6 หัวใจขับเคลื่อนการศึกษาเชิงพื้นที่

Share on

 47 

การศึกษาไม่อาจเดินหน้าเพียงลำพัง ถ้าร่วมมือกันก็ไปได้ไกล การทำงานเป็นทีมหัวใจสำคัญที่จะนำพาแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนพัฒนาโรงเรียนเชิงพื้นที่เดินทางไปสู่ความสำเร็จที่ตั้งเป้าหมายไว้ หัวใจคำคัญ มี 6 แกนหลัก ที่เป็นหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานในการกำกับการดูแลโรงเรียนเป็นหลักในการสนับสนุนทรัพยากร งบประมาณ การบริหารจัดการ เพื่อเน้นให้เกิดคุณภาพ ทั้งในด้านการต่อยอดการพัฒนาขยายผลกับเครือข่ายในพื้นที่ที่เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนสำคัญทั้งภาครัฐ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ชุมชน ชาวบ้าน หรือแม้แต่ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่จะพร้อมสร้างความยั่งยืนการจัดการศึกษาเพื่อการมีส่วนร่วม ทั้งในมิติ ค่านิยม (Values) ทัศนคติและอุปนิสัย (Attitude) ทักษะ (Skills) และความรู้ (Knowledge) มาติดตามบทบาทหน้าที่ของทั้ง 5 ด้าน ที่จะสร้างความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการโรงเรียนพัฒนาตนเองเชิงพื้นที่

  1. สร้างการมีส่วนร่วม ความร่วมมือไม่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมหากขาดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย หน้าที่ของ “กลไกระดับพื้นที่” (Core Team) คือการวางแผน กำหนดเป้าหมาย กำหนดหลักสูตรการพัฒนาครู พัฒนาผู้บริหารสร้างความเข้าใจพร้อมสร้างแรงบันดาลใจเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินหน้าของหน่วยงานที่จะร่วมมือออกแบบแนวทางการพัฒนาสอดคล้องไปทั้งจังหวัดผ่าน Keyman สำคัญในภาคส่วนต่าง ๆ พร้อมมีแนวปฏิบัติที่ดีด้านการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาโรงเรียนโดยใช้ (Developmental Evaluation) เฉพาะต้นสังกัดที่จะเห็นเป้าหมายร่วมกันของการพัฒนาการศึกษาของจังหวัด
  1. การพัฒนาด้านวิชาการ เป็นการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนและโรงเรียน โดยมี ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ชุมชน เพื่อให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันระดมความคิดนำมาออกแบบการขับเคลื่อนเพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมาย ใช้การหนุนเสริมทางวิชาการสร้างเครื่องมือในการติดตามผลประเมินผล เช่น 7C3 + Competency ความสามารถของผู้เรียน 
  1. การจัดการความรู้และการสื่อสาร การจัดการองค์ความรู้เพื่อจัดเก็บและเผยแพร่เพื่อการพัฒนาเป็นสิ่งจำเป็น โดยใช้การวิจัยเชิงประเมินด้านกระบวนการพัฒนาตลอดโครงการ จัดการองค์ความรู้ เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น และเปลี่ยนเรียนรู้ Show Case / Online PLC Coaching พร้อมเวทีรายงานผลการดำเนินงาน มีการรวบรวม Good Practice + Best Practice และสรุปองค์ความรู้ที่ได้เพื่อเผยแพร่สร้างความรู้เพื่อการต่อยอดในอนาคต 
  1. การสร้างเครือข่าย การสร้างเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นการเชื่อมโยงการทำงานให้เกิดการเรียนรู้ความเหมือนและความแตกต่างเพื่อสร้างการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อพัฒนาในเครือข่ายต้นสังกัด 7C + Competency สร้างความเข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะ ให้คำปรึกษา แก้ปัญหา สะท้อนผลเพื่อพัฒนาคุณภาพครู และสามารถขยายผลไปนอกเครือข่ายได้  
  1. การบริหารจัดการ เน้นการบริหารจัดการที่เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ที่สร้างให้ทุกฝ่ายทำงานด้วยคาดหวังผลลัพธ์ร่วมกัน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมองเห็นคุณค่าของการพัฒนาการศึกษาของจังหวัดไปในทิศทางเดียวกัน ใช้วง PLC สังสรรค์วิชาการ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน พร้อมีมีการจัดการ  การบริหารความเสี่ยง ประเมินสถานการณ์ เพื่อปรับแผนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย มีการถอดบทเรียนเพื่อการสะท้อนการทำงานและเพื่อการพัฒนาต่อ พร้อมีระบบการจัดการฐานข้อมูลที่ดีพร้อมใช้งาน

