Soft power ที่กระตุ้นคนในสังคมและรัฐบาลจีนตระหนักถึงปัญหาการกลั่นแกล้งในโรงเรียน – Better Days (2019)

Share on

 582 

ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2562 ภาพยนตร์จีน Better Days ที่ดัดแปลงจากนิยายชื่อดัง In His Youth, In Her Beauty แต่งโดย จูหยูสี่ ( Jiu Yuexi ) ได้ฤกษ์ฉายในอย่างเป็นทางการหลังจากที่ฝ่าฟันปัญหาที่ถูกรัฐบาลจีนห้ามฉายเนื่องจากเนื้อหาภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวการกลั่นแกล้งในโรงเรียนที่ด้วยความรุนแรงและการฆ่าตัวตาย รัฐบาลจีนกังวลว่าภาพยนตร์จะเป็นการเน้นย้ำภาพลักษณ์ถึงวัฒนธรรมการรังแกที่แพร่หลายในโรงเรียนหลายแห่งของจีน 

หลังจากที่ภาพยนตร์ออกฉายก็ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการถกเถียงระดับชาติเกี่ยวกับการรังแกและผลกระทบที่เกิดขึ้นในจีนเป็นครั้งแรก ภาพยนตร์เรื่องนี้นำไปสู่การเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งและผลที่ตามมาโดยเร่งด่วนโดยเฉพาะรัฐบาลจีนที่เริ่มเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาและความรุนแรงของการกลั่นแกล้ง

เบื้องหลังการรังแกกันในสังคมจีนสามารถมองได้ในบริบทของการรวมกลุ่ม ซึ่งเน้นการรักษาความสามัคคีระหว่างบุคคล และความสอดคล้องกันของกลุ่ม การรังแกมักถูกมองว่าเป็นการกระทำโดยรวม และการกีดกันทางสังคมเป็นรูปแบบสำคัญของการรังแกในโรงเรียนในวัยรุ่นจีน โดยรูปแบบการ กลั่นแกล้งนั้นมีทั้งแบบดั้งเดิม และการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเรื่องปกติในเด็กและวัยรุ่นชาวจีน 

ในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา เป็นที่รับรู้กันมากขึ้นว่าการรังแกเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อพัฒนาการที่ดีของเด็ก ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเป็นกลุ่มชายขอบที่มีความเสี่ยงต่อผลลัพธ์ด้านลบทางสังคมและอารมณ์ เช่น ความโดดเดี่ยวทางสังคม ความเหงา การรับรู้ถึงการสนับสนุนจากเพื่อนในระดับต่ำ ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล การถอนตัว และความไม่มั่นคง  

ซอฟต์พาวเวอร์เรื่องนี้เปลี่ยนแปลงนโยบายในด้านใด

ก่อนหน้ารัฐบาลจีนนั้นเริ่มมีควบคุมและนโยบายป้องกันบ้างแต่ไม่ได้รับความร่วมมือมือในวงกว้าง แต่หลังจากกระแสภาพยนตร์ Better Days สร้างแรงกระเพื่อมให้หลายฝ่ายตระหนักถึงปัญหาการ กลั่นแกล้งที่ต้องรีบช่วยกันแก้ไขอย่างเอาจริงเอาจัง 

นโยบายระดับกฎหมาย 

ก่อนหน้าที่กระแสภาพยนตร์ Better Days ที่ปลุกกระแสผู้คนทั่วประเทศ รัฐบาลจีนเองก็มีนโยบายเพื่อลดปัญหาการกลั่นแกล้งที่รุนแรงมาก่อนหน้าบ้าง อย่างเช่น ปี  2560 คู่มือเล่มแรกของจีนแก้ปัญหาการกลั่นแกล้งและทำให้อับอายบนโลกไซเบอร์ โดยโรงเรียนซ่างไฮ่ซ่างหนานในเชียงไฮ้ โรงเรียนนำร่องที่ขานรับนโยบายป้องกัน Bullying ระดับชาติจีน คู่มือขนาดความยาว 4,000 ตัวอักษร

  • ปี 2561 รัฐบาลมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ได้ออกกฎระเบียบควบคุมโรงเรียน “หากเกิดเหตุการณ์กลั่นแกล้งและทำร้ายกันในโรงเรียน ทางโรงเรียนนั้นจะต้องดำเนินการสืบสวนเพื่อค้นหาความจริง รวมถึงจัดการต่อเด็กที่กระทำผิดอย่างเร่งด่วนภายในระยะเวลา 10 วัน มิเช่นนั้นโรงเรียนจะถือว่ามีความผิดด้วย”
  • ปีใน 2564 (หลัง Better Days ออกฉาย) จีนเตรียมบังคับใช้กฎหมายด้านสวัสดิภาพเด็กที่ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติม 2 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้เยาว์ และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนเพื่อยกระดับการคุ้มครองเด็กทั้งในบ้านและโรงเรียน รวมถึงในสังคมและโลกออนไลน์ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ ซึ่งตรงกับวันเด็กนานาชาติ (International Children’s Day) 
ความคุ้มครองด้านสวัสดิภาพเด็กประกอบด้วยประเด็นอะไรบ้าง

โดยกฎหมายฉบับแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด กำหนดให้โรงเรียนและสถานรับเลี้ยงเด็กต้องรายงานการกลั่นแกล้งรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศเด็ก หรือการก่อกวนคุกคามให้ตำรวจและหน่วยงานการศึกษารับทราบ รวมถึงใช้มาตรการคุ้มครองเหยื่อการล่วงละเมิดทางเพศอย่างทันท่วงที

กฎหมายกำหนดให้โรงเรียนและสถานรับเลี้ยงเด็กต้องรายงานการกลั่นแกล้งรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศเด็ก หรือการก่อกวนคุกคามให้ตำรวจและหน่วยงานการศึกษารับทราบ รวมถึงใช้มาตรการคุ้มครองเหยื่อการล่วงละเมิดทางเพศอย่างทันท่วงที

นโยบายระดับโรงเรียน

กล้องวงจรปิดกลายอุปกรณ์สำคัญในโรงเรียนที่ช่วยสอดส่องและบันทึกพฤิตกรรมนักเรียนด้วย นอกจากชั้นมีการประชุมเรื่องความปลอดภัยในโรงเรียน ในเรื่องของมาตรการด้านบทลงโทษสำหรับการ กลั่นแกล้ง เช่น การวิจารณ์ การตักเตือน การพักการเรียน หรือการขับไล่จากโรงเรียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตามความรุนแรงของเหตุการณ์ แต่ในบางโรงเรียนก็มีมาตรการป้องกันอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงการกระทำให้ดีว่าถ้ากลั่นแกล้งใครจะถูกบันทึกไว้ในประวัติส่วนตัวที่ส่งผลต่อการเข้าศึกษาต่อในที่อื่นและหน้าที่การงานในอนาคต

เจ้าหน้าที่สำนักงานการศึกษาในเขตที่มีปัญหาการรังแกกันอย่างชัดเจน สามารถตรวจสอบความรุนแรงในโรงเรียนที่เกิดขึ้นภายใต้การดูแลของพวกเขาได้ทันที  พร้อมมาตรการป้องกันที่แนะนำโดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ การเพิ่มการเฝ้าระวังและจัดชั้นเรียนให้ความรู้เรื่องการกลั่นแกล้งสำหรับทั้งนักเรียนและผู้ปกครอง 

ในบางโรงเรียนมีกล่องนิรนามเป็นช่องทางสำหรับรายงานพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนคนอื่นโดยไม่เปิดเผยตัวตน กล่องนี้จะส่งต่อไปที่ผู้บริหารโรงเรียนได้อ่านข้อความเหล่านี้ เป็นวิธีที่ดีในการรายงานสิ่งเลวร้ายที่คุณพบเห็นและไม่กล้าพูดถึง และทุกโรงเรียนต้องจ้างเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพจิตเป็นพนักงานประจำหรือชั่วคราว รวมถึงเสริมสร้างการสื่อสารและความร่วมมือกับผู้ปกครองด้านสุขภาพจิตของนักเรียน 

ความร่วมมือร่วมใจลดปัญหาเริ่มส่งผลสัมฤทธิ์

จากความพยายามด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาของจีน ในช่วง ปี พ.ศ. 2560 – 2563 จำนวนการจับกุมและการดำเนินคดีทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งในโรงเรียนและความรุนแรงในสถานศึกษา ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ออกสมุดปกขาวฉบับหนึ่งว่าด้วยงานอัยการที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน รายงานการดำเนินคดีกับบุคคลทั้งหมด 1,341 ราย ในข้อหาที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งและความรุนแรงภายในโรงเรียนในปี 2020 ลดลงจากจำนวน 5,926 รายในปี 2017 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : 
  • ถอดรหัสการศึกษาจากภาพยนตร์ Better Days พาร์ท 1 : ปัญหา Bully ไม่ใช่เรื่องเล่น เพราะส่งผลต่ออนาคตเด็กในระยะยาว : https://web.facebook.com/iamkru.eef/posts/164045912564248
  • ถอดรหัสการศึกษาจากภาพยนตร์ Better Days พาร์ท 2 : เกาเข่า การสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ยากที่สุดในโลก : https://web.facebook.com/iamkru.eef/posts/165467009088805

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า