เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีด้านกระบวนการ Online PLC Coaching

Share on

 470 

การจำลอง  Online PLC Coaching โดยใช้เนื้อหาจากครูต้นเรื่อง ครูวิเชียร ไชยโชติ

ครูวิเชียร ไชยโชติ นำเรื่องเล่าแผนการสอนเดิม “การสร้างคุณค่าแห่งการเรียนรู้จากชิ้นงาน”   มาสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเติมเต็มจากผู้ทรงคุณวุฒิ จนได้กรอบแนวคิดในการปรับปรุงแผนการสอนที่เป็น Visible Learningและได้พัฒนาร่วมกันกับเพื่่อนครูโรงเรียนเครือข่าย พัฒนามาเป็นการสอนใหม่ และตั้งชื่อที่น่าสนุกในการเรียนรู้ว่า ““การเรียนรู้ผ่านชุดคำถามกับปฏิบัติการหม้อหุงข้าว”  และเลือกแผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 1 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขอคำแนะนำจากวง Online PLC Coaching อีกครั้ง  ก่อนนำไปปรับปรุงต่อเพื่อใช้สอนจริงต่อไป

จุดเพ่งมองของการพัฒนาแผนการเรียนการสอนที่เป็น Visible Learning นั้นเด็กควรได้เรียนรู้ 4 ประเด็นสำคัญ คือ  

1) มีเป้าหมายในการเรียนรู้เป็นของตนเอง

2) เห็นผลการเรียนรู้ของตนเอง

3) เห็นพฤติกรรมการเรียนรู้ของตนเอง

4) สามารถพัฒนาวิธีการเรียนรู้ของตนเองได้

รับชมวีดีโอ ครูต้นเรื่อง ครูวิเชียร ไชยโชติ ได้ที่ 

การประชุม Online PLC Coaching ครั้งที่ 8 case ครูวิเชียร ไชยโชติ รร.ไพรบึง

จากวิดีโอ Online PLC Coaching ตัวอย่างทำให้เกิดการวิเคราะห์ปัจจัยด้านต่าง ๆ กระบวนการที่ทำให้ Online PLC Coaching ประสบความสำเร็จประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

✅ เรื่องกระบวนการฟังที่แบ่งระดับการฟัง 4 ระดับที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 

  1. I-IN-ME ใช้ตนเองเป็นตัวตั้ง ผ่านชุดความคิดของตนเอง ใช้ตนเองเป็นตัวตั้ง ผ่านชุดความเชื่อของตนเอง
  2. I-IN-IT ใช้ความสำคัญกับเนื้อหา ข้อมูล และเหตุผลเป็นหลัก ผู้ฟังพยายามทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น อย่างไร เพราะอะไร
  3. I-IN-YOU มีความรู้สึกและอารมณ์ร่วมไปกับข้อมูล เข้าใจสาเหตุและสิ่งที่เล่ามาได้เสมือนว่าเป็นคน ๆ นั้น
  4. I-IN-NOW สามารถรับรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นภายในตนเองและวงสนทนา เช่น ความรู้สึกของตนเองที่เกิดขึ้น สิ่งที่คนพูดต้องการสื่อ ความรู้สึกของคนพูด เป็นต้น – เป็นวิธีการฟังที่ดีที่สุดในวง PLC 

เทคนิคการจับประเด็นในวง PLC 

อารมณ์ / ความรู้สีก -> การจับประเด็น -> เจตจำนง / เป้าหมาย

องค์ประกอบที่สำคัญในการทำ PLC Online Coaching ให้ประสบความสำเร็จ 

  • อุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีทั้ง Software  Hardware สัญญาณอินเตอร์เน็ต
  • กำลังคนที่มีทักษะทางด้านเทคโนโลยี พร้อมแก้ไขปัญหา 
  • มีองค์ประกอบ ครูต้นเรื่อง / กระบวรกร (Facilitator) / บันทึกประเด็น Note Taker / มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางช่วงชี้แนะแนวทางและเติมเต็มได้ตรงจุด
  • เปิดใจรับฟัง มีส่วนร่วม ทุกคนตระหนักในปัญหาร่วมกัน และพร้อมแก้ปัญหาร่วมกัน
  • ทุกคนให้ความร่วมมือ ไม่ใช่แค่ครู แต่ต้องทุกคนที่มีส่วนร่วม เช่น ผู้ปกครอง ชุมชน 
  • ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
  • Deep Listening ฟังอย่างเข้าใจประเด็นว่าผู้พูดต้องการสื่ออะไร และอย่างเป็นกลางไม่ตัดสิน
  • จับประเด็นปัญหาให้ได้ / มองประเด็นปัญหาชัดเจน 
  • หาแนวปฎิบัติได้จริง / นำไปปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน 
  • PLC เสริมพลังบวก Empower ชื่นชม ช่วยเหลือ ช่วยคิด ให้กำลังใจในการแก้ปัญหา ทำให้ครูต้นเรื่องมีกำลังใจ 
  • กระบวนการ AAR และติดตามผล 

PLC Online และ PLC ในโรงเรียนแตกต่างกันอย่างไร 

การ PLC ในโรงเรียนสามารถจัดการแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีโดยอาศัยศักยภาพของบุคลากรในโรงเรียน 

ส่วนการ Online PLC Coaching ก็มีประโยชน์ในส่วนเสริมเพื่อแก้ปัญหาในบางเรื่อง เช่น ในประเด็นต้องการความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้เชี่ยวชาญมาเติมเต็ม เพื่อแก้ปัญหาทำให้ปลดล็อกข้อจำกัดเรื่องเวลาและการเดินทาง สามารถสร้าง  Online PLC Coaching ได้เปิดกว้างหลากหลาย สามารถทำควบคู่เสริมในเนื้อหาไปพร้อมกันได้ 

รับชม Live ของกิจกรรม : แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีด้านกระบวนการ Online PLC Coaching 👇

ช่วงที่ 1

https://fb.watch/mjcWfi5oiV/

ช่วงที่ 2

https://fb.watch/mjjtb2AJrX/

รับชมวีดีโอ ครูต้นเรื่อง ครูวิเชียร ไชยโชติ ได้ที่ 

การประชุม Online PLC Coaching ครั้งที่ 8 case ครูวิเชียร ไชยโชติ รร.ไพรบึง

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า