รู้ไหมว่าใครใหญ่ สุดในโซ่อาหาร ชวนเปิดประตูห้องออกไปดูโซ่อาหารของชุมชน

Share on

 639 

ห้องเรียนของครูแนน เพ็ญนภา สุขเจริญ เป็นชั้นเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านตรอกสะเดา การเรียนของครูแนน เน้นให้นักเรียนเรียนวิทยาศาสตร์จากสิ่งที่อยู่รอบตัวในชุมชน โดยออกแบบเป็นบอร์ดเกมเพื่อตามหาว่า ‘ใครใหญ่’ สุดในห่วงโซ่อาหารกับชุดการเรียนรู้ ‘Food Chain Slave’ 

💬 : อยากให้ครูแนนเล่าห้องเรียนบอร์ดเกมของครูแนนว่าเป็นแบบใด 

ครูแนน : ด้วยความที่เป็นรายวิชาวิทยาศาสตร์นั้นความเป็น Active Learning จะค่อนข้างมากอยู่แล้ว เพราะเด็กๆ ได้ลงมือปฏิบัติจริง ออกนอกสถานที่เห็นพื้นที่จริง เน้นการเรียนรู้ที่ชุมชน เพราะตัววิชาที่สอน ครูแนนสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ป.5 จะเป็นห่วงโซ่อาหาร เป็นการเรียนที่ออกไปชุมชนที่สะดวกมาก เด็กๆ สามารถไปศึกษาชุมชนของตัวเอง แต่ก็มีการเตรียมพร้อมก่อนว่า ครูแนนจะให้คำถามไปก่อนว่า สิ่งมีชีวิตเช่น วัว กินอะไร วัวกินหญ้าใช่มั้ย แล้วมันมีอะไรที่กินวัวได้อีกมั้ย ให้เขาไปต่อยอดความคิด โดยศึกษาจากชุมชนของตนเองว่าในชุมชนเราสามารถนำอะไรประกอบเป็นโซ่อาหารได้ นอกจากชุมชนของตนเอง ก็มีบ้าน โรงเรียน วัด หรือบริเวณใกล้เคียงที่สามารถเรียนรู้ได้ เพราะชุมชนเป็นรากฐานของเด็กที่สามารถให้เด็กๆ เรียนรู้จากสภาพจริงและเห็นภาพได้มากที่สุด

หลังจากนั้นครูนำเรื่องราวของชุมชนมาจัดการเรียนรู้โดยเอาเกมใส่เข้าไป เพื่อให้เด็กๆ สนุกในวิชาวิทยาศาสตร์ ใส่เกมสลาฟ เด็ก ๆ เองก็มีเกมนึงที่ชอบเล่นคือ ‘อูโน่’ แต้มฉันต้องเยอะกว่าเธอ ฉันจะชนะ นำเกมนั้นมาศึกษา โดยนำสิ่งมีชีวิตในโซ่อาหารใส่ไปพร้อมคำจำกัดความ เช่น หนอน คือสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นตัว สอดแทรกความรู้เข้าไป ไม่ใช่ให้เล่นเกมวางแต้มให้สนุกแล้วแค่ชนะ แต่ต้องได้ความรู้ว่าสิ่งมีชีวิตนั้นมีลักษณะยังไงด้วย  ครูกับนักเรียนต้องมาช่วยกันคิดและออกแบบกันว่าในการ์ดต้องมีอะไร เด็ก ๆ ก็จะขอเพิ่ม เช่น มังกรโคโมโด หนูอยากรู้ว่ามีลักษณะยังไง เด็กๆ ก็ออกแบบ ออกความคิดเห็น ช่วยเราสร้างสรรค์ 

ทักษะที่เห็นการเปลี่ยนแปลงของเด็กที่เห็นได้ขัด คือ ‘การสังเกต’ เด็กๆ ได้สังเกตว่าทำไมวัวกินหญ้าแห้งมากกว่าหญ้าสด เมื่อเกิดการสังเกตก็เกิดคำถาม เขาเลยตั้งปัญหาขึ้นมา เราให้เขาตั้งสมมติฐาน ทำไมวัวถึงไม่กิน เด็กบอก หนูว่าหญ้าแห้งมันต้องอร่อยกว่าหญ้าสด หญ้าสดต้องเหม็นเขียว เขาได้คิดต่อยอด จากนั้นให้ไปหาคำตอบ สุดท้ายคำตอบเขาก็คือหญ้าสดมันมีกลิ่นมากกว่า วัวชอบหญ้าแห้งมากกว่า ก็ได้เกิดทักษะการคิด หาคำตอบด้วยตัวเอง วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ครูฟัง

