เข้าใจ’การกระทำผิด’บนความเปราะบางของมนุษย์-The Last of Us (2023)

บทเรียน'ศีลธรรม'ที่ไม่อาจสอนจบในห้องเรียน

Share on

 1,226 

“ผมเป็นคนเลว เพราะผมทำในสิ่งที่คนเลวทำ”

The Last of Us (2023) เป็นเรื่องราวในปี 2023 หลังจากที่โลกได้ถูกทำลายลง จากการแพร่เชื้อราที่เปลี่ยนมนุษย์ให้กลายเป็นสัตว์ประหลาดคลั่ง

‘โจลเอล’ ชายนักขนของเถื่อนได้รับการว่าจ้างให้นำ ‘เอลลี่’ เด็กสาวอายุ 19 ปี ไปส่งให้กับกลุ่มนักปฏิวัติ ‘ไฟเออร์ฟลาย’ ผู้เชื่อว่าเอลลี่เป็นกุญแจสำคัญในการช่วยเหลือมนุษยชาติ และทวงคืนโลกของพวกเขาคืนมา เกิดเป็นการเดินทางของคนต่างวัยทั้ง ที่มีทั้งมิตรภาพ ความหวัง และความสิ้นหวัง สามารถรับชมซีรีส์ The Last of Us (2023) แบบสตรีมมิ่งได้ทาง HBO GO

The Last of Us เป็นซีรีส์ที่ตีความ ‘มนุษย์’ ได้ถึงแก่น ในหลายครั้งตัวละครเลือกทำสิ่งที่ ‘ผิดศีลธรรม’ เพราะความจำเป็นในการเอาตัวรอดในโลกที่เต็มไปด้วยอันตราย ซึ่งสร้างมิติให้กับเรื่องราวใน ‘โลกหลังหายนะ’ (Post Apocalyptic) ได้เป็นอย่างดี และจุดนี้ได้สร้างคำถามขึ้นมาว่าหากเป็นเราที่อยู่ในสถานการณ์นั้น เราจะเลือกทำอย่างไร?

ยกตัวอย่าง การที่เราโดนคนอื่นเอาเปรียบ เช่น การแซงคิวในขณะที่กำลังต่อเเถว เราก็จะมองว่าคนที่มาเเซงคิวเป็นคนเห็นแก่ตัว แต่ถ้าหากเป็นตัวเราเองที่เป็นคนเเซงคิว เพราะเรามีเหตุจำเป็นหรือเวลาที่จำกัดทำให้ตัดสินใจแซงคิว บางคนอาจจะกล่าวโทษตัวเองต่อน้อยลงกว่าการกล่าวโทษคนอื่น เป็นเพราะเข้าใจตัวเองและเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ ‘จำเป็นต้องทำ’ เพื่อให้เราใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นเกิดเป็นความชอบธรรมในการกระทำสิ่งผิดขึ้น ทั้งที่ก็อาจจะมีตัวเลือกที่ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นอยู่ 

แน่นอนว่าการกระทำที่ผิดศีลธรรมหรือผิดกฏหมายเป็นสิ่งที่แย่และต้องถูกลงโทษเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และผู้กระทำผิดย่อมสมควรได้รับการลงโทษเป็นเรื่องที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว แต่การที่โจมตีผู้กระทำผิดเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้พิจารณาบริบทโดยรอบ ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว สภาพแวดล้อม สังคม ที่ขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังการตัดสินใจกระทำผิด อาจทำให้เรามองข้ามปัญหาใหญ่ไป เป็นเรื่องที่ง่ายหากเราจะตั้งเป้าโจมตีแค่ผู้กระทำผิด เพราะเราอาจจะไม่มีพลังหรืออำนาจมากพอที่จะแก้ไขปัญหาในภาพรวมของสังคม แต่อย่างน้อยที่สุดเราควรพยายามทำความเข้าใจก็อาจช่วยให้เรามองเห็นสาเหตุของปัญหาและหลีกเลี่ยงไม่ให้การกระทำซ้ำกับคนใกล้ตัวหรือเเม้แต่ตัวของเราเอง

ในโลกปัจจุบันที่ศิลธรรมถูกกำหนดโดยศาสนา จารีตประเพณี กำลังลดลงไปเรื่อย ๆ เพราะทุกคนก็ต่างมีชุดความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาหักล้างกับชุดความคิดเดิม ทำให้การอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างยากขึ้นไปทุกขณะ ดังนั้น Soft Skills จึงเป็นทักษะสำคัญที่ต้องมีติดตัว เพื่อควบคุมอารมณ์และแสดงออกได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ  และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้มากขึ้น หรือการใช้ทักษะการเข้าอกเข้าใจผู้อื่น  Empathy การคิดเชิงวิพากษ์ Citical Thinking   ช่วยให้เราไตร่ตรองและคิดอย่างรอบคอบมากขึ้น ไม่คล้อยตามก่อนที่จะรู้ข้อเท็จจริง และอยู่ร่วมกับคนในสังคมบนพื้นฐานที่แตกต่างกันได้

ห้องเรียนเปรียบเป็นการจำลองสังคม

นักเรียนได้มีประสบการณ์การใช้ชีวิตในสังคมจริง การที่นักเรียนกระทำผิด ย่อมต้องมีกฏกติกาหรือ ‘ค่านิยมทางศีลธรรม’ มาตัดสินเพื่อให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้ แต่เราต้องเข้าใจว่าทั้งนักเรียนและครูก็ต่างเข้มแข็งไม่เท่ากัน วิธีรับมือกับปัญหาก็ต่างกัน อย่ารีบตัดสินว่าใครเป็น ‘คนดี’ หรือ ‘คนเลว’ โดยไม่พยายามทำความเข้าใจก่อน เพราะทุกการทำมีเหตุผลในตัวของมันเองอยู่ 

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง:

https://thegrowthmaster.com/growth-mindset/softskills-for-digital-era

 1,227 

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า