การเรียนรู้แบบบูรณาการและนวัตกรรมการสอน PBL
ผอ.มุกดา คำวินิจ ผู้อำนวยการและทีมจากโรงเรียนปลาดาว
การเรียนรู้แบบบูรณาการและนวัตกรรมการสอน PBL
เป็นหลักสูตรบูรณาการที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดทักษะที่นำไปสู่สมรรถนะและคุณลักษณะ คุณค่าของผู้เรียนว่าเมื่อจบรายวิชาที่สอนแล้วผู้เรียนจะมีสมรรถนะและคุณลักษณะอย่างไร แล้วจึงวางแผนการจัด การเรียนรู้ โดยจัดเนื้อหาสาระกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลเพื่อให้ได้ทักษะสมรรถนะและคุณลักษณะ / คุณค่า โดยครูอาจจะกำหนดหัวเรื่องใหญ่ (Theme) และให้ผู้เรียนเลือกหัวข้อย่อยด้วยตนเอง หรือครูกำหนดหัวข้อ หลังจากนั้นครูจะนำหัวข้อย่อยมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ตามความสนใจ และตามความต้องการของผู้เรียน โดยครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวก / โค้ชและจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนด
ทักษะศตวรรษในอนาคตมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะ 9 ด้าน + ทักษะอาชีพและทักษะชีวิตของผู้เรียน
- สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
- สมรรถนะการจัดการตนเอง
- การรู้จักตนเอง
- การบริหารจัดการตนเอง
- การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง
- ด้านความสัมพันธ์
- สมรรถนะการสื่อสาร
- การสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ
- สมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม
- การทำงานร่วมกันเป็นทีมและภาวะผู้นำ
- สมรรถนะการคิดขั้นสูง
- การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
- การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา
- สมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
- การรู้จักสังคม
- ทักษะชีวิต อาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ
- การมีส่วนร่วมอย่างมีวิจารณญาณ
- สมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน
- การเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกและในเอกภพ
- การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
- การสร้าง ใช้ และรู้เท่าทันวิทยาการเทคโนโลยี
- การมีคุณลักษณะทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เพื่อเข้าใจระบบธรรมชาติและการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
ระยะที่ 1 การเลือกหัวข้อโครงงาน
- สำรวจรอบ ๆ โรงเรียนหรือรับชมสื่อวิดีโอภาพยนตร์
- คุณครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมที่เด็ก ๆ อยากเรียนรู้
- นักเรียนได้เล่าประสบการณ์ที่เด็ก ๆ ได้พบเจอและอยากเรียนรู้ให้เพื่อน ๆ ฟัง
ระยะที่ 2 การสืบค้นข้อมูลและสร้างสรรค์ผลงาน
- เด็ก ๆ และคุณครูช่วยกันระดมความคิดและร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่ร่วมกันเลือกเพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง
- บูรณาการวิชาต่าง ๆ เข้าไปในกิจกรรมการเรียนรู้
- เรียนรู้โดยเน้นการลงมือทำจริง ศึกษาหาความรู้จากของจริงสถานที่จริง (Active Learning)
ระยะที่ 3 การสรุป / ผลสะท้อนกลับ
- คุณครูและเด็ก ๆ ได้ร่วมกันสรุปกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้นการสืบค้นข้อมูลในระยะที่ 2 เป็น Mind map
- เด็กและคุณครูได้ร่วมกันสนทนาพูดคุยและทบทวนกิจกรรมพร้อมจัดเตรียมห้องเรียนเพื่อจัดนิทรรศการโครงงาน
- นักเรียนซ้อมการแสดงสำหรับการนำเสนอโครงงานของชั้นเรียนในงานวันจัดนิทรรศการ
- นำเสนอนิทรรศการ / เชิญผู้ปกครองและแขก / Live สด / VDO
- วิเคราะห์ผ่านสถานการณ์
Explore สำรวจ
นักเรียนค้นหาหัวข้อที่ตนเองสนใจ หรือปัญหาที่ตนเองต้องการแก้ไขอาจเป็นสิ่งที่เจอในชีวิตประจำวัน พื้นที่ใกล้ตัว รอบโรงเรียน บ้านชุมชน จังหวัด ประเทศ
“พวกเราได้ไปสำรวจที่บ้าน โรงเรียนทำให้พบเจอปัญหาแมลงวันทองมาเจาะกินผลไม้ เช่น มะเฟือง มะม่วง ทำให้ผลไม้เสียหาย”
Define ระบุปัญหา
ระบุปัญหาหรือหัวข้อที่ต้องการศึกษา ไม่จำเป็นที่นักเรียนทุกกลุ่มต้องเลือกหัวข้อเหมือนกัน
สิ่งที่รู้แล้ว (ความรู้เดิม)
- แมลงวันทองชอบกันผลไม้
- แมลงวันทองชอบวางไข่ในผลไม้
- แมลงวันทองชอบกินผลไม้ที่นุ่ม
- แมลงวันทองชอบเก็บสะสมอาหาร
สิ่งที่อยากรู้
- วงจรชีวิตของแมลงวันทอง
- ลักษณะของแมลงวันทอง
- ผลไม้ชนิดใดที่แมลงวันทองชอบกิน
- แมลงวันทองชอบมากินผลไม้ในฤดูไหนมากที่สุด
สิ่งที่ควรรู้
- วิธีการกำจัดแมลงวันทอง
- ชนิดของแมลงวันทอง
- พฤติกรรมของแมลงวันทอง
- ประโยชน์และโทษของแมลงวันทอง
Investigate สืบสวน
สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่ตนเองสนใจ
ลักษณะของแมลงวันทองตัวเมีย
มีตัวสีเหลืองหรือสีทอง มีก้นแหลมใช้วางไข่พอพบผลไม้ผิวอ่อนหรือนิ่มที่จะเป็นอาหารของหมอนได้ ตัวเมียที่พร้อมต่อการวางไข่จะใช้ก้นแหลมผ่านผิวของผลไม้เข้าไปแล้ววางไข่อยู่ในผลไม้นั้น
Create สร้างสรรค์
สิ่งประดิษฐ์ หรือชิ้นงานที่สอดคล้องกับความรู้จากการค้นหาข้อมูลข้างต้น และทำงานร่วมกับเพื่อนกับดักแมลงวันทองจากขวดน้ำพลาสติก
Reflect สะท้อน
ทบทวนและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับขึ้นงานที่ตนเองได้ทำแก่เพื่อน ๆ
สรุปผลการทดลองครั้งที่ 1
- ใช้เหยื่อล่อเป็นผลไม้ ไม่สามารถดักจับแมลงวันทองได้
- การแก้ไขปัญหา
- เปลี่ยนเหยื่อล่อเป็นใบกะเพรา เนื่องจากการสังเกตเห็นว่าแมลงวันทองมาตอมที่ต้นในกะเพรา
สรุปผลการทดลองครั้งที่ 2
สามารถดักจับแมลงวันทองได้จริง จากเหยื่อล่อใบกะเพรา
Act สร้างความแตกต่าง
สิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการแก้ปัญหาไปใช้จริงและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่ชุมชนของตนเอง
*** การประเมินตามสภาพจริงโดยใช้ Application Starfish Class ***
- หน่วยการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Based Learning) ในระดับชั้นอนุบาล 1-3 เวลา 200 ชั่วโมง/ปี
กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Based Learning) เวลา 125 ชั่วโมงต่อ 1 เทอม
จัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบให้แก่ผู้เรียน การสำรวจชุมชนหรือท้องถิ่นและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะต่าง ๆ เช่น กระบวนการคิดแก้ปัญหา การคิดอย่างสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ การสืบค้นและรวบรวมข้อมูล การเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่ม การสำรวจ บันทึก วิเคราะห์ และการอภิปราย ควบคู่ไปกับการบูรณาการความรู้ร่วมกับวิชาต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการ EDICRA ซึ่งประกอบด้วย การสำรวจ การนิยาม / ระบุปัญหา การสืบค้นข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้ การสร้างสรรค์ผลงาน / ลงมือแก้ไขปัญหา การสะท้อนคิด และการนำเสนอผลการดำเนินงานร่วมกับการจัดทำแฟ้มสะสมงานเพื่อใช้ในการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : ระยะเลือกหัวข้อ (10 ชั่วโมง)
แผนที่ 1 : ความหมาย EDICRA ( 2 ชั่วโมง)
แผนที่ 2 : ค้นหาสิ่งที่ตนเองสนใจ (4 ชั่วโมง)
แผนที่ 3 : ความรู้เดิม สิ่งที่อยากรู้ และสิ่งที่ควรรู้ (4 ชั่วโมง)
กระบวนการเรียนรู้แบบ EDICRA ขั้นตอนที่ 1 Explore คือ การค้นหาสิ่งที่ตนเองสนใจ ในขั้นตอนนี้นักเรียนจะได้ออกไปสำรวจนอกชั้นเรียน และเลือกหัวข้อปัญหาที่ตนสนใจศึกษาผ่านการตั้งคำถามกระตุ้นจากผู้สอน เป็นขั้นตอนที่นักเรียนจะได้สำรวจความรู้เดิมจากประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับหัวข้อปัญหาที่นักเรียนศึกษา และตั้งคำถามที่นักเรียนสงสัยเกี่ยวกับหัวข้อปัญหา
กระบวนการเรียนรู้แบบ EDICRA ขั้นตอนที่ 2 Define คือ ขั้นตอนการนำสิ่งที่ตนเองสนใจจากหัวข้อที่ตนศึกษา รวมทั้งคำแนะนำจากคุณครูที่ปรึกษามาระบุเป็นหัวข้อที่จะทำการสืบค้น
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 : ระยะการสืบค้นข้อมูลและสร้างสรรค์ผลงาน (65 ชั่วโมง)
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 : สืบค้นข้อมูล (30 ชั่วโมง)
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 : สร้างสรรค์ผลงาน (35 ชั่วโมง)
กระบวนการเรียนรู้แบบ EDICRA ขั้นตอนที่ 3 Investigate คือ ขั้นตอนการค้นหาข้อมูลตามการวางแผนสืบค้นข้อมูล เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ได้สืบค้น นำมาวิเคราะห์แก้ไขปัญหาตามหัวข้อที่นักเรียนศึกษา โดยนักเรียนสามารถสืบค้นหาข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต สอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ หนังสือหรือสอบถามความคิดเห็นจากบุคคลในโลกแห่งความเป็นจริงของนักเรียน เช่น ผู้ปกครอง ครูหรือเพื่อน เป็นต้น
กระบวนการเรียนรู้แบบ EDICRA ขั้นตอนที่ 4 Create คือ ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อแก้ไขปัญหา ตามหัวข้อที่นักเรียนได้เลือกศึกษา โดยผลงานที่สร้างสรรค์อาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยแก้ไขปัญหา วิธีการหรือไอเดียความคิดที่จะช่วยแก้ไขปัญหา
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : ระยะสรุป ( 50 ชั่วโมง )
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 : สะท้อนความคิด (25 ชั่วโมง)
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 : นำเสนอความรู้ (25 ชั่วโมง)
กระบวนการเรียนรู้แบบ EDICRA ขั้นตอนที่ 5 Reflect คือ ขั้นตอนการสะท้อนความคิด โดยการนำผลงานที่ได้สร้างสรรค์ไปทดลองใช้แก้ไขปัญหาจริง และวัดผลสำเร็จจากการสร้างสรรค์ผลงาน ระบุปัญหา และอุปสรรคที่พบในการทำงานและวิธีแก้ไข
กระบวนการเรียนรู้แบบ EDICRA ขั้นตอนที่ 6 Act คือ ขั้นตอนนำเสนอและแบ่งปันความรู้ โดยนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ทุกขั้นตอนทุกกระบวนการ มาเผยแพร่และสร้างความตระหนัก เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
สมรรถนะของผู้เรียน
1. สมรรถนะการจัดการตนเอง
2. สมรรถนะการคิดขั้นสูง
3. สมรรถนะการสื่อสาร
4. สมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม
5. สมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
6. สมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
เป็นคนช่างสังเกต ช่างคิด ช่างสงสัย และเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการเสาะแสวงหาความรู้
ภาระงาน / ชิ้นงาน
1. ชิ้นงาน เช่น ผลงานศิลปะ ฉีกตัดปะ วาดรูปในไอแพด (ขึ้นอยู่กับครูผู้ออกแบบกิจกรรม)
2. แผนผังแสดงความรู้จากการวางแผนสืบค้นข้อมูล
3. ชิ้นงานแสดงความรู้จากการที่ได้ค้นหาตามแผนสืบค้นข้อมูล (อาจอยู่ในรูปแบบผลงานศิลปะ ฉีกตัดปะ วาดรูปในไอแพด การทำอาหาร หรืออื่น ๆ (ขึ้นอยู่กับครูผู้ออกแบบกิจกรรม และวิธีจัดเก็บข้อมูลของนักเรียนแต่ละชั้นเรียน)
4. ชิ้นงานสำหรับใช้ในการนำเสนอและเผยแพร่ความรู้ เช่น ผลงานศิลปะ สื่อการสอน แผนผังความคิด การจัดแต่งห้องในการนำเสนอผลงาน เป็นต้น
- การวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ PBL (Problem Based Learning) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยากรค้นคว้าเชิงระบบ (Problem Based Learning) 160 ชั่วโมง ต่อ 1 หัวข้อโครงการงานต่อเทอม
การจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อฝึกทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบให้แก่ผู้เรียน การสำรวจชุมชนหรือท้องถิ่น และกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะต่าง ๆ เช่น กระบวนการคิดแก้ปัญหา การคิดอย่างสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ การสืบค้นและรวบรวมข้อมูล การเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่ม การสำรวจ บันทึก วิเคราะห์ และการอภิปราย ควบคู่ไปกับการบูรณาการความรู้ร่วมกับวิชาต่าง ๆ ในกลุ่มวิชาพื้นฐาน โดยมีครูผู้สอนเป็นที่ปรึกษา โดยใช้กระบวนการ EDICRA ซึ่งประกอบด้วย การสำรวจ / ระบุปัญหา การสืบค้นข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้ การสร้างสรรค์ผลงาน / ลงมือแก้ไขปัญหา การสะท้อนคิด และการนำเสนอผลการดำเนินงาน ร่วมกับการจัดการแฟ้มสะสมงาน เพื่อใช้ในการประเมินผู้เรียนตาสภาพจริง
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : สำรวจ (Explore) (10 ชั่วโมง)
แผนที่ 1: ความหมาย EDICRA (2 ชั่วโมง)
แผนที่ 2 : ค้นหาสิ่งที่ตนเองสนใจ (6 ชั่วโมง)
แผนที่ 3 : ความรู้เดิม (2 ชั่วโมง)
กระบวนการเรียนรู้แบบ EDICRA ขั้นตอนที่ 1 Explore คือ การค้นหาสิ่งที่ตนเองสนใจ ในขั้นตอนนี้นักเรียนจะได้ออกไปสำรวจนอกชั้นเรียน และเลือกหัวข้อปัญหาที่ตนสนใจศึกษาผ่านการตั้งคำถามกระตุ้นจากผู้สอน เป็นขั้นตอนที่นักเรียนจะได้สำรวจความรู้เดิมจากประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับหัวข้อปัญหาที่นักเรียนศึกษา
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 : ระบุปัญหา (Define) (20 ชั่วโมง)
แผนที่ 1 : สิ่งที่อยากรู้ และสิ่งที่ควรรู้
แผนที่ 1 : ระบุหัวข้อสืบค้น (4 ชั่วโมง)
แผนที่ 2 : วางแผนสืบค้น (4 ชั่วโมง)
กระบวนการเรียนรู้แบบ EDICRA ขั้นตอนที่ 2 Define คือ ขั้นตอนการนำสิ่งที่ตนเองสนใจจากหัวข้อปัญหาที่ตนศึกษา รวมทั้งคำแนะนำจากคุณครูที่ปรึกษา มาระบุเป็นหัวข้อที่จะทำการสืบค้นและวางแผนการสืบค้นโดยมีครูที่ปรึกษาดูแล
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : ค้นหาข้อมูล (Investigate) (40 ชั่วโมง)
แผนที่ 1 : สืบค้นข้อมูล
กระบวนการเรียนรู้แบบ EDICRA ขั้นตอนที่ 3 Investigate คือ ขั้นตอนการค้นหาข้อมูลตามการวางแผนสืบค้นข้อมูล เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ได้สืบค้นนำมาวิเคราะห์แก้ไขปัญหาตามหัวข้อที่นักเรียนศึกษา โดยนักเรียนสามารถสืบค้นหาข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต สอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ หนังสือ หรือสอบถามความคิดเห็นจากบุคคล
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 : สร้างสรรค์ผลงาน (Create) (46 ชั่วโมง)
แผนที่ 1 : สร้างสรรค์ผลงาน
กระบวนการเรียนรู้แบบ EDICRA ขั้นตอนที่ 4 Create คือ ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อแก้ไขปัญหาตามหัวข้อที่นักเรียนได้เลือกศึกษา โดยผลงานที่สร้างสรรค์ อาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยแก้ไขปัญหา วิธีการ
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 : สะท้อนความคิด (Reflect) (24 ชั่วโมง)
แผนที่ 1 : สะท้อนความคิด
กระบวนการเรียนรู้แบบ EDICRA ขั้นตอนที่ 5 Reflect คือ ขั้นตอนการสะท้อนความคิด โดยการนำผลงานที่ได้สร้างสรรค์ไปทดลองใช้แก้ไขปัญหาจริงและวัดผลสำเร็จจากการสร้างสรรค์ผลงาน ระบุปัญหาและอุปสรรคที่พบในการทำงานและวิธีแก้ไข
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 : ปฏิบัติ / แบ่งปัน (Act) (20 ชั่วโมง)
แผนที่ 1 : นำเสนอความรู้
กระบวนการเรียนรู้แบบ EDICRA ขั้นตอนที่ 6 Act คือ ขั้นตอนนำเสนอและแบ่งปันความรู้ โดยนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ทุกขั้นตอนทุกกระบวนการมาเผยแพร่และสร้างความตระหนัก เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
สมรรถนะของผู้เรียน
1. สมรรถนะการจัดการตนเอง
2. สมรรถนะการคิดขั้นสูง
3. สมรรถนะการสื่อสาร
4. สมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม
5. สมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
6. สมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
เป็นคนช่างสังเกต ช่างคิด ช่างสงสัย และเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการเสาะแสวงหาความรู้
ภาระงาน / ชิ้นงาน
1. ใบงานหัวข้อปัญหาที่ต้องการศึกษา
2. ใบงานความรู้เต็มจากประสบการณ์เกี่ยวกับหัวข้อปัญหาที่ศึกษา
3. ใบงานสิ่งที่อยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อปัญหาที่ศึกษา
4. ใบงานสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับหัวข้อปัญหาที่ศึกษา
5. ใบงานวางแผนการสืบค้นข้อมูล
6. ใบงานการรวบรวมข้อมูลที่ได้ค้นหาตามแผนสืบค้นข้อมูล
7. ผลงานที่สร้างสรรค์ ตามแผนที่ได้วางไว้
8. ในบันทึกผลการใช้ผลงาน ปัญหาอุปสรรคและวิธีแก้ไขปัญหา 1
9. ไฟล์และชิ้นงานสำหรับใช้ในการนำเสนอและเผยแพร่ความรู้
Writer
- Admin I AM KRU.