0
Writer
- แมวขยันดี
เมื่อโลกเปลี่ยนไปทั้งภายใน- ภายนอก อะไรคือความสำคัญจำเป็นด้านนโยบายการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม
“คำถามของโยมทำให้อาตมารำลึกถึงพระดำริของเจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฎฺฐายี) มหาเถระ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร พระองค์ทรงเห็นความสำคัญด้านการศึกษาของพระภิกษุสามเณร ทรงดำริเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 (หรือกว่า 50 ปีที่แล้ว) ‘โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด พระภิกษุสามเณร จำเป็นต้องรู้เท่าทันโลกการเปลี่ยนแปลงของโลก’ จึงมีความจำเป็นที่พระภิกษุสามเณรจะต้องเรียนทั้งหลักสูตรของพระพุทธศาสนา เรียนธรรมบาลี และต้องเรียนรู้หลักสูตรของสายสามัญด้วย เพื่อจะได้ปรับตัวให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา”
“เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการจัดการของคณะสงฆ์จำเป็นต้องวิวัตรให้เท่าทันโลกของการศึกษาด้วยเช่นกัน พระภิกษุจะเรียนรู้แต่ธรรมบาลีคงไม่เพียงพอ จำเป็นต้องเรียนหลักสูตรพระพุทธศาสนาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อไม่ได้เกิดสัทธรรมปฏิรูปที่ผิดเพี้ยนไปจากพระไตรปิฎก (สัทธรรมปฏิรูป = ความเข้าใจคำสอนที่ผิดเพี้ยนไปจากสัทธรรมจริง) และจำเป็นต้องเรียนวิชาความรู้สายสามัญเพื่อพัฒนาศักยภาพตนเองอีกทางหนึ่ง และต้องพัฒนาความรู้ด้านภาษา เพราะโลกในยุคปัจจุบันนั้นเชื่อมต่อกันด้วยภาษา ซึ่งพระภิกษุ/สามเณรนั้นเป็นตัวแทนเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทำให้สามารถสื่อสารหลักธรรมไปได้กว้างไกลขึ้น การศึกษาแบบสามัญที่พัฒนาพื้นฐานทักษะทางโลกจึงเป็นการเรียนที่ตอบโจทย์ของคณะสงฆ์ได้เป็นอย่างดี เพราะการศึกษาของสามเณรไม่ได้สิ้นสุดแค่มัธยมศึกษา ทางสำนักการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมจึงจำเป็นต้องพัฒนาความรู้และทักษะของสามเณรนักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการศึกษาต่อทั้งระดับที่สูงขึ้นไปทั้งการเรียนเอกทางธรรมในสถาบันการศึกษาสำหรับพระสงฆ์ หรือระดับมหาวิทยาลัยของฆราวาส”
วิธีการตามเท่าทันโลก คือ การปรับหลักสูตรการเรียนรู้และการพัฒนาครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม
“แม้แต่พระสงฆ์ที่เรียนจบเปรียญธรรม 9 ก็ยังต้องเรียนรู้สายสามัญเพื่อจะได้นำความรู้มาต่อยอด จะมีความรู้แต่ภาษาธรรม โลกไม่เข้าใจไม่ได้ ต้องสามารถที่จะนำเสนอความรู้ทั้งทางโลกทางธรรม และเรียนรู้ศาสตร์ด้านอื่น ๆ จะได้คุยกับชาวบ้านเขารู้เรื่อง ดังนั้น พระสงฆ์จำเป็นต้องเรียนรู้ วิทยาการทางโลกแต่ต้องไม่ทิ้งหลักการทางพระพุทธศาสนา พระไตรปิฎกและความรู้ด้านพระพุทธศาสนาที่เป็นเรื่องจริงเรื่องแท้ แต่กระบวนการที่จะนำศาสตร์สมัยใหม่มาต่อยอดพัฒนาเป็นเรื่องที่ต้องพัฒนาการศึกษาต่อไป”
แล้วการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมตอนนี้ตอบโจทย์แล้วหรือยัง
“อาตมาว่าน่าจะตอบโจทย์เพราะการพัฒนาคน เราต้องพัฒนาไปตามระบบการศึกษาพื้นฐานอย่างไร ระบบการศึกษาของสงฆ์ควรจะต้องเรียนให้เท่าทันตามข้อกำหนดการศึกษาภาคบังคับของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งพระภิกษุสามเณรต้องเรียนให้รู้ให้เท่าทันให้ได้ ด้วยการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตอนนี้ตอบโจทย์ทั้งการศึกษาของชาติ และหลักสูตรตามคณะสงฆ์กำหนดไว้”
การดำเนินการการขับเคลื่อนด้านการพัฒนาบุคลากรและหลักสูตรการศึกษา
เรื่องของการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมหรือเจ้าหน้าที่การศึกษาพระปริยัติธรรม (จศป.) โดยเฉพาะแผนกสามัญศึกษา ทางสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม ได้ให้ความสำคัญเช่นกัน
