ครูกู้ใจ ทักษะอารมณ์และสังคม (Social Emotional Learning)

Share on

 13,532 

ห้องที่ 2 | ครูกู้ใจ ทักษะอารมณ์และสังคม (Social Emotional Learning) พื้นฐานสำคัญสำหรับเด็กทุกคน โดยมีครูเป็นหลักสำคัญที่จะช่วย ‘กู้ใจ’ และ ‘เติมเต็ม’ ทักษะเหล่านี้ให้เด็กได้

สรุปไอเดียสำคัญจาก ‘Solutions Café & Mini Workshop ห้องครูกู้ใจ เติมทักษะอารมณ์และสังคม’ ที่จัดขึ้นภายในงาน ‘Schools That matter ชุมชนร่วมขับเคลื่อน โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ ซึ่งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และภาคีเครือข่ายร่วมกันจัดขึ้นเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนพัฒนาตนเอง (Teacher and School Quality Program : TSQP) ไปสู่ขบวนการขับเคลื่อนโรงเรียนพัฒนาตนเอง TSQM (Teacher and School Quality Movement) ณ อาคารอิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2567

โดยในห้อง Solutions Café & Mini Workshop – ครูกู้ใจ เติมทักษะอารมณ์และสังคม ชวนทุกคนมาฟังไอเดียจาก 2 โรงเรียน ที่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ‘ใจฟู’ ไปด้วยกัน

1️⃣ โรงเรียนอนุบาลอิสลามสงขลา จ.สงขลา

เส้นทางแห่งความสำเร็จของโรงเรียน

  1. การตั้ง School Goals ที่เป็นแผนกลยุทธ์ระยะสั้นทำให้สามารถประเมินได้เป็นเทอมต่อเทอม ใช้กระบวนการ PLC ที่เข้มแข็ง ทุกระดับสายชั้นและสม่ำเสมอ 
  1. การสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ที่คุณครูเห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเห็นโดยเฉพาะด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ กว่าพูด กล้าถาม ที่เห็นได้ชัดเจนกว่าการเรียนการสอนแบบเดิม (Passive Learning) ที่ยัดเยียดความรู้ให้เด็กผ่านหน้ากระดานไม่สร้างทักษะการเรียนรู้
  2. แก้ปัญหาโดยใช้ความเข้าใจ ส่งพลังบวก มี Growth Mindset ที่ดี และเสริมสร้างให้เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง 
  3. ครูเปลี่ยนเด็กเปลี่ยน หนึ่งในวิธีการสอนที่ดีคือการปฏิบัติครูต้องเป็นตัวอย่างให้ที่ดีให้กับเด็กนักเรียน โดยเฉพาะการสอนเรื่องพฤติกรรม สอนให้เด็กมีพฤติกรรมแบบไหนครูต้องมีพฤติกรรมแบบนั้น 

สร้างคุณค่าและความภูมิใจ

การแก้ไขด้วยความรักส่งผลกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเมื่อครูมาร่วมกู้ใจร่วมกัน ปัญหาการกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นลดลง เพราะครูใส่ใจช่วยแก้ปัญหาเด็ก ๆ อย่างใกล้ชิด เด็กเรียนรู้การยอมรับผู้อื่น เด็กที่ไม่กล้าเข้าสังคมลูกเพื่อนล้อเลียนสามารถเป็นเพื่อนเล่นกัน และเด็กมีความมั่นใจในคุณค่าของตนเองและผู้อื่น 

2️⃣ โรงเรียนชุมชนบ้านบางเสร่ จ.ชลบุรี

ความสำเร็จของกระบวนกการเติมเต็มทักษะทางอารมณ์ให้กับนักเรียนบ้านบางเสร่ โรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ติดริมทะเล ที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการประมง นักเรียนส่วนใหญ่เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย ‘ความท้าทายของครูที่นี่คือ นักเรียนเสี่ยงออกนอกระบบ เพราะต้องไปทำงานช่วยเหลือครอบครัว’ ครูจะชุบชูใจนักเรียนเท่าไหร่ หากผู้ปกครองไม่ได้มองเห็นความสำคัญของการศึกษา และตัวนักเรียนให้ความสำคัญกับการหารายได้ แต่โรงเรียนบ้านบางเสร่ สามารถดึงให้นักเรียนกลับเข้าสู่ระบบการเรียนได้อย่างไร เป็นคำถามที่น่าสนใจที่มาร่วมแลกเปลี่ยนในโอกาสนี้ 

ประเมินความเสี่ยง 

การแก้ปัญหาที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องอิงจากข้อมูลเป็นสำคัญ ระบบ Q-Info จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ รร.บ้านบางเสร่ นำมาใช้เป็นฐานเพื่อดูสถิตินักเรียนในด้านต่าง ๆ ที่มีผู้บริหารคอยมอนิเตอร์ข้อมูล แล้วให้ครูประจำชั้นที่ดูแลนักเรียนไปดำเนินการแก้ไขปัญหา 