โดยทั้ง 5 ด้านมุ่งเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนพัฒนาโรงเรียนพัฒนาตนเองเชิงพื้นที่โดยมี 

ผู้อำนวยการ  Smart Leader

คุณภาพสถานศึกษาอยู่ในมือผู้บริหาร 

ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ นั้นถือเป็นกลไกที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นแกนนำและกลไกหลักในการกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ควบคุมกำกับและส่งเสริม และผลักดันแผนแม่บทในการปฏิรูปการศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำนโยบายจากทั้งหน่วยงานต้นสังกัด นโยบายความร่วมมือกับภาคีภายใน และข้ามเครือข่ายมาใช้ในภาคปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ 

นอกจากนี้แล้วยังต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อครู และพร้อมเป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างชุมชน เครือข่ายภายใน ภายนอกให้การดำเนินการทั้งด้านนโยบายและการนำมาปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าเชิงคุณภาพของนักเรียน พัฒนาศักยภาพ และสร้างให้ชุมชมเข้มแข็งมองเห็นเป้าหมายการพัฒนาการศึกษาและพร้อมเดินหน้าไปกับกิจกรรมของโรงเรียน โดยมีแกนหลักที่ต้องบริหารให้เดินหน้าไปพร้อมกัน

ครูวิชาการ  Teacher as a Change Agent

ครูวิชาการ อีกหนึ่งหัวใจขับเคลื่อนสำคัญของการพัฒนาด้านวิชาการในรั้วโรงเรียน ที่ต้องทำงานเชื่อมประสานกับผู้บริหารโรงเรียนและเพื่อนครู และยังต้องเป็นตัวกลางประสานถึงผู้ปกครองชุมชนในบางครา ผู้ที่ต้องปฏิบัติทั้งบู๊ด้านวิชาการให้เกิดขึ้นและเป็นไปตามแผนงานนโยบาย และทั้งบุ๋นเชิงกลยุทธ์ที่ต้องนำพาเพื่อนครูให้เข้าใจเป้าหมาย รู้จักเพื่อนครูว่าแต่ละคนเก่งอย่างไร และมีจุดติดขัดตรงไหนที่ในฐานะผู้ดูแลงานด้านวิชาการจะนำไปหนุนเสริมได้ ให้ครูพร้อมใช้องค์ความรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงห้องเรียน

ครูผู้สอน Smart Teacher

นักเรียน คือผลสะท้อนคุณภาพการศึกษา ซึ่ง ครู  เป็นหน่วยสำคัญที่ใกล้ชิดนักเรียนมากที่สุด ดังนั้นการยกระดับคุณภาพศึกษาต้องมุ่งเป้าไปที่เรื่องการพัฒนาคุณภาพครู  “กลไกระดับพื้นที่” (Core Team) จึงต้องสร้างกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การผลิตครูรุ่นใหม่ ๆ พร้อมกับเพิ่มศักยภาพครูอาวุโสในโรงเรียนให้เป็นนักออกแบบการเรียนรู้ เป็นครูโค้ช อำนวยการเรียนรู้ เป็นหน่วยขับเคลื่อนทางวิชาการ พร้อมมีทักษะความรู้หลากหลายตอบโจทย์ความต้องการผู้เรียนในปัจจุบัน โดยให้หน่วยงานระดับนโยบายในพื้นที่เป็นฝ่ายรับผิดชอบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ มีศูนย์พัฒนาความเชี่ยวชาญด้านผู้นำการศึกษา และการทบทวนกฎหมาย หรือระเบียบปฏิบัติให้เอื้อต่อการผลิตและพัฒนาครู พร้อมแก้ไขปัญหาคุณภาชีวิตครู ไปพร้อมกัน 

