“ไม่มีเด็กคนไหนพัฒนาไม่ได้
มีแต่เราต้องหาว่าวิธีพัฒนาเด็กแต่ละคน
ที่เราใช้ถูกต้องแล้วหรือยัง”
โดย ในห้อง Solutions Café & Mini Workshop “ห้องเรียนที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ชวนทุกคนมาร่วมฟังไอเดียจาก 3 โรงเรียน ได้แก่
1️⃣ โรงเรียนวัดหนองโรง จ.นครสวรรค์
2️⃣ โรงเรียนอนุบาลโกรกพระ (ประชาชนูทิศ) จ.นครสวรรค์
3️⃣ โรงเรียนบ้านอีมาดอีทราย จ.อุทัยธานี
ห้องเรียนที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังแต่ละโรงเรียนแก้ไขปัญหาอย่างไร
⭐ในห้อง Solutions Café & Mini Workshop “ห้องเรียนที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ชวนทุกคนมาร่วมฟังไอเดียจาก 3 โรงเรียน ได้แก่
.
1️⃣โรงเรียนวัดหนองโรง จ.นครสวรรค์
ผู้บริหารเป็นแกนนำขับเคลื่อนโดยนำนวัตกรรมจิตศึกษาจาก ม.นเรศวร ปัญหาภาวะถดถอยทางการเขียนการอ่าน พื้นฐานสำคัญที่จะไปเรียนรู้ในทุกสาระวิชา
ปัญหา : นักเรียนมีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้จากช่วงโควิด อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
School Goals : ‘เด็กกล้าแสดงความคิดเห็น ครูกระบวนการเรียนรู้ มุ่งสู่โรงเรียนคุณภาพ‘ ผ่านกิจกรรมขับเคลื่อนทั้งระบบโรงเรียน สร้างความเชื่อมั่นและต้องได้ใจของคุณครูผู้ปกครองผ่านการมีส่วนร่วม ด้วยโมเดล ‘ห้าร้อยโมเดล’ และพูดคุยแลกเปลี่ยนผ่านวง PLC
ขั้นแรกเริ่มดำเนินการสำรวจความสามารถนักเรียนในทุกระดับชั้น เมื่อคัดกรองแล้วก็พบว่าปัญหาเด็กเรื่องการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 1) อ่านได้ 2) พออ่านได้ 3) อ่านไม่ได้ จึงคิดเป็นโมเดลที่ให้นักเรียนได้ช่วยเหลือกัน ได้ฝึกทักษะจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่น และทบทวนความรู้เดิมของตนเองผ่านการสอนผู้อื่น
โมเดลแก้ปัญหา : ‘เพื่อนคู่คิด จิตอาสา’ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยกระบวนการ 5 รู้ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ผ่านการออกแบบเครื่องมือเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้ตรงกับความสามารถของนักเรียนร่วมกัน โดยใช้ระยะเวลาตลอด 1 ปีการศึกษา ระหว่างทางเด็ก ๆ ก็มีไม่อยากทำกิจกรรมเพื่อนคู่คิดต่อ ครูมีหน้าที่สร้างแรงบันดาลใจว่าเขาได้ทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่ คือการทำให้ผู้อื่นอ่านออกเขียนได้ มีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น : เด็กเกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีม มีทักษะการเข้าสังคมและจิตอาสาเพิ่มขึ้น นักเรียนที่อ่อนในทักษะการเขียนการอ่านมีพัฒนาการที่ดีขึ้นเป็นลำดับ
2️⃣โรงเรียนอนุบาลโกรกพระ (ประชาชนูทิศ) จ.นครสวรรค์
โรงเรียนอนุบาลโกรกพระ (ประชาชนูทิศ) เข้าร่วมโครงการ TSQP โดยมีมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต เป็นทีมโค้ชที่คอยสนับสนุนโรงเรียนและให้คำแนะนำด้านนวัตกรรมต่าง ๆ
ปัญหา : เด็กที่โรงเรียนมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disorder) ทั้งปัญหาการอ่าน การทำงานร่วมกับผู้อื่น
School Goals : 1) ผลสำฤทธิ์ของผู้เรียนสูงขึ้น 2) นักเรียนมีสมรรถนะแห่งศตวรรษที่ 21 3) มีคุณธรรมจริยธรรม
โมเดลแก้ปัญหา : พร้อมสู้โมเดล 1) รุก ใช้ Q-info คัดกรองติดตามนักเรียน 2) รับ ออกแบบการเรียนรู้รายบุคคล 3) กระชับ ผู้อำนวยการติดตามผลการทำงานของครู ผ่านรายงานของ Q-Info เพื่อดูการผลการทำงานและความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที 4) ตรึงผล ใช้กระบวนการ PLC แลกเปลี่ยนสรุปประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และนำมาต่อยอด สรุปผลและขยายผล เพื่อพัฒนาต่อไป
ครูพร้อมโมเดล : ครูใช้ระบบ Q-Info ที่มีฟังก์ชัน Attendance ที่สามารถตรวจสอบการเข้าเรียน ข้อมูลนักเรียนรายบุคคล ครูใช้การเยี่ยมบ้านเพื่อเปิดประตูใจ พบปะผู้ปกครองและทำความเข้าใจสถานะครอบครัวและพื้นเพของเด็ก ๆ ในโรงเรียน ทำให้สามารถจัดการเรียนรู้แบบลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ และแนวทางการพัฒนาเด็กรายบุคคลได้ พร้อมกับร่วมมือการแก้ไขปัญหาร่วมกับผู้นำชุมชน
ใช้นวัตกรรม Community Innovation Project (CIP) ของมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการเขียนแผนการสอน และสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกัน เพื่อสร้างให้พื้นที่ในชุมชนเป็นห้องเรียนที่จะสร้างการเรียนที่ยั่งยืน เกิดเป็นนิเวศการเรียนรู้ของชุมชน
โดยผ่านขั้นตอนดังนี้
1) การประเมินทักษะผู้เรียนก่อนว่ามีความใกล้เคียงแตกต่างกันอย่างไร
2) พาผู้เรียนลงพื้นที่การเรียนรู้ในชุมชน
3) ครูทุกคนจับมือร่วมกันเขียนแผนการสอน และบูรณาการวิชาร่วมกัน
4) ลงมือปฏิบัติเรียนรู้จริงในชุมชน
5) ประเมินทักษะตัวเอง ว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง
6) เน้น ย้ำ ซ้ำ ทวน ชวนคิดต่อยอด
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น : นักเรียนที่เกือบหลุดจากระบบการศึกษาสามารถกลับเข้ามาเรียน นักเรียนมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น มีความภาคภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) แม้ไม่ได้เก่งด้านวิชาการเด็ก ๆ ก็สามารถค้นหาจุดเด่น มีความมั่นใจในตนเอง (Self-confidence)
3️⃣ โรงเรียนบ้านอีมาดอีทราย จ.อุทัยธานี
โรงเรียนขยายโอกาสที่เข้าร่วมโครงการ TSQP เครือข่าย มรภ.กาญจนบุรี โดยนำนวัตกรรม ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เรียนรวมชั้น มาช่วยแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
ปัญหา : โรงเรียนอยู่ในท้องถิ่นที่มีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ทำให้การอ่านการเขียนสื่อสารภาษาไทยไม่คล่องแคล่ว
School Goal : นำ 5 กลยุทธ์ มาเป็นเป้าหมาย 1) บริหารพัฒนาครู 2) ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม 4) มีทักษะอาชีพและทักษะชีวิต 5) การบริหารจัดการโรงเรียน นำมาสู่แผนการปฏิบัติการและแผนการพัฒนา
โมเดลแก้ปัญหา : ‘ห้องเรียนอาสา กะเหรี่ยงโมเดล’ ครูเจ้าของพื้นที่ที่เข้าไปเรียนในเมืองมาสอนเสริมทักษะเด็ก โดยใช้หลักสูตรของครูก้อย ในดวงตา ปทุมสูติ นักวิชาการจากศูนย์เรียนรู้ทุ่งสักอาศรม ที่ออกแบบพัฒนากระบวนการสอน 4 ขั้น ที่จะช่วยพัฒนาทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกัน
- แจกลูกสะกดคำ (ผันวรรณยุกต์)
- ฝึกอ่านตามครู
- ฝึกหัดคัดลายมือ
- เขียนตามคำบอก
ความร่วมมือในพื้นที่ : ด้วยเป็นโรงเรียนขนาดเล็กและมีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพื้นที่จึงเปิดโอกาสให้จากน้อง ๆ เข้ามาเป็นครูอาสาช่วยสอนนักเรียนในโรงเรียนอีกทาง
ระบบช่วยเหลือนักเรียน : มีการเยี่ยมบ้านเพื่อดูสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียนและพบปะผู้ปกครอง และเด็กคนไหนที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพจิตก็นำไปพบนักจิตวิทยาเพื่อแก้ไขปัญหา
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น : ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ดีขึ้น
โดยสามารถรับชมวงจับเข้าคุย Solutions Café & Mini Workshop – ห้องเรียนที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แบบเต็มอิ่มได้ที่ : https://fb.watch/rxO7pHosrF/
รวม Solution จากเวที
Schools That Matter ชุมชนร่วมขับเคลื่อนพัฒนาตนเอง
Solutions Cafe & Mini Workshop
สรุปไอเดียสำคัญจาก Solutions Café & Mini Workshop 5 ห้อง 5 วง ล้อมวงแลกเปลี่ยนเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนพัฒนาตนเอง (Teacher and School Quality Program : TSQP) ที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และภาคีเครือข่ายร่วมกันจัดขึ้นภายในงาน ‘Schools That Matter ชุมชนร่วมขับเคลื่อน โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ ณ อาคารอิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2567
โดยทั้ง 5 ห้อง ประกอบไปด้วย
1️⃣ ห้องเรียนที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง https://fb.watch/rxO7pHosrF/
2️⃣ Super Connection นักประสานสิบทิศ https://fb.watch/rxOb4Dmklz/
3️⃣ ครูกู้ใจ เติมทักษะอารมณ์และสังคม https://fb.watch/rxOeZSPw_g/
4️⃣ Anywhere Anytime ห้องเรียนยืดหยุ่น ตอบโจทย์ชีวิต https://fb.watch/rxOispCAyA/
5️⃣ อ่านออก เขียนได้ ฐานสำคัญสร้างนักเรียนรู้ตลอดชีวิต https://fb.watch/rxOmmVHbrW/
Writer
- Admin I AM KRU.