ด้านการพัฒนาผู้บริหาร
“มีการอบรมพัฒนาทักษะความรู้เพื่อสร้างผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมยุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการศึกษา มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่เห็นเป้าหมายการทำงานที่สอดคล้องกัน โดยมุ่งเป้าหมายไปที่ ผู้บริหารสถานศึกษา ทั้งผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ซึ่งได้จัดการอบรมมาแล้ว 5 รุ่น เป็นระยะเวลา 5 วัน โดยทางทีมงานโครงการ ฯ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย รศ.ดร. จตุภูมิ เขตจตุรัส หัวหน้าโครงการฯ ได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรร่วมกับสำนักการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยบอกเล่าประเด็นความต้องการที่อยากพัฒนาให้กับทีมทำงาน เพื่อให้ทางทีมงานวิเคราะห์ความต้องการ ว่าต้องการออกแบบหลักสูตรอย่างไรให้สอดคล้องกับบริบทความต้องการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมในแต่ละพื้นที่ โดยในภายหน้าจะมีการต่อยอดให้ผู้บริหารเขตการศึกษาได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้บริหารนี้เช่นกัน”
ด้านการพัฒนาครู
“การออกแบบการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่ทำงานร่วมกับคณะทำงานที่นำโดย รศ.ดร. จตุภูมิ เขตจตุรัส นั้นใช้งานวิจัยเป็นฐานในการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนปริยัติธรรม ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กสศ. โดยใช้ทีมงานและฐานของการถอดบทเรียนและงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นฐานในการดำเนินงาน เพื่อให้มีเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาโดยมีหลักคิดของการทำงานที่อยู่บนฐานของข้อมูลจากวิจัยที่ได้จากการลงสำรวจพื้นที่จริง”
การขยายผลของโครงการ
“การต่อยอดโครงการนั้นจะทำอยู่บนพื้นฐานข้อมูลของงานวิจัยในการทำงานต่อยอดขยายผลสู่โรงเรียน จุดอ่อน จุดแข็ง จุดที่ต้องพัฒนา และข้อค้นพบที่ได้จากงานวิจัยจะต้องดำเนินต่อไป จะไม่ทำโดยคิดกันไปเอง ทุกอย่างตอนนี้ขอทำภายใต้ที่มีข้อมูลของงานวิจัยรองรับ หรือหยิบงานวิจัยที่มีบริบทใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้องคัดกรองมาใช้ประกอบการดำเนินงานพัฒนาต่อยอดในโครงการต่อไป เรื่องทุนการทำงานก็เป็นส่วนสำคัญต้องแสวงหา ภายใต้การดำเนินงานของสำนักพระพุทธศาสนานั้นมีหลายภาคส่วนเป็นการยากที่จะขอทุนมาสนับสนุนเพื่อให้เกิดงานวิจัยที่ดีแบบนี้ อาตมาขออนุโมธทนา และหากได้รับทุนการทำงานจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กสศ. ก็จะเป็นส่วนดีที่ช่วยให้โครงการได้ดำเนินการต่อไป”
“ผลการวิจัยโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ 20 แห่งนี้จะเป็นแบบอย่างในการพัฒนาศักยภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ ในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป ซึ่งโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญนั้น รูปแบบในการพัฒนาโดยทำเป็นระบบ เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพ และมีการกำกับดูแลจากครู คณะทีมวิจัย ที่ได้นำความรู้มาพัฒนาให้กับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ ตลอดระยะเวลา 11 เดือน
