การสนับสนุนและขยายผลโรงเรียนพัฒนาตนเอง
“การทำงานของเขตพื้นที่สู่โรงเรียนเป้าหมาย”
นำเสนอโดย
กุญช์พิสิฏฐ์ คงนุรัตน์
ศึกษานิเทศก์ สพป.สุรินทร์ เขต 2
เครือข่ายสพป.สุรินทร์ เขต 2
เครือข่ายสพป.สุรินทร์ เขต 2 เป็นโหนดหนึ่งที่ได้รับโอกาสพัฒนาตนเองพร้อมทั้งได้เติมเต็มหลายกระบวนการเรียนรู้หลากหลาย มีการใช้ Smart Coaching Team การทำงานของเขตพื้นที่สู่โรงเรียนเป้าหมายเครือข่ายให้พัฒนาตนเองได้ โดยในปีแรกนั้นเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ณรงค์ศักดิ์ เหมือนชาติ เป็นผู้รับนโยบายโครงการ และในปีที่สอง รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อรรถพล ชาติรัมย์ และศึกษานิเทศก์ กุญช์พิสิฏฐ์ คงนุรัตน์ มารับช่วงต่อ ซึ่งในปีก่อนหน้ารูปแบบการบริหารคือ SURIN234 แต่ปีนี้ที่ได้รับการเติมเต็มจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ความอนุเคราะห์เพิ่มรูปแบบการบริหารเพื่อให้กรอบการดำเนินงานแข็งแรงขึ้น กลายเป็๋นโมเดล SURIN344 เพื่อเพิ่มคุณภาพเป้าหมายผู้เรียน ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ และการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้สอดคล้องกับเป้าหมายของผู้เรียน
🔰 โดยเติมเต็มด้วยหลักคิด “SURIN344” นั้นประกอบด้วย
S: School U: Unity R: Reflection I: Information N: Network
3: กลุ่มบุคคลในการพัฒนา
– ผู้บริหารปรับเปลี่ยนการบริหาร
– ครูปรับเปลี่ยนวิธีการสอน เป็น Active Learning โดยประยุกต์ใช้ 5 Steps
– นักเรียน
4: เครื่องมือสำคัญในการพัฒนา 4 ประเภท
– Professional Learning Community (PLC)
– ระบบการช่วยเหลือนักเรียน
– Coaching กระบวนการชี้แนะการโค้ชชิ่งภายใน
– INFO ข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ที่ช่วยในการจัดการข้อมูลเช่นระบบ Q INFO
4: บุคลากร 4 กลุ่ม
– บุคลากรในพื้นที่
– เครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา เครือข่ายวิชาการ
– ผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญ
– Smart Coaching Team ทีมที่ช่วยเสริมสร้างหนุนเสริมพลังการเรียนรู้ด้วยทีมที่เป็นเลิศ
ในมิติด้านการบริหารจัดการของเขตพื้นที่ สพป.สุรินทร์ เขต 2 ได้นำเครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่องซึ่งทาง ศน. กุญช์พิสิฏฐ์ ได้เล่าให้เห็นภาพการทำงานทำงานเป็นส่วนอย่างเข้าใจง่ายดังนี้
☑️ การประเมินตนเองระดับเขตพื้นที่ ด้วยเครื่องมือ Developmental Evaluation (DE)
เข้าไปสู่กระบวนการพัฒนาผู้เรียนการลงไปสำรวจเขตพื้นที่ ที่ก่อนหน้าพบปัญหาที่ไม่เคยได้ลงไปสำรวจในพื้นที่หลายอย่างเช่น
▪ เสียงสะท้อนจากผู้ปกครอง + นักเรียน บอกว่า “ครูดูแลเด็กไม่เท่าเทียมกัน”
▪ ผู้บริหารกับครูไปด้วยกันไม่ได้
แต่พอเข้าสู่กระบวนการละลายพฤติกรรมลดช่องว่างระหว่าง คุณครู ผู้บริหาร ช่องว่างสลายลงทำให้มองเป้าหมายที่ “ผลลัพธ์ที่ผู้เรียน” ไปด้วยกันในปีแรก และเกิดการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
☑️ จัดทำโครงการที่สอดรับกับการประเมินตนเอง
พอกำหนด Developmental Evaluation (DE) โรงเรียนจะมีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนของตัวเอง ที่ทำครอบคลุมอย่างรอบด้านทั้งเด็ก โรงเรียน ครู และชุมชนแบ่งเป็น Key Result Are หรือ KRA 4 กลุ่มนี้
- ชุมชน
- นักเรียน
- ครู
- ผู้บริหารเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารเป้าหมายนี้
▪ ด้านผู้เรียน
เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านทักษะและพฤติกรรมอย่างเห็นได้ชัดเจน ที่อยากทำให้เกิดขึ้นในเขตพื้นที่ แต่ให้บุคลากรภายนอกเรานำประธานเครือข่ายนายกคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา (กตปน) นายกสมาคมโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขยายโอกาส เข้ามาร่วมในการสังเคราะห์กระบวนการนี้ออกมา ซึ่งผลที่เกิดขึ้นในด้านผู้เรียนมีดังนี้
1. กล้าแสดงออก เป็นเด็กดี มีความรับผิดชอบ
2. มีทักษะชีวิต ด้านกีฬา ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น
3. สื่อสารภาษาอังกฤษ
4. ใช้เทคโนโลยีได้
▪ ด้านโรงเรียน
1. พัฒนาคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง
2. สนับสนุนการดำเนินการของครู
3. สนับสนุนอุปกรณ์สื่อที่หลากหลาย
4. ผู้อำนวยการต้องลดละอบายมุข
5. มีอาหารกลางวันที่ครบ 5 หมู่
6. ผู้อำนวยการเป็นแบบอย่างที่ดี
7. โรงเรียนสะอาดปลอดภัย
▪ ด้านครูผู้สอน
1. เป็นแบบอย่างที่ดี
2. เอาใจใส่ในหน้าที่
3. ต้องพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ
4. ใช้สื่ออย่างหลากหลาย
5. มีความรู้รอบด้าน
6. มีคุณธรรม จริยธรรม
7. อยู่อย่างพอเพียง
8. สอนเต็มเวลา
9. ใช้สื่อเทคโนโลยี
▪ ด้านเขตพื้นที่
1.จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความปลอดภัยให้กับนักเรียน
2. สร้างการรับรู้นโยบายที่ชัดเจน
3. ส่งเสริมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
4. สนับสนุนงบประมาณ
5. ลดขั้นตอนในการติดต่อราชการ
6. จัดสรรอัตรากำลังครูให้ครบตามเกณฑ์
7. พัฒนาฝึกอบรมครูผู้สอน
8. การพัฒนา ICT ให้บุคลากร
☑️ ประชุมเตรียมการดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ ปี 2565
มองเป้าหมายทั้งโครงการของ กสศ. โครงการเป้าหมายของเขตพื้นที่ และของทาง สพฐ. ที่มีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกันคือที่ “พัฒนาผู้เรียน”
1. จัดการเรียนการสอน Active Learning
2. มีกระบวนการ PLC
3. มีระบบช่วยเหลือนักเรียน
4. โรงเรียนต้องมีเครือข่ายวิชาการ
5. ต้องมีการใช้สารสนเทศ (Q-INFO)
☑️ จัดทำโครงการขยายผลระดับเขตพื้นที่ในแผนปฏิบัติการประจำปี
ใช้การ Smart Coaching Team ในพื้นที่ตามแผนปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
รับชมบันทึกการถ่ายทอดสด
เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “โรงเรียนพัฒนาตนเอง : การจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์ของชีวิต เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ”
“การทำงานของเขตพื้นที่สู่โรงเรียนเป้าหมาย” ฉบับเต็มได้ที่
การสนับสนุนและขยายผลโรงเรียนพัฒนาตนเอง
“การขับเคลื่อนขยายเครือข่าย TSQP”
การสนับสนุนและขยายผลโรงเรียนพัฒนาตนเอง
“การขับเคลื่อนขยายเครือข่าย TSQP”
นำเสนอโดย
รัชญา นิ่มยี่สุ่น
ศึกษานิเทศก์ สพป.นครสวรรค์ เขต 2
เครือข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร
ปัญหาของพื้นที่คือโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล คุณครูขอย้ายออกนอกพื้นที่บ่อย ส่วนครูผู้ช่วยที่บรรจุเข้ามาเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบวาระก็ขอทำเรื่องย้ายพื้นที่ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นอุปสรรคในการขยายการขับเคลื่อนขยายเครือข่าย TSQP รุ่นที่ 2 เครือข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร ปี 2564 ในพื้น สพป.นครสวรรค์ เขต 2
