ห้องเรียน EF กับโจทย์ Project Approach – โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ฝ่ายปฐมวัย

Share on

 520 

โรงเรียนต้นเรื่อง โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ฝ่ายปฐมวัย

ครูต้นเรื่อง วรางคณา เต็มเปี่ยม

ห้องเรียน EF กับโจทย์ Project Approach

ระดับชั้นอนุบาล 2

Visual Note โดย สุติมา งอกเงิน

ห้องเรียน EF กับโจทย์ Project Approach ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร 

เป้าหมายการเรียนรู้ : นักเรียนสามารถรู้ เข้าใจเรื่องราว และลักษณะการเดินหอยทากได้ 

โครงการหอยทากกระดึ๊บ กระดึ๊บ นั้นเกิดจากการตั้งข้อสงสัยของนักเรียนชั้นอนุบาลที่กำลังเล่นอยู่ที่สนามหญ้าโรงเรียนที่มีหอยทากจำนวนหลายตัว ว่า ทำไมหอยทากไม่มีขาแล้วทำไมเดินได้ หอยทากกินอะไร หอยทากเกิดมาได้อย่างไร การตั้งคำถามด้วยความอยากรู้สิ่งรอบตัวในเรื่องธรรมชาติที่บางคนอาจจะไม่เคยตั้งคำถาม กลายเป็น หัวข้อการเรียนรู้ที่กระตุ้นพัฒนาการของเด็ก จากข้อสงสัยเกี่ยวกับหอยทากได้พัฒนาสู่การเรียนรู้ในห้องเรียนผ่านรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach) ที่สร้างการเรียนรู้อย่างมีความสุข เด็กกล้าคิด กล้าแสดงออก เกิดกระบวนการคิด แก้ปัญหา เป็นนักช่างสำรวจ สังเกต สืบค้น ในชั่วโมงเรียนของครู วรางคณา เต็มเปี่ยม หรือเด็ก ๆ เรียกว่า ครูอ๋อมแอ๋ม 

ทุกครั้งที่ครูพาออกนอกห้องเรียนนักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์นอกห้อง หน้าที่ของครูคือการวางแผนการสอนครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกต่อเรื่องต่าง ๆ ที่นักเรียนเป็นเจ้าขององค์ความรู้ว่าอยากเรียนรู้เรื่องอะไร ครูทำหน้าที่จัดกระบวนการ อำนวยความสะดวก และจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ นักเรียนจะได้กระตุ้นประสบการณ์เดิมและได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ นักเรียนสามารถนำมาร้อยเรียงเล่าเรื่องในภาษาของตนเองได้ 

ครูต้องพร้อมเรียนรู้ไปกับเด็กและมีบางครั้งที่มีประเด็นตกหล่น วิธีการแก้ปัญหาตรงนี้ครูต้องเชิญผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นมาเสริมความรู้ในส่วนนี้ แล้วมาสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ว่าเกิดว่าใจถูกต้องหรือไม่ ในมุมของบทบาทผู้ปกครองสำหรับการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach) ผู้ปกครองนั้นมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนไปพร้อม ๆ กับครูและนักเรียนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น 


จุดเน้นในห้องเรียน: เป็นเรื่องการพัฒนาทักษะ Executive Function หรือ EF ครูต้องเข้าใจว่านักเรียนแต่ละคนมีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน ครูจึงมีหน้าที่สำคัญในการส่งเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้เกิดขึ้น ผ่านวิธีการพูด การซักถาม เพื่อให้นักเรียนพัฒนาการคิด ฝึกตั้งคำถาม ฝึกแก้ไขปัญหา การค้นหาคำตอบ สิ่งที่ณครูอ๋อมแอ๋มเน้นทักษะในการปฏิบัติ ที่สำคัญต้องให้อิสระในการเรียนรู้อย่างครบด้าน อย่าไปปิดกั้น ครูอ๋อมแอ๋ม ยกตัวอย่างว่าแม้เวลาในกิจกรรมนั้นหมดก็อย่าเพิ่งให้เก็บอุปกรณ์เพราะระหว่างนั้นนักเรียนที่ยังทำไม่เสร็จอาจจะประมวลผลคำตอบอยู่ก็ได้ อย่าคิดว่านักเรียนทำไม่ได้ ครูต้องรอคอยเพราะนักเรียนแต่ละคนใช้เวลาเรียนรู้ไม่เท่ากัน ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ครูสะท้อนว่านักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะ EF คือนักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็น แสดงสิ่งที่ได้เรียนรู้ และรู้จักการสรุปในแต่ละกิจกรรมว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง 

