เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในช่วงบ่ายในเวทีครั้งนี้ได้คัดเลือก Good Practice จำนวน 3 เคส ซึ่งเป็นส่วนการทำงานของคุณครู เป็นการนำเสนอผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่นำกระบวนการ Active Learning ไปปรับใช้ในห้องเรียนว่านักเรียนเกิดผลการเรียนรู้ที่มีความสุขอย่างไร เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
คุณครูที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
🏫 ครูฉัตรสุดา ยินดีฉาย โรงเรียนบ้านสำโรงนาดี
เรื่อง “การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning” โดยใช้กิจกรรมบูรณาการ 6 กิจกรรมหลัก
🏫 ครูสุกัญญา หาประโคน โรงเรียนบ้านจารย์
เรื่อง การเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6
🏫 ครูวิมาลา บำรุงนาม โรงเรียนบ้านหนองบัวแดง
เรื่อง การพัฒนาให้ผู้เรียนมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม ด้วย “361 NBD Model”
โดย Good Practice ในโครงการครั้งนี้จะไปนำเสนอสู่เวทีมหกรรมการศึกษาที่ทาง กสศ. จะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567
Active Learning โดยใช้กิจกรรมการบูรณาการ 6 กิจกรรมหลัก
🏫 ครูฉัตรสุดา ยินดีฉาย โรงเรียนบ้านสำโรงนาดี
เรื่อง “การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning” โดยใช้กิจกรรมบูรณาการ 6 กิจกรรมหลัก
บริบทโรงเรียนบ้านสำโรงนาดี
เป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เป็นโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ โรงเรียนปลอดขยะ เป้าหมายโรงเรียนใช้วิธีจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่นเข้ากับ Active Learning ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย โรงเรียนบ้านสำโรงนาดีจัดการศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาล – ประถมศึกษา 6 คุณครูฉัตรสุดา (ผู้นำเสนอ) สอนประจำชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีนักเรียนในความดูแลประมาณ 30 คน
กระบวนการจัดการเรียนการสอนของคุณครูฉัตรสุดาในแต่ละช่วงปี
2561 – 2562
- จัดกิจกรรมบูรณาการกิจกรรม 6 กิจกรรมหลัก
- จัดบริบทห้องเรียน ป้ายนิเทศ
- พัฒนาตนเอง
2563
- จัดกิจกรรมบูรณาการ 6 กิจกรรมหลัก
- จัดบริบทห้องเรียน ป้ายนิเทศ
- พัฒนาตนเอง
(โรงเรียนได้รับเลือกเป็นโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายประเมิน อ.3 (เขต)
ลักษณะห้องเรียนที่พบ
คุณพัฒนา คำผุย ศึกษานิเทศก์เขต 1 ได้เข้ามาเยี่ยมห้องเรียนได้สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียน เด็กยังขาดทักษะการเล่าเรื่องที่ยังจับใจความ เล่าเป็นเรื่องราวไม่ได้ ไม่กล้าแสดงออกหน้าชั้นเรียน และผลการประเมินเด็กได้พบว่ามีปัญหาด้านสติปัญญา-ภาษา ยังขาดอยู่ จึงใช้กระบวนการ PLC เพื่อนำผลไปสะท้อนผู้บริหารและคุณครูในระดับประถมวัย
แล้วจะทำอย่างไรให้ทักษะการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนดีขึ้น ?