โดยคุณรัชญา นิ่มยี่สุ่น ศึกษานิเทศก์ได้หยิบยกประเด็นมานำเสนอกระบวนการที่ปฏิบัติในพื้นที่ดังนี้
ขับเคลื่อนกิจกรรมด้วยเครือข่ายที่เริ่มต้นด้วยเพียง 3 โรงเรียน 1. โรงเรียนบ้านวังชุมพร 2. โรงเรียนวัดหนองตางู 3. โรงเรียนอนุบาลชุมตาบง โดยทีมโค้ชจากทางมหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้บริหารและครูแกนนำได้เข้ามาอบรม main course ของโครงการโรงเรียนเครือข่าย TSQP ที่ มรภ.นครสวรรค์ และพาครูไปศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาโรงเรียนทางเลือกต้นแบบของจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อศึกษารูปแบบของโรงเรียนต้นแบบที่ดำเนินงานภายใต้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ซึ่งมีความแตกต่างกับบริบทการดำเนินงานของ สพฐ. ทำให้มองเห็นปัญหาเรื่องความคล่องตัวในการจัดการ จึงเปลี่ยนเส้นทางการดูงานไปยังโรงเรียนที่มีบริบทใกล้เคียงกันคือที่โรงเรียนหนองกุลาที่จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งทำให้ผู้บริหารและครูแกนนำเห็นแนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทุกคนร่วมเดินทางการพัฒนาไปด้วยกัน
พอเริ่มดำเนินงานในช่วงเริ่มต้นหน้าที่สำคัญของศึกษานิเทศก์ คือนิเทศติดตามที่เป็น Coach ของทีมพื้นที่นครสวรรค์ ต้องเข้าถึงห้องเรียนเพื่อดูการจัดการเรียนการสอน ที่เริ่มต้นขึ้น และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งกิจกรรม onsite – online ไม่เว้นแม้แต่ช่วงโควิด-19 ด้วยกระบวนการดังนี้
☑️ กระบวนการจิตศึกษา
☑️ การเรียนรู้แบบ Active Learning
☑️ กระบวนการ Professional Learning Community (PLC) ของคุณครู
☑️ การทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR) กับนักเรียน
หลังจากนิเทศติดตามแล้วก็รายงานผลให้เครือข่ายได้รับทราบผ่านระบบออนไลน์ และพอหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้นก็เริ่มจัดกิจกรรม on-site เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนที่อยู่ในเครือข่าย ม.นเรศวร กับอีกพื้นที่ 5 จังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ และสร้างเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเองกับโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์ด้วยกิจกรรมที่เรียกว่า Brush up เกิดการขยายผลและเครือข่ายในจังหวัดที่ขยายออกไปมากขึ้น จากเดิม 3 โรงเรียนแกนนำ ขยายผลเป็น 27 โรงเรียน
รับชมบันทึกการถ่ายทอดสด
เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “โรงเรียนพัฒนาตนเอง : การจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์ของชีวิต เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ”
“การขับเคลื่อนขยายเครือข่าย TSQP” ฉบับเต็มได้ที่
การสนับสนุนและขยายผลโรงเรียนพัฒนาตนเอง
“โรงเรียนพัฒนาตนเองทั้งระบบกับการหนุนนําอย่างต่อเนื่องของหน่วยงานต้นสังกัดสู่ PHUKET EDUCATION SANDBOX”
การสนับสนุนและขยายผลโรงเรียนพัฒนาตนเอง
“โรงเรียนพัฒนาตนเองทั้งระบบกับการหนุนนําอย่างต่อเนื่องของหน่วยงานต้นสังกัดสู่ PHUKET EDUCATION SANDBOX”
นำเสนอโดย
ปัณณธร ละม้าย
ศึกษานิเทศก์ สพป. ภูเก็ต
เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
การนำเสนอของ ศน. ปัณณธร ละม้าย เริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า “ศึกษานิเทศก์นั้นเข้าไปมีส่วนร่วมในการนำ TSQP ไปสู่พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้อย่างไร” ศน. ได้เล่าถึงไทม์ไลน์การดำเนินงานเพื่อให้เห็นภาพเส้นทางการสนับสนุนโรงเรียนเพื่อการพัฒนาเชิงระบบในพื้นที่ สพป. ภูเก็ต
2556 – 2557
โครงการ Coaching and Mentoring การสนับสนุนช่วยเหลือจากทีมมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
2559 – 2560
โครงการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง (School Quality Improment Program: sQip)
โครงการโรงเรียนเสริมสร้างสุขภาวะ โดยการสนับสนุน จากมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
2563 – 2565
โครงการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบรุ่นที่ 2 TSQP
2566
พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโดยการขับเคลื่อนทั้งจังหวัดภูเก็ตภายใต้การนำของท่านณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงโดยมีเป้าหมายคือ “อยากพัฒนาผู้เรียน” แต่ความเท่าเทียมการศึกษานั้นไม่ได้เท่าเทียมกันอยู่ทุกโรงเรียนอยู่แล้ว ไม่ว่าขนาดไหนก็ตาม แต่ว่าโครงการ TSQP ของ กสศ. ได้เข้ามาเติมเต็มในจุดของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้โอกาสที่จะทำให้โรงเรียนมีคุณภาพเท่าเทียมกับโรงเรียนขนาดใหญ่หรือว่าโรงเรียนอื่นโดยจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งเป้าหมายไว้
🔰 กำหนดเป้าหมายโรงเรียน ทาง ศน. เข้ามาดูแลตั้งแต่จุดเริ่มต้น ดูความถนัดว่าแต่ละโรงเรียนมีความถนัดและมีทักษะด้านใด
▪ ดําเนินงานตามเป้าหมาย (School Goal)
▪ TSQP สู่ Area -based Education
▪ ส่งเสริมการพัฒนาครูและโรงเรียนทั้งระบบ
▪ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน กรรมการสถานศึกษา
▪ กระบวนการประเมินเชิงพัฒนา (DE)
🔰 พัฒนาครู ผู้บริหาร ด้วยกระบวนการ PLC ในเริ่มแรกโครงการคุณครูส่วนใหญ่ออกแบบการจัดการเรียนรู้ไม่ค่อยเป็น ศึกษานิเทศก์จึงเข้ามาจัดกระบวนการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ PLC / ศึกษาชั้นเรียน (LS) ให้ สะท้อนผลของแผนต่าง ๆ ตาม school goal ที่ตั้งเป้าหมายไว้
▪ เป็นผู้นําทางวิชาการ
▪ พัฒนาบริหารงานตามเป้าหมาย
▪ สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของครู
▪ Area Coach 8 กลุ่มเครือข่าย
▪ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community / การศึกษาชั้นเรียน Lesson Study
🔰 จัดระบบสารสนเทศ Q-INFO ที่มีตั้งแต่ระยะแรกเริ่มโครงการที่มีข้อมูลอยู่แล้ว นำมาเป็น Big Data ที่จะดำเนินการต่อ เพื่อออกแบบการจัดการเรียนการสอน กระบวนการช่วยเหลือนักเรียน
▪ ฐานข้อมูลผู้เรียน
▪ รายงานผลการเรียน
▪ ระบบดูแลช่วยเหลือ
🔰 พัฒนาการเรียนการสอน ในชั้นเรียน ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้สู่เป้าหมายคือผู้เรียน
▪ ใช้ PLC / การศึกษาชั้นเรียน Lesson Study (LS) พัฒนากระบวนการเรียนรู้
▪ เรียนแบบ Active Learning
▪ สังเกตการณ์ชั้นเรียน
▪ สะท้อนผล Reflection
▪ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
▪ คุณลักษณะอันพึงประสงค์
▪ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
🔰 สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน Network PLC ทำให้เกิดเครือข่ายโดยเฉพาะช่วงโควิด -19 ทำให้เกิดกระบวนการ Online Network PLC
▪ แบ่งสาย 5 สาย 24 โรงเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้
🔰 นิเทศทีมโค้ช มีการคิดตามอย่างสม่ำเสมอ
▪ การทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review AAR)/ Coaching & Mentoring
▪ กำกับติดตาม ส่งเสริมตามบริบท สรุป พัฒนาต่อยอด แลกเปลี่ยนเรียนรู้
ในตอนท้าย ศึกษานิเทศก์ ปัณณธร ละม้าย ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง Mindset ก่อนเข้าและหลังร่วมโครงการ TSQP ที่เป็นประเด็นน่าสนใจที่เพิ่มเติมจากเวทีการนำเสนอ กับทาง I AM KRU. เพิ่มเติมในกระบวนการทำงาน TSQP ปีแรกนั้น ศน.ปัณณธร ตอนนั้นยังเป็นครู เพิ่งเข้ามามีบทบาทในปีที่สอง รูปแบบการนิเทศแต่เติมก็เป็นไปตามนโยบายของ สพฐ. ที่กำหนดรูปแบบไว้เป็นการเก็บข้อมูลแล้วก็กลับไปรายงานผล แต่พอมี TSQP เปลี่ยน Mindset การทำงาน มีเครื่องมือที่ช่วยในการดำเนินงานคือ Developmental Evaluation (DE) และ Professional Learning Community (PLC) ที่ทำให้เห็นเป้าหมายและการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ
ทำให้ มรภ. ภูเก็ต ดึงมานิเทศติดตามมากขึ้น มีการเปลี่ยนรูปแบบการสะท้อนผล ไปสังเกตห้องเรียน Open Class ตามเครื่องมือการเก็บข้อมูลการสอนของครูตามแผนการสอนที่นั่งดูอยู่นั้นว่าเป็นการเรียนรู้เชิงรุกมากน้อยแค่ไหน เด็กมีส่วนร่วมคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ไม่เหมือนเดิมที่เคยแค่มาดู 60 นาทีก็กลับ แต่ TSQP ทำให้หลังจากนั้นก็มีกระบวนการ PLC และสะท้อนผลว่ากิจกรรมที่สอนมานั้นเป็นอย่างไร อะไรดีแล้ว อะไรที่ต้องเพิ่ม หรือสิ่งที่ตกหล่นขาดหายไป และพัฒนาต่อให้ดีขึ้นตรงไหนและอย่างไรบ้าง
อีกสิ่งที่น่าสนใจ กระบวนการ TSQP และการประเมิน ว.PA มีคอนเซปต์เหมือนกัน ไม่มีอะไรต่างกัน แค่ TSQP ไม่ได้นำมายื่นเป็นวิทยฐานะ แค่ครูสามารถแนวทางความรู้ที่ได้
ส่วนในหน่วยการเรียนรู้ของครูมีหลายหน่วยซึ่งครูสามารถนำความรู้ที่ได้จาก TSQP นำมาประยุกต์ใช้กับหน่วยหรือแผนที่ตัวเองถนัด
รับชมบันทึกการถ่ายทอดสด
เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “โรงเรียนพัฒนาตนเอง : การจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์ของชีวิต เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ”
โรงเรียนพัฒนาตนเองทั้งระบบกับการหนุนนําอย่างต่อเนื่องของหน่วยงานต้นสังกัด สู่ PHUKET EDUCATION SANDBOX”
ฉบับเต็มได้ที่
มาตรการสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการของโรงเรียน
“การใช้กระบวนการ DE เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของทีมวิชาการ
ในการติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนทั้งระบบ”
นำเสนอโดย
รวินันท์ พิมพ์พงษ์ อำนวยการโรงเรียนบ้านบึงมะลู จังหวัดศรีสะเกษ
เครือข่ายมูลนิธิสยามกัมมาจล
บริบทโรงเรียน อนุบาล 2 – ประถมศึกษาปีที่ 6 คณะครูและผู้อำนวยการ รวมทั้งสิ้น 14 คน และจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 268 คน นักเรียนส่วนใหญ่ใช้ภาษาถิ่น ไทย-อีสาน ไทย-ลาว และสัดส่วนไทย-เขมร มีถึง 80% จึงต้องพัฒนาทักษะภาษาไทยเรื่องการอ่านและการออกเสียง ผู้อำนวยการ รวินันท์ จึงสมัครเข้าร่วมโครงการโรงเรียนนวัตกรรมและเลือกใช้ นวัตกรรม Brain-based Learning (BBL) เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านออกเขียนได้โดยเริ่มใช้นวัตกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน
วิสัยทัศน์โรงเรียนบ้านบึงมะลู
นักเรียน โรงเรียนบ้ํานบึงมะลูมีความสามารถในการเรียนรู้ มีความสามารถอ่านและเขียนได้ ตามช่วงวัย มีทักษะการสื่อสาร และ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง โดยครูมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านการใช้ นวัตกรรม Brain Based Learning ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความหลากหลายของนักเรียน ผ่านการรู้จักและประเมินนักเรียนรายบุคคล นำไปสู่การวางแผน พัฒนานักเรียนร่วมกับ ผอ. ที่มีความเป็นผู้นำทางวิชาการ เป็นนักพัฒนาตนเองมีสัมพันธภาพที่ดีกับครู มีการกำกับนิเทศติดตาม และสามารถแบ่งบทบาทตามความถนัดโดยใช้วง PLC ในการพัฒนาครู ชุมชนและผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการศึกษาผ่านการมีส่วนร่วมในการสร้างการเรียนรู้ให้กับนักเรียน (ที่บ้านและโรงเรียน)และสามารถสะท้อนร่วมแลกเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อร่วมกันพัฒนานักเรียนได้
ภาพจาก Facebook โรงเรียนบ้านบึงมะลู
โรงเรียนได้เข้าโครงการ TSQP และได้รู้จักมูลนิธิสยามกัมมาจลทำให้รู้จักเครื่องมือที่ชื่อว่าการประเมินเชิงพัฒนา (Developmental Evaluation) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า DE
ความร่วมมือเพื่อกำหนดเป้าหมายการประเมินเชิงพัฒนาของทุกภาคส่วนก็ได้เริ่มขึ้น มาทำ DE ร่วมกันสะท้อนเพื่อให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นอยู่ ชัดขึ้น แล้วจะแก้ไขและพัฒนาต่อไปได้อย่างไร และก็ค้นพบ Red Zone ที่ต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนใน 3 เรื่อง เป้าหมายร่วมที่จะเดินหน้าต่อ เพื่อเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ภูเขาน้ำแข็งความซับซ้อนปัญหาเพื่อกำหนดเป้าหมายในการพัฒนานักเรียนนำมาตั้งประเด็นวิเคราะห์
- เด็กบางส่วนอ่านไม่ค่อยออก เขียนไม่ค่อยได้ (ตามช่วงวัย)
- เด็กเรียนรู้ช้า
- เด็กขาดความรับผิดชอบ
การทำ DE ทำให้เห็นปัญหาอย่างครอบคลุมว่าต้นไม้ของปัญหาที่เกิดขึ้นถึงขั้นแบบแผนพฤติกรรมเป็นอย่างไร และที่สำคัญทำให้เห็นต้นเหตุปัญหาที่ทำให้เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ นั้นเกี่ยวข้องทั้งผู้ปกครอง ตัวคุณครู ทางผู้อำนวยการก็มองเห็นปัญหาของตนเอง ทั้งเรื่องการออกแบบแผนการเรียนรู้เหมาะสมกับเด็กแล้วหรือยัง กระบวนการเรียนการสอนที่ไม่เป็นการเรียนรู้แบบ Active Learning
นอกจากนั้น DE ทำให้เห็น KRA พื้นที่ผลลัพธ์ที่สำคัญ (Key Result Areas) และ KPI ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (Key Performance Indicator) ทำให้เห็นปัญหาชัดขึ้น คมขึ้น และมองวิธีการแก้ไขปัญหาได้ชัดเจนขึ้น และทำ DE ที่โรงเรียนทำขึ้นเข้าสู่แผนการพัฒนาโรงเรียนประจำปี
แต่แผนการประเมินนั้นยังไม่ทำให้เห็นภาพปัญหาเพียงแค่ภาพรวม เช่น เด็กคนนี้อยู่ในเกณฑ์ดี เกณฑ์พอใช้ เกณฑ์ปรับปรุง แต่ไม่ชัดเจน พอดีทาง ผอ.รวินันท์ ได้รับโอกาสจากทางมูลนิธิสยามกัมมาจล ชวนเข้าร่วมใช้เครื่องมือการวัด การอ่านออกเขียนได้ จากแบบทดสอบวิชาภาษาไทยของ อาจารย์ไซหนับ เอสเอ ครูที่ดูแลเรื่องวิชาการได้เริ่มทดลองจากชั้นเรียนตนเองก่อนแล้วนำเข้าสู่ PLC ของโรงเรียน และที่สำคัญทางมูลนิธิสยามกัมมาจลได้ให้ทางโรงเรียนบ้านบึงมะลู และโรงเรียนในจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมพัฒนาเครื่องมือให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่โรงเรียนอีกด้วย และนำเป็นวาระแห่งชาติเพื่อทดสอบเด็กทั้งโรงเรียน
ดาวน์โหลดได้ที่นี่ เครื่องมือติดตามความก้าวหน้าของนักเรียนชุดแบบทดสอบวิชาภาษาไทย
7 หัวใจสำคัญ ในการขับเคลื่อน Effect Size โรงเรียนบ้านบึงมะลู จ.ศรีสะเกษ
- วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของนักเรียน
- ตั้งเป้าหมายร่วมทำแผนพัฒนาโรงเรียนประจำปีจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ด้วยเครื่องมือ Developmental Evaluation (DE)
• เด็กอ่านไม่ออก/เขียนไม่ได้
• เด็กขาดความรับผิดชอบ
• เด็กเรียนรู้ช้า
- วางแผนและทดสอบความก้าวหน้าวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้น ป.1-6 (Pre-test) และวิเคราะห์ผล
- หัวหน้าวิชาการ ชวน ผอ. และเพื่อนครูแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการทดสอบ (ES) ผ่านวง PLCเพื่อให้ครูปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ตอบโจทย์สถานการณ์ปัญหาจริงของนักเรียน ที่เป็นผลจากแบบทดสอบ
- ผอ. หัวหน้าวิชาการและคณะครูทั้งโรงเรียน นิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้ของครูและสะท้อนผลผ่านวง PLC
- ทดสอบความก้าวหน้าวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้น ป.1-6 (Post-test) และวิเคราะห์ผล
- ผู้อำนวยการ เป็นหัวหน้าวิชาการ และคณะครูทั้งโรงเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการทดสอบ
(ES) ผ่านวง PLC เพื่อให้ครูปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้และวางแผนการทดสอบความก้าวหน้าของนักเรียน ในปีการศึกษาต่อไป
บทบาททางวิชาการของทีมโรงเรียนบ้านบึงมะลู
1. ทีมวิชาการเห็นว่าการประเมินเป็นเรื่องสำคัญ ขับเคลื่อนวาระการประเมินทุกชั้นเรียน และครูทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม โดย ผอ.สนับสนุน ให้กำหนดเป็นปฏิทิน และแผนงานประจำทุกเทอม โดยมีการประเมิน Pre-test ต้นเทอม และPost-test กลางเทอม และปลายเทอม โดยมีแนวคิดในการขยายผลการประเมินวิชาภาษาไทย ไปใช้ในวิชาอื่น ๆ
2. เป็นเจ้าภาพในการจัดวง PLC และนิเทศชั้นเรียนเห็นความสำคัญของเป็นเจ้าภาพในการจัดวง PLC และนิเทศชั้นเรียนเพื่อสร้างการเรียนรู้ของครูทั้งโรงเรียน และหยิบยกผลการประเมินนักเรียน มาเป็นประเด็นในการพูดคุยใน PLC เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาจนเกิดการรับรู้กันทั้งโรงเรียน และระดมสมองในการแก้ปัญหา
3. ยอมรับผลตามสภาพจริง ครูวิชาการยอมรับผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนตามสภาพจริง ทำให้ครูทั้งโรงเรียน พร้อมที่จะเข้ามาช่วยเหลือ
4. จัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ และนำเข้าข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วใน
รูปแบบของกราฟ เพื่อให้สามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้งานได้ทั้งโรงเรียนโดย ผู้อำนวยการและครูทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา
5. มีระบบพัฒนาครูใหม่ มีระบบพัฒนาครูใหม่ ผ่านคู่ Buddy และวง PLC ทำให้ครูใหม่เห็นสถานการณ์ห้องเรียน เห็นนักเรียนที่ตนเองต้องไปดูแลชัดเจนเป็นรายบุคคล ง่ายต่อการเตรียมตัว และมีเป้าหมายในการทำงานชัดเจนมากขึ้น
ภาพจาก Facebook โรงเรียนบ้านบึงมะลู
รับชมบันทึกการถ่ายทอดสด
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “โรงเรียนพัฒนาตนเอง : การจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์ของชีวิต เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ”
“การใช้กระบวนการ DE เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของทีมวิชาการ ในการติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนทั้งระบบ”ฉบับเต็มได้ที่ https://fb.watch/lMSsfnJVfG/.
Writer
- Admin I AM KRU.