เพิ่งเข้ามาบริหารโรงเรียนได้เพียง 1 ปี โดยที่ก่อนหน้านั้นเป็นผู้บริหารโรงเรียนวัดเทพนมเชือด อ.ร่อนพิบูลย์ สพป.นศ. เขต 3 เป็นช่วงโควิดขึ้นกราฟสีแดงผู้ป่วยติดโควิดเป็นอันดับต้น ๆ ของจังหวัดและบางวันติดระดับประเทศ และโรงเรียนไม่ได้เข้าร่วมโครงการ TSQP
การจัดการเรียนการสอน
โรงเรียนวัดเทพนมเชือด ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล แต่เมื่อเกิดวิกฤตจึงพบว่ามีเด็กจำนวนหนึ่งในโรงเรียนเข้าไม่ถึงเทคโนโลยี ไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต แล้วครูจะจัดการเรียนได้อย่างไร
ปัญหาแรกที่ต้องแก้
มุ่งเป้าแก้ปัญหาไปที่การพัฒนาครูให้มีทักษะพร้อมรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัว ความท้าทายต่อมาโรงเรียนมีนักเรียนตั้งแต่ อนุบาล 1 – ประถมศึกษาปีที่ 6 แต่กำลังครูไม่ครบชั้น ผู้อำนวยการจึงช่วยเป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
พอเริ่มจัดการเรียนการสอนก็เริ่มเห็นความท้าทายที่มาพร้อมกับการระบาดของโควิด -19
- เด็กมาเรียนที่โรงเรียนไม่ได้
- เด็กไม่มีอุปกรณ์การเรียนที่รองรับการจัดการเรียนรู้แบบต่าง ๆ
- ผู้ปกครองตกงาน ยากจนเฉียบพลัยน
- นักเรียนต้องช่วยงานที่บ้านไม่ได้เรียน
- ไม่มีผู้ปกครองดูแล ติดเกม ไม่มีวินัย ขาดความรับผิดชอบ
ผอ. เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นดีจึงคาดหวังนักเรียนออนไลน์แค่ 50 % ก็ถือว่าดีแล้ว แต่ความเป็นจริงมีเด็กเข้าเรียนประมาณ 20-30 % เท่านั้น อาจจะเป็นเพราะการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองน้อยเกินไป ผ่านไป 5 วัน สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น จึงขอความร่วมมือครูไปเยี่ยมบ้าน
เมื่อถึงบ้านนักเรียนก็พบว่าเด็กต้องช่วยเหลืองานที่บ้านเพราะผู้ปกครองตกงาน เด็กบ้างบ้านเข้าไม่ถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต เมื่อเด็กอยู่ในความยากลำบาก และเด็กเริ่มเจ็บป่วยเรียนออนไลน์ไม่ได้ แล้วครูจะจัดการความท้าทายนี้อย่างไร
ช่วงแรกใช้กองทุนอาหารเช้าเปลี่ยนเป็นถุงยังชีพแจกให้กับนักเรียน พร้อมทั้งเครือข่ายศิษย์เก่า (พี่ไหม พี่ฟุย) ได้ระดมเงินทุนช่วยเหลือจนได้เงินซื้อของจัดถุงยังชีพเพื่อให้เด็กเอาตัวรอดได้ในช่วงพีคโควิด-19 ทำให้เห็นว่าเครือข่ายศิษย์เก่าที่มีความผูกพันกับโรงเรียน ส่งต่อโอกาสกับน้อง ๆ เมื่อเขาได้รับโอกาสที่ดี เมื่อเด็ก ๆ เติบโตขึ้นจะกลายเป็นพลังที่สำคัญของประเทศชาติ และจะกลับมาส่งต่อโอกาสกับน้อง ๆ รุ่นหลังเหมือนที่เคยได้รับ
ต้องพร้อมรับมือกับสถานการณ์ไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โรงเรียนวัดเทพนมเชือด ไม่ได้เข้าร่วมโครงการของ กสศ. ไม่ได้มีพี่เลี้ยงคอยดูแล ถ้าเปรียบเป็นมวยก็เป็นมวยวัด เหวี่ยงหมัดสู้เท่าที่จะสู้ได้ สู้ต่อและไม่ทิ้งนักเรียนไว้ข้างหลัง
“
แรงใจและพลังสำคัญที่ทำให้การบริหารโรงเรียนไปต่อในสภาวยากลำบากนั้น คือการมองไปที่เด็กนักเรียน การตัดสินใจมาเป็นครูนั้นต้องการใช้วิชาชีพความรู้ในการพัฒนาเด็กนักเรียน รักเด็กอยากพัฒนาเด็ก ผอ.จิรา เล่าว่าตนเองมาจากครอบครัวที่ให้โอกาสในหลายด้าน เมื่อมาเป็นครูจึงอยากส่งต่อโอกาสดี ๆ ที่ตนเองได้รับกับนักเรียน แต่งานนี้ไม่สามารถดำเนินการได้เพียงลำพัง ต้องอาศัยความร่วมมือจากครู ผู้ปกครอง ชุมชน โดยใช้ soft skills ที่ถนัดของตนเองคือ ทักษะการทำงานประสานงานกับผู้อื่น เป็นตัวเชื่อมโยงให้ทุกภาคส่วนขับเคลื่อนจนเกิดผลสำเร็จ
”
ค้นหาสาเหตุที่เกิดขึ้น ครูไม่ได้มีแค่หน้าที่สอนแต่มีหน้าที่ดูแลนักเรียนให้ได้เรียน ให้อยู่อย่างมีความสุขด้วย เครือข่ายที่ดูแลนักเรียนยังมีอีกหลายส่วนที่คอยสนับสนุนกัน
หมอหนึ่ง (ผู้อำนวยการโรงพยาบาลร่อนพิบูลย์) ที่ลงมาสร้างสุขภาพอนามัยเด็กที่ดีในอนาคตด้วย
จากสถานการณ์โควิด-19 จากที่ไม่เคยคิดว่าจะมีวันที่โรงเรียนจัดการเรียนการสอนไม่ได้ กลายเป็นบทเรียนสำคัญของการทำหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียนสำคัญ 3 ข้อ
- การตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นเรื่องสำคัญ
- ถ้านักเรียนไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ ต้องหาสาเหตุ หาแนวทางช่วยเหลือ อย่าทิ้งเด็กไว้ข้างหลัง
