โรงเรียนต้นเรื่อง โรงเรียนบ้านพรุจำปา
ครูต้นเรื่อง
สุรชัย ผิวเหลือง
วิชาญ ศรีแผ้ว
ปีรัญย่า มะตาเฮ
ห้องเรียนโครงงานฐานสิ่งแวดล้อม
Visual Note โดย สุติมา งอกเงิน
ครูสุรชัย ผิวเหลือง เล่าถึงกว่าจะมาเป็นห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วย Co – 5 Step ห้องเรียนโครงงานฐานสิ่งแวดล้อม เริ่มต้นจากเมื่อประมาณ 3-4 ปีก่อนหน้า ผศ. ดร.ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ ชวนมาร่วมกันทำงานพัฒนาห้องเรียนเปลี่ยนการสอนด้วยกัน (โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง TSQP) จากนั้นเกิดการทำงานร่วมกัน ในช่วงแรกก็หนักหน่อยแต่พอเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนก็รู้สึกดีใจมีความสุขที่ได้เข้าร่วมโครงการ จากนั้นโรงเรียนบ้านพรุจำปาก็เข้าร่วมโปรเจกต์ Phuket Education Sandbox หนึ่งในโรงเรียนที่ใช้ชุดวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ใช้วิชามหิงสาสายสืบ และประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ใช้รายวิชาสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาสมรรถนะของนักเรียนในจังหวัดภูเก็ตโดยใช้ชุดวิชาด้านฐานสิ่งแวดล้อมศึกษา
ซึ่งเนื้อหาการเรียนรู้ชุดวิชานี้เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาจากภายในโรงเรียนเพื่อมองออกไปนอกชุมชน ตอนที่ออกไปทำ DE กับชุมชน คนที่อยู่ในชุมชนก็บอกว่าช่วงโควิดมีคนกลับมาบ้าน แล้วเอ่ยปากว่าคนพรุสมภารไม่อดตายเพราะมีเกษตร กลายเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ให้นักเรียนสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเองด้วยการเกษตร สร้างให้นักเรียนเป็นเจ้าขององค์ความรู้โดยให้เป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบการชุดวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อเกิดสร้างการเรียนรู้ในชุมชนและสร้างความผูกพันกับชุมชน
สิ่งแวดล้อมศึกษา 7 ขั้นตอน (หนึ่งในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์)
- การสำรวจประเด็นศึกษา ให้นักเรียนลงพื้นที่สำรวจด้วยกระบวนการต่าง ๆ
- หาความรู้ฐาน ประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ ขอความอนุเคราะห์เครื่องมือสำรวจ
- วิเคราะห์ความสัมพันธ์ นักเรียนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน
- เรียนรู้สถานการณ์ทางเลือก ในถ้าทำแบบนี้ดี แล้วถ้ามีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าจะทำอย่างไร
- วางแผนการจัดการ ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความร่วมมือประสานงานจากชุมชนทั้งหมด
- ลงมือปฏิบัติ
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้
ซึ่งในภาคการศึกษานี้ครูสุรชัย เน้นการทำงานใน 3 ขั้นตอนเบื้องต้น ส่วนในขั้นตอนที่ 4-7 จะดำเนินการในภาคเรียนถัดไป ซึ่งวันนี้จะเป็นห้องเรียนสาธิตที่จะเป็นการปูทางการเรียนรู้เพื่อไปสู่เนื้อหาห้องเรียนโครงงานฐานสิ่งแวดล้อม
ขั้นตอนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ Co 5 – Step
- การนำเสนอสิ่งเร้าและระบุคำถามสำคัญ
- ให้นักเรียนนั่งหลับตาทำสมาธิ และฟังเสียงดนตรี
- เมื่อนักเรียนลืมตา ฝึกการสังเกตว่า ในเสียงเพลงที่ฟังนั้นได้ยินองค์ประกอบของเสียงเพลงมีอะไรบ้าง เป็นเสียงที่นักเรียนได้ยินเป็นปกติ แล้วให้นักเรียนหลับตาฟังเสียงเพลงอีกครั้ง
- เข้าสู่คำถามการเรียนรู้ในขั้นตอนเพื่อเชื่อมโยงเพลงที่ได้ยินกับความรู้สึกว่า มีความสุข หรือ ไม่มีความสุข นักเรียนชูป้ายแสดงความรู้สึก ในขั้นตอนต่อไป ครูก็ปิดเสียงดนตรี ในจุดนี้ให้นักเรียนจินตนาการเพื่อเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมชุมชนบ้านพรุสมภาร ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น ว่าถ้าสิ่งนี้หายไปแล้วนักเรียนจะรู้สึกอย่างไร