นักเรียน   Smart Learners

สุภาษิตของแอฟริกากล่าวไว้ว่า ‘เด็กคนเดียวเลี้ยงกันทั้งหมู่บ้าน’ นั้นไม่เกินจริง ดังนั้นคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน คือผลสะท้อนคุณภาพด้านนโยบายการศึกษา คุณภาพการสอนของครู คุณภาพโรงเรียน และความร่วมมือของคนในชุมชน ที่จะช่วยให้เด็กคนหนึ่งจะเติบโตมาได้อย่างปลอดภัย มีสุขภาพกายและใจที่ดี และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากคนหลายกลุ่มที่อยู่รอบตัวเด็กที่สามารถสนับสนุน ส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครอง รวมทั้งให้ความช่วยเหลือเด็ก ที่จะร่วมกันออกแบบอย่างไรให้กำลังสำคัญของอนาคตชาติมีความรู้ มีทักษะและสมรรถนะ ได้เรียนรู้ตามความต้องการ และมีความสามารถในการประกอบอาชีพได้ ดังนั้นการขับเคลื่อนที่จะให้เด็กไปถึงเป้าหมายการเรียนรู้สามารถถอดประเด็นออกมาได้ดังนี้

Values

  • มี Growth Mindset
  • พลเมืองโลกที่เข้มแข็ง
  • การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน
  • มีวินัย คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม
  • มีจิตสาธารณะ เห็นประโยชน์ส่วนรวม
  • ภาคภูมิใจในตนเอง / รากเง้า

Attitude

  • มองโลกด้วยทัศนคติเชิงบวก
  • มีเมตตาเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
  • ยืดหยุ่น ปรับตัว ริเริ่ม
  • เคารพผู้อื่น ยอมรับในความแตกต่าง
  • รักความถูกต้อง
  • เห็นคุณค่าตนเองและผู้อื่น

Skills

  • สมรรถนะการสื่อสาร
  • มี 7 ทักษะทางความคิด
  • ฉลาดทางอารมณ์
  • ทักษะประยุกต์ใช้ความรู้
  • ทักษะในศตวรรษที่ 21
  • รู้เท่าทันสื่อ/เทคโนโลยี
  • ทักษะเทคโนโลยี/นวัตกร/ICT
  • คิดเชิงนวัตกรรม
  • เรียนรู้ด้วยตนเอง
  • เป็นผู้นำที่ดี
  • ทำงานเป็นทีม
  • จัดการตนเอง / ควบคุมตนเอง

Knowledge

  • มีความรู้เพื่อใช้ในการเรียน/อาชีพ
  • ฟัง พูด อ่าน เขียน ได้ 2 ภาษา
  • ได้รับการศึกษาอย่างเต็มที่
  • เรียนต่อ/มีทักษะอาชีพ/ผู้ประกอบการ
  • วางแผนการเงิน/อนาคต/จัดการชีวิต

ผู้ปกครอง /ชุมชน Smart Community 

เด็กจะพร้อมออกไปเรียนรู้หรือไม่ หัวใจอยู่ที่ผู้ปกครอง 

การเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กคนหนึ่งพร้อมเพื่อเป็นกำลังขับเคลื่อนอนาคตของชาติ นั้นต้องเตรียมกันตั้งแต่ในอยู่ครรภ์ มารดาต้องได้รับสุขภาพใจ สุขภาพกาย สารอาหารที่เป็นประโยชน์ทั้งตัวแม่และเด็ก เมื่อคลอดออกมาต้องเตรียมความพร้อมการเรียนรู้ ตั้งแต่โภชนาการ ฝึกพัฒนาการตามช่วงวัย  การอบรมบ่มนิสัย เรื่องระเบียบวินัย การกำกับตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมสู่โรงเรียนที่ให้ครูเป็นผู้รับไม้ต่อในเรื่องวิชาการ การใช้ชีวิตในสังคมโรงเรียน แต่เพียงเท่านั้นยังไม่เพียงพอ ผู้ปกครอง / ชุมชน ต้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งด้านการออกแบบของการศึกษาของบุตรหลานไปพร้อม ๆ กับครู โรงเรียนด้วย ต้องมีการสะท้อนกลับด้านข้อมูล สะท้อนผลการเรียนกับครู หรือมีส่วนในการนิเทศการเรียนการสอนของครูเพื่อให้บุตรหลานได้รับคุณภาพการศึกษาที่ดี 

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

Through 'Psycho-Education,' Children Learn to Think Boldly and Solve Problems Independently
In search of teachers of Kru Rak Thin to fill in the educational gap by bringing them home
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save