไปแล้วจะถูกเพิกเฉย และมีผลทำให้ถูกแกล้งหนักขึ้นกว่าเดิม 

เราไม่สามารถกล่าวโทษเด็กฝ่ายที่ใช้ความรุนแรงได้อย่างเดียว เพราะครูและสถานศึกษาที่เพิกเฉยต่อการกลั่นแกล้ง และส่งเสริมให้เกิดความรุนแรงภายในโรงเรียน ทั้งที่ด้วยอำนาจและระบบของโรงเรียนสามารถหยุดยั้งไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ได้ ซึ่งหมายความว่าบทบาท ‘ตัวร้าย’ คือตัวของโรงเรียนเองที่ทำลายชีวิตเด็ก แม้เราจะหวังให้ในโลกความจริงไม่โหดร้ายเหมือนในเรื่องราวในซีรี่ย์ The Glory (2003)  แต่เราก็รู้กันดีว่าการใช้ความรุนแรงในโลกความจริงนั้นเลวร้ายได้มากกว่า

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า