Why โรงเรียนกล้าเปลี่ยน “ต้องเปลี่ยนทั้งโรงเรียน” เปลี่ยนอะไรบ้าง เปลี่ยนตรงไหน เพื่อให้โรงเรียนเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงจากโรงเรียนที่โดดเดี่ยวมาเป็น ALL FOR EDUCATION EDUCATION FOR ALL
- เปลี่ยนเป้าหมายการศึกษาเพื่อผู้เรียน
- เปลี่ยน Mindset ทางการศึกษาและบทบาทของตนเอง ในลักษณะของการมี Growth Mindset และ Positive Mindset โดยเน้นการเปลี่ยนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด
- เปลี่ยนการจัดการ เป็นรูปแบบการเสริมพลัง (Empowerment)
- เปลี่ยนวิธีการสอน สร้างการเรียนรู้และจัดสภาพแวดล้อมให้กับผู้เรียนในรูปแบบ Active Learning
- เปลี่ยนการวัดผล (Standardized testing VS Assessment for Learning / Assessment as Learning) การประเมินตัวเองและประเมินเพื่อน
การเปลี่ยนทั้งหมดนี้เพื่อให้เกิดความคิดริเริ่ม ทำงานเป็นทีม และเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Experiental Learning) ที่ดำเนินงานพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปแบบไม่มีวันจบสิ้น เพื่อให้ผีเสื้อกระพือปีกสู่การสร้างลมสลาตันในวงการการศึกษาไทย
เมื่อเกิดคำว่า Why แล้วจึงเกิดคำว่า What ตามมา ว่าจะทำอย่างไรให้โรงเรียนเกิดการพัฒนาตนเองทั้งระบบและพัฒนาทั้งโรงเรียน ไม่ใช่แค่ในห้องเรียน แต่เราทั้งหมดจำเป็นต้องเห็นและเข้าใจสัมมาธิฐิทางการศีกษาที่ตรงกัน เพื่อการบริหารทั้งระบบด้วย Whole School Transforming จนเกิดเป็น 7 หัวใจ การเปลี่ยนแปลง
- School Concept กรอบแนวคิดของโรงเรียน
- School Director ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำทางวิชาการ
- Teacher ครูผู้สอน
- Pedagogy หน้าที่หรืองานของครู การสอน ศิลปะหรือวิธีการสอน
- Curriculum หลักสูตรการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์การเรียนรู้
- Evaluation การประเมิน
- Learning Space ให้โรงเรียนและชุมชนโดยรอบเป็นพื้นที่การเรียนรู้
6 Model School Approach ของ 6 โรงเรียนที่น่าสนใจและสามารถนำไปพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนและพื้นที่ให้เกิดการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายทั้งโรงเรียน
Model #1
พัฒนาครูด้วย PLC ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
รติรัตน์ ชนะกาศรี รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์) จังหวัดขอนแก่น
จากการประเมินตนเองประจำปี (Self Assessment Report: SAR) พบว่า พฤติกรรมการไม่สนใจเรียนของเด็ก ๆ ทำให้เด็กขาดสมรรถนะด้านการเรียนรู้และ
ลักษณะที่พึงประสงค์ รวมถึงผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด สาเหตุหนึ่งอาจมาจากครูผู้สอนที่เน้นการสอนในลักษณะการบรรยาย สอนอ่านตามตำรา ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กนักเรียนฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะทางการเรียนรู้จริง ครูต่างคนต่างทำงาน ไม่มีเวลาร่วมกันระดมความคิดหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาผู้เรียน และการเข้าร่วมอบรมพัฒนาที่ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาห้องเรียนหรือเปลี่ยนวิธีการออกแบบเรียนรู้ในห้องเรียน
จากปัญหาดังกล่าว ผู้บริหารจึงเกิดแนวคิดว่า “การพัฒนาต้องเกิดขึ้นที่ห้องเรียน” โดยผู้บริหารได้ดำเนินการประชุมกับคณะครูและผู้เกี่ยวข้องเพื่อออกแบบพัฒนา PLC 6 ขั้นตอน ด้วยการนำหลักอิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) เข้ามาประยุกต์ใช้ ซึ่งดำเนินการสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
- เลือกบทเรียน ที่จะแก้ไขปัญหาของผู้เรียนในภาคเรียนที่ดำเนินการ
- เลือกนวัตกรรมที่เหมาะสมกับกระบวนการทำงานของโรงเรียน 3 นวัตกรรม Open Approach / กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Stpes) / Brain Based Learning (BBL)
- จัดทำแผน โดยทีม PLC จะดำเนินการเขียนและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
- ปรับแผน หลังจากที่ได้แผนดำเนินการแล้วก็มีมีการปรับแผน
- จัดการเรียนรู้ / สังเกตห้องเรียน การเรียนการสอน เปิดชั้นเรียนให้เครือข่าย/ผู้ปกครอง หรือทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม
- สะท้อนผล เพื่อผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนำมาปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพกับผู้เรียนต่อไป
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผู้เรียน มีสมรรถนะการคิด การแก้ปัญหาเพิ่มขึ้นในระดับดี มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ กล้าคิด กล้าพูด กล้าแสดงออก มีความใฝ่รู้อยู่ในระดับดี
ครู เกิดทักษะการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ทั้งนี้ครูในโรงเรียนเกิดภาวะผู้นำในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาห้องเรียนให้เกิดประสิทธิภาพ และโรงเรียนมีเป้าหมายดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นคุ้มค่ากับที่ทุกฝ่ายได้ดำเนินการลงมือไป
Model #2
ชุมชุนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู
ดร.สุเทพ แปลงทับ ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านตะเคียนกุยวิทยา จังหวัดสุรินทร์ ได้เกิดแรงบันดาลใจที่อยากเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ ทั้งโรงเรียน ครูและนักเรียน เพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพ โดยอาศัยความร่วมมือจากเครือข่ายและชุมชน ผ่านการใช้กระบวนการ PLC เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดแผนการเรียนที่นักเรียนได้ฝึกทักษะอาชีพ การออกแบบ/สร้างผลิตภัณฑ์ และการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ได้
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออนไลน์ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู มี 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 PLC Onsite ในโรงเรียน ร่วมแลกเปลี่ยนกับครูในโรงเรียนและเครือข่าย
ระยะที่ 2 PLC Online ในระบบ Zoom meeting ร่วมแลกเปลี่ยนกับครูในโรงเรียนและทั่วประเทศ
ระยะที่ 3 Blended PLC แบบผสมผสาน Onsite สลับกับ Online ทำจนเป็นวิถี
ผลลัพธ์ครูสู่นักเรียน
ครู สามารถพัฒนาตนเองในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ
นักเรียน เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรกำหนด
Model #3
กลไกการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบด้วย 8Q Plus
ร.ต.ท.ชนินทร์ ถนนกลาง ครูใหญ่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทอง จังหวัดราชบุรี ต้องการให้เกิดความเท่าเทียมทางการศึกษาในถิ่นทุรกันดาร จึงต้องปรับเปลี่ยนให้โรงเรียนเท่าทันยุคดิจิทัล โดยมีครูใหญ่เป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อน ทั้งการบริหารและการพัฒนา ที่ขับเคลื่อนโรงเรียนโดยมาตรการและกลไกการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ด้วย 8 Q
มาตรการและกลไกการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ด้วย 8Q ประกอบด้วย
มาตรการสร้างฐานคุณภาพโรงเรียน ตชด. (4Q)
- Q-Goal ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนที่ท้าทาย
- Q-Principle ครูใหญ่บริหารวิชาการอย่างมีคุณภาพ
- Q-Health มีสุขภาวะที่เอื้อต่อการเรียนรู้
- Q-Info มีระบบสารสนเทศในการติดตามผู้เรียน
มาตรการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ (2Q) - Q-OLA เข้าใจองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ตลอดแนว
- Q-Classroom สามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุกระดับชั้นเรียน
มาตรการสร้างเครือข่ายความร่วมมือและการเรียนรู้ (2Q) - Q-Network สร้างเครือข่ายการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ
- Q-PLC พัฒนาครูด้วยกระบวนการ PLC
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เด็กชาติพันธ์ุ ที่มีปัญหาเรื่องภาษา สามารถอ่านออกเขียนภาษาไทยได้ ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ในวิชาต่อ ๆ ไปได้ เด็กมีทักษะความรู้ความสามารถและกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น
Model #4
มาตรการ 7Qs ส่งเสริมผู้เรียน 4 มิติ
ดร.นรินทร์ ขวัญคาวิน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าน้ำ จังหวัดปัตตานี
