Lifelong Learning : เก่งนอกรอบ พัฒนาทักษะสู่โลกแห่งอนาคต | รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ศานนท์ หวังสร้างบุญ
“การเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่ใช่แค่นักเรียนหรือคนที่เกี่ยวข้องในวงการการศึกษาเท่านั้น แต่คือทุกคน โดยเฉพาะรัฐบาล ภาครัฐ ท้องถิ่นที่จะต้องเรียนรู้ร่วมกัน”
ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกริ่นให้เห็นภาพเรื่องของ Learning City หรือ Lifelong Learning City ซึ่งประเด็นที่กรุงเทพมหานครกำลังขับเคลื่อน ในปี พ.ศ. 2567 นี้เป็นปีแห่งความร่วมมือกับทางองค์กรยูเนสโก (UNESCO) เพื่อขับเคลื่อนให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ปัจจุบันมีเมืองประมาณ 100 เมืองทั่วโลกที่เป็นหนึ่งในเครือข่ายเมือง Global Network of Learning Cities
สิ่งแรกที่ รองผู้ว่า ฯ ศานนท์ หวังสร้างบุญ ได้กล่าวถึงเรื่อง ‘การศึกษา’ (Education) ที่มีความหมาย ถึง What other people do to you ….. การศึกษาคือการที่มีคนทำการเรียนรู้ให้เรา แต่ถ้าการเรียนรู้คือคำว่า ‘Learning’ หมายถึง What you do to yourself ที่ผู้เรียนได้เป็นเจ้าของความรู้ของตนเอง รู้เองว่าตนเองอยากที่จะเรียนรู้อะไร อยากที่จะนำความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งที่รู้ไปในทิศทางใด มองว่า ควรเปลี่ยนเรื่องของการศึกษา (Education) ให้เป็นเรียนรู้ (Learning) ในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นความสนใจและเห็นเป้าหมายว่าจะพัฒนาตัวเองอย่างไร
แต่การจะขับเคลื่อนทำให้การศึกษา (Education) ให้เป็นการเรียนรู้ (Learning) ได้นั้นต้องดำเนินการภายใต้ความร่วมมือกับหลายภาคส่วน กทม. จึงนำนโยบายทั้งหมดของท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กว่า 200 นโยบาย โดยมีจำนวนถึง 47 นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่เป็นเสาหลักในการดำเนินงาน มี 5 กุญแจการขับเคลื่อน (5 Key Driver) และ 5 พื้นที่หลักในการทำงาน (5 Primary Areas) ที่จะสร้างนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ โดยการขับเคลื่อนอยู่ภายใต้ 4 ประเด็น ดังนี้
- 1. การดูแลเด็กปฐมวัย
1.1 มี 2 ประเด็นที่อยากดำเนินการ คือ
1.) เด็กเล็กได้รับการดูแลเร็วขึ้น ปัจจุบันเด็กสองขวบ ยังไม่มีที่เรียนอยู่ประมาณ 90% เด็กจะเริ่มเข้าสู่โรงเรียนก็คือ 3 ขวบ ช่วงเวลา 3 ปี ที่เด็กจะอยู่ในสภาวะแวดล้อมและการศึกษาแบบไหน เราไม่รู้เลย
2.) พัฒนาหลักสูตรและกายภาพให้ดีขึ้น หมายความว่า ในโรงเรียน ห้องเรียน ศูนย์เด็กเล็กอาจจะต้อง มีหลักสูตรวิธีการเรียนการสอนที่พัฒนาเด็กให้สมวัย
1.2 เด็กเล็กได้รับการดูแลเร็วขึ้น
ตัวเลขอัปเดตล่าสุด มีเด็ก 0-6 ปี ตามทะเบียนราษฎร์อยู่ทั้งหมด 284,677 คน มีเด็กที่อยู่ในการดูแลของ กทม. อยู่ที่ 71,140 คน แปลว่าเรากำลังละเลยเด็กอยู่ประมาณ 200,000 คน ไม่รู้เลยว่าเด็กเรียนอยู่ที่ไหน ไม่รู้ว่าพัฒนาสมวัยหรือไม่สมวัยอย่างไร
ช่วงอายุ 0-8 ปี คือช่วงเวลาทอง (Golden Period) หากการดูแลในช่วง 0-8 ปี ไม่ดี เมื่อเด็กเติบโตขึ้นจะมีภาวะออทิสติกเทียม ทำให้การเรียนรู้ล่าช้า เป็นความท้าทายว่าจะทำยังไงให้สามารถดูแลเด็กได้เร็วขึ้น
ประการแรก ที่เราทำตอนนี้ คือ เราขยายชั้นเรียน โรงเรียนใน กทม. แรกรับเด็กที่อายุ 4 ขวบ ก็ปรับลดอายุการรับเด็ก 3 เข้ามา มีการรับสมัครตำแหน่งครูเพิ่มเพื่อให้เพียงพอต่อจำนวนเด็กที่เพิ่มมากขึ้น และมีการปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก
ประการสอง คือ อุดหนุนศูนย์เด็กเล็กที่อยู่นอกชุมชน มีศูนย์เด็กเล็กหลายศูนย์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนชุมชนและอุดหนุนในด้านต่าง ๆ เพิ่ม
ประการสาม คือ ขยายอายุเด็กแรกรับในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจากเดิม 2.5 ขวบ ไปเป็น 1.5 ขวบ หรือ 1 ขวบ
1.3 พัฒนาหลักสูตรและกายภาพให้ดีขึ้น
การเรียนรู้ให้สมวัยของเด็กอนุบาล คือ การเปลี่ยนหลักสูตร จากเดิมเน้นให้เขียน ให้รีบสอบ ซึ่งเด็กอยู่ในวัยที่จริง ๆ แล้วพัฒนาผ่านการเล่น แล้วก็จะทำหลักสูตร Play-Based Learning โดยใช้องค์ความรู้ EF: Execcutive Function ทักษะที่เด็กจะต้องมีให้สมวัยมาวัดทักษะ 3 อย่าง ได้แก่ 1.) ทักษะพื้นฐาน 2.) ทักษะปฏิบัติ 3.) ทักษะกำกับตนเอง
โดยในปัจจุบัน ทำใน 2 โรงเรียนนำร่อง คือ 1.) โรงเรียนวัดบางปะกอก 2.) โรงเรียนแถวหนองแขม และอีกทั้งโรงเรียนในหลาย ๆ พื้นที่ พบว่า EF เพิ่มสูงมากขึ้นจากการเรียนแบบเดิม และการนำทักษะใหม่เข้าไป
- 2. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.1 ห้องเรียนดิจิทัล (Digital Classroom) ในช่วงการระบาดโควิด – 19 หลายประเทศให้ความสำคัญทางด้านดิจิทัล ให้เด็กมีอุปกรณ์การเรียนรู้ ซึ่งการมีอุปกรณ์นี้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียนว่า การเรียนรู้ส่วนบุคคล Personal Life Learning เรียนตามจังหวะการเรียนของตนเอง ซึ่งการเรียนรู้ลักษณะนี้ได้มีการทดลองใน 1 เทอม 7 สาระวิชา พบว่าผลการเรียนแบบ Personal Life Learning ส่งผลให้เด็กมีผลการเรียนที่ดีขึ้น นักเรียนสามารถหาคำตอบในสิ่งที่สงสัยได้รวดเร็วเพราะเข้าถึงข้อมูลจะเร็วขึ้น ไม่ต้องรอครู มีสื่อการเรียนรู้ที่ตนเองสนใจ มีทักษะการลงมือทำด้วยตัวเองมากขึ้น สามารถทบทวนได้ทุกที่ทุกเวลา
– คอมพิวเตอร์ให้กับเด็ก ๆ มี Computer Lab ให้ เพื่อให้เด็กได้สื่อสาร ปัจจุบันมี 6 โรงเรียนที่ใช้แล้ว พบว่าผลการเรียนดีขึ้น และเด็กได้พูดมากขึ้น รวมถึงการใช้ดนตรี การนำเกมเข้ามาเป็นส่วนสร้างการเรียนรู้
– ดำเนินการเรื่อง Digital Transformation เป็นการลงทุนด้านดิจิทัลในเด็ก โดยการติด Wifi 100% ครอบคลุมทุกโรงเรียน รวม 4,719 จุด
– มีคอมพิวเตอร์ Notebook สำหรับการจัดห้องเรียนดิจิทัล และอบรมครูผู้เชี่ยวชาญดิจิทัลให้มีแผนการสอน / สื่อการสอนใหม่
2.1 หลักสูตรสมรรถนะ (Skill-based Learning) เป็นโครงการที่ร่วมกับ Starfish ไปศึกษาดูงาน เรียนรู้นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนปลาดาว ค้นพบการเรียนที่น่าสนใจ Knowledge Based ต่อยอดเป็น Skills Based หรือ Knowledge Skills Attitude โดยใช้กระบวนการของ Starfish ที่ให้เด็กได้ทดลองทำซ้ำ ๆ เพื่อเห็นจุดที่ต้องปรับปรุง ใช้ความเข้าใจของครูพัฒนาทักษะผู้เรียน
ผลสะท้อนของคะแนน PISA เด็กกทม. มีผลคะแนน PISA ที่ต่ำ เพราะการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีแต่ความรู้ (Knowledge) ที่นำไปประยุกต์ใช้จริงไม่ได้ ขาดการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ จึงได้นำการเรียนรู้ แบบ Maker Space มาปรับให้เป็นหลักสูตรของโรงเรียน กทม. ให้เป็นแบบ Maker Space จำนวน 35 โรงเรียน รวมถึงโรงเรียนบางพลัดที่ทำร่วมกับ Starfish และในอีก 24 โรงเรียนมีการเปลี่ยนหลักสูตรจาก 1,000 ชั่วโมง ลดเหลือ 800 ชั่วโมง การเรียนแบบเต็มตาราง 8 กลุ่มสาระ เหลือเพียง 3 กลุ่มสาระ และบูรณาการ 5 สาระวิชา สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กได้ทดลองในแต่ละภาคเรียน
