เปรียบเทียบโมเดลการศึกษาเชิงพื้นที่ (Area Based Education) และ การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research to Routine (R2R2R)

จากเวทีมหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนพัฒนาตนเองระดับพื้นที่ ครั้งที่ 1

Share on

 620 

การศึกษาเชิงพื้นที่ (Area Based Education)

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา เกริ่นนำถึงเรื่องการศึกษาเชิงพื้นที่ (Area-Based Education : ABE) โดยให้นิยามกว้าง ๆ ว่าเมื่อพูดถึงเรื่อง ABE จะเป็นเรื่องการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ที่มีผู้ร่วมเล่น (Stakeholder) หลายภาคส่วน ไม่ใช่เฉพาะฝ่ายการศึกษาอย่างเดียว มีภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคการปกครองส่วนท้องถิ่น และที่สำคัญคือผู้ที่ไ่ด้รับผลคือ “ภาคประชาชน” และ“ภาคประชาสังคม”  เป็นหนึ่งวิธีการศึกษาที่ได้ประโยชน์ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยแต่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติด้วย และถ้านำประสบการณ์ในอดีตที่เคยเกิดขึ้นเราจะรู้เส้นทางการเดินของ การศึกษาเชิงพื้นที่ (Area-Based Education : ABE) ว่าต่อไปจะขยับอย่างไรที่จะกลายเป็นนโยบายการศึกษาของประเทศ

คำว่าพื้นที่ในนิยามของการศึกษาเชิงพื้นที่คือ 3 สิ่งที่สอดคล้องกันดังต่อไปนี้

About a place : โจทย์มาจากพื้นที่ – พื้นที่ที่ใช้ทรัพยากรนั้นสร้างประโยชน์ในการเรียนรู้ 

By a place : การเรียนรู้ที่ออกแบบโดยบุคคลในพื้นที่ โดยโรงเรียนภาคีเครือข่าย และจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่

For a place :  ส่งผลกลับไปตอบโจทย์ของความต้องการในพื้นที่ นักเรียน ครู ชุมชน ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นั้น 


ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา ได้เล่าย้อนกลับไปถึงการทำงานด้านการบริหารและวิจัยเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งโมเดล การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research: R2R) เมื่อครั้งไปแก้ปัญหาการให้บริการผู้ป่วยที่โรงพยาบาลศิริราช หลังจากการพูดคุยกับคณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิถึงเรื่องโมเดล ABE ทำให้มองเห็นความคล้ายคลึงของกระบวนกว่ามีความล้ายคลึงกับโมเดล R2R จึงนำเรื่องนี้มาบรรยายเพื่อขยายภาพให้เห็นงานของสองโมเดลให้ชัดเจนขึ้น

การศึกษาเชิงพื้นที่ (Area-Based Education : ABE)
↕️
การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research to Routine : R2R2R)

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา ได้ยกตัวอย่างการเกิดขึ้นของ การวิจัยในงานประจำ (Routine-to-Research-to-Routine) และ การศึกษาเชิงพื้นที่ (Area Based Education : ABE) เปรียบเทียบให้เห็นภาพการขยายผลของโครงการ R2R2R ที่เคยได้ร่วมการออกแบบแก้ไขปัญหาซึ่งอาจารย์มองเห็นภาพการทำงานที่มีโมเดลเพื่อขับเคลื่อนจากในหน่วยงานในโรงพยาบาลศิริราชที่ขยายผลจากในโรงพยาบาลจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกระทรวงสาธารณสุขจนผลักดันกลายเป็นโมเดลระดับประเทศที่ใช้แก้ไขปัญหาความต้องการที่หลากหลายของผู้มีส่วนร่วมทุกหน่วยในองค์กรที่ช่วยแก้ปัญหาการดำเนินงานได้อย่างตรงเป้าหมายและยั่งยืน ซึ่งอาจารย์อยากให้ ABE ขยายผลไปสู่ระดับประเทศได้เช่นเดียวกันกับ R2R2R ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว

การทำงานของ R2R2R จะประกอบด้วย 3 หน่วยหลัก ๆ 

▪ บุคลากรที่ให้บริการผู้ป่วย – เห็นปัญหาที่อยากแก้ไข

▪ ผู้บริหาร – สนับสนุนการแก้ปัญหา (กำหนดนโยบาย)

▪ นักวิชาการ  – เชิญทั้งใน รพ. และนอก รพ. เข้ามาเป็นที่ปรึกษาเพื่อให้เห็นปัญหากว้างขึ้น 

เมื่อได้สามหน่วยแก้ปัญหาที่มีเป้าหมายเดียวกันคือ ‘ผู้ป่วย’ ซึ่งการทำงานของการทำงานเชิงพื้นที่มีเป้าหมายเดียวกันคือ ‘ผู้เรียน’ แต่เป้าหมายนักการศึกษาฝ่ายเดียวแก้ไม่ตก กระทรวงศึกษาธิการเห็นปัญหาไม่ครบจะเห็นเฉพาะที่มีรายงานขึ้นไป คนหน้างานที่อยู่กับปัญหาเป็นผู้ให้ข้อมูล 

เมื่อสัมฤทธิผลก็เกิดการส่งต่อความรู้ให้กับคนอื่นเกิดการขยายความรู้ (Knowledge Management: KM)

การขยายผล R2R

จากหอผู้ป่วยหนึ่งหอ ขยายไปรับฟังปัญหาที่หอผู้ป่วยมากขึ้น (ปรียบเทียบกับเครือข่ายของการศึกษา) เมื่อพูดถึงการแก้ปัญหาเพียงแค่พูดคุยหรือรับฟังก็แก้ปัญหาบางเรื่องได้แล้ว แต่หากเป็นปัญหาใหม่ไม่เคยพบมาก่อนต้องอาจจะใช้การวิจัยมาช่วย แต่พอพูดถึงงานวิจัยหลายคนคิดว่าเป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องของอาจารย์ นักวิชาการ แต่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ บอกว่าไม่จำเป็น คนทั่วไปควรที่จะสามารถเข้าใจหลักการวิจัยเบื้องต้นไม่ซับซ้อนได้ และหากสามารถนำหลักการวิจัยไปใช้แก้ไปปัญหาในชีวิตประจำวันได้ยิ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิต

ความสำคัญของ Routine-to-Research นั้นไม่ได้อยู่แค่กระบวนการ R2R แต่อยู่ที่ 2R (การนำไปปฏิบัติ) อีกหนึ่งชุดที่เพิ่มมาที่จากงานประจำมาเป็นหัวข้อในการทำงานวิจัยเพื่อนำกลับไปพัฒนางานประจำแล้วต้องนำกลับไปประยุกต์ใช้จริงเพื่อแก้ปัญหา งานวิจัยสอดคล้องกับบริบทจริงหรือไม่ จนกว่าจะแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งไม่เหมือนการงานวิจัยแล้วนำไปขึ้นไว้ขึ้นหิ้ง ไม่เกิดประโยชน์อะไร

สรุปเนื้อหาจากงานมหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนพัฒนาตนเองระดับพื้นที่  ครั้งที่ 1 “เครือข่ายสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเองเชิงพื้นที่ของจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และกำแพงเพชร” ระหว่างวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (KNECC) มหาวิทยาลัยนเรศวร

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า