ปัญหาของโรงเรียนบ้านท่าน้ำ คือ นักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ อ่านแล้วไม่สามารถคิดวิเคราะห์ ทำข้อสอบหรือแบบประเมินได้ ซึ่งปัญหานี้สะท้อนให้เห็นชัดเจนในการสอบวัดผลระดับประเทศ NT / RT และ O-NET ที่ผลคะแนนอยู่ในระดับต่ำ
โรงเรียนบ้านท่าน้ำ ได้เข้าร่วมโครงการ TSQP รุ่น 2 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 และปัจจุบันมีการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนพัฒนาตนเอง 7 มาตรการ ที่เป็นการนำระบบ Q ของโครงการ TSQP ที่มุ่งพัฒนาครูและผู้บริหาร และ Q ของโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นที่มุ่งพัฒนาครูผู้สอน โดยได้นำมิติการดำเนินงานของ สพฐ. ในมิติความปลอดภัย โอกาส/ความเสมอภาค คุณภาพ และประสิทธิภาพ มาประยุกต์จนเกิดเป็นมาตรการ 7 Qs ที่ ดร.นรินทร์ ขวัญคาวิน ใช้เป็นหลักการบริหารงานให้โรงเรียนประสบความสำเร็จในทุกด้าน ดังนี้
- Q-Goal กำหนดเป้าหมายของโรงเรียน เพื่อวางแผนการดำเนินงานให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งเป้าไว้อย่างน้อย 3 ปี โดยอาจนำเครื่องมือ DE เข้ามาช่วยวิเคราะห์ด้วย
- Q-Leadership ความเป็นผู้นำของผู้บริหารเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและผู้นำทางวิชาการที่จะพาให้โรงเรียนไปถึงเป้าหมายด้วย
- Q-Active Learning มีโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่สอนนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 3 ส่งผลให้เด็กเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และกล้าแสดงออก
- Q-Student Support System ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยนำ Q-Info มาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้เรียน
- Q-PLC ชุนชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ที่ทุกฝ่ายเข้าร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาไปพร้อมกัน
- Q-Info เป็นฐานข้อมูลในการช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างทันท่วงที และได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี และนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนการพัฒนาผู้เรียน
- Q-Network ให้ความสำคัญกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เป็นการส่งต่อคุณภาพอย่างต่อเนื่อง มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ได้ให้กับเครือข่าย
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ครูเป็นกลุ่มแรกที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากแผนการดำเนินงาน และเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ ผลลัพธ์ของผู้เรียน ที่เกิดกระบวนการคิด การเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ กล้าพูด กล้าคิด กล้าถาม กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ชุมชนเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับลูกหลานจนให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาโรงเรียนในด้านต่าง ๆ
Model #5
3 นวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง
คุณขำ แสงจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาชะโงก จังหวัดเพชรบูรณ์
ความท้าทายของโรงเรียนบ้านเขาชะโงกมีมากมายหลายด้าน เช่น การเรียนรู้ของผู้เรียนขาดความกระตือรือร้น คุณภาพครู คุณภาพสถานศึกษา ในฐานะผู้อำนวยการนั้นพยายามแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่ได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีนัก จนได้รับการแนะนำจาก ครูใหญ่ วิเชียร ไชยบัง จึงได้เข้าร่วมโครงการ TSQP
จากคำถามที่ว่า Whole School Approach: WSA แล้วได้อะไร ทำไปทำไม สิ่งที่ผู้อำนวยการบอกเล่าคือ ‘ได้โรงเรียนใหม่’ ‘ได้ผู้อำนวยการใหม่’ ‘ ได้ครูใหม่’ เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกฟ้า พลิกแผ่นดิน ซึ่งก่อนหน้านี้ ครูใหญ่ขำทำมาหลายวิธีแต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้ แต่หลังจากที่เข้าร่วมโครงการ TSQP โรงเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งครูใหญ่ขำได้นำนวัตกรรมจากการเข้าร่วมโครงการที่เปลี่ยนโรงเรียนไว้ ดังนี้