โครงการ หอยทาก กระดึ๊บ กระดึ๊บ ประกอบด้วยสาระที่ควรรู้ดังนี้ 

เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
– สำรวจเรื่องที่เด็กสนใจ / ตั้งชื่อโครงการ- กิจกรรมที่เด็กอยากทำเกี่ยวกับหอยทาก- สรุปโครงการหอยทาก กระดึ๊บ กระดึ๊บ – สาระนิทัศน์โครงการหอยทาก กระดึ๊บ กระดึ๊บ  
บุคคลและสถานที่
– วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับหอยทาก- ศึกษานอกสถานที่ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 
โครงการ หอยทาก กระดึ๊บ กระดึ๊บ
สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 
ประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับหอยทาก- สิ่งที่เด็กอยากเรียนรู้เกี่ยวกับหอยทาก- การกำเนิดหอยทาก- ลักษณะหอยทาก- ชนิดของหอยทาก- ประเภทของหอยทาก
ธรรมชาติรอบตัว
– การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของหอยทาก

ลักษณะการจัดห้องการเรียนรู้

คุณครูอ๋อมแอ๋มล้อมวงอภิปรายเรื่องราวเกี่ยวกับหอยทากทั้งพฤติกรรม  การใช้ชีวิต ลักษณะหอยทากที่นักเรียนเคยพบเห็นในโรงเรียน เมื่ออภิปรายเสร็จแล้วนักเรียนก็ได้ไปเรียนรู้ 

การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นนอกห้องเรียน 

ครูอ๋อมแอ๋มพูดคุยกับนักเรียนเพื่อถามถึงสิ่งที่ได้พบจากการสังเกตหอยทาก

รับชมตัวอย่างคลิปวิดีโอโครงการหอยทาก กระดึ๊บ กระดึ๊บ ได้ที่ลิงก์นี้ 
https://drive.google.com/file/d/1b2WjNwDwQT966mYe1n7gL0mS12lLQTzJ/view

วิธีการประเมิน : จะรู้ได้อย่างไรว่ากิจกรรมบรรลุเป้าหมายแล้ว ครูอ๋อมแอ๋มดูจากวัตถุประสงค์กิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนเกิด EF แล้วหรือไม่ เป็นเรื่องของวิชาในห้องเรียนนอกจากจะมีการปฏิบัติการสอนแล้ว จะมีครูอีกท่านหนึ่งจะมีหน้าที่จดบันทึกพฤติกรรมหรืออัดวิดีโอเพื่อดูการตอบสนองการเรียนรู้ ตรงนี้เป็นส่วนสำคัญที่ครูนำไปปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นและส่งเสริมได้เหมาะสมกับพฤติกรรมเด็กทุกคน 

สาระสำคัญ

หอยทาก คือสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง มีหลากหลายชนิด มีเปลือกแข็งหุ้มตัว หอยทากจัดอยู่ในจำพวก หอยฝาเดียว และมีถิ่นที่อยู่อาศัย ทั้งในทะเล น้ำจืด และบนบก

รับชมไลฟ์โรงเรียนต้นเรื่อง โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ฝ่ายปฐมวัย

เรื่อง ห้องเรียน EF กับโจทย์ Project Approach ระดับชั้นอนุบาล 2

ครูต้นเรื่อง วรางคณา เต็มเปี่ยม 

ได้ที่ https://fb.watch/mOODg4TNn2/

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า