เปลี่ยนทุกวิกฤตเป็นโอกาส หลักการบริหารในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ของ ผอ. อาภรณ์ อ่อนคง โรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต

Share on

 350 

เปลี่ยนทุกวิกฤตเป็นโอกาส

ไม่มีโรงเรียนใดที่ไม่เผชิญปัญหาโควิด – 19  แต่โรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิตใช้สถานการณ์นี้เปลี่ยนมุมมองโควิดในแง่บวก เป็นตัวเร่งให้เกิดการจัดการเรียนรู้ เปลี่ยนมายด์เซตและวิธีการทำงานสอนให้เกิดประสิทธิภาพ ด้วยวิสัยทัศน์โรงเรียนเป็นองค์กรคุณภาพ ครูมีการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนเป็นคนดี มีทักษะชีวิต กล้าคิดกล้าแสดงออกและมีความสุข

ไม่มีโรงเรียนใดที่ไม่เผชิญปัญหาโควิด – 19  แต่โรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิตใช้สถานการณ์นี้เปลี่ยนมุมมองโควิดในแง่บวก เป็นตัวเร่งให้เกิดการจัดการเรียนรู้ เปลี่ยนมายด์เซตและวิธีการทำงานสอนให้เกิดประสิทธิภาพ ด้วยวิสัยทัศน์โรงเรียนเป็นองค์กรคุณภาพ ครูมีการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนเป็นคนดี มีทักษะชีวิต กล้าคิดกล้าแสดงออกและมีความสุข 

ย้อนกลับไปช่วงแรกที่ย้ายมาโรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต ช่วงนั้นครูในโรงเรียนมีความเห็นอยากจะออกจากโครงการ TSQP พอเข้าภาคเรียนที่ 2 ของปี 2563 โรงเรียนไม่สามารถดำเนินการตาม 6 มาตรการได้เลย แต่ ผอ.อาภรณ์ ขอโอกาสศึกษาโครงการนี้ก่อนโดยให้ครูในโรงเรียนช่วยดำเนินการให้ลุล่วง เมื่อมาศึกษาก็พบมาตรการที่ ผอ.อาภรณ์ สนใจคือแผนกลยุทธ์ระยะสั้น พอสิ้นปีการศึกษา 2563 ก็ตัดสินใจดำเนินโครงการ TSQP ต่อเนื่อง แล้วใช้เวลาพูดคุยกับครูเพื่อชี้ให้เห็นประโยชน์ที่โรงเรียนเข้าร่วมโครงการ

พอปีการศึกษา 2564 ปีที่โควิด-19 การระบาดอย่างรุนแรงมากขึ้นจนไม่สามารถเปิดการเรียนการสอนได้ตามปกติ ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ทำความเข้าใจกับครูมาวิเคราะห์สถานการณ์ เริ่มต้นด้วย SWOT Analytic หาจุดแข็งจุดอ่อน จนได้กระบวนการ Blended หรือวิธีผสมผสาน

ข้อได้เปรียบของโรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิตนั้นมีรายได้ของสถานศึกษาเป็นเงินกองหนุนสำคัญที่จะดำเนินการ สิ่งแรกที่ต้องทำ คือการพัฒนาครูในช่วงปิดเทอม เพื่อเตรียมการเรียนการสอนออนไลน์ให้ได้ตามตารางเรียนปกติให้ได้ ตั้งเป้าเทียบเท่ากับโรงเรียนดังในจังหวัด โดยวิธีการสอนในกลุ่มกันไลน์ ในทุกช่วงระดับชั้น เมื่อเปิดการเรียนออนไลน์ขึ้นตามแผน ปรากฏว่าเด็กไม่เข้าเรียน จากสารพันปัญหา ไม่มีอุปกรณ์ ไม่มีสัญญาณ ไม่มีผู้ปกครองดูแล และปัญหาที่สำคัญนักเรียนเริ่มติดเชื้อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมากขึ้น โรงเรียนก็ต้องหันมาดูแลความเป็นอยู่นักเรียนในช่วงโควิดด้วยการจัดถุงยังชีพให้ โดยใช้ต้นทุนที่โรงเรียนมีอยู่เช่น ไข่ ที่ผลิตเองได้

การเรียนการสอนออนไลน์เต็มตารางเรียนพร้อมประเมินสถานการณ์ คณะกรรมการสถานศึกษามองเห็นปัญหาที่เกิดจากการเรียนออนไลน์ที่อิงตารางเรียนจัดเต็มตามปกติไม่ช่วยให้เด็กนักเรียนเกิดการเรียนรู้

ถึงเวลาที่ครูต้องปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน 

จากการเรียนเต็มวันเหลือเพียงครึ่งวัน ช่วงเช้าวิชาการช่วงบ่ายให้นักเรียนออกไปเรียนทักษะชีวิต ครูต้องออกแบบหน่วยการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนออกไปเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนแบบบูรณาการที่ครูออกแบบ นักเรียนต้องมาสรุปรายงานการเรียนรู้และถอดบทเรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นคลิปวิดีโอทุกวันศุกร์ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ส่งผลให้เด็กได้ทั้งความรู้และทักษะชีวิต 

แรงใจและพลังสำคัญที่ทำให้การบริหารโรงเรียน จากประสบการณ์ตนเองเป็นเด็กเรียนดีแต่ด้วยครอบครัวเป็นลูกชาวนา พ่อให้เรียนครูทั้งที่ตนเองชอบและสามารถเข้าเรียนสาขาเคมีที่ มอ. 
ความเป็นครูถูกหล่อหลอมตั้งแต่เข้าเรียนครุทายาท ที่เน้นย้ำเสมอว่า ‘ครูเพื่อลูกศิษย์ ต้องเป็นครูที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู’ เมื่อจบมาก็มุ่งเป้าเป็นครูที่ดีและมีโอกาสได้เข้าทำงานด้านบริหารก็ทำงานด้วยความมุ่งมั่นด้วยหัวใจความเป็นครู มีโอกาสสอนและเน้นย้ำกับน้อง ๆ ครูด้วยกันว่าเรามาทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพของเด็กนักเรียน 

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากโควิด – 19 

– พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนเชิงรุกที่เรียกว่า CIPP Model

– ครูเปลี่ยนมายด์เซตในการจัดการเรียนการสอน และเข้าใจกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก

– เกิดโมเดลการบริหารจัดการ 

โอกาสที่ดีของโรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิตได้นำผลที่เกิดขึ้นในปีการศึกษา 2564 ที่ไม่เป็นเป้าหมายตามตัวชี้วัดนำมาสู่การประเมินเพื่อเข้าสู่วงรอบการพัฒนา

การจัดการเรียนรู้หลังภาวะโควิด-19 คลี่คลาย

โรงเรียนพัฒนาตนเองทั้งระบบ

  • เข้าโครงการ TSQP ปีการศึกษา 2563 
  • พัฒนาตนเองทั้งระบบในปีการศึกษา 2564
  • พัฒนาตนเองในปีการศึกษา 2565 นำผลการศึกษา 2564 มาวิเคราะห์เข้าสู่ระบบประเมินสถานศึกษา (SAR)  โดยนำ 6 มาตรการมาวิเคราะห์ มาสู่แผนภูมิก้างปลาเพื่อดูผลพวงที่เกิดขึ้นจากโควิด เสริมเพิ่มอีกมาตรการ การสร้างนิเวศการเรียนรู้ รวมเป็น 7 มาตรการ 
  • พัฒนาตนเองทั้งระบบอย่างต่อเนื่องในทุกปีการศึกษา 

กลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อกำหนดเป้าหมาย กำหนดกิจกรรม กำหนดผลผลิต และกำหนดผลลัพธ์ จากเป้าประสงค์

  • พัฒนาคุณภาพผู้เรียน
  • พัฒนาการบริหารเชิงรุกบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • จัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

กลยุทธ์ที่1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียน 

เป้าประสงค์ นักเรียนเป็นคนดี มีทักษะชีวิต กล้าคิดกล้าแสดงออกและมีความสุข 

  1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 12 ฐานการเรียนรู้
  • อนุบาล บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
  • ป.1-3 โครงงานบ้านนักวิทยาศาสตร์
  • ป. 4-6 โครงงานฐานวิจัย

พัฒนาผู้เรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ O-Net NT RT ส่งเสริมความเป็นเลิศเฉพาะด้านพัฒนาทักษะชีวิต และหนึ่งห้องเรียน หนึ่งคุณธรรม


การจัดเรียนสอนเชิงรุก CIP Model การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน >> แม้จะไม่บรรลุตามตัวชี้วัด การประเมินเพื่อการพัฒนา 

กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาการบริหารบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.ทำแผนกลยุทธ์ระยะสั้น วิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล ครูประจำชั้น โดยใช้ SWOT Analysys

2.พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน คัดกรองนักเรียน ส่งเสริมการพัฒนานักเรียน วางระบบป้องกันและแก้ปัญหานักเรียนที่มีปัญหา การส่งต่อภายในและภายนอก

3. พัฒนาระบบสารสนเทศคุณภาพ การนำระบบ Q Info มาใช้ในการบริหารงานทางวิชาการ

4. ใช้กระบวนการ PLC กิจกรรมประชุมกลุ่มครู PLC ที่สอนระดับชั้นเดียวกันหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน กิจกรรมกระบวนการแก้ปัญหาตามนโยบายของกลุ่ม PLC

5. สร้างภาคีเครือข่าย  

5.1 ครูประจำชั้นเลือกผู้ปกครองเครือข่ายรายชั้นเรียนห้องเรียนละ 5คน แล้วคัดเป็นตัวแทนผู้ปกครองโรงเรียน

5.2 จัดประชุมเครือข่ายผู้ปกครอง 1 ครั้ง/เดือน

5.3 เปิดบ้านวิชาการ

6.พัฒนานิเวศน์การเรียนรู้และความปลอดภัยในสถานศึกษา 

6.1 ปรับปรุงตกแต่งภูมิทัศน์ในโรงเรียน

6.2 จัดบรรยากาศในห้องเรียน

6.3 สร้างวินัยเชิงบวก

กลยุทธ์ที่ 3 การจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

1.ออกแบบหน่วยการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้

กระบวนการ PLC

2. จัดการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย โดยแบ่งออกเป็น 3 โรงเรียนย่อย 

2.1 อนุบาล บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

2.2 ป.1-ป.3 โครงงานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

3.3 ป.4-ป.6 โครงงานฐานวิจัย

3. ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ โดยมีการตั้งเป้าตัวชี้วัดของผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

ผลลัพธ์จากการใช้แผนกลยุทธ์ระยะสั้น

  • โรงเรียนได้รับรางวัล 1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม ด้านการบริหารสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี  2564 ถึง 2566
  •  ผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบทำให้โรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการครูภาษาต่างประเทศจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • นักเรียนมีผลการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติอยู่ลำดับที่ 3 ทั้งเขตพื้นที่และระดับชาติ
  • นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  สอบเข้าเรียนต่อโรงเรียนยอดนิยมได้อย่างต่อเนื่อง

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า