เรียนภาษาไทยอย่างเข้าใจ ผ่านไทยวรรณกรรม

Share on

 784 

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีด้านภาษาไทยผ่านวรรณกรรม

โดย 3 นักเล่าเรื่อง 

ครูวรานุช น้อยรูปเรา (ครูบอล) โรงเรียนสาธิตวัดพระบรมธาตุ จังหวัดกำแพงเพชร

ครูทัศนีย์ แก้วกองทรัพย์ (ครูก้อย) โรงเรียนบ้านหนองกุลา จังหวัดพิษณุโลก (โรงเรียนขยายโอกาส)

ครูพัชราภรณ์ หยวกยง (ครูต้อง) โรงเรียนบ้านหนองหิน จังหวัดพิษณุโลก (โรงเรียนขยายโอกาส)

ทำไมต้องภาษาไทยผ่านวรรณกรรม 

ครูทัศนีย์ แก้วกองทรัพย์ (ครูก้อย) บอกเล่าว่าจบมาทางชีววิทยา สิ่งที่เรียนมาไม่เกี่ยวข้องกับวิชาภาษาไทยโดยตรง แต่ภาษาไทยเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ในสาขาวิชาอื่น 

Model ภูเขาน้ำแข็ง การเรียนภาษาไทยแบบเดิมเป็นการเรียน Passive  Learning เป็นการเรียนตามที่ครูให้ อ่าน ท่อง จำ แต่เด็กไม่รู้ว่าเรียนรู้ไปเพื่ออะไร การอ่านแต่ละรูปแบบความหมายอย่างไร การทำงานส่งครูมีแค่ตอบถูกตอบผิด แต่ไม่มีคำอธิบายว่าผิดเพราะอะไร รู้แต่ว่าต้องทำงานที่ครูสั่งให้เรียบร้อย เป็นการเรียนรู้แบบครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher-Based Learning) ครูเป็นผู้ออกคำสั่งในการเรียนรู้ เกิดการปิดกั้นการเรียนรู้ที่ควรให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child-Based Learning) อย่างที่ควรจะเป็น การเรียนภาษาแบบแยกส่วนไม่มีการเรียนรู้จากคำศัพท์แหล่งอื่น

ครูทัศนีย์ตั้งคำถามที่น่าสนใจว่า ‘จะดีกว่าไหมถ้าเรียนภาษาไทยเพื่อนำไปใช้ชีวิตอย่างอื่นได้’ คิดวิเคราะห์ ในรายวิชาอื่น ๆ ได้ เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำเป็นสมรรถนะ เหมือนการขับรถที่เป็นทักษะติดตัวไปตลอดชีวิต จึงเกิดคำถามว่าแล้วจะเปลี่ยนการเรียนรู้ได้อย่างไร ครูก้อยบอกต่อไปอีกว่า เด็กจะเปลี่ยนได้เมื่อเรียนรู้อย่างมีความสุข การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้อย่างดีเยี่ยม

ครูวรานุช น้อยรูปเรา (ครูบอล) เล่าประสบการณ์การสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นที่ใช้การเรียนภาษาไทยผ่านวรรณกรรมว่าเด็ก ๆ ในชั้นเรียนพบปัญหาอะไรบ้าง

ก่อนใช้กระบวนการสอน เด็กใช้จำเป็นคำ ๆ แต่ไม่เข้าใจ เด็ก ๆ ยังไม่ค่อยแม่น ไม่ค่อยรู้ตัวอักษร สะกดไม่ค่อยได้ 

หลังใช้กระบวนการสอน วิธีการสอนเป็นการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน ตัวอักษร การสะกด การผสมคำ มีคลังคำเพิ่มมากขึ้น  พอผสมคำเป็นก็เริ่มโยงไปกับการเขียนเรื่อง สามารถลำดับเรื่องราวและเหตุการณ์อย่างเป็น ระบบ เกิดสมรรถนะการเรียนรู้ที่นักเรียนจะได้รับ

▪ สมรรถนะการจัดการตนเอง

▪ สมรรถนะการคิดขั้นสูง

▪ สมรรถนะการสื่อสาร ฟัง พูด อ่าน เขียน

▪ สมรรถนะการทำงานเป็นทีม 

ครูพัชราภรณ์ หยวกยง (ครูต้อง) 

ก่อนเข้าร่วมอบรมก็สอนแบบเดิม ๆ เหมือนครูภาษาไทยทั่วไปสอนมากี่ปีก็เหมือนเดิม เด็กก็ไม่ได้พัฒนาขึ้น เด็กนักเรียนจับประเด็น จับใจความ  สรุปใจความจากสิ่งที่อ่านไม่ได้ มีโอกาสได้ไปเรียนรู้การสอนที่โรงเรียนลำปลายมาศ ก็นำแผนการสอนมาใช้และนำมาประยุกต์ให้เป็นแบบฉบับของตนเอง เมื่อปรับมาเป็นของเราก็นำมาจัดกระบวนการ 4 ขั้นตอน  พอเปลี่ยนเด็กได้อ่านวรรณกรรมรู้สึกสนุกกับเรื่องราวที่อ่าน และมีการพัฒนาภาษาไทยที่ดีมากขึ้น เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนจากผลการสอบการอ่านของสพฐ. จากที่เขียนไม่ได้เลยพอเรียนได้สักเทอม เด็กเขียนดีขึ้น

