บ้านอยู่ไกลทุรกันดาร
โรงเรียนอยู่หลังเขา
มีแต่เราพวกเราไม่มีใคร
ยามร้อนแสนร้อน
ยามหนาวก็หนาวถึงใจ
ไม่มีผ้าห่มคลุมกาย
โรงเรียนมีครูหนึ่งคน
ครูผู้เสียสละตน
อดทนอยู่ห่างไกลความสบาย
ใช่จะวอนให้เห็นใจ
ความสำนึกต่อเพื่อนไทย
ไทยกับไทยไยแตกต่างกัน
โรงเรียนของหนู อยู่ไกลไกล๊ไกล
อยากให้คุณ ๆ หันมอง
โรงเรียนของหนู…
ข้อความด้านบนเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเพลง ‘โรงเรียนของหนู’ บทเพลงของศิลปินเพลงเพื่อชีวิต พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ คำร้องใช้ภาษาเรียบง่ายถ่ายทอดเล่าเรื่องราวของโรงเรียนแห่งที่ตั้งอยู่ในถิ่นทุรกันดาร อยู่ห่างไกลความเจริญ เนื้อเพลงสะท้อนให้เห็นปัญหาของระบบการศึกษา ความไม่เท่าเทียม ขาดโอกาสทางการศึกษา และสะท้อนปัญหาขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ครู’ บุคลากรทางการศึกษา
เมื่อมองย้อนกลับไปบทเพลงนี้เผยแพร่สู่สาธารณะเมื่อปี พ.ศ. 2534 บทเพลงนี้ได้เดินทางผ่านกาลเวลามาแล้วกว่า 32 ปี แล้วตอนนี้ ‘โรงเรียนของหนู’ ที่อยู่ไกลไกล๊ไกลในตอนนั้นยังเป็นเหมือนบทเพลงนี้อยู่หรือไม่ ? มีนโยบายหรือโครงการของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพครูและสถานศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ อุดช่องว่างความไม่เท่าเทียม และส่งเสริมคุณภาพการศึกษาอย่างบูรณาการได้อย่างไรบ้าง
* หมายเหตุ: เพลงโรงเรียนของหนู ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องราวชีวิตของครูอำนาจ รักประกิจ สมัยบรรจุเป็นครูครั้งแรก ณ โรงเรียนบ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กไทยและกลุ่มชาติพันธุ์ลาว
โครงการพัฒนาการศึกษา
โครงการครูรัก(ษ์) ถิ่น
จากการวิเคราะห์ของคณะวิจัยธนาคารโลก ร่วมกับการสอบทานฐานข้อมูล สพฐ. พบว่าประเทศไทยมีโรงเรียนราว 2,000 แห่ง ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและไม่อาจจะควบรวมกันได้ การผลิตครูที่มีคุณภาพ แล้วกลับไปบรรจุในโรงเรียนบนพื้นที่ห่างไกลจึงเป็นทางออกที่แก้ไขปัญหาได้ตรงเป้าหมาย
ปัญหาด้านบนจึงเป็นที่มาของโครงการ สร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล
หรือโครงการทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชนบ้านเกิดที่สร้างโอกาสให้กับนักเรียนที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ในพื้นที่ห่างไกลที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีสมรรถนะพื้นฐานของวิชาชีพครู เข้ามาศึกษาเรียนรู้พัฒนาทักษะ นวัตกรรมการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ให้ได้เรียนจบจนสำเร็จการศึกษาหลักสูตรการผลิตและพัฒนาครูแนวใหม่กับสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครูในระดับปริญญาตรีอย่างมีคุณภาพ เพื่อกลับไปพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชนตนเองหรือโรงเรียนพื้นที่เป้าหมายในพื้นที่ห่างไกล 1,500 แห่งให้มีครูเพียงพอ
ข้อมูลโครงการ
โครงการพัฒนาครูในโรงเรียนตํารวจตระเวนชายแดน
โครงการที่นำบริบทของแต่ละโรงเรียนมาเป็นเกณฑ์หลักในการออกแบบหลักสูตร 2 ลักษณะคือ
1. หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
เหมาะกับครูที่มีความเชี่ยวชาญด้านสาระเนื้อหา และเติมเต็มคุณวุฒิให้ครูนำไปบูรณาการกับเนื้อหาที่มีอยู่ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผ่านเครื่องมือชุดวิชา 3 ชุด ได้แก่
ชุดศาสตร์การสอนสำหรับครูเพื่อศิษย์
ชุดครูนวัตกรบนฐานชุมชนการเรียนรู้
ชุดเครื่องมือสำหรับครู
2. หลักสูตรนวัตกรรมการศึกษาตลอดชีวิตบูรณาการประถมศึกษา
เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี ทางการศึกษา ผู้เรียนจะได้คุณวุฒิครูระดับประถมศึกษา ซึ่งเป็นคุณวุฒิสำคัญต่อการพัฒนาครู โดย ตชด. หลักสูตรนี้จะบูรณาการระหว่างองค์ความรู้ด้านวิชาการที่จำเป็นต่อการเป็นครูประถมศึกษา ผนวกเข้ากับความรู้ด้านบริบทชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ที่มีความหลากหลายทั้งแง่วิถีชีวิต วัฒนธรรม และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้หลักสูตรตอบสนองความต้องการของครู ตชด. ได้อย่างเหมาะสม มีสมรรถนะ และคุณวุฒิที่สามารถพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพเป็นครูมีอาชีพได้ในอนาคต
โครงการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สู่ทักษะสัมมาอาชีพ
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) จุดเริ่มต้นครั้งสำคัญของการพัฒนาแนวทางความร่วมมือการดำเนินงานโครงการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยใช้ข้อมูลที่ทาง กสศ. เชื่อมโยงฐานข้อมูลนักเรียนกับโรงเรียนพระปริยัติธรรม ของ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อวางแนวทางการทำงานวิจัยร่วมกันเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเครื่องมือในการสนับสนุนความช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย โดยมีผู้แทนสำนักงานพุทธศาสนาจังหวัด และผู้แทนผู้จัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จาก 4 ภูมิภาค และกรุงเทพมหานคร
ข้อมูลโครงการ
นวัตกรรมการศึกษา
โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง
(Teacher and School Quality Program: TSQP) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้สามารถพัฒนาตนเองทั้งด้านการพัฒนาคุณภาพของระบบบริหารจัดการ
และการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสูงในชั้นเรียนเพื่อเป้าหมายสำคัญ คือพัฒนานักเรียนให้เกิดสมรรถนะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งโครงการ TSQP ต้องการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนทั้งระบบ หรือ Whole School Approach โดยยึดหลักเด็กมีผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดี ผ่านการไปกระตุ้นให้โรงเรียนพัฒนาตนเองทั้งระบบใน 2 ส่วน ดังนี้
1. การพัฒนาคุณภาพของระบบบริหารจัดการโรงเรียน
2. การจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสูงในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 เพื่อมุ่งสร้าง ผลลัพธ์การเรียนรู้ = Values + Attitude + Skills + Knowledge ให้เกิดกับผู้เรียนทุกคน
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง:
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “โรงเรียนพัฒนาตนเองสู่แกนนำขยายผล 7 จังหวัดภาคใต้” โรงเรียนภายใต้โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง หรือ Teachers and School Quality Program (TSQP) รุ่นที่ 2 ปี 2565
ข้อมูลโครงการ
โครงการพัฒนาทักษะครูและนักจัดการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนในศตวรรษที่ 21
โครงการเพื่อเตรียมความพร้อมทักษะสำคัญสำหรับโลกในศตวรรษที่ 21 ที่ล้นไปด้วยข้อมูล การแทรกแทรงด้านเทคโนโลยี ซึ่งองค์ความรู้และทักษะในอดีตหลายอย่างกำลังกลายเป็นความล้าสมัยไม่ตอบโจทย์การเรียนรู้ในอนาคต โครงการพัฒนาทักษะครูและนักจัดการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เป็นการวางรากฐานสำคัญให้ครูและนักจัดการความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพตนเองผ่านรูปแบบการเรียนรู้ Active Learnig ที่สามารถช่วยรับเมื่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ข้อมูลโครงการ
อ้างอิง:
โรงเรียนของหนู – พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
Writer
- Admin I AM KRU.