Power of Question | พลังแห่งการตั้งคำถาม เมื่อถามเป็น การเรียนรู้จะเปลี่ยน  

Share on

 4,105 

เคยสังเกตไหมว่านักคิด นักเขียน นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ระดับโลก มีอุปนิสัยร่วมกันอยู่หนึ่งอย่างคือ “เป็นนักตั้งคำถาม” เมื่อตั้งคำถามสิ่งที่ตามมาคือการหาคำตอบในความถนัดของตนเอง 

และนักเขียนนักคิดชื่อว่า วอลแตร์ ได้กล่าวไว้ว่า “อย่าตัดสินคนที่คำตอบ ให้ตัดสินคนที่คำถาม” นั่นเพราะว่าความรู้มาจากคำถาม เมื่อคนผู้นั้นตั้งคำถามเป็น และรู้จักตั้งคำถาม ไม่ว่าจะเป็นคำถามกับสิ่งรอบตัว คำถามกับคนรอบข้าง หรือแม้แต่การคำถามกับตนเอง จะทำให้เกิดการหาคำตอบ และเกิดเป็นความรู้ 

ดังนั้นการตั้งคำถามในห้องเรียนเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ที่ครูจะสามารถกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างมหาศาล เด็กจะเกิดจินตนาการ คิดหาเหตุผล เกิดการคิดต่อยอด ที่คุณครูนั้นสามารถสร้างขึ้นได้จากประเด็นที่ตั้งคำถามในคาบเรียน 

อะไรคือคำถามที่ดี 

จอห์น แม็กเวล ได้บอกเล่าถึงวิธีการตั้งคำถาม ที่น่าสนใจว่าการตั้งคำถามทั่วไปคือตั้งคำถามเพื่อให้คนตอบแค่ข้อมูล (inform)

คำถามทั่วไป – ถามมา ก็ตอบไป 

Q : เมื่อเช้ากินข้าวอะไร

A : กินข้าวขาหมู

คำถามที่ดี – ถามมา ตอบไปด้วยการตระหนักรู้ คือการถามเพื่อให้เกิดจินตนาการ เปลี่ยนกระบวนการคิด และเกิดเป็นความรู้ (transform) 

Q : ในข้าวขาหมู 1 จาน เราเรียนรู้อะไรได้บ้าง

A : สารอาหาร แหล่งที่มาของพื้นและสัตว์ โภชนาการ ฯ

เป็นตัวอย่างคำถามที่เป็นเครื่องมือที่ทำให้การเรียนรู้ของเด็ก ไปถึงเป้าหมาย เมื่อคำถามสร้างการตระหนักรู้ หยิบสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้วมาเป็นคำตอบ หรือฝึกลองคิดวิเคราะห์จากข้อมูลตรงหน้า

แล้วเราจะตั้งคำถามที่ดีได้อย่างไร 

  1. อย่างแรกต้องกำหนดความสำคัญและเป้าหมายของคำถาม ถามเพื่อจุดประกายความคิด ถามเพื่อเกิดความตระหนักรู้ 
  2. คำถามนั้นเกิดหรือสร้างความเปลี่ยนแปลงทางความคิดหรือรูปแบบคำตอบหรือไม่ เช่น วิธีที่ทำให้ได้คำตอบ 86 
  3. เป็นคำถามปลายเปิดที่คำตอบไม่มีขีดจำกัดของคำว่าผิดถูก เพราะประเด็นเล็กจากคำถามปลายเปิดนั้นสร้างนวัตกรรมมานักต่อนักแล้ว
  4. คำถามเพื่อกระตุ้นความสนใจ เป็นโจทย์ใหม่ ๆ ที่สร้างความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียนหรือแม้แต่ครูที่ตั้งคำถามเองก็สนใจอยากรู้ไปพร้อมกัน 

เทคนิคการตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่นวัตกรรม ที่น่าสนใจ 2 เทคนิคดังนี้

เทคนิคการถามแบบ “ไต่ระดับ” ชุดคำถามที่อ้างอิงจาก Bloom’s Taxonomy 6 ระดับ

โดยนำ Bloom’s Taxonomy ที่เรารู้จักกันในฐานะเกณฑ์การจัดจำแนกพฤติกรรมด้านสติปัญญา (Cognitive Domain) 6 ระดับ มาใช้อ้างอิงในการออกแบบชุดคำถามเพื่อให้นักเรียนเกิดการสะท้อนในมิติต่าง ๆ ดังนี้

Remember ใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนรื้อฟื้นความทรงจำ (กระตุ้นความรู้เดิม)

Understand ใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนอธิบายความเข้าใจว่าเข้าใจสิ่งต่างอย่างไร

Apply ใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนทดลองใช้ความรู้ในการนำไปปฏิบัติจริง

Analyse ใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ว่าผลของการปฏิบัตินั้นเกิดผลอย่างไร

Evaluate ใช้คำถามเพื่อการประเมินคุณค่า เพื่อให้นักเรียนตัดสินใจเลือก หรือแสดงจุดยืนในสิ่งที่ตนเองเชื่อมั่น

Create ใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แต่ต้องตั้งเป้าหมายของคำถามดี ๆ เพราะ คำถามในระดับสร้างสรรค์ไม่ได้ดีกว่าระดับความจำ ถ้าหากถามไม่ถูกจุด

The GROW Model การฝึกตั้งคำถามเพื่อสร้างความตระหนักรู้ เป็นคำถามที่จะช่วยให้มีทิศทางการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมได้ 

G – Goal เป้าหมาย หรือปัญหาที่เราอยากแก้ไข

R – Reality สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ตามที่มองเห็น ตามสภาพความเป็นจริง ณ ขณะนั้น

O – Option คิดออกแบบทางเลือกเพื่อแก้ปัญหา ว่ามีกี่วิธี ที่จะออกแบบการแก้ปัญหาได้

W – Way of Forward การเลือกขึ้นตอนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ 

ลองเปลี่ยนวิธีตั้งคำถามและสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนแล้วคุณครูจะรู้ว่าแค่ลองปรับเปลี่ยนวิธีตั้งคำถามนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงให้ห้องเรียนไปได้ขนาดไหน แล้วมาแชร์กัน !!

ขอบคุณข้อมูลจาก 

  • The Secret Sauce | พลังของคำถาม เราจะตั้งคำถามที่ดีได้อย่างไร
  • หนังสือ ถามเป็นชีวิตเปลี่ยน เขียนโดย  เคียวอิจิโค อาวาซึ สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
  • GROW Model โมเดลสำหรับการโค้ช 

.

ติดตาม I AM KRU. สังคมสร้างสรรค์ของคนสอน ได้ในทุกช่องทางได้ที่:

https://linktr.ee/iamkru.eef

.

 4,106 

Writer

1 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า