เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีด้านกระบวนการ PLC ที่มีคุณภาพ

Share on

 977 

นักเล่าเรื่อง 2 ท่าน เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีด้านกระบวนการ PLC ที่มีคุณภาพ โดยประเด็นในการแลกเปลี่ยนครั้งนี้เป็นเคล็ดลับคุณภาพใน 2 ประเด็นสำคัญ 

  1. เคล็ดลับ PLC ที่มีคุณภาพต่อตัวครู
  2. เคล็ดลับ PLC ที่มีคุณภาพต่อตัวนักเรียน 

เล่าเรื่องโดย

ครูพงษ์สิริ น้อยอามาตย์ (ครูเท่ง) โรงเรียนบ้านหนองกุลา จังหวัดพิษณุโลก

ครูนเรศ ปิ่นทับทิม (ครูป๋อง) โรงเรียนบ้านแก่งจูงนาง จังหวัดพิษณุโลก

PLC คือการสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน เริ่มจากการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ การใคร่ครวญ การจดบันทึกจนเกิดเป็นปัญญาปฏิบัติ แล้วนำมาสร้างการเรียนรู้ร่วมกันด้วยกระบวนการ Sharing and Learn เพื่อให้เกิดปัญญาร่วมซึ่งจะทำให้องค์กรเกิดการพัฒนาส่งผลให้บุคลากรเห็นเป้าหมายร่วมกัน

 

ใครทำอะไรมาก็มาพูดคุยว่าพบเจอปัญหาและมาช่วยกันคิด ประสบการณ์ในบางอย่างที่ตัวเราคิดว่าไม่สำคัญ บางครั้งอาจจะมีความสำคัญกับอีกคน การแลกเปลี่ยนช่วงแรก ๆ ของการทำกระบวนการ PLC ก็เจออุปสรรค แต่ก็พยายามสร้างให้ทุกคนเห็นมองเป้าหมายร่วมกัน และให้ทุกกระบวนการของครูมีส่วนร่วม ส่วนในนักเรียนนั้นเน้นก็ให้นักเรียนร่วม PLC เพื่อฝึกกระบวนการคิด ครูก็เป็นที่ปรึกษาในการทำกระบวนการ

 

ด้านนักเรียนสามารถนำหลักการของ PLC ไปแก้ปัญหาได้ ปัญหาภายในห้องและมีการขยายการใช้กระบวนการ PLC โดยนักเรียนไปในใช้ในการประชุมสภานักเรียน ที่การได้มาของประธานสมาชิกสภานักเรียนนั้นใช้หลักการประชาธิปไตยที่ทุกคนสามารถเลือกตั้งสภานักเรียนได้ โดยในวงทุกคนสามารถยกปัญหาขึ้นมาพูดคุยแลกเปลี่ยนและออกความคิดเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน หลังจากทำกระบวนการเสร็จก็นำให้สรุปปัญหาออกมาเป็น mind mapping เพื่อฝึกการจัดระเบียบความคิด และนำข้อสรุปที่ได้มาแก้ไขปัญหา

ทำไมถึงต้อง PLC ? 

เพื่อช่วยสร้างวัฒนธรรมที่ดีในการทำงานของครู ที่โรงเรียนบ้านหนองกุลานั้นมี วง PLC 2 ชั้น วงใหญ่ทั้งโรงเรียน และการ PLC เฉพาะกลุ่มงาน โดยเพื่อให้แก้ปัญหาในโรงเรียนที่เกิดขึ้น

▪ ลดช่องว่างระหว่างกันของครู 2 รุ่น (ครูบรรจุใหม่กับครูที่กำลังเกษียณ)

▪  เพิ่มพลังการทำงาน พื้นที่การ PLC เป็นสนามพลังบวกที่สามารถพูดอะไรก็ได้ โดยอีกฟังรับฟังด้วยการเปิดใจ ไว้ใจ

▪  แบ่งปันความสำเร็จซึ่งกันและกัน 

▪ แก้ไขปัญหาของนักเรียนและตอบสนองปัญหาของนักเรียนได้อย่างรวดเร็ว 

▪ ร่วมกันหาวิธีแก้ไขอย่างเหมาะสม ยิ่งมีหลายความคิด การคิดแก้ปัญหาก็มีทางเลือกมากขึ้น 

ครูนเรศ ได้เพิ่มเติมว่าการเปิดใจนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยให้กระบวนการ PLC บรรลุเป้าหมาย ทุกงานอะไรที่จะทำก็ง่ายขึ้น เพราะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ที่ตัวผู้เรียน 

องค์ประกอบของการ PLC 

▪ การสร้างชุมชนสนามพลังบวก ไว้ใจ สร้างสังคมที่รับฟังทั้งแง่ดีและแง่ลบ ไว้ใจกันได้