แท็คทีม ผู้บริหาร ครูประจำชั้น ผู้ปกครอง 

การแก้ปัญหาเริ่มจากการปรับกิจกรรมในโรงเรียน สร้างความเข้าใจให้เห็นว่า ‘การเรียนนั้น สำคัญพอ ๆ กับการทำงาน’ ประเด็นนี้ถูกเชื่อมโยงเข้ากับการเรียนรู้ ที่ต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับนักเรียนและครอบครัว เป็นการเรียนที่เน้นการเรียนเพื่อพัฒนาอาชีพ

ค้นหาจุดเด่นและจุดแข็งของผู้เรียน

ความร่วมมือของครูประจำชั้นและเพื่อน ๆ ในห้องที่ต้องร่วมมือกันเป็นส่วนหนึ่งที่จะดึงเพื่อนให้กลับเข้ามาเรียน โดยให้ตัวเด็กมองเห็นทักษะและความสามารถของตัวเอง  เพื่อให้เด็กได้ฝึกฝนและทักษะที่ซ่อนอยู่สร้างความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าของการพัฒนาตนเอง ทั้งศิลปะ วิชาการ การกีฬา หรือทักษะที่เป็นจุดแข็งที่ซ่อนอยู่ในตัวเด็ก 

เปลี่ยนครูเป็นโค้ช และบูรณาการ

อัปเลเวลครูจากนักบรรยายให้กลายเป็นโค้ช ที่ออกแบบการเรียนรู้และการบูรณาการรายวิชาต่าง ๆ เป็นโค้ชที่จะแนะนำเสริม skill ที่นอกจากเนื้อหาวิชาการให้กับเด็ก สร้างความสนุกในการเรียน และครูใช้ PLC เป็นสำคัญ  

สิ่งที่สังเกตเห็นจากการแก้ปัญหาของทั้งสองโรงเรียนอยู่บนพื้นฐานของความรัก ความเข้าใจ และมองเห็นว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กมีสังคม นำทักษะวิชาไปประกอบอาชีพ และอีกประเด็นคือการใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในมือในที่นี้คือ Q-Info ตัวบ่งชี้พฤติกรรมต่าง ๆ ของนักเรียน ทั้งการขาด ลา มา สาย สุขภาพ ผลการเรียน ที่ข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญและสามารถนำมาใช้ช่วยแก้ปัญหาของทั้งสองโรงเรียนได้ผลจริง


ด้วยเนื้อหาสาระที่ทั้งเข้มข้นและมีประโยชน์ขนาดนี้ วันนี้ กสศ. จึงขอสรุปใจความสำคัญจากวงคุยของเหล่าคุณครูมาให้ทุกคนได้ร่วมเรียนรู้และดูไอเดียกันแบบเห็นภาพง่ายๆ ไปพร้อมกันในรูปแบบ Visual note 

รับชม Solutions Café & Mini Workshop – ครูกู้ใจ เติมทักษะอารมณ์และสังคม : https://fb.watch/rxOeZSPw_g/

รวม Solution จากเวที 

Schools That Matter ชุมชนร่วมขับเคลื่อนพัฒนาตนเอง 

Solutions Cafe & Mini Workshop

Schools That Matter ชุมชนร่วมขับเคลื่อนพัฒนาตนเอง – Solutions Cafe & Mini Workshop

สรุปไอเดียสำคัญจาก Solutions Café & Mini Workshop  5 ห้อง 5 วง ล้อมวงแลกเปลี่ยนเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนพัฒนาตนเอง (Teacher and School Quality Program : TSQP) ที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และภาคีเครือข่ายร่วมกันจัดขึ้นภายในงาน ‘Schools That Matter ชุมชนร่วมขับเคลื่อน โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ ณ อาคารอิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2567

โดยทั้ง 5 ห้อง ประกอบไปด้วย

1️⃣ ห้องเรียนที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  https://fb.watch/rxO7pHosrF/ 

2️⃣ Super Connection นักประสานสิบทิศ  https://fb.watch/rxOb4Dmklz/ 

3️⃣ ครูกู้ใจ เติมทักษะอารมณ์และสังคม https://fb.watch/rxOeZSPw_g/ 

4️⃣ Anywhere Anytime ห้องเรียนยืดหยุ่น ตอบโจทย์ชีวิต https://fb.watch/rxOispCAyA/ 

5️⃣ อ่านออก เขียนได้ ฐานสำคัญสร้างนักเรียนรู้ตลอดชีวิต  https://fb.watch/rxOmmVHbrW/ 

 13,533 

Writer

5 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า