นอกนั้นในวิชานี้มีการยกระดับให้มีการบูรณาการกับวิชาอื่น เช่น ถ้าสอนเรื่องสี เรื่องสาร ของเหลว เราก็นำของเหลวที่มีสีต่างกันมาทำเป็นเสื้อมัดย้อม เด็ก ๆ ก็จะได้เห็นสีสันเหมือนบูรณาการวิชาศิลปะไปด้วย หรือใช้มัดย้อมจากไฮเตอร์ที่มีความเป็นกรดกัดผ้าดำให้กลายเป็นขาว ให้ออกแบบลวดลายเอง เด็ก ๆ ก็จะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และได้ลงมือทำด้วยตัวเอง 

💬 : ตัววิชาห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 มีหลายตัวมาก ๆ ทำไมครูแนนถึงเลือกบอร์ดเกม

ครูแนน : เพราะว่าเป็นเกมที่เด็กๆ รู้จัก จากอูโน่ เมื่อเป็นเกมนี้เด็กๆ เลยรู้จักเด็กจะเข้าถึงได้ง่าย เพียงแต่เราใส่หลักสูตรความเป็นวิทยาศาสตร์ และสิ่งมีชีวิตในชุมชนเข้าไป มีดัดแปลงเป็นสิ่งมีชีวิตแปลก ๆ ขึ้นมา เช่น ปลาฉลาม ไม่ได้อยู่ในชุมชนแต่เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง เด็กจะได้รู้ว่า นอกจากสัตว์ในชุมชน ฉลามมีลักษณะยังไง เห็นได้จากการ์ดของครูแนนที่นำมาเสนอ 

วิธีนี้ทำเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้มากกว่าเดิม เข้าใจเกม เนื้อหา ได้ต่อยอดความคิดตัวเองมากขึ้นจากที่รู้แค่โซ่อาหาร เขาก็จะเข้าใจว่าโซ่อาหารควรเป็นแบบไหน เรียงลำดับยังไง เด็กได้ไปเห็นภาพจริง ไม่ใช่แค่ได้เรียนรู้แต่เขาเข้าใจสิ่งที่เรียนมากขึ้น และตัวครูเองก็เข้าใจนักเรียนมากขึ้นเหมือนกัน

💬 : ผู้ใหญ่ในชุมชนรู้สึกยังไงกับวิธีการสอนแบบนี้

ครูแนน : คนในชุมชนชอบมากเลยค่ะ ชอบที่เด็ก ๆ อยากเรียนรู้ความเป็นชุมชน ไม่ใช่แค่กลับบ้านไปเล่นโทรศัพท์ ไม่สนใจ แต่นี่เด็ก ๆ เดินไปคุยกับคุณยาย ถามถึงว่า “บ้านเรามีสิ่งมีชีวิตอะไรที่กินหญ้าได้นอกจากวัวไหม ?”  เขาก็จะตอบว่า “ถ้าหญ้ายายไม่รู้หรอก แต่นี่หนูไปกินข้าวเปลือกยาย” เด็ก ๆ จะได้ความรู้ใหม่เพิ่มจากพ่อแก่ แม่เฒ่า ซึ่งพพวกท่านชอบที่ลูกหลานมาถาม อยากมาเรียนรู้ ความรู้ของ

ปราชญ์ชาวบ้านเกิดการบอกเล่าถึงมีสิ่งที่ชีวิตที่กินกันต่อเป็นทอด ๆ อีกเด็กๆ ก็จะเอาความรู้ตรงนั้นมาขยายต่อ บอกเพื่อว่าบ้านของเรามีสิ่งชีวิตนี้กินกัน ขยายความรู้จากบ้าน ไปชุมชน ต่อยอดมาถึงการอธิบายในโรงเรียนให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ ฟัง

จากสัมภาษณ์ทั้งหมดที่ครูแนนกำลังพูดถึงห้องเรียน Active Learning แต่แท้จริงแล้ววิธีการจัดการรเรียนการสอนของครูแนน กำลังไปกระตุ้นความแอคทีฟให้กับคนทั้งชุมชนช่วยกันสังเกตว่ามีสิ่งมีชีวิตและวัฏจักรโซ่อาหารของชุมชนที่บางทีพวกเขาก็ลืมเลือนไปบ้างแล้ว…

กระบวนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
‘Food Chain Slave’

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า