- ถามเชื่อมโยงกับชุมชนว่า เสียง นก เสียงน้ำ เสียงลม ว่าเสียงที่ได้ยินจากเพลงนี้ หาฟังหรือสามารถไปฟังที่ใดของชุมชนได้บ้าง
- เชื่อมโยงสิ่งเร้าเพื่อเข้าสู่การค้นหา แล้วถ้าอยากจะไปรู้จักสิ่งเหล่านี้ในชุมชน มีวิธีการไปค้นหา สำรวจ อย่างไรได้บ้าง ซึ่งนักเรียนเสนอวิธีการ เดินสำรวจ Google maps ถามชุมชน ถามพ่อแม่
- ขั้นตอนศึกษาทางเลือกให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปรายกันเพื่อหาวิธีการและเลือกข้อสรุปว่า อยากใช้วิธีการไหนสำรวจที่ดีที่สุด และเป็นวิธีได้ในคาบเรียนนี้ ด้วย Google maps ผ่านแผนที่เดินอากาศ
- การแสวงหาสารสนเทศและวิเคราะห์
- ให้นักเรียนใช้ Tablet สำรวจตามจุดตามที่กำหนด เพื่อฝึกทักษะการค้นหาจุดต่าง ๆ ผ่าน Google Maps ที่โจทย์ในคาบเรียนนี้ศึกษาชุมชนบ้านพรุสมภาร
- เปลี่ยนจากแผนที่เดินอากาศเป็นแผนที่ตั้งโต๊ะ แผนที่ที่ครูวิชาญเตรียมไว้ให้นักเรียนดูว่ามีอะไรบ้าง
- นักเรียนรวมกลุ่มกันศึกษาแผนที่เดินอากาศและแผนที่ตั้งโต๊ะเพื่อเข้าสู่ กิจกรรมรู้จักชุมชนจากแผนที่
- กิจกรรมรู้จักชุมชนจากแผนที่ นักเรียนวิเคราะห์ตำแหน่งในแผนที่เดินอากาศ ว่านักเรียนรู้จักในแผนที่ นักเรียนรู้จักหรือไม่ รู้จักแล้วมีในแผนที่หรือไม่ พร้อมลงบันทึกรายละเอียดลงในใบงานกิจกรรม เพื่อเตรียมข้อมูลสู่ขั้นตอนต่อไป
- การอภิปรายและสร้างองค์ความรู้
- วาดแผนที่ชุมชนบ้านพรุสมภาร ให้นักเรียนแบ่งหน้าที่กันทำงานออกแบบและวาดแผนที่เดินดินบ้านพรุสมภาร ด้วยกำหนดที่ตั้งและสัญลักษณ์จำแนกดังนี้
สีน้ำเงิน คือ สถานที่ ที่นักเรียนรู้จักและอยู่ในแผนที่
สีแดง คือ สถานที่ ที่นักเรียนไม่รู้จักและไม่อยู่ในแผนที่
- การสื่อสารและสะท้อนคิด
นักเรียนออกมาอภิปรายหน้าชั้นเรียน ถึงสิ่งที่พบเจอนั้นแตกต่างกันอย่างไร เพื่อนและครูที่นั่งฟังร่วมกันสรุปจุดที่ไม่เป็นที่รู้จักที่เป็นจุดร่วมกันทั้ง 3 กลุ่ม
- ประยุกต์และตอบแทนสังคม
นักเรียนจะนำแผนที่ที่ได้จากการเรียนรู้ในคาบเรียนนี้ไปเดินสำรวจว่ามีที่ตั้งไหนมีเพิ่มหรือไม่ และนำไปสำรวจข้อมูลในพื้นที่จริงของชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ในลำดับต่อไป
นักเรียนร่วมกันอภิปรายและร่วมกันเรียนรู้เพื่อลงพื้นที่สำรวจเพิ่มเติม
ข้อสังเกตที่ได้จากห้องเรียนนี้
- นักเรียนได้เรียนรู้การระดมความคิด การทำงานเป็นทีม และค้นคว้าหาเครื่องมือการสำรวจแบบต่าง ๆ
- มีสอดแทรกหลักการประชาธิปไตย ตอนที่โหวตเครื่องมือสำรวจ Google Maps แต่ก็ยังให้นักเรียนตรวจสอบว่าที่เลือกนั้นเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดหรือไม่ เพื่อให้ได้วิธีการหรือเครื่องมือที่ได้ผลจริง ๆ
- นักเรียนได้ฝึกทักษะเทคโนโลยี การใช้ Tablet การใช้เครื่องมือ Google Maps ทั้งแบบแผนที่เดินอากาศ และแบบ Street View ในเชิงลึกว่าภาพที่ปรากฏในแผนที่ถูกถ่ายขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับปัจจุบันมากที่สุด
- กระตุ้นการใส่ใจ ฝึกการสังเกต ทบทวนของนักเรียนต่อสภาพแวดล้อมของชุมชนตนเอง ผ่านกระบวนการเรียนรู้โครงงานฐานสิ่งแวดล้อม นักเรียนกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และใช้ประสบการณ์เดิมของตนเองในการทำงานร่วมกับเพื่อน
- ระหว่างการเรียนรู้นักเรียนช่วยกันวาดแผนที่ ครูปีรัญย่า มะตาเฮ ได้เสริมเรื่องจิตวิทยาเชิงบวก ด้วยการพูดถึงการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ไม่มีใครเก่งทุกด้าน นักเรียนต้องแบ่งหน้าที่และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ใครทำดีแบ่งหน้าที่กันครูปีรัญย่าก็พูดชื่นชม
รับชมไลฟ์โรงเรียนต้นเรื่อง โรงเรียนบ้านพรุจำปา
ห้องเรียนโครงงานฐานสิ่งแวดล้อม
ครูต้นเรื่อง
สุรชัย ผิวเหลือง
วิชาญ ศรีแผ้ว
ปีรัญย่า มะตาเฮ
ได้ที่ https://fb.watch/mSLjRDe9dE/
ตั้งแต่ เวลา 1.45.00 เป็นต้นไป
Writer
- Admin I AM KRU.