จิตวิทยาเชิงบวก คือศาสตร์ที่มองมนุษย์เชิงบวกแบบรายบุคคล มองว่าคนเรามีทั้งจุดแข็งและจุดด้อยในตัวเอง และมุ่งสนับสนุนบุคคลให้พัฒนางอกงามทั้งด้านคุณค่าในตัวเอง และการมีสุขภาวะที่ดี (Well-Being) โดยเป้าหมายการจัดการอบรมในครั้งที่ผ่านมา มีเป้าประสงค์ในการจัดกิจกรรมเพื่อ
- สร้างความเข้าใจตนเองในมุมมองของอุปนิสัยเชิงบวก
- สร้างแนวคิดและการฝึกการเสริมสร้าง อุปนิสัยเชิงบวก เบื้องต้นสำหรับตนเองและผู้เรียน
- เทคนิคการใช้ Feedback ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยกระบวนการเชิงบวก
- สามเหลี่ยมการสร้างช่วงเวลาเชิงบวกในห้องเรียน (Micro Moments Triangle)
- เพื่อให้คุณครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสริมสร้างอุปนิสัยเชิงบวก
- ครูมีทัศนคติในการมองตนเอง และผู้เรียนบนพื้นฐานจิตวิทยาเชิงบวก
- มีมุมมองแบบ Growth Mindset ในการสร้างเสริมประสบการณ์และความรู้ให้กับผู้เรียน
เพื่อให้คุณครูเป็นผู้มีความสามารถในการอธิบายอุปนิสัยเชิงบวกของผู้เรียนแบบรายบุคคลและมีวิธีการเสริม สร้างอุปนิสัยเชิงบวกที่สมดุลให้กับผู้เรียนรายบุคคลได้จากชุดกิจกรรมจากอาจารย์อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “อาจารย์สมิธ” ผู้บริหาร Life Education Thailand ผู้นำหลักการของจิตวิทยาเชิงบวกมาประยุกต์เป็นนวัตกรรมเพื่อทำงานร่วมกับโรงเรียนและครอบครัว
อุปนิสัยที่เป็นจุดแข็ง (Character Strengths)
คืออุปนิสัยที่คนที่คนทั่วโลกให้การยอมรับร่วมกันว่ามีคุณค่า หากบุคคลรับรู้อุปนิสัยที่เป็นจุดแข็งของตัวเองจะใช้จุดแข็งนำตัวเองให้ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ สามารถจัดอุปนิสัยที่เป็นจุดแข็งได้เป็น 24 ด้านในกลุ่มใหญ่ ๆ ที่ครูผู้สอนต้องสังเกตนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อใช้พัฒนาศักยภาพ
กลุ่มที่ 1 ปัญญาและความรู้ (Virtue of Wisdom and knowledge)
- การตัดสินใจ (Judgement) ลักษณะเด่นด้านของการใช้การคิดอย่างมีเหตุผล และใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในชีวิต และการทำงาน
- รักในการเรียนรู้ (Love of Leaning) มีความรู้สึกในเชิงบวกเมื่อได้รับทักษะและความรู้ใหม่ มองว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
- มีมุมมองที่หลากหลาย (Perspective) สามารถประมวลประสบการณ์และความรู้ของตนเองมาใช้ประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตได้ ไม่จำกัดตนเองอยู่เพียงการรับข้อมูลทางใดทางหนึ่ง
- ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ชอบสร้างสรรค์สิ่งใหม่ สิ่งที่สร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคลหรือต่อโลก
- ความอยากรู้อยากเห็น (Curiousity) ลักษณะเด่นด้านความช่างสังเกต มีความสามารถด้านการตั้งคำถาม และการตั้งข้อสังเกตต่อสิ่งรอบตัว
กลุ่มที่ 2 ด้านความเข้มแข็ง กล้าหาญ (Virtue of Courage )
2.1 ความกระตือรือร้น (Zest) สามารถเติมเต็มความรู้สึกมีชีวิตชีวา ทั้งกับตัวเองและคนรอบตัวได้อย่างดี ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เรารู้สึกเพลิดเพลินในสิ่งที่ทำ
2.2 ความอดทน (Perseverance) สามารถจัดการกับสิ่งที่เริ่มต้นไว้ให้เสร็จสิ้น ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับอุปสรรค หรือความน่าเบื่อมากแค่ไหนก็ตาม
2.3 ความซื่อสัตย์ (Honesty) ซื่อตรง ความซื่อตรงต่อความจริง และความรู้สึกของตนเอง รวมถึงเคารพในความแตกต่างของคนอื่น
2.4 ความกล้าหาญ (Bravery) สามารถยืนหยัดเอาชนะความกลัว ภายในจิตใจของตนเองได้ กล้าเผชิญหน้ากับความจริงความถูกต้องแม้สิ่งที่จะทำเป็นการกระทำของคนส่วนน้อยก็ตาม
กลุ่มที่ 3 ด้านความเป็นมนุษย์ (Virtue of Humanity)
3.1 ความรัก (Love) มองเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญกับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดทั้งกับเพื่อน ครอบครัว และคนรัก เลือกที่จะใช้เวลากับการกระทำให้คนรักมีความสุข
3.2 ความฉลาดทางสังคม (Social Intelligent) ยอมรับในเอกลักษณ์และความแตกต่างกันของคนแต่ละคน และมีทักษะในการตอบสนองต่อความแตกต่างกันนั้นแบบรายบุคคล
3.3 ความใจดี (kIndness) ให้ความสำคัญกับการทำดีต่อคนอื่น การมอบความห่วงใย ความเอาใจใส่ ให้ความช่วยเหลือ และดูแลโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
กลุ่มที่ 4 ด้านความยุติธรรม
4.1 ความเป็นผู้นำ (Leadership) สามารถช่วยนำพาให้คนในกลุ่มสามารถเดินทางสู่เป้าหมายได้ ในขณะที่สามารถรักษาความสัมพันธ์ของคนในกลุ่มได้เป็นอย่างดี
4.2 ความยุติธรรม (Fairness) เคารพในคอนเสิร์ตภาคและความยุติธรรม ไม่ใช่ความรู้สึกหรือความชอบส่วนตัวในการตัดสินอะไรเกี่ยวกับคนอื่น
4.3 ความเป็นพลเมือง ความรับผิดชอบต่อสังคม การทำงานร่วมกัน (Teamwork, Citizenship Loyalty, Social Responsibility) ให้ความสำคัญกับประโยชน์โดยรวมของสังคม ซึ่งหมายรวมถึงการตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง
กลุ่มที่ 5 ด้านการยับยั้งชั่งใจ
5.1 การให้อภัยและความมีเมตตา (Forgiveness) สามารถยืนยันความโกรธ ความเสียใจ ความอยากแก้แค้นของตนเองได้ในขณะที่ได้รับผลกระทบเชิงลบ
5.2 ความรอบคอบ (Prudence) ความรอบคอบความเข้าใจลึกซึ้งและสติปัญญาสามารถตัดสินระหว่างคุณความดีกับพฤติกรรมความดีได้ ไม่เพียงแต่จากความรู้สึกโดยทั่วไป แต่ด้วยการพิจารณาไปถึงการกระทำที่ถูกต้องทั้งสถานที่และกาลเวลาด้วย
5.3 การกำกับตนเอง (Self Regulation) มีแรงจูงใจภายในเชิงบวกต่อการจัดการ และกำกับให้ตนเองทำสิ่งต่างๆ ตามที่วางแผนไว้ไม่ออกนอกลู่นอกทาง
5.4 ความอ่อนน้อมถ่อมตน (Humility) ไม่เดินเข้าหาการเป็นจุดสนใจ เด่นดัง มักเป็นคนไม่ค่อยพูด และให้คุณค่ากับความไม่สมบูรณ์
กลุ่มที่ 6 ด้านการรู้จักความจริงของโลกและชีวิต
6.1 ความศรัทธา (Spirituality) เชื่อมโยงกับเป้าหมายหรือคุณค่าบางอย่างที่อยู่เหนือตนเอง ให้คุณค่ากับการทำให้ชีวิตมีความหมายด้วยเป้าหมาย
6.2 มีความหวัง (Hope) มองเห็นถึงอนาคตที่มีความเป็นไปได้ในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ มีความเชื่อมั่นและมีพลังในการนำพาตนเองและผู้คนไปสู่เป้าหมาย
6.3 มีอารมณ์ขัน (Humor) ให้ความสำคัญกับการทำให้ผู้อื่นเกิดรอยยิ้ม มองเห็นแง่มุมของเรื่องราวที่ทำให้เกิดความรู้สึกเชิงบวกและเพลิดเพลิน
6.4 การรู้จักบุญคุณ และชื่นชมสิ่งรอบตัว (Gratitide) มีความรู้สึกขอบคุณกับสิ่งที่เกิดขึ้น กับตนเองหรือสิ่งที่ตนเองได้รับ
6.5 การชื่นชมความงามและความเป็นเลิศ (Appreciation of Beauty and Excellence) มีความละเอียดอ่อนในการถ่ายทอดประสบการณ์ทางอารมณ์ ได้อย่างมีชีวิตชีวา
5 แกนของหลักจิตวิทยาเชิงบวก PERMA
P – Positive Emotions – อารมณ์เชิงบวก การมีความรู้สึกเชิงบวก เช่น สนุก ตื่นเต้น ท้าทาย อยากรู้ อยากลอง อยากเอาชนะ
- ผู้เรียนมีส่วนร่วม
- ทำงานร่วมกัน
- ช่วยกันแก้ปัญหาและเอาชนะอุปสรรคต่างๆด้วยกัน
- เกิดความสำเร็จเป็นขั้นๆ
- เมื่อจบการเรียนรู้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเห็นคุณค่าตนเองภูมิใจตนเอง
- อยากเรียนรู้ต่อไปด้วยตนเอง
อารมณ์ด้านบวก สามารถกระตุ้นให้เกิดได้ 3 ระดับ
ระดับที่ 1 การทบทวนอดีต
- การชื่นชมชื่นชมตนเอง
- เชื่อมโยงกับความรู้หรือประสบการณ์เก่า
- เกิดความเข้าใจยอมรับ
- ระลึกถึงคนที่มีคุณค่า
- ขอบคุณที่คนทำดี
- ให้อภัยตนเองให้อภัยคนที่ทำผิดพลาด
- ให้ย้อนเวลากลับไปบอกตนเองในอดีต
ระดับที่ 2 การทบทวนตนเองในปัจจุบัน
- สติ
- สนุก
- รู้สึกอยู่กับความรู้สึก ณ ปัจจุบันขณะของตนเอง
- รู้ตัวว่าตอนนี้เรากำลังเป็นอย่างไรบ้าง
- เกิดความสงบและจิตใจเป็นกลาง
- เห็นคุณค่าตนเอง ตรวจพลังและแรงบันดาลใจด้านบวกต่อตนเองและคนรอบข้าง
ระดับที่ 3 การคาดหวังในอนาคต
- การเห็นคุณค่า
- การคาดหวังในอนาคต
- การนำประสบการณ์ไปใช้หรือประยุกต์ใช้ในชีวิต
- มีความคาดหวังด้านบวกในอนาคต
E – Engagement รู้สึกว่าสิ่งที่ทำท้าทาย แต่ไม่ยากหรือง่ายไป มีส่วนร่วมในกิจกรรม การเรียนรู้ การทำงาน มีส่วนในการรับผิดชอบในการเป็นเจ้าของ
กิจกรรมในการเรียนรู้ที่สร้าง E – Engagement
- เป็นกิจกรรมที่ท้าทายแต่ไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป
- มีการแบ่งกลุ่มที่เสมอภาค
- ฝึกให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นที่แตกต่างกัน
- เน้นกระบวนการกลุ่มมากกว่าผลงานกลุ่ม
- ครูสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม ร่วมกับการสอนงานกลุ่ม
- มีการประเมินกลุ่มและ feedback สม่ำเสมอ
R – Relationship ความสัมพันธ์เชิงบวก มีการปฏิสัมพันธ์ มีความร่วมมือร่วมใจ (collaboration) มีการสื่อสาร (communication) มีการแบ่งปันทุกข์สุข (sharing)
การสร้าง R – Relationship ความสัมพันธ์ในการเรียนรู้มี 2 ด้าน
- ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน สร้างด้วยการออกแบบการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม ใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 ได้แก่การทำงานร่วมกันเป็นทีม การสื่อสาร การเป็นผู้นำ
- ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน ครูรู้จักนักเรียนทุกคนเป็นรายบุคคล มีทัศนคติด้านบวกต่อเด็กทุกคน เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างอิสระให้เด็กใช้ศักยภาพตนเองอย่างเต็มที่
กิจกรรมในการเรียนรู้ที่สร้าง R – Relationship ความสัมพันธ์ที่ดี
- การใช้กระบวนการกลุ่มที่ต้องเน้นทักษะสังคมในการทำงานร่วมกัน
- การประเมินเพื่อสร้างสรรค์โดยไม่มีคะแนน
M – Meaning สิ่งที่ทำมีคุณค่าและมีความหมาย ต่อเป้าหมายของชีวิต ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือเป็นแรงจูงใจให้ทำต่อไป
- กิจกรรมในการเรียนรู้ที่สร้าง Meaning การรับรู้ถึงความหมายของชีวิตหรือสิ่งที่ทำ
- ผู้เรียนเห็นความสำคัญและคุณค่าของสิ่งที่เรียน
- ให้ผู้เรียนได้ลองสัมผัสปัญหาก่อนสร้างความตระหนัก และชวนคิดให้แก้ปัญหา
- สร้างแรงจูงใจ และอยากรู้อยากเห็น
- การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับชีวิตจริง
- ความรู้ทางทฤษฎีนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหา
- คุณค่าและความหมายของการเรียน
A – Accomplishment พูดคุยถึงความสำเร็จ การได้กระทำสิ่งนั้นจะทำให้เกิดความสำเร็จ ทั้งเรื่องเล็กน้อย เช่นการได้เกิดการเรียนรู้ ได้ทักษะ ได้ทัศนคติ รวมถึงเรื่องสำคัญอย่างการสำเร็จ
ผลิตภัณฑ์ในการเรียนรู้ที่สร้าง A – Accompressment การบรรลุถึงเป้าหมาย
- คุณครูช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่าประสบความสำเร็จ ทำได้มากขึ้นกว่าเดิม เห็นความก้าวหน้าของตนเอง
- การจัดการประสบการณ์เรียนรู้ ควรให้ท้าทายความยากเล็กน้อยแต่พอทำได้สำเร็จก็เกิดความภูมิใจในตนเอง กระตุ้นความอยากลองท้าทายเล็กน้อยแต่ทำได้มากขึ้นตามลำดับเหมาะสมกับความสามารถของเด็กแต่ละคน
คุณครูสามารถใช้ PERMA ประเมินการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสะท้อนการเรียนรู้ (Reflection) ท้ายกิจกรรม
- การเรียนรู้นั้นเป็นอย่างไรรู้สึกอย่างไรเป็นความรู้สึกด้านบวกหรือไม่ (positive emotion)
- นักเรียนมีส่วนร่วมกับกิจกรรมอย่างไร (engagement)
- ความสัมพันธ์ผูกพันกับเพื่อนๆและคุณครูมากน้อยแค่ไหน (relationship)
- สิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นมีคุณค่าต่อชีวิตอย่างไรนำไปใช้อย่างไร (meaning)
สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าเรียน Educators Skill Course Online โครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21
หลักสูตรหลักการจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อการเสริมสร้างอุปนิสัยผู้เรียนได้ที่ ไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมรับเกียรติบัตรหลังจบกิจกรรม
หรือสามารถติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมออนไซต์และออนไลน์อื่น ๆ ในอนาคตเพิ่มเติมได้ที่
Writer
- Admin I AM KRU.