Problem Based Learning (PBL) จากเดิมที่เรียนเต็มอัตราทั้งวัน 8 คาบ ซึ่งค้นพบว่าการเรียนรู้ของเด็กไม่ได้ดีขึ้น จึงลดเหลือเพียง 5 วิชาหลัก และมีวิธีการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ทำให้นักเรียนกล้าคิด กล้าพูด กล้าเสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถสรุปองค์ความรู้เป็น Mind-map ของตัวเองได้
PLC เป็นพื้นที่แห่งสนามพลังบวกที่ครูทุกคนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรียนรู้ เติมเต็มเพื่อพัฒนาห้องเรียนให้กับนักเรียน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เกิดผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ เกิดปัญญาภายในสู่ปัญญาภายนอก จากการเชื่อมั่นและดำเนินการพัฒนาด้วย 3 คำสั้น ๆ คือ ‘เชื่อ’ ‘ศรัทธา’ ‘หวัง’
เมื่อโรงเรียนมีเป้าหมายที่ชัดเจน ผู้เรียนเกิดสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 นักเรียนเห็นคุณค่าในตนเอง มีพัฒนาการของ Executive Function และทักษะชีวิตที่สามารถนำไปปรับใช้การเรียนรู้ทัังการเรียนในห้องและนอกห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Model #6
การจัดการเรียนการสอนตามแนว OECD ด้วยกระบวนการสอน Community Innovation Project : CIP) 6 ขั้นตอน
คุณเบญจวรรณ ชินราษฏร์ ครูแกนนำ โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม จังหวัดขอนแก่น ได้กล่าวถึงการนำนวัตกรรมชุมชนมาปรับใช้กับนักเรียน
โดยการจัดการเรียนการสอนตามแนว OECD ด้วยกระบวนการสอน CIP 6 ขั้นตอน ซึ่งจะทำให้ครูได้เรียนรู้ร่วมกับนักเรียน ดังนี้
1) ประเมินตนเอง ผ่านกิจกรรมทดสอบการคิดเร็ว คิดคล่อง คิดรวบยอด ผ่านเครื่องมือต่าง ๆ ทั้งแบบออนไลน์หรือการตั้งคำถาม
2) สร้างแรงบันดาลใจ สำรวจชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ในเขตตำบล อำเภอภูเวียง ว่ามีอะไรน่าหยิบมาเรียนรู้ร่วมกัน
3) ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ บูรณาการหลากหลายวิชา จากการประเมินหัวข้อโดยใช้ FILA Mapping
4) จัดการเรียนรู้แบบ PBL วางบทบาทครูเป็นโค้ชที่พร้อมร่วมเรียนรู้ไปกับนักเรียน
5) ประเมินตนเองจากการทำงาน ประเมินเพื่อนในกลุ่ม
6) เน้น ย้ำ ซ้ำ ทวน ชวนคิดต่อยอดองค์ความรู้ สะท้อนผลและต่อยอด เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือโปรเจกต์ที่กำลังดำเนินการอยู่
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ครู พัฒนาผู้เรียนได้ตรงตามสมรรถนะทุกด้าน และ PLC กับครูหลากหลายวิชานักเรียน ขับเคลื่อนนวัตกรรมชุมชน สร้างนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายได้
โรงเรียน ได้หลักในการบริหารจัดการการทำงานได้อย่างเป็นระบบ
ชุมชน เกิดรายได้ เกิดเครือข่ายความร่วมมือกับโรงเรียน
การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดสามารถทำได้จริงผ่าน 4 องค์ประกอบสำคัญ ที่ทุกคนล้วนมีบทบาท มีส่วนร่วมตั้งแต่ผู้บริหารที่คอยส่งเสริมสนับสนุน ครูที่มีความศรัทธาในตัวเด็กและพร้อมเปิดพื้นที่ให้เด็กมีส่วนร่วม ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนร่วมเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของเด็ก ๆ และสุดท้ายเป็นการออกแบบให้นักเรียนมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของการเรียนรู้ด้วยตัวเขาเอง โดยดำเนินการทั้งหมดดังนี้
- การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
- มีระบบขับเคลื่อนตามบริบทและความต้องการของแต่ละพื้นที่
- มีนวัตกรรมเป็นตัวหนุน
- ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นวัฒนธรรมของโรงเรียน
ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างการศึกษาไทยที่หนุนการพัฒนาเด็กให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม ที่ไม่ใช่แค่จัดการเรียนและการถ่ายทอดความรู้ แต่เป็นการจัดสภาพแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้นักเรียนได้เผชิญกับอุปสรรค ความยากลำบาก เพื่อให้เด็กได้ลองฝึกทักษะที่จะปลดปล่อยศักยภาพที่จะกลายเป็นการพลิกโฉมการพัฒนาเชิงระบบของการศึกษาไทยในอนาคต เกิดเป็น Agentic Citizen และพลิกโฉมการศึกษาไทยในอนาคต
5,815
Writer
- Admin I AM KRU.