2.2 การนำเด็กกลับสู่ระบบการศึกษา (Zero-Dropout) พื้นที่ กทม. มีเด็กที่หลุดออกนอกระบบการศึกษาประมาณ 130,000 กว่าคนไปแล้ว จาก 1,000,000 คน คิดเป็น 13 % จากทั่วประเทศ เป็นการทำงานเชิงรุก ออกค้นหาเด็ก เป็นครั้งแรกที่ กสศ. ได้มีการไปเอาข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์มาแมตช์กับข้อมูลสถานศึกษาแล้วก็ทราบข้อมูลของเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษาจำนวนเท่าไหร่ ฉะนั้น เราต้องหาช่องว่างของเด็กที่หายไป ทราบว่าเด็กส่วนใหญ่หายไปในช่วงปฐมวัย และหลังชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดย กทม. ใช้วิธีการให้ทุนเพิ่มเติมจากที่ กสศ. เป็นกองทุนที่ให้ทุนสนับสนุน
- 3.) การพัฒนาทักษะอาชีพ หรือการ Upskills/Reskills
ทักษะอาชีพนั้นไม่ใช่แค่สำหรับคนที่อยู่ในโรงเรียน แต่เป็นทักษะที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกัน กทม. มีโรงเรียนฝึกอาชีพ ที่กำลังพัฒนาไปสู่ Skills credits ให้เงินอุดหนุนรายหัว (Subsidy) รายหัวกับผู้เรียนเพื่อไปเลือกเรียนหลักสูตร ที่สนใจตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดย กทม. เป็นผู้รับรองหลักสูตร
การเพิ่มความสามารถให้กับชุมชนรอบเขต กทม. ที่มีผู้อาศัยอยู่อย่างน้อย 2 ล้านคน ทำเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ อย่างเช่น ให้ชุมชนเป็นเจ้าของข้อมูล เป็นอาสาสมัครเทคโนโลยีประจำชุมชน
- 4.) การส่งเสริมการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา
การส่งเสริมการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลานั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีสาธารณูปโภคที่ดี ด้วย กทม. เป็นเจ้าของพื้นที่ จึงเน้นการปรับปรุงสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ห้องสมุด ศูนย์นันทนาการ ศูนย์กีฬา พิพิธภัณฑ์ ร้านหนังสืออิสระ เราจะทำอย่างไรให้พื้นที่ดังกล่าวเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพมากขึ้น
ปัจจุบัน กทม. ได้ทำความร่วมมือกับทางยูเนสโก (UNESCO) ในการทำงานที่เน้น 3 เขตพื้นที่ใน กทม. คือ เขตคลองเตย เขตปทุมวัน และเขตพระนคร โดยเขตคลองเตยและเขตปทุมวัน ดำเนินการร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ส่วนเขตพระนครดำเนินการร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) อีกทั้ง กทม. ได้มีการทำงานร่วมกับหลายภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ที่ส่งเสริม ให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่ทุกช่วงวัยสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ปัจจุบัน กทม. ได้ทำความร่วมมือกับทางยูเนสโก (UNESCO) ในการทำงานที่เน้น 3 เขตพื้นที่ใน กทม. คือ เขตคลองเตย เขตปทุมวัน และเขตพระนคร โดยเขตคลองเตยและเขตปทุมวัน ดำเนินการร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ส่วนเขตพระนครดำเนินการร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) อีกทั้ง กทม. ได้มีการทำงานร่วมกับหลายภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ที่ส่งเสริม ให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่ทุกช่วงวัยสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
2,224
Writer
- Admin I AM KRU.