2564
- วางแผนจัดกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน
- ปรับการเรียนการสอนให้เป็น Active Learning ครูเปลี่ยนหน้าที่เป็นผู้กระตุ้นให้เด็กพูด แสดงออกมากขึ้น
ผลการประเมิน
นักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้น กล้าแสดงออก เล่าเรื่องราวได้
2565 – 2566
จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาเพิ่มเติมโดยใช้ ‘ภาษาอังกฤษ’ หนึ่งวิชาที่มีความสำคัญในโลกปัจจุบันความเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ ตามนโยบายของโรงเรียน (คุณภาพประจำตำบล)
เป้าหมายการพัฒนาของกิจกรรม
- เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ด้านการฟังและการพูด ของเด็กปฐมวัย
- เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจในการพูด พูดได้ชัดเจนและถูกต้อง
- เพื่อให้เด็กรู้จักพยัญชนะ สระภาษาอังกฤษ ออกเสียงภาษาอังกฤษ คำศัพท์พื้นฐานภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างง่ายในระดับชั้นอนุบาล
ออกแบบคู่มือ และ จัดตารางการเรียนการสอน
ก่อนที่จะดำเนินการออกแบบคู่มือการเรียนการสอน ได้ร่วมพูดคุยกับคุณครูอนุบาลอีกห้องเพื่อพัฒนาเนื้อหาร่วมกัน มีผู้บริหารช่วยไกด์แนวทาง โดยคู่มือนี้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ไปพร้อมกับนักเรียน
ในทุกกิจกรรมจะสอดแทรกภาษาอังกฤษการเรียนการสอน ตั้งแต่ 7.00 – 15.00 น. โดย ใช้ Active Learning โดยใช้การบูรณาการ 6 กิจกรรมหลักมีรายละเอียดดังนี้
- กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ การเคลื่อนไหวประกอบเพลงภาษาอังกฤษ
- กิจกรรมเสริมประสบการณ์ การสื่อสารภาษาอังกฤษ – คำศัพท์รอบตัวเด็กอย่างง่าย – สอดแทรกคำศัพท์ในทุกกิจกรรม
- กิจกรรมสร้างสรรค์ สอดแทรกภาษาอังกฤษในใบกิจกรรม การปั้นดินน้ำมัน การระบายสีภาพกิจกรรมเสรี สอดแทรกคำศัพท์ในมุมการเรียนรู้ จัดป้ายนิเทศภาษาอังกฤษ
- สื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในชั้นเรียน เด็กเข้าเรียนรู้ตามความสนใจ นิทาน พยัญชนะ แสดงบทบาทสมมุติ
- กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเล่นเกมกระโดด ตัวอักษรภาษาอังกฤษ เกมนับเลขภาษาอังกฤษ
- กิจกรรมเกมการศึกษา การเล่นเกมเรียงพยัญชนะภาษาอังกฤษ
การวัดและประเมินผล
ครูเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างยิ่งสำหรับเด็กอนุบาล ครูต้องประเมินผ่านการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน เรียนรู้ตามแผนการเรียนการสอนหรือไม่
ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนเป็น Active Learning
- เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษ พยัญชนะ คำศัพท์พื้นฐาน
- มีความมั่นใจในการพูด ฟังออก พูดได้ชัดเจนถูกต้อง สื่อสารภาษาอังกฤษอย่างง่าย
- มุมผู้ปกครอง เห็นการพัฒนาของลูกหลาน เห็นการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของนักเรียน
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
นำเสนอโดย
🏫 ครูสุกัญญา หาประโคน โรงเรียนบ้านจารย์
บริบทของปัญหาโรงเรียน
จากผลการทดสอบระดับชาติ O-NET ปีการศึกษา 2564 นักเรียน ป. 6 มีคะแนนวิชาภาษาไทยเฉลี่ยต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ ทำให้ทางโรงเรียนต้องร่วมมือกันขบคิดหาทางแก้ปัญหา
ที่มาและความสำคัญของหลักสูตร
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียน เน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ สรุปองค์ความรู้ นำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ผู้อื่นทราบและเข้าใจได้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านการเรียนรู้ อ่านออก เขียนได้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้มีคุณภาพ
โดยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ใช้วงจรบริหารงานคุณภาพ Plan Do Check Act เข้ามาช่วยในการดำเนินงาน
Plan วางแผน
- วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการสอบระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การศึกษา 2564 โดยเชิญคุณครูที่สอนร่วมชั้น ป.6 เข้าร่วมวง PLC เพื่อแลกเปลี่ยนวิเคราะห์ผลการทดสอบ O-NET ก็พบว่าเด็กมีปัญหาในเรื่องมาตรฐาน ท 4.1 (เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของ ภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ) และมาตรฐาน ท 1.1 (ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาใน
การดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน)
- ศึกษาหลักสูตรและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning
- ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning
Do ขั้นดำเนินการ ครูวางแผนและเตรียมการ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning ออกแบบสื่อการเรียนการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วมของนักเรียน
- จัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมการบรรยาย
- จัดทำแบบฝึกทักษะ สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning เน้นการลงมือปฏิบัติ ออกมานำเสนอให้เพื่อน ๆ ในชั้นเรียนได้
- จัดการเรียนรู้แบบผังความคิด (Concept Mapping)
- จัดการเรียนรู้แบบการวิเคราะห์ (Analyze) ฝึกการคิดอย่างมีกระบวนการ
- จัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการอ่าน
- การจัดการทดสอบ Pre O-NET ผลสอบออกก็เสริม ซ่อม สอน ในส่วนที่อ่อน
Check ตรวจสอบ
- คณะกรรมการนิเทศภายในเพื่อติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงาน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการสอบระดับชาติ O-NET ของนักเรียน ปีการศึกษา 2564 กับ 2565
Action ขั้นปรับปรุงและพัฒนา
- สรุปรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการสอบระดับชาติ O-NET
- นำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไข พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีการศึกษาถัดไป
การพัฒนาให้ผู้เรียนมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม ด้วย “360 NBD Model”
นำเสนอโดย
🏫 ครูวิมาลา บำรุงนาม โรงเรียนบ้านหนองบัวแดง
360 NBD Model โรงเรียนบ้านหนองบัวแดง การันตีคุณภาพโดยได้รับรางวัลระดับจากเขตพื้นที่การศึกษาจากสุรินทร์เขต 2 และ รางวัลยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
NBD 360⁰ พาชีวิตมั่นคงอย่างไร
นวัตกรรมนี้เป็นการน้อมนำพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 10 มาเป็นหลักในการปฏิบัติกิจกรรมในด้านต่าง ๆ โดยยึดพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง – มีคุณธรรม
การจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้นักเรียนมีความสุข
สังเกตได้จาก แววตา สีหน้า และการแสดงออกภายนอก เช่น ภาษากาย (Body Language) กระบวนการที่ทำให้เกิดความสุขในการเรียนรู้นั้นเกิดจากนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ NBD 360⁰ แยกแยะสิ่งผิดชอบ ชั่ว ดี เพื่อปฏิบัติแต่สิ่งที่ชอบ ที่ดีงาม ปฏิเสธสิ่งที่ผิดที่ชั่ว เพื่อสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง
NBD 360⁰ มีความหมายดังนี้
360⁰ หมายถึงความรอบรู้ ความสามารถรอบด้าน การปฏิบัติตนที่ดี การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นนิสัย เป็นแบบอย่างที่ดี และสามารถโน้มน้าวให้ผู้อื่นกระทำแต่ความดี
N Noticeable Management การบริหารงานที่โดดเด่นของท่าน ผอ.สุจิตราภรณ์ สมหวัง ที่กำหนดทิศการบริหารของโรงเรียนให้ไปในทิศทางใด
B Best Activities กิจกรรมที่ดีที่สุดในการพัฒนาผู้เรียน ใช้กิจกรรมสร้างการเรียนรู้ ความคิด ควบคู่กับคุณธรรม เพื่อสร้างคนดีและคนเก่งสู่สังคม
D Desirable Value ค่านิยมที่พึงประสงค์ ด้านการมีพื้นฐานที่มั่นคง มีคุณธรรม ที่เด็กไทยทุกคนต้องมี และมีทักษะชีวิต
ในด้านการบริหารการดำเนินงานโรงเรียนบ้านหนองบัวแดงใช้ กระบวนการในการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ที่เรียกว่า วงจรการวิจัย PAOR โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
Plan กำหนดแผนงานวิธีการดำเนินโครงการ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านต่อเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม มีงานทำ มีอาชีพ และเป็นพลเมืองที่ดี
Action ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดกิจกรรมหรือโครงการให้เป็นไปตามที่วางไว้
Observation การสังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ
Reflection สรุปรายงานผลเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้เรียนมีฐานชีวิตที่มั่นคงมีคุณธรรม โดยดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างความรู้อย่างรอบด้าน ผ่านกระบวนการสร้างความรู้ ส่งเสริมความคิด ควบคู่คุณธรรมทุกระดับชั้น
กิจกรรมที่เกิดขึ้นภายใต้ NBD 360⁰ โมเดล
▪ กิจกรรมรับประทานอาหารที่ถูกหลักอนามัยต่อสุขภาพ
▪ กิจกรรมเชื่อฟังคำสั่งสอนของครู
▪ กิจกรรมไม่นำของผู้อื่นมาเป็นของตน
▪ กิจกรรมพูดความจริง ไม่โกหก
▪ กิจกรรมสร้างประสบการณ์
▪ กิจกรรมสร้างความมีวินัยในตนเอง
▪ กิจกรรมการทิ้งขยะเป็นที่
▪ กิจกรรมส่งเสริมกีฬา
▪ กิจกรรมมารยาทงาม
▪ กิจกรรมวันสำคัญของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
▪ กิจกรรมสร้างทักษะความรู้และความถนัดตามวัยของผู้เรียน
▪ กิจกรรมปฏิบัติตามกฏระเบียบของโรงเรียน
▪ กิจกรรมจิตอาสาพาสุข
▪ กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ
▪ กิจกรรมโรงเรียนคุณธรรม
▪ กิจกรรมของหายได้คืน
▪ กิจกรรมสภานักเรียน
▪ กิจกรรมน้องไว้พี่ พี่รับไหว้
▪ กิจกรรมลูกเสือเนตรนารี
▪ กิจกรรมแบ่งเขตรับผิดชอบทำความสะอาด
▪ กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
▪ กิจกรรมโรงเรียนสีขาว
▪ กิจกรรมบ้าน วัด โรงเรียน
▪ กิจกรรมเล่านิทานคุณธรรม
ผลที่เกิดขึ้น
ส่งผลให้นักเรียนสามารถประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี 360⁰
รับชม Live เวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลไกพัฒนาการศึกษาในจังหวัดสุรินทร์ สู่งานมหกรรมการศึกษาไทย” ได้ที่ 👇
Writer
- Admin I AM KRU.