- มีเครือข่ายในการดูแลนักเรียน มีอีกหลายส่วนทั้งสาธารณสุข โรงพยาบาล โดยเฉพาะเครือข่ายศิษย์เก่าและเครือข่ายผู้ปกครอง ที่เป็นกำลังสำคัญคอยหนุนเสริม
การจัดการเรียนรู้หลังภาวะโควิด-19 คลี่คลาย
จากโรงเรียนวัดเทพนมเชือด ผอ.จิรา ได้ย้ายมารับตำแหน่งที่โรงเรียนวัดนาหมอบุญในช่วงหลังโควิด เมื่อมารับตำแหน่งจึงประเมินสถานการณ์ของโรงเรียนหลังโควิดจึงพบว่า
- เด็กถดถอยทางการเรียนรู้
- อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ พัฒนาการไม่เป็นไปตามวัย โดยเฉพาะชั้น ป. 2
- มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ไม่อยากมาเรียน ติดโทรศัพท์ นอกดึกตื่นสาย ไม่มีวินัย ไม่มีความรับผิดชอบ
สร้างเครือข่าย
สิ่งแรกดำเนินการ คือการสร้างเครือข่าย สร้างความร่วมมือ เข้าพบนายอำเภอ คณะกรรมสถานศึกษา หัวหน้าส่วนราชการเพื่อขอทราบแนวทางการขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่ตำบลวัดนาหมอบุญว่าอย่างไรบ้างเพื่อจะได้ดำเนินการทันทีในช่วงที่เปิดภาคเรียนใหม่ แต่ก็พบเรื่องที่ท้าทายการทำงาน คือครูในโรงเรียนไม่อยากทำ 6 มาตรการ TSQP ขอทำแค่เพียง Q-Info
เมื่อทราบเรื่องจึงเริ่มพูดคุยกับครูในโรงเรียนหาทางออกปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากเห็นประโยชน์ที่โรงเรียนจะได้รับหากดำเนิน 6 มาตรการ TSQP เข่น Active Learning ด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ ทักษะการเรียนรู้ที่ติดตัวเด็กสู่การเรียนรู้ที่สูงขึ้นพร้อมนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน แบบที่หลายโรงเรียนดำเนินการประสบผลสำเร็จมาแล้ว
ปักธงการทำงาน TSQP 6 มาตรการ
เริ่มจัดวง PLC เพื่อ Re-skill / Up-skill ทักษะการสอนจากโค้ชมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) พร้อมแก้ปัญหาข้อติดขัดของครูไปทีละส่วน จนได้ครูแกนนำ นำเพื่อนให้ลุล่วงเป้าหมายการพัฒนาทักษะครูตามที่วางแผนไว้ เป็นการเตรียมความพร้อมครูที่สามารถปรับการเรียนการสอนออกแบบการเรียนรู้ตามมาตรฐานได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน
ใช้กระบวนการ PLC แก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก 5 ขั้นตอน
- Community สร้างทีมครู
- Practice จัดการเรียนรู้ เช่นการคิดวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ ร่วมกันออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในการจัดแผนการเรียนรู้
- Reflection สะท้อนคิดเพื่อการพัฒนาการปฏิบัติ
- Evaluation ประเมินเพื่อพัฒนาสมรรถนะครู
- Network Development สร้างเครือข่ายการพัฒนา
ภาพความสำเร็จ โรงเรียนแห่งความสุข ถ้าทุกคนในองค์การมีความสุขถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว
- เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข
- เด็กใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
- ครูใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการพัฒนางาน
ความสุขของทุกคนในองค์กรเป็นเพียงก้าวหนึ่งของโรงเรียน แต่ตัวความสำเร็จที่สำคัญตามมาตรฐานตตัวชี้วัดของหน่วยงานกลาง ทั้งผลการประเมินความสามารถทางการเรียนรู้ของผู้เรียน (RT) และผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียน ป.6 ได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ
บทเรียนที่ได้รับ/สิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้น
- มีเครือข่ายการเรียนรู้ในวันที่ตำบลนาหมอบุญ (ตำบล นาหมอบุญมี 4 โรงเรียน สร้างทีม PLC เป็นวิชาเอก ต่อยอดไปสู่การขอเลื่อนวิทยฐานะจากการทำงานที่เป็นปกติ)
- ครูทุก ๆ คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากผู้ถ่ายทอดความรู้ เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ (ครูโค้ช) และได้รับการนิเทศเพื่อพัฒนางาน
- เด็ก ๆ ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ที่วิทยาศาสตร์มีความเชื่อมโยงกับ อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เด็กมีความเข้มแข็งพร้อมที่จะดำเนินชีวิตในสังคม
- ผู้บริหาร ครู และบุคลากรใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือการพัฒนางาน
Writer
- Admin I AM KRU.