ห้องเรียน Open Approach กับพัฒนากระบวนการคิดขั้นสูง (วิชาคณิตศาสตร์) – โรงเรียนเทศบาลวัดขจรรังสรรค์

Share on

 1,146 

โรงเรียนต้นเรื่อง โรงเรียนเทศบาลวัดขจรรังสรรค์

ครูต้นเรื่อง สุริพร บุญเมือง

ห้องเรียน Open Approach กับพัฒนากระบวนการคิดขั้นสูง (วิชาคณิตศาสตร์)

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Visual Note โดย สุติมา งอกเงิน

หลักการ Open Approach เน้นการลงมือแก้ปัญหาด้วยตัวนักเรียนเอง 

แผนการเรียนการสอนที่ครูสุริพรนำเสนอในวันนี้มีชื่อว่า “น้อยกว่านี้ได้อย่างไรนะ” ซึ่งแผนการเรียนการสอนนี้มีเป้าหมายของหน่วยการเรียนรู้เรื่อง “ค่าเฉลี่ย” ระยะเวลา 1 ชั่วโมงเรียน โดยมีจุดประสงค์การเรียนรู้ของหน่วยนี้ดังนี้ 

  1. นักเรียนสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาทำให้จำนวนหรือปริมาณแตกต่างกันมีจำนวนปริมาณเท่ากันได้
  2. นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการ (How to) การตรวจสอบปริมาณที่ทำให้จำนวนหรือปริมาณที่แตกต่างกันมีจำนวนเท่ากันหรือปริมาณเท่ากันได้
  3. นักเรียนสามารถวิเคราะห์และแก้ไขโจทย์ปัญหาค่าเฉลี่ยพร้อมทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับการวัดต่อหน่วย

ขั้นที่ 1 การนําเสนอสถานการณ์ปัญหาปลายเปิด

ครูสุริพรติดสถานการณ์ปัญหา และคําสั่ง บนกระดานหน้าชั้นเรียน 

ขั้นที่ 2 ขั้นการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน

จากโจทย์ด้านบนนักเรียนก็เริ่มออกแบบแนวคิดการคำนวณว่า ไนท์หรือกายใครอ่านหนังสือได้มากกว่ากัน

โดยนักเรียนในชั้นเรียนได้คำตอบที่มีความแตกต่างกัน ครูสุริพร จึงนำนักเรียนเข้าสู่กระบวนการอภิปรายแนวคิดของเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน

โจทย์: ทุกเช้านักเรียน ป.6 จะอ่านหนังสือ ไนท์และกายอ่านหนังสือเล่มเดียวกัน ไนท์ใช้เวลาอ่าน 5 วัน กายใช้เวลาอ่าน 4 วัน เพราะมีอยู่ 1 วันไม่ได้มาเรียน 

คำสั่งที่ 1:  ใครอ่านหนังสือได้มากกว่ากัน  

แนวคิดที่นักเรียนได้จากโจทย์ด้านบน

ไนท์อ่านได้มากกว่าเพราะมาโรงเรียนเยอะกว่า

คำสั่งที่ 2 : ถ้าเปรียบเทียบจากตารางข้อมูลด้านล่างนี้ ใครอ่านหนังสือได้มากกว่ากัน 

ไนท์ (ตารางซ้าย) กาย (ตารางขวา)

วันวันที่ 1วันที่ 2วันที่ 3วันที่ 4วันที่ 5รวมวันที่ 1วันที่ 2วันที่ 3วันที่ 4รวม
หน้า5734625855624

แนวคิดที่นักเรียนได้จากโจทย์ด้าน

  • ข้าวฟ่าง : จากตารางแล้วไนท์อ่านเยอะกว่า
  • ดราก้อน/ซี : วันที่ 1 3 4 กายอ่านได้เยอะกว่า
  • ต่อ/กาย : แต่ละวัน กายอ่านได้จำนวนหน้ามากกว่าไนท์
  • ออมสิน/ฟาฮัด : เปรียบเทียบแต่ละวันแต่ไม่นับวันที่ 5 กายได้มากกว่าไนท์

คำสั่งที่ 3 นักเรียนมีวิธีการเปรียบเทียบและปาดอย่างไร แล้วใครอ่านหนังสือได้มากกว่ากัน แผนภูมิแท่งตรวจสอบว่าใครอ่านมากกว่ากันอย่างไร

แผนภูมิแท่งแสดงจำนวนการอ่านหนังสือต่อวันระหว่างไนท์และกาย

เมื่อได้แนวคิดที่นักเรียนได้วิเคราะห์โจทย์ที่มีลำดับการรับรู้ข้อมูลในแต่ละขั้นแล้วครูสุริพรก็ให้นักเรียนเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 

ขั้นที่ 3 ขั้นอภิปรายและเปรียบเทียบแนวคิดร่วมกันทั้งชั้นเรียน 

แนวคิดที่นักเรียนนำเสนอในชั้นเรียนในการปาด (การหาค่าเฉลี่ยจากกราฟ)

  • นัธชา/น้ำหว้า : ปาดให้เท่ากัน ไนท์อ่านได้ 5 หน้าต่อวัน กายปาดวันที่ 1 มาให้วันที่ 2 3 กายอ่านได้ 6 หน้าต่อวัน 
  • ออมสิน/ฟาฮัด : ปาดวันที่ 2 มาวันที่ 1 3 และ 4 ไนท์อ่านได้ 5 ต่อวันปาดกราฟของกายวันที่ 2 มาวันที่ 3 กายอ่านได้ 6 หน้าต่อวัน
  • กาย/ต่อ : ปาดกราฟของกายวันที่ 1 มาวันที่ 2 3 กายอ่านได้ 6 หน้าต่อวัน ไนท์อ่านได้ 5 หน้าต่อวัน

นำแนวคิดคำตอบที่ได้ไปเปรียบเทียบกับคำสั่งก่อนหน้าเพื่อเปรียบเทียบว่าแนวคิดตอนต้นที่คิดไว้นั้นถูกต้องหรือไม่ 

ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปโดยเชื่อมโยงแนวคิดที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน

  • ใช้การปาด (การหาค่าเฉลี่ย) เพื่อทำจำนวนหน้าให้เท่ากัน

ข้อสังเกตที่ได้จากห้องเรียนนี้ 

  • นักเรียนเสนอความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ ไม่มีการตำหนิ นักเรียนสามารถหาคำตอบ โดยครูทำหน้าที่กระตุ้นหรือยิงคำถามเพื่อโยงให้ผู้เรียนเข้าสู่เป้าหมายการเรียนรู้ได้
  • นักเรียนสามารถค้นพบวิธีการหาค่าเฉลี่ยได้ด้วยตนเอง โดยที่ครูไม่ได้บอกว่าสิ่งที่กำลังเรียนรู้นั้นคืออะไร แล้วมาสรุปในตอนท้าย
  • Open Approach เป็นวิธีการการสอนแบบวิธีวิทยาศาสตร์ ที่นักเรียนตั้งสมมุติฐาน คิดเคราะห์ ค้นหาคำตอบ และสรุปองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง 

รับชมไลฟ์โรงเรียนต้นเรื่อง โรงเรียนเทศบาลวัดขจรรังสรรค์ 

ห้องเรียน Open Approach กับพัฒนากระบวนการคิดขั้นสูง (วิชาคณิตศาสตร์) 

ครูต้นเรื่อง สุริพร บุญเมือง 

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 

ได้ที่

https://fb.watch/mRb6OWfMKj/

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า