“ไข่คลุกข้าว ข้าวมันไก่ น้ำปลาพริก ฯ” อ่านแล้วได้อะไร มาส่งเสริมทักษะการอ่านพื้นฐาน สู่ทักษะการอ่านขั้นสูงเพื่อการคิดวิเคราะห์

ดราม่าจากตำราเรียน ประเด็นเรื่อง ไข่คลุกข้าว ข้าวมันไก่ น้ำปลาพริก ฯ เราอ่านแล้วได้อะไร มาร่วมส่งเสริมทักษะการอ่านพื้นฐาน สู่ทักษะการอ่านขั้นสูงเพื่อการคิดวิเคราะห์

Share on

 414 

รูปแบบตำราเรียนในปัจจุบันส่วนใหญ่มักเป็นบทเรียนสำเร็จรูปบรรจุในสาระวิชาประเภทต่าง ๆ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่พิมพ์ซ้ำและมักไม่ได้ปรับปรุงเนื้อหาในเข้ากับสถานการณ์หรือบริบทของสังคมในยุคปัจจุบัน และด้วยเงื่อนไขบางอย่างทำให้การแก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดที่ตีพิมพ์ในตำราเรียนเป็นเรื่องยาก ทำให้เยาวชนต้องเรียนเนื้อหาบางเรื่องที่ไม่เข้ากับบริบทสังคม หรือบทเรียนที่เนื้อหาไม่เหมาะสมไปเป็นเวลานานอีกหลาย ๆ ปี 

เมื่อเกิดเป็นครูต้องสอนตามแบบเรียน  เราแก้เนื้อหาเหล่านั้นไม่ได้ก็จริง แต่เราสามารถนำพานักเรียนพัฒนาสู่ทักษะการการอ่านