เพราะการเรียนรู้ทำให้เกิดศักยภาพการสอนที่เพิ่มมากขึ้น

Share on

 9,980 

จ.ส.ต.หญิง สุธัญญา แตงทอง นักศึกษา ‘โครงการพัฒนาครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร’ จากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทอง จ.ราชบุรี พื้นที่ท่ามกลางหุบเขาและติดชายแดนไทย-พม่า ที่บริบทแวดล้อมอยู่ในพื้นที่ชายแดนและเป็นแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ที่นักเรียนทั้งหมดเป็นชาติพันธุ์

ปัญหาภาษาไทยที่ไม่ได้ถูกใช้อย่างต่อเนื่อง

ด้วยนักเรียนที่โรงเรียนเป็นเด็กชาติพันธุ์การใช้ภาษาไทยส่วนใหญ่จะอยู่ที่โรงเรียนเป็นหลัก พอกลับบ้านเด็ก ๆ จะแทบไม่ได้ใช้ภาษาไทย และยิ่งช่วงโควิดประกาศปิดการเรียนการสอน ทำให้ไม่สามารถมาเรียนได้และด้วยข้อจำกัดในการสื่อสารการเรียนการสอนออนไลน์ตัดขาดไปโดยปริยาย แต่ยังมีความโชคดีที่มีสื่อการเรียนการสอนพระราชทานในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า ฯ  เป็นสื่อการเรียนการสอน-แบบฝึกหัดแบบออฟ-ไลน์ พกติดไปเวลาเยี่ยมบ้านพร้อมแบบฝึกหัดภาษาไทยเพื่อให้เด็กใช้ทบทวนและเรียนรู้ และในทุก ๆ สัปดาห์ครูอุ้ยจะเข้าไปเก็บกลับเพื่อตรวจการบ้านและนำชุดการเรียนรู้และแบบฝึกหัดชุดใหม่ไปให้เด็ก ๆ ทบทวน เพื่อเตรียมความพร้อมหากพ้นช่วงสถานการณ์โควิดแล้ว เด็ก ๆ จะไม่ลืมภาษาไทยที่เป็นภาษาหลักที่ใช้สื่อสารในโรงเรียน 

เด็ก ๆ ที่โรงเรียน เป็นเด็กที่บริสุทธิ์ ไร้เดียงสา น่ารักเฉพาะตัว ไม่ได้ใช้มากเกินไป มีความน่ารัก ยังไม่ค่อยมีพฤติกรรมเลียนแบบจากโซเชียลมีเดียเท่าไหร่นัก แต่ถ้ามองถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่อินเตอร์เน็ตจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงความใสซื่อหรือไม่ ครูอุ้ยก็มีความกังวลเล็กน้อย แต่ก็ไม่สามารถห้ามสิ่งที่จะเกิดในอนาคตได้ ได้เพียงแต่หาทางสร้างความเข้าใจและสร้างภูมิคุ้มกันความรู้เท่าทันโลกอินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียน่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เด็ก ๆ มีความฉลาดรู้และเท่าทันสื่อต่าง ๆก็จะเติบโตและแยกแยะสิ่งที่ดีหรือไม่ดีด้วยตนเองได้ ครูอุ้ยเล่าให้เราฟังด้วยน้ำเสียงมั่นใจ

สร้างความรับผิดชอบด้วยระบบรุ่นพี่ดูแลรุ่นน้อง 

เด็กที่นี่เป็นเด็กที่มีความกระตือรือร้น มีความรับผิดชอบ และทางโรงเรียนก็เสริมทักษะให้ฝึกความรับผิดชอบของเด็กนักเรียน ขึ้นไปอีกขั้น โดยมอบหมายหน้าที่ให้รุ่นพี่รับผิดชอบดูแลรุ่นน้อง มีการจัดเวรประจำวัน ทำอาหาร ฝึกความมีน้ำใจช่วยเหลือครู เพื่อนและพี่น้องร่วมโรงเรียน 

เรียนรู้วิชาชีพจากองค์ความรู้ภายในชุมชน

ครูอุ้ย สอนเด็ก ๆ ทุกวิชา โดยวิชาการงานอาชีพนั้นเน้นการเรียนผ่านประสบการณ์จริงเป็นสิ่งที่ครูอุ้ยคำนึงถึงในการเรียนการสอนเป็นหลัก มีโครงการที่เกิดจากพระราชดำริ จำนวน 8 โครงการ ซึ่งโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เด็ก ๆ มีโอกาสเข้าไปเรียนรู้และฝึกอาชีพในชุมชน เด็ก ๆ ก็จะเรียนรู้ว่าชุมชนของตนเองประกอบอาชีพอะไร มีทรัพยากรอะไรที่นำก่อเกิดรายได้ต่อครอบครัว โดยทรัพยากรในพื้นที่ที่มีจำนวนมากคือดอกไม้กวาด หลายครัวเรือนจึงมีอาชีพทำไม้กวาดดอกหญ้าขายเป็นหลัก และโครงการของโรงเรียนทำพรมเช็ดเท้าทำจากเศษผ้าเหลือใช้นำมาย้อมสีและทอด้วยเครื่องทอ เด็กๆ จะเข้าไปเรียนรู้วิชาชีพต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ประกอบเป็นอาชีพในอนาคตได้

ถ้ามีโอกาสได้เรียนรู้วิชาชีพครู จะช่วยสร้างทักษะการเรียนรู้ให้เด็กได้มากกว่านี้ 

มีหลายคนกังขาเครื่องวุฒิของครู ตชด. เราถามความคิดเห็นว่าคิดเช่นไร ครูอุ้ยบอกว่า “สิ่งที่คนอื่นมองว่าครู ตชด. มีไม่วุฒิ คือเรื่องจริง ครูอุ้ยก็เป็นครู ตชด. อีกคนหนึ่งที่ยังขาดโอกาสพัฒนาวิชาชีพตนเอง วุฒิ ม.6 ที่มีอยู่นั้นก็มีประสบการณ์สอน และหากมีเปิดอบรมที่ไหนหากไม่กระทบเวลางานเราก็ไปหมด แต่ลึก ๆ ยังก็อยากมีโอกาสได้เรียนรู้แบบคนที่จบครูที่จะมีทักษะการสอนที่มากขึ้น อยากเรียนแต่ลองค้นหาหลักสูตรที่เหมาะสมกับเวลาทำงานก็ไม่มีที่ไหนเปิดสอนเลย  จนมาได้เจอกับ ‘โครงการพัฒนาครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร’ ที่เรียกได้ว่าออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของครู ตชด. หลายคน ที่รอโอกาสการศึกษาต่อที่เหมาะสมการทำงาน และไม่รบกวนภาระงานหลักที่ต้องรับผิดชอบ และที่สำคัญแก้ปัญหาการพัฒนาการเรียนการสอนของครูตชด. ได้ตรงจุด สิ่งที่ได้ไปเรียนรู้มาจากที่ มรภ.รำไพพรรณี สามารถนำมาต่อยอดกับเพื่อนครูที่โรงเรียน พัฒนานักเรียน พัฒนาหลักสูตร มีแผนการสอนที่ดี สามารถกำหนดตัวชี้วัดและประเมินผลได้ตามหลักวิชาการ”  .

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงภายในโรงเรียน

แม้จะเริ่มเข้าเรียนได้เพียงไม่กี่เดือนการเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้น การเรียนรู้จากหลักสูตร มรภ.รำไพพรรณี สามารถมานำมาทดลองในห้องเรียนได้ทันทีเห็นรีแอคพฤติกรรมนักเรียนจากสิ่งที่ครูได้เรียนมาว่าได้ผลอย่างไร และต้องพัฒนาตรงไหนที่จะสร้างการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ตรงกับเนื้อหา และพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน เป็นห้องเรียนที่ครูได้ทดลองสิ่งที่เรียนมาและสร้างให้เด็กได้เรียนรู้สนุกไปพร้อมกับครู ครูก็เรียนรู้จากนักเรียน และเป็นพื้นที่ที่ทั้งสองฝ่ายได้เรียนรู้ได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างยั่งยืน 

แต่กว่าจะเข้าร่วมโครงการนี้ไม่ได้ง่ายเพราะต้องมีการสมัครและสัมภาษณ์และมีเพื่อนที่ต้องการโอกาสนี้อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ครูอุ้ย จ.ส.ต.หญิง สุธัญญา แตงทอง ผ่านการคัดเลือกเข้ามาร่วมโครงการได้ เมื่อทาง I AM KRU. ให้วิเคราะห์ว่าเพราะอะไร ครูอุ้ยบอกว่าเป็นเพราะนวัตกรรมสร้างสื่อการสอนรีไซเคิลจากที่ดำเนินการอยู่ที่โรงเรียนซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เกิดจากครูและนักเรียนที่ช่วยสร้างและออกแบบร่วมกัน และการนำไปบูรณาการกับโครงการพระราชดำริที่ดำเนินการอยู่ในโรงเรียน นอกเหนือจากนั้นเป็นความตั้งใจความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ที่กรรมการสามารถสัมผัสได้ 

จ.ส.ต.หญิง สุธัญญา แตงทอง อยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเรียนที่ต้องเรียน 3 ปี โดยหลังจากหมดภาระกิจการสอนทั้ง จันทร์ – พุธ และวันเสาร์อาทิตย์ต้องเรียนเต็มวันและต้องมีเดินทางจากราชบุรี เกือบสุดฝั่งตะวันตก กว่า 400 กิโลเมตร ไปเรียนที่ มรภ. รำไพพรรณี ณ จังหวัดจันทบุรีบ้างในบางครั้ง ระยะทางที่ห่างไกลจึงไม่ใช่ปัญหาในการเดินทางที่ครูอุ้ย จ.ส.ต.หญิง สุธัญญา แตงทอง นักศึกษาครูของโครงการพัฒนาครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่นไปเรียนรู้เพื่อกลับมาพัฒนาห้องเรียนอย่างที่ตั้งใจ

 9,981 

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า