▪ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี อบอุ่น ปลอดภัย 

▪  ลดช่องว่างระหว่างกัน สร้างความสัมพันธ์ในการทำงานที่ดี

▪  สร้างคุณค่าให้ตนเอง ไม่บูลลี ไม่ดูถูกกัน 

▪  สร้างวิถีขององค์กร 

การเรียนรู้ร่วมกัน 

▪  การถอดบทเรียน เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันด้วยการพูดคุย ไม่ตัดสิน ฟังด้วยความกรุณา

▪  การทำ Lesson Study / Case Study เป็นการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อผู้เรียน 

▪  Share and Learn การแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน จากความสำเร็จและความล้มเหลว จนนำไปสู่แนวทางการพัฒนาร่วมกัน 

▪  การ Reflection การสะท้อนความคิดร่วมกันของครู ลักษณะของการสะท้อนที่ดี ต้องสะท้อนให้ตรงประเด็นที่คิดที่ต้องการแก้ไข สิ่งที่ทำให้ Reflection ที่มีคุณภาพต้องเกิดจากการไว้ใจกัน 

▪  การทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR)

ผู้นำ Facilitator 

▪  ควบคุมประเด็นการ PLC ช้อนประเด็นมาพูดคุยไปได้ต่อ

▪  รักษาระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิก

▪  กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน

▪  กระจายการมีส่วนร่วมให้กับสมาชิก

Note Taker ผู้บันทึก 

▪  มีทักษะในการสรุปประเด็น

▪  เป็นผู้ฟังที่ดี ฟังอย่างรู้เท่ากัน

▪  ไม่นำความคิดเห็นส่วนตัวเสนอในบันทึก

สมาชิก 

เป็นผู้ฟังที่ดี ฟังอย่างรู้เท่าทัน

เสนอความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ 

ขั้นตอนการดำเนินการ PLC โรงเรียนบ้านหนองกุลา 

เตรียมสภาวะจิต (กิจกรรมให้ทุกคนจดจ่อ) > แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ครูต้นเรื่อง) > Reflection (ทุกคนมีส่วนร่วม)  > อภิปรายแก้ไขปัญหา  > สรุปแนวทางนวัตกรรมที่เกิดการ PLC   > Empower 

🔰 ระดับกิจกรรม PLC โรงเรียนบ้านหนองกุลา 
ระดับชั้นเรียน / สายชั้น วง PLC เล็กๆ หรือของหมวดการเรียน

▪ แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการเรียนการสอน ถอดบทเรียน 

▪ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหา เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกันในระดับชั้นเรียน

▪ สะท้อนความเห็นครูร่วมกัน 

▪ เพื่อนำปัญหาและแนวทางต่าง ๆ เข้าสู่กระบวนการ PLC ระดับโรงเรียนต่อไป 

ระดับโรงเรียน 

▪ นำข้อสรุปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน / สายชั้นเรียน 

▪  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสายชั้นอื่น ๆ ร่วมกัน

▪ สะท้อนความคิดทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน 

ระดับ PLC เฉพาะกิจ

▪ PLC กลุ่มงาน เช่นงานธุรการ 

▪ PLC ห้องเรียน 

▪ PLC สาระการเรียนรู้

🔰 ความสำเร็จของการ PLC โรงเรียนบ้านหนองกุลา 

▪  ครูมีแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนหลากหลายขึ้น 

▪ สามารถแก้ไขปัญหาในระดับชั้นเรียนได้สำเร็จอย่างรวดเร็ว เหมือนปรึกษาเพื่อนที่ไว้ใจได้

▪  ครูมีความเข้าใจในตัวผู้เรียนและเพื่อนร่วมงาน ด้วยการเปิดใจและลดอัตตาตนเองลง

▪  มีนวัตกรรมที่เกิดจากการ PLC ที่หลากหลาย ที่โรงเรียนมีปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เกิดนวัตกรรม หมอภาษา ตามแต่ระดับ 

🔰 8 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการ PLC

▪  การสร้างสนามพลังบวก การยอมรับซึ่งกันและกัน

▪  การเตรียมสภาวะจิต การมีสติรู้เท่าทัน

▪  การเป็นผู้ฟังที่ดี รู้เท่าทันความคิด ไม่นำความคิดตนเองมาตัดสิน

▪ การ Reflection 

▪ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเชิงสร้างสรรค์ 

▪ การสร้างวิถีปฏิบัติของโรงเรียนอย่างมีความหมายและมีเหตุผล

▪ ความมุ่งมั่นของครูในการเรียนรู้ร่วมกัน

▪ โรงเรียนมีเป้าหมาย นโยบาย และกระบวนการทำงานอย่างชัดเจน  

🔰 สิ่งที่ต้องทำ / สิ่งที่ต้องพัฒนา

▪ ความต่อเนื่องและความสม่ำเสมอในการ PLC 

▪ การนำผล PLC เผยแพร่ต่อผู้อื่น ครู ชุมชน ผู้ปกครอง 

รับชม Live ของกิจกรรม : เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีด้านกระบวนการ PLC ที่มีคุณภาพได้ที่ลิงก์นี้ 👇

https://fb.watch/mhUqrAUDNZ/

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า