บันทึก “แหล่งน้ำธรรมชาติ” ของชุมชน-โรงเรียนวัดเทพกระษัตรี ห้องเรียนฐานชุมชน

Share on

 464 

โรงเรียนต้นเรื่อง โรงเรียนวัดเทพกระษัตรี
ครูต้นเรื่อง ภัทฑริก เอียดเกลี้ยง
ห้องเรียนโครงงานฐานชุมชน (Community-based Learning)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 

Visual Note โดย สุติมา งอกเงิน

ครูภัทฑริก เอียดเกลี้ยง หรือครูแพตตี้ การใช้การจัดการเรียนรู้สังคมศาสตร์การใช้การเรียนรู้วิจัยชุมชน (Community-based Learning) มาออกแบบการเรียนรู้ในห้องเรียนโครงงานฐานชุมชนกับหน่วยการเรียนรู้ร่วมกับเรียนรู้แบบสืบสอบ (Inquiry-based Learning) ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสังเกตสถานการณ์รอบตัว เกิดการตั้งคำถาม แสวงหาคำตอบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และประมวลคำตอบที่ได้ความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น 

หน่วยการเรียนรู้ “แหล่งน้ำธรรมชาติ” ครูภัทฑริก ออกแบบมาเพื่อให้นักเรียนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังนี้

  1. มุ่งมั่นในการทำงาน ตัวชี้วัดที่ 6.2 ทำงานด้วยความเพียรพยายามและอดทนเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย พฤติกรรมบ่งชี้ พยายามแก้ไขปัญหา และอุปสรรคในการทำงานให้สำเร็จ และชื่นชมผลงานด้วยความภาคภูมิใจ 

โดยตั้งเป้าหมายด้านสมรรถนะให้ผู้เรียนเกิดเรียนรู้ 4 สมรรถนะ 

  1.  ความสามารถในการสื่อสาร การสัมภาษณ์ การอ่าน การเขียน การพูดหน้าชั้นเรียน
  1. ความสามารถในการคิด การสำรวจ การสื่อความหมาย การสืบค้นโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
  1. ความสามารถในการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาขยะปฏิบัติกิจกรรม
  1. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งน้ำในท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในชีวิตประจำวัน 

ขั้นที่ 1 การสร้างความสนใจ (Engagement)

  • แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มละ 5 คน โดยครูแพตตี้ ได้กระตุ้นการสนใจการเรียนรู้ผ่าน Google Earth พาไปสำรวจแหล่งน้ำต่าง ๆ เพื่อเชื่อมโยงชุมชน  
  • ตั้งคำถามเพื่อสำรวจความรู้เดิมของนักเรียน ว่ารู้จักแหล่งน้ำ หรือเคยใช้ประโยชน์แหล่งน้ำเหล่านี้หรือไม่ 

ครูแพตตี้พานักเรียนท่องเที่ยวไปแหล่งน้ำประเภทต่าง ๆ และพาไปท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต โดยไปดูแหล่งน้ำประเภทต่าง ๆ ของจังหวัด 

Google Earth จังหวัดภูเก็ต

  • นักเรียนนำใบงานกลุ่มเรื่องแหล่งน้ำในชุมชน เพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน และถามคำถามอภิปรายกับเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนว่าในชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่หรือทราบว่ามีแหล่งน้ำเหมือนกับเพื่อนที่กำลังนำเสนอหรือแตกต่างกันอย่างไร 

ขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหา (Exploration)

  • ขั้นตอนนี้นักเรียนค้นหาวิธีการจะทำอย่างไรให้คนอื่นรู้ว่าในชุมชนมีแหล่งน้ำอะไรบ้าง
  • ให้นักเรียนออกความคิดเห็นเขียนแผนที่แหล่งน้ำโดยการศึกษาจาก Google Earth ตามเงื่อนไขดังนี้
  • ระบุประเภทแหล่งน้ำในชุมชนให้ได้มากที่สุด
  • ใช้สัญลักษณ์เพื่อบ่งบอกประเภทแหล่งน้ำ
  • ต้องมีโรงเรียนวัดเทพกระษัตรี
  • ต้องมีบ้านนักเรียนในกลุ่ม 
  • ขอบเขตของแผนที่ มีขอบเขตตั้งแต่ คลองบาง ศูนย์การเรียนรู้เซนต์ยูเฟรเซียบ้านยา ร้านครัวนคร ปั๊มน้ำมัน Caltex บ้านดอน 
  • บอกประโยชน์ของแหล่งน้ำในแต่ละจุด 

โดยนักเรียนได้นำเสนอวิธีการนำเสนอที่แสดงแหล่งน้ำในชุมชนทั้งหมด 3 วิธี

  1. เขียนเป็นแผนที่ (ได้รับการลงคะแนนว่าเป็นวิธีการที่คนในชั้นเรียนเลือกเพราะเป็นวิธีที่เหมาะสม)
  2. เป็นไกด์นำเที่ยว 
  3. บอกให้รู้มีแหล่งน้ำอยู่ตรงไหน

ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)

  • นักเรียนนำเสนอแผนที่ชุมชน และอภิปรายถึงแหล่งน้ำว่ามีความเหมือน ความต่าง และแต่ละแหล่งน้ำนั้นทั้งตัวนักเรียนใช้บริโภคได้หรือไม่ และนักเรียน คนในชุมชนใช้ประโยชน์ในด้านใดจากแหล่งน้ำที่นำเสมอได้บ้าง 

นักเรียนอภิปรายแหล่งน้ำในชุมชนร่วมกัน

ประเภทแหล่งน้ำในชุมชนที่นักเรียนอภิปราย : ทะเล บ่อน้ำ สระน้ำ ขุมน้ำ น้ำตก คลอง 

ประโยชน์แหล่งน้ำในชุมชนที่นักเรียนอภิปราย : การประมง แหล่งท่องเที่ยว อุปโภค บริโภค เลี้ยงสัตว์ ขายน้ำ

ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)

  • ทั้งครูแพตตี้และนักเรียนเริ่มอภิปรายแหล่งน้ำในชุมชนในแต่ละกลุ่มของตนเอง และคำถามของครูแพตตี้นั้นให้นักเรียนต่อยอดว่า อยากเรียนรู้อะไรจากชุมชนของตนเองบ้าง 

คำตอบที่นักเรียนอภิปราย : แหล่งน้ำในชุมชนมีกี่ที่ ถ้าน้ำเป็นมลพิษจะเกิดอันตรายอย่างไร อยากศึกษาว่าทำไมน้ำถึงเปลี่ยนสี ศึกษาชีวิตคนชุมชนภูเก็ตทำอาชีพอะไร อยากรู้วิถีชีวิตคนบ้านดอน คุณภาพของน้ำเท่ากันทุกแหล่งหรือไม่ ศึกษาพืชในแหล่งน้ำชุมชน เป็นต้น

ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล (Evaluation)

ครูแพตตี้ นำนักเรียนเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของการเรียนรู้ในชั้นเรียนนี้ เป็นเรื่องการอภิปรายเพื่อสะท้อนบทเรียนที่ได้รับในวันนี้ เด็ก ๆ ร่วมกันอภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ใน 3 เรื่อง

  • ฉันได้เรียนรู้อะไร

ได้ความสามัคคี รู้วิธีการทำแผนที่ ทำงานกลุ่มสำเร็จ

ครูแพตตี้ได้สะท้อนคิดในช่วงท้าย

การเรียนรู้ในวันนี้ไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้เท่าไหร่นักเนื่องจากมีอุปสรรคเล็กน้อย แต่ก็สามารถจัดการเรียนรู้ให้ผ่านไปได้ สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้เป็นกิจกรรมที่จะนำไปสู่การทำโครงงานที่ตั้งใจให้นักเรียนได้รู้จักชุมชนที่อาศัยก่อนว่าบริเวณรอบ ๆ มีอะไรบ้าง และสามารถนำมาอภิปรายให้คนอื่นเข้าใจได้ โดยหน้าที่ของครูแพตตี้ในชั้นเรียนนี้เพียงแค่เติมเต็มในสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้อยากศึกษา

จุดเด่นไอเดียของแผนนี้ เป็นการนำเรื่องเรียนรู้แบบสืบสอบ (Inquiry-based Learning)  การใช้การจัดการเรียนรู้สังคมศาสตร์การใช้การเรียนรู้วิจัยชุมชน (Community-based Learning) 

ครูร่วมเติมเต็มชั้นเรียน

  • พบคุณลักษณะที่ดีมากของครูแพตตี้คือความหนักแน่น วิเคราะห์สิ่งที่เด็กตอบครบแล้วหรือยัง เวลาที่เด็กคิดไม่ครบ คิดไม่ถึง ครูมีหน้าที่เติม ครูนำเสนอประสบการณ์ใหม่ให้นักเรียน และสอดแทรกองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในระหว่างเรียนทำให้นักเรียนสนุกไปด้วย ครูมีหน้าที่ถามเพื่อดึงคำตอบที่นักเรียนคิดและช่วยเติมเต็มให้ตรงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งเป้าหมายไว้ 

รับชมไลฟ์ 

โรงเรียนต้นเรื่อง โรงเรียนวัดเทพกระษัตรี 

ห้องเรียนโครงงานฐานชุมชน  (Community-based Learning) 

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 

ครูต้นเรื่อง ภัทฑริก เอียดเกลี้ยง 

ได้ที่

นาทีที่ 01.00.00 – 01.53.00

https://fb.watch/mNuBPddAP6/

ช่วงที่ 2 นาทีที่ 00.00.01 – 00.21.00

https://fb.watch/mNGIPRVNHf/

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า