ตลอดระยะเวลา 11 เดือนนั้น ทั้งผู้บริหาร ครู และนักเรียน พร้อมกับคณะวิจัย ได้เห็นภาพแล้วว่าโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ โดยพื้นฐานมีอะไรบ้างที่เป็นจุดเด่นและสิ่งที่ต้องพัฒนา ในส่วนของการพัฒนาคณะวิจัยได้เข้ามาเพิ่มเติมความรู้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของโรงเรียนทั้ง 20 แห่งนี้ เป็นแบบอย่าง และโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ จะได้นำโครงการนี้ เพื่อต่อยอดในการพัฒนาโรงเรียนให้เกิดคุณภาพตามความปรารถนาและความตั้งใจของ รองศาสตราจารย์ ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส หัวหน้าโครงการฯ และต่อไปนั้นก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาไปยังผู้บริหาร ครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญในพื้นที่ภูมิภาคอื่น ๆ
ผลการดำเนินงานในการจัดทำโครงการเป็นรุ่นที่ 1 ได้มีพื้นฐานอย่างเห็นได้ชัดว่าผู้บริหาร ครู
ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ เป็นอย่างไรบ้าง และในรุ่นต่อ ๆ ไป คงจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการที่คณะวิจัยจะพัฒนาและให้องค์ความรู้แก่ผู้บริหาร ครู และนักเรียน อยากให้ผู้อำนวยการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ เป็นผู้ที่เก่ง และพัฒนาโรงเรียนต่อไป” พระเทพภัชราภรณ์ได้กล่าวสัมโมทนียกถาถึงผลดำเนินงานโครงการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2567
ทาง I AM KRU. ต้องขอกราบขอบพระคุณและนมัสการลาพระคุณเจ้า ถอดความจากสัมภาษณ์และสัมโมทนียกถา โดยพระคุณเจ้าพระเทพภัชราภรณ์ ประธานกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม ณ การประชุมถอดบทเรียนความสำเร็จและนิทรรศการโรงเรียนต้นแบบพื้นที่นำร่องภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สู่ต้นแบบพื้นที่นำร่อง
สนับสนุน โดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2,485
วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Online PLC Coaching แบบไหนที่เรียกว่ามีคุณภาพ ?
ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องแรก ๆ สำหรับการจัดวง PLC ที่มักจะตั้งคำถามอยู่ทุกครั้ง เมื่อระหว่างการเตรียมการจัดวง PLC แล้วจะจัดเตรียมอย่างไรให้วง PLC ที่เป็นเครื่องมือสนับสนุนงานวิชาการให้เกิดคุณภาพที่สูงขึ้น และมีประสิทธิภาพ
หนังสือเล่มนี้มีคำตอบ !
Online PLC Coaching เล่มนี้สามารถช่วยให้คุณใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ Online PLC Coaching กับ 6 ขั้นตอน ง่าย ๆ รวมถึงมีทริคที่ช่วยให้เตรียมการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งในการจัดวง PLC เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์แก่ผู้เรียนทั้งในมิติค่านิยม (Values) ทัศนคติและอุปนิสัย (Attitudes) ทักษะ (Skills) และความรู้ (Knowledge)
จัดทำโดย : นางสาวนาถชิดา อินทร์สอาด
จัดพิมพ์โดย : กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพานิชย์ จำกัด (มหาชน)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับมูลนิธิสยามกัมมาจล ขับเคลื่อนโครงการครูเพื่อศิษย์สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง : รูปแบบออนไลน์ปี 1-2” นำไปสู่โครงการครูเพื่อศิษย์สร้างการเรียนรู้ระดับเชื่อมโยงออนไลน์ หรือ Online PLC Coaching และต่อยอดสู่โครงการสนับสนุนกระบวนการการประเมินเชิงพัฒนา (Developmental Evaluation) และชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) เพื่อการขับเคลื่อนโรงเรียนพัฒนาตนเองเชิงพื้นที่ (TSQM-A) ปี พ.ศ.2567 ร่วมกับ 10 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สระแก้ว สุรินทร์ ศรีสะเกษ ขอนแก่น ภูเก็ต สงขลา และนราธิวาส ที่เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนขบวนการโรงเรียนพัฒนาตนเองเชิงพื้นที่ (TSQM-A) เพื่อนำไปสู่การหนุนเสริมการขับเคลื่อนทางวิชาการภายในพื้นที่
#กสศ #กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา #OnlinePLCCoachingHandbook #TSQM #TSQMA #มูลนิธิสยามกัมมาจล
2,453
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |