จังหวัดลำปาง จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัศรีสะเกษ
แนวทางการขับเคลื่อนขบวนการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQM) เพื่อเป้าหมายของสร้างความยั่งยืนในการดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยที่แต่ละจังหวัดสามารถนำเสนอต้นทุนในพื้นที่ และ Core Team ที่สำคัญของจังหวัดในด้านต่าง ๆ เพื่อเป้าหมายการทำงานระดับจังหวัดเกิดการบูรณาการกันในทุกภาคส่วน เป็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับจังหวัดโดยนำเสนอแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนขบวนการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQM) ที่มีแผนงานได้ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาคการศึกษา ภาคเอกชน ภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนการศึกษาเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ตามแผนการขับเคลื่อน 3 ปี โดยมี 3 จังหวัดร่วมนำเสนอประเด็นที่โดดเด่น และชี้ประเด็นสำคัญแผนการดำเนินงานของจังหวัดที่สอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ มีกลไกการจัดการพัฒนาโรงเรียน และพัฒนานักเรียนของตนเอง ตามหลักของกระจายอำนาจและมีอิสระในการบริหารจัดการ ทั้งการระดมทรัพยากรและจัดสรรงบประมาณเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์และผลลัพธ์ทำงานการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 และดีขึ้น ทั้งในมิติค่านิยม (Values) ทัศนคติและอุปนิสัย (Attitudes) ทักษะ (Skills) และความรู้ (Knowledge)
📌 จังหวัดลำปาง นำเสนอโดย ผศ.ดร.วิยดา เหล่มตระกูล คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
📌 จังหวัดศรีสะเกษ นำเสนอโดย อาจารย์เสนีย์ เรืองฤทธิ์ราวี ตัวแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
📌 จังหวัดสุรินทร์ นำเสนอโดย ดร.วราภรณ์ บุญเจียม รองศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์
ดำเนินรายการโดย
ดร.เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการฯ
รองศาสตราจารย์พิณสุดา สิริธรังศรี ผู้ทรงคุณวุฒิ
ดร.เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้กล่าวเริ่มต้นบนเวทีถึงเป้าหมายของการให้โอกาส และความเสมอภาคแก่เด็กและเยาวชนอย่างเท่าเทียมกัน การปฏิรูปการศึกษานั้นไม่ง่ายต้องใช้เวลาและต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน หลังจากที่ทำโครงการ TSQP มาแล้ว การทำงานต้องมีการขยับเขยื้อนเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานให้เข้มแข็งขึ้น สร้างการมีส่วนร่วมมากขึ้น ไม่ใช่การทำงานเป็นโปรเจกต์แล้วก็จบไปแต่ต้องเป็นการทำงานอย่างยั่งยืน โดยในข้อเสนอที่นำเสนอของแต่ละจังหวัดนั้นมีความแตกต่าง ความเข้มแข็งที่หลากหลาย โดยมีประเด็นหลัก ๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงานกับภาคส่วนต่างๆ มีสปอนเซอร์ใหญ่ผู้ประสานงานดูแลโครงการเป็น Partnership ที่เข้มแข็ง โดยมี Core Team ขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ (Area-based Education) โดยมีเป้าหมายการขับเคลื่อนในทุกโรงเรียนในเขตพื้นที่ (สพป./สพม.) หรือมากกว่าหนึ่งเขตพื้นที่การศึกษา โดยมีข้อเสนอที่มีประเด็นที่น่าสนใจ 3 จังหวัด ที่แตกต่างในบริบทของต้นทุนของจังหวัดและในแง่ของผู้ประสานงานดูแลโครงการ
รองศาสตราจารย์พิณสุดา กล่าวเสริมถึงความเข้มแข็งของโครงการ TSQM ประเด็นแรก เป็นตัวกลางเชื่อมโยงประสานให้จังหวัดทำงานเชิงบูรณาการกันมากขึ้นเป็นกลไกที่ดีมาก ประเด็นสอง เห็นความหลากหลายของเจ้าภาพหลักของจังหวัดของเสนอที่มีทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอุดมศึกษา จนถึงศึกษาธิการจังหวัด เป็นต้นแบบที่ดีของโครงการที่มีจุดร่วมที่น่าสนใจ
การหนุนเสริมโดย กสศ.
- ระบบสารสนเทศคุณภาพ (Q-info)
- กระบวนการประเมินเชิงพัฒนา (Developmetal Evaluation)
- กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนวิชาชีพ (PLC)
- เครื่องมือวัดผลการเรียนรู้
- งานมหกรรมพัฒนาระบบการศึกษา
- กลไกการประสานงานในระดับจังหวัด
📌 จังหวัดลำปาง
นำเสนอโดย ผศ.ดร.วิยดา เหล่มตระกูล คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ตัวแทนด้านวิชาการ ขับเคลื่อนด้านการบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน มาในนามของ “สมัชชาการศึกษานครลำปาง” หัวใจเชื่อมหลักของกลุ่มคนที่ทำงานขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาที่ไม่มีการแบ่งแยกหน่วยงาน เขตการศึกษา ภาคหน่วยงานเอกชน ประชาชน สามารถมีส่วนร่วมกับสมัชชาการศึกษานครลำปาง แต่ว่าสมัชชา ฯ ไม่ได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลจึงไม่สามารถรับทุนจากหน่วยงานอื่นได้ และด้วยความร่วมมือที่ดีระหว่างเครือข่ายจึงขอความอนุเคราะห์จากท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางเป็นหน่วยรับทุน และดำเนินงานร่วมกันเพื่อดำเนินงานตามจุดประสงค์โครงการ ใน 3 ด้าน
- ด้านการออกแบบกลไกการทำงาน
- การค้นหาโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย
- สร้างกลไกเชิงระบบที่จะระดมทรัพยากรจากภาคต่าง ๆ ได้
กลุ่มเป้าหมาย
- กลุ่มเป้าหมายในการขับเคลื่อนต้นทุนโรงเรียน TSQP 9 โรงเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
- ขยายสถานศึกษาขนาดเล็กและขนาดกลาง 246 ศูนย์/โรงเรียน
องค์กรภาคีเครือข่าย
- คณะทำงานระดับจังหวัด ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม หัวหน้า บุคลากรของภาคีเครือข่าย และภาคีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
- บุคลากรในหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม
กลุ่มรับผลประโยชน์ร่วม
- สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น และเด็กเยาวชนด้อยโอกาสได้รับการพัฒนา
- ผู้บริหาร ครู ศึกษานิเทศก์ และอาจารย์ได้รับการพัฒนายกระดับสมรรถนะ
- เครือข่ายผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วม
การดำเนินงานที่สอดคล้องกับผลผลิตตามกรอบการดำเนินงาน เริ่มต้นด้วยการ Mapping ข้อมูลทั้งหมดเพื่อทำเดินการ จัดการอบรมทำความเข้าใจโรงเรียน TSQM กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำเวทีสาธารณะเพื่อ Kick Off โครงการมีการทำ MOU ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน แบ่งออกเป็นภาคีเครือข่ายสำคัญ 3 ส่วน
- ภาคีที่สนับสนุนในเชิงนโยบาย โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานการดำเนินงาน กศจ. ภาคีที่สนับสนุนในเชิงนโยบาย ต้นสังกัด เหล่ากาชาด กศธ. อปท. อบจ. อบต. หน่วยงานต้นสังกัดของครู เพื่อการเข้าถึงและการรับรู้ TSQM
- ภาคีด้านวิชาการ มีการประสานงานอุดมศึกษา 8 แห่ง โรงเรียน TSQP เขตพื้นที่การศึกษา โดยมีทีม มรภ.ลำปาง เป็นทีมหลักในการประสานงาน
- ภาคีด้านทรัพยากร (ทุน) ที่สนับสนุนการศึกษา และคอนเนคชันระหว่างหน่วยงานเอกชนที่เห็นผลงานของสมัชชาจัดระดมทุนเพื่อสนับสนุนพัฒนาการศึกษา
จัดทำแผนการขับเคลื่อน 3 ปี ออกเป็น 3 ระยะ โดยใช้กระบวนการของ Developmental Education (DE) จัดทำ Action Plan เพื่อพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ การวิเคราะห์บริบท และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาโรงเรียน การเหนี่ยวนำโรงเรียนโดยใช้ข้อมูล (Data) เป็นฐานในการวิเคราะห์สภาพปัญหาการทำแนวทางขับเคลื่อนกลไกการทำงาน วางแผน การพัฒนาเครือข่าย แผนการจัดการความเสี่ยง และแนวทางการเชื่อมโยงผู้ปกครอง
รองศาสตราจารย์พิณสุดา กล่าวเสริมถึงจังหวัดลำปางมีต้นทุนที่สูงมาก การใช้ความร่วมมือที่เข้มแข็งความเป็นจังหวัดของตนเองมาขับเคลื่อนกลไกการศึกษา ที่จะเห็นได้จากผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการโดยใช้การคิดวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ ได้กล่าวเสริมในประเด็น จังหวัดลำปางมีต้นทุนที่สูง เกิดจากการเตรียมตัวมีการรักในจังหวัดของตัวเอง โดยใช้กลไกการศึกษามาขับเคลื่อนจังหวัด เกิดเป็นภาพการทำงานร่วมกันอย่างเด่นชัด ไม่ว่าท่านใดจะต้องลงมาทำหน้ารับไม้ส่งต่อความร่วมมือได้ดี สิ่งที่สำคัญนั้นลำปางมีข้อมูลพื้นฐาน มีการวิเคราะห์เชิงระบบ และมีจุดเด่นที่สามารถขยายต่อออกมาจาก TOR และสามารถพัฒนาจาก TOR ให้เพิ่มขึ้นได้เพียงแต่ต้องเพิ่มในประเด็นกลไกที่จะนำมาสู่ประเด็นการเปลี่ยนแปลง
📌จังหวัดสุรินทร์
นำเสนอโดย ดร.วราภรณ์ บุญเจียม รองศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์ เล่าถึงสุรินทร์ที่ทำงานร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
การดำเนินงานของสุรินทร์ที่ได้ดำเนินการอยู่ปัจจุบันเป็นการดำเนินงานปฏิบัติจริงในพื้นที่ โดยการขับเคลื่อนโดยมีที่ผู้อยู่เบื้องหลังสนับสนุนในภาคส่วน โดยแกนหลักศึกษาธิการจังหวัด และเชิญผู้มีส่วนร่วมที่รู้จริงเรื่องการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อวางแผนร่วมกันดำเนินงานต่อด้วยกันอย่างไร
ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ผู้บริหารต้องให้การสนับสนุน ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญของ ดร.วราภรณ์ ซึ่งก็ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี เพียงแต่หน้าที่ของ ศธ. จังหวัดนั้นดูแลเฉพาะโรงเรียนเอกชนจำนวน 10 โรง จะทำอย่างไรให้เดินหน้าไปพร้อมกัน จึงเรียนเชิญผู้อำนวยการเขตการศึกษาต่าง ๆ เข้าร่วม โดยมีศึกษานิเทศก์ 66 คน จาก 3 เขตประถมศึกษา 1 เขตมัธยมศึกษา โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 7 โรงเรียน โดยที่ทุกหน่วยงานที่กล่าวมาตกลงให้ความร่วมมือการขับเคลื่อนกันอย่างพร้อมเพรียง โดยสุรินทร์กําลังดําเนินการเป็นพื้นที่นวัตกรรมมี โรงเรียนสนับสนุน 350 โรงเรียน 99 โรงเรียนไปหนุนเสริม จังหวัดสุรินทร์มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่ กสศ. กําหนดและจังหวัดสุรินทร์จะต้องได้รับการขึ้นเป็นจังหวัดพื้นที่นวัตกรรม
ต้นทุนที่เข้มแข็งของจังหวัดสุรินทร์ปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการศึกษา
– 56 โรงเรียนเดิมที่เข้าร่วมโครงการ กสศ.
– 4 เครือข่ายร่วมพัฒนา
- มูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต
- เขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต 2
- ลำปลายมาศพัฒนา
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
– สพป. สุรินทร์ 2 ใช้ Q-info 100% จำนวน 218 โรงเรียน
– ผู้ทรงคุณวุฒิ / ผู้เชี่ยวชาญ ที่ช่วยเติมเต็มในส่วนที่ต้องพัฒนาต่อ
– อาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ ที่ทุกอำเภอหนุนเสริมเด็กที่ไม่ได้อยู่ในสังกัดโรงเรียน
การดำเนินงานที่เติมเต็มด้วยหลักคิด “SURIN444” นั้นประกอบด้วย
S: Schools Surin โรงเรียนในจังหวัดสุรินทร์
U: Unity ผู้เรียนที่เป็นเป้าหมายในการพัฒนา Core Team ต้องเข้าใจภาพทั้งหมดเพื่อขับเคลื่อนไปพร้อมกัน
R: Reflection การสะท้อนผลการทํางานร่วมกันเน้นการมีส่วนร่วมในคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดสุรินทร์
I: Information ระบบสารสนเทศในการพัฒนาโรงเรียน และ Q-info
N: Network การสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็ง
4: กลุ่มบุคคลในการพัฒนา
1) ผู้บริหารปรับเปลี่ยนการบริหาร
2) ศึกษานิเทศก์เปลี่ยนวิธีการนิเทศ
3) ครูปรับเปลี่ยนวิธีการสอน เป็น Active Learning
4) นักเรียนปรับเปลี่ยนการเรียนรู้
4: เครื่องมือสำคัญในการพัฒนา 4 ประเภท
1) Professional Learning Community (PLC)
2) ระบบการช่วยเหลือนักเรียน
3) Coaching กระบวนการชี้แนะการโค้ชชิ่งภายใน และโค้ชชิ่ง 3 ระดับ
- ระดับจังหวัด ผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์มหาวิทยาลัย
- ระดับต้นสังกัด ศึกษาธิการจังหวัด และเขตพื้นที่การศึกษา
- ระดับโรงเรียน พัฒนาครูแกนนำ
3) INFO ข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ที่ช่วยในการจัดการข้อมูลเช่นระบบ Q-info
4: ผู้สนับสนุน 4 กลุ่ม
1) ผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด 4 เขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
2) Smart Coaching Team ทีมที่ช่วยเสริมสร้างหนุนเสริมพลังการเรียนรู้ด้วยทีมที่เป็นเลิศ
3) บุคลากรในพื้นที่
4) เครือข่ายชุมชน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา เครือข่ายวิชาการ
ดร. เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ กล่าวเสริมในประเด็นเยาวชนในสุรินทร์ที่เป็นพื้นที่รับผิดชอบ ของ ศธจ. มีการดูแลการศึกษานอกระบบ และทั้งมองเห็นแนวทางการพัฒนาเด็กในสังกัดอื่น ๆ ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพเด็กให้เกิดความเสมอภาค เป็นพื้นที่ที่คิดว่าสำคัญมากในการพัฒนาขับเคลื่อนการเรียนรู้
📌 จังหวัดศรีสะเกษ
นำเสนอโดย นายเสนีย์ เรืองฤทธิ์ราวี ตัวแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
นำเสนอใน 3 ประเด็น
- ศรีสะเกษ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
เนื่องจากการศึกษาแบบเดิมไม่ตอบโจทย์คนยุคใหม่ ที่ต้องมีทักษะการเรียนรู้การคิด โดยมีความร่วมมือจากมูลนิธิสยามกัมมาจล สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย: TDRI และ TED เข้ามาร่วมคิดเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาปี 2561 (ก่อนที่จะมีประกาศอย่างเป็นทางการ)
จังหวัดศรีสะเกษสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียนได้อย่างไร
ศรีสะเกษเป็นจังหวัดขนาดใหญ่ที่มีประชากรประมาณ 1 ล้าน 4 แสนกว่าคน 5 เขตพื้นที่การศึกษา (ประถมศึกษา 4 เขต มัธยมศึกษา 1 เขต) เริ่มต้นการคิดเพื่อเป็นนวัตกรรมการศึกษาด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษแต่จะทำให้คนเชื่อได้อย่างไร จึงเริ่มต้นที่จะทำให้คนส่วนใหญ่เชื่อว่าสิ่งที่จะร่วมมือกันนั้นดีอย่างไร จึงคิดว่าภายใต้บริบทนี้ต้องสร้างรูปแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้คนเห็นก่อน ไม่ว่าจะเป็นระบบการศึกษาแบบองค์รวม โรงเรียนเปลี่ยนแปลงเชิงระบบแบบ (Whole School Approach) ลำปลายมาศพัฒนา เพาะพันธุ์ปัญญา Project-based Learning (PBL) Brain Based Learning (BBL) การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และกิจกรรมการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach) ของรองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ กระบวนการเหล่านี้อยู่ภายใต้การหนุนเสริมในด้านงบประมาณจากมูลนิธิสยามกัมมาจลเป็นกองกําลังทุนเป็นหัวใจหลัก ในการขับเคลื่อนการพัฒนา DE โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ คือการให้เด็กได้เก็บตวงความรู้ มีทักษะการเรียนรู้ นักเรียน คือผู้ที่เก่งในการเรียนรู้ตามพื้นฐาน และความสนใจพัฒนาการเรียนการสอนที่จะนำไปพัฒนานักเรียนในรูปแบบใหม่ โดยดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
- สร้างกลไกการขับเคลื่อนระดับจังหวัด โดยมูลนิธิสยามกัมมาจลผู้สนับสนุนที่ให้ความทั้งทุนและการจัดกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนเป็นคนเก่งที่จะเรียนรู้ จะเป็นทักษะที่จะติดตัวไปตลอดชีวิต ซึ่งไม่สามารถทำงานโดยลำพังได้ ต้องสร้างกลไกความร่วมมือในพื้นที่ โดยเริ่มจากผู้ว่าราชการจังหวัดให้เห็นถึงโดยเป้าหมายการพัฒนากำลังคนในจังหวัดให้มีศักยภาพที่แตกต่างโดยมีทักษะการเรียนรู้ มีสมรรถนะ จนเกิดเป็น Agenda 10 การพัฒนาพื้นที่การศึกษาสร้างกลไกการทำงานระดับจังหวัด และได้รับงบประมาณสนับสนุนปีละประมาณ 5-8 ล้านบาทเพื่อดำเนินการพัฒนาการศึกษาระดับจังหวัด
- การดำเนินงานในระดับจังหวัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด ยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ที่พัฒนาจนเป็นผู้นำทางการศึกษา โมเดลการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ และการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายการทำงาน ทำงานเชื่อมโยงหน่วยงานการศึกษาระดับจังหวัดมาร่วมกันทำงาน โดยที่ทาง อบจ. จัดสรรงบประมาณด้านการศึกษามากกว่าปกติ เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนมีทุนในการพัฒนาด้านวิชาการตามรูปแบบที่โรงเรียนมีความพร้อม และขยายการดำเนินงานออกไปโดยอิงรูปแบบการดำเนินงานโรงเรียน TSQP และเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็นหน่วยเลขาของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมที่มีหน้าที่โดยตรงตาม พรบ. พื้นที่นวัตกรรม และให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน TSQM โดยการต่อยอดการขับเคลื่อนหน่วยงานในเครือข่ายเดิมและสร้างความเข้มแข็งที่ต่อเนื่องกับเครือข่ายที่ดูแล
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ได้เติมเต็มตัวอย่างของพื้นที่ทั้ง 3 เห็นว่าโรงเรียนหลายโรงเรียนมีบริบทที่แตกต่างกัน นั้นสามารถพัฒนาเป็นโรงเรียนที่ดีได้ในรูปแบบที่ต่างกัน เป็นความพยายามผสมเกสรที่ไม่เป็นสาวกรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง และมีความหลากหลาย โดยโจทย์วันนี้เป็นเรื่องของการสร้างระบบที่เอื้อหนุนให้สามารถเกิดโรงเรียนที่มีคุณภาพในรูปแบบที่หลากหลาย ลำปางเป็นตัวอย่างของการรวมตัวในจุดเล็กเพื่อขยายเป็นจุดใหญ่ ส่วนของ ดร.วราภรณ์ รองศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์ที่แสดงฝีมือของ ศธ. จังหวัดที่หลอมรวมพลังทุกฝ่ายไม่เว้นแม้แต่เด็กนอกระบบ
รองศาสตราจารย์พิณสุดา สิริธรังศรี หัวหน้าทีมวิจัย ประเมิน และถอดบทเรียน โครงการ TSQP ได้แสดงความคิดเห็นถึงจุดเด่นของจังหวัดที่นำเสนอใน 2 ประเด็นสำคัญ
- ประเด็นที่ดีที่สุดของโครงการนี้ของโครงการในแง่เป็นตัวกลางในการประสานงานกับทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความเข้มแข็งภายในจังหวัด ทำให้จังหวัดทำงานเชิงบูรณาการกันมากขึ้น
- ต้นแบบโครงการที่เห็นความหลากหลายของผู้เสนอโครงการ ทั้งของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การศึกษาระดับพื้นฐาน ศึกษาธิการจังหวัด และระดับอุดมศึกษา
ข้อมูลประกอบการเขียน
การขับเคลื่อนวาระจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://www.mnre.go.th/sisaket/th/news/detail/116940
Writer
- Admin I AM KRU.