‘ครูเป็นโค้ชที่คอยแนะนำวรรณกรรมที่เป็นประโยชน์’

การสอนวรรณกรรมใช้เวลาแต่ละขั้นตอนค่อนข้างเยอะต้องให้เวลากับนักเรียนเพื่อเข้าที่แล้วก็จะเรียนรู้ไปได้เรียนมาก เกิดการเชื่อมโยงกับหลักภาษาสามารถแยกแยะรูปประโยคความซ้อนได้ และสามารถนำไปใช้ในการเรียนและสื่อสารได้  

จุดมุ่งหมายของการสอนภาษาไทยผ่านวรรณกรรม

ครูวรานุช น้อยรูปเรา (ครูบอล)

ที่เลือกใช้เพราะต้องการให้เด็กเกิดการคิดวิเคราะห์ ในโลกปัจจุบันได้ แยกแยะข้อมูล ข่าวสาร คิดวิเคราะห์ แยกแยะ ตีความเนื้อหาที่อ่านได้ แยกความจริง แยกความเท็จได้ 

ครูทัศนีย์ แก้วกองทรัพย์ (ครูก้อย)

เมื่อเรียนภาษาไทยสามารถใช้กระบวนการของภาษาไทยไปเรียนรู้จากวิชาอื่นได้ด้วย อย่างวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ข้อมูล คณิตศาสตร์วิเคราะห์โจทย์ สามารถเข้าใจคำถามจากรายวิชาอื่น ภาษาไทยจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนวิชาอื่น ถ้าเด็กอ่านภาษาไทยไม่แตก วิเคราะห์ไม่ได้ นำไปใช้ไม่ได้ การเรียนรู้วิชาอื่นจะเป็นอุปสรรคทันที

ครูจะมีหน้าที่เป็นโค้ชแนะนำแต่ไม่มีหน้าที่บอกว่าควรทำอย่างนี้ สิ่งนี้ ครูมีหน้าที่ประคองเพื่อให้เด็กคิดเป็น เมื่อจบออกไปแล้วเด็กสามารถใช้งานภาษาไทยในชีวิตประจำวันและต่อยอดอย่างหนึ่ง

ครูพัชราภรณ์ หยวกยง (ครูต้อง)

จากประสบการณ์การสอนที่ผ่านมาของครูต้อง ว่าการเรียนการสอนแบบเดิมหรือที่เรียกว่า Passive Learning ไม่ช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาการอ่านและการคิดของนักเรียนได้มากเท่าที่ควร เพราะปัจจุบันเด็กไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือ ครูจึงสอนแบบเดิมไม่ได้แล้ว พอได้ไปอบรมก็ลอง เปิดใจ ปรับ mindset ลองค้นหาว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การสอนแบบนี้มีประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างไร 

จึงพบว่าการเรียนวรรณกรรมในรูปแบบนี้ทำให้เปิดไปสู่อีกโลก ได้คลังคำจำนวนมาก ทั้งไปดูอีกชีวิต และเรื่องราวของคนอื่น (ในเรื่องเล่า)  เกิดการตีความว่าเรื่องราวที่อ่านสะท้อนอะไรบ้าง เกิดความคิดขั้นสูง เมื่อคิดเป็นก็เขียนได้ ซึ่งการเรียนรู้ในรูปแบบนี้จะทำให้เด็กไปถึงการเรียนรู้ขั้นนั้นได้ 

การเรียนภาษาไทยผ่านวรรณกรรม = Active Learning

วิธีเลือกวรรณกรรม เลือกอย่างไร ?

ครูบอล เลือกให้เหมาะสมกับช่วงวัย และมองที่ผลลัพธ์ของนักเรียนว่าจะได้อะไรจากวรรณกรรม/นิทานเรื่องนี้บ้าง หลักภาษา มาตรฐานตัวชี้วัด สมรรถนะที่นักเรียนจะได้ คุณธรรมที่จะได้รับหลังจากเรียนจบ 

วิธีการเลือกของครูก้อย ช่วงชั้นเด็กต้องหลักภาษาอะไร พร้อมดูตัวชี้วัดประกอบ วิเคราะห์เนื้อหาเชิงสังคมให้เหมาะกับนักเรียนตามช่วงชั้นด้วย โดยของครูต้องมีความคล้ายคลึงกันแต่จะเลือกเรื่องที่มีคุณค่าที่เหมาะกับผู้เรียนและให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือกหนังสือ เพื่อให้เด็กเป็นเจ้าของการเรียนรู้ไปด้วยและในช่วงนี้ ครูบอล ครูก้อย ครูต้อง ครูนักเล่าเรื่องทั้งสามท่าน ได้เล่าถึงขั้นตอนการเรียนรู้ภาษาไทยผ่านวรรณกรรมเพื่อการคิดขั้นสูง ที่มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้เป็น Active Learning ของระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นขั้นตอนพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนได้ทันที หรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับเนื้อหาหรือบริบทการเรียนการสอนได้ โดยการเรียนรู้ภาษาไทยผ่านวรรณกรรม มี 5 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 : คาดเดาเรื่อง ครูต้องรีวิวหนังสือด้วยตนเองก่อน

  • จากปก สิ่งของ คำสำคัญ ให้ผู้เรียนหาคำสำคัญของเรื่อง ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ให้ออกความเห็นว่าเนื้อเรื่องจะเป็นอย่างไร 

ขั้นที่ 2 : การอ่าน 

  • อ่านจับประเด็น ทำความเข้าใจเรื่องผ่านการอ่าน สำหรับเด็กเล็กอาจจะ ครูอ่านก่อน เด็กอ่านตาม อ่านพร้อมกัน เพื่อสร้างความมีส่วนร่วม ใช้จิตวิทยาเชิงบวกเข้าร่วมด้วย ชื่นชม เสริมพลังเด็ก กระตุ้นเด็กเป็นระยะ
  • อ่านไฮไลท์คำ สร้างอภิธานศัพท์ (คลังคำ) คำศัพท์ใหม่ที่ไม่เคยเจอ คำศัพท์ที่น่าสนใจ จดบันทึกไว้อาจจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ ให้ออกแบบวิธีนำเสนอคำศัพท์ที่น่าสนใจ หรือไปหาบริบทการใช้คำศัพท์ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ให้ความหมายไม่เหมือนกัน เพื่อสะท้อนความเข้าใจของนักเรียน 

ขั้นที่ 3 : การตีความใต้บรรทัด เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับเด็ก โดยครูต้องไปอ่านและศึกษาเรื่องราวมาอย่างละเอียดก่อนพานักเรียนเข้าสู่การเรียนรู้วรรณกรรมเล่มนั้น 

  • ระดับ 1 ตีความเรื่อง (สิ่งที่เรื่องไม่ได้บอก) ครูคิดว่าจะตั้งคำถามอะไรได้บ้างจากเรื่องที่อ่าน สัญลักษณ์ สัญญะ ต่าง ๆ ที่ซ่อนภายในเรื่อง 
  • ระดับ 2 ตีความเพื่อสะท้อนความเชื่อ สังคม วัฒนธรรม ชีวิต เพื่อเปรียบเทียบกัน ระดับนี้จะค่อนข้างยากครูอาจจะต้องยกตัวอย่างให้ก่อนเพื่อเป็นแนวทาง หรือหยิบยกตัวอย่างประโยคในเรื่องมาช่วยกันตีความ หาความหมายที่ซ่อนอยู่

ขั้นที่ 4 : การเชื่อมโยงหลักภาษา เป็นขั้นที่ทำการเรียนภาษาไทยที่สนุกไปด้วย 

  • จัดระบบข้อมูล (จากต้นเรื่อง) 
  • เปิดประสบการณ์ทางภาษา (อ่าน เขียน เชื่อม โดยแต่งประโยคหรือเรื่อง) นำมาใช้แต่งเรื่อง ต่อยอดเรื่อง
  • สร้างคอนเซ็ปต์ (กฎเกณฑ์ทางภาษา) สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียน ถ้าสรุปได้หมายความว่านักเรียนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียน

ขั้นที่ 5 การสื่อสารและสารสำคัญผ่านเรื่องแบบต่าง ๆ ผู้เรียนถ่ายทอดสาร/สารสำคัญผ่านสื่อ เช่นนิทาน การ์ตูนช่อง โปสเตอร์ งานเขียนรีวิวหรือหนังสั้น นักเรียนมีอิสระในการเลือกในการนำเสนอเกิดความคิดสร้างสรรค์ตามแบบที่ตนเองถนัด 

ในส่วนนี้ครูก้อย ได้เล่าเสริมเรื่องการจัดการนักเรียนติดโทรศัพท์มือถือในระหว่างเรียน เมื่อก่อนเคยยึดโทรศัพท์ไว้ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนจากการเก็บไว้กับครูเป็นให้ผู้เรียนได้ใช้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถทำได้ในมือถือมาใช้ในการนำเสนองาน เช่น โปรแกรม Canva 

โดยทุกขั้นตอนครูมีหน้ามีบทบาทที่สำคัญในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไป และทุกกระบวนการมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงในทั้งตัวครูและนักเรียน 

รับชม Live เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีด้านภาษาไทยผ่านวรรณกรรม 

“จากเวทีมหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนพัฒนาตนเองระดับพื้นที่ ครั้งที่ 1”

https://fb.watch/mgAoNDMgs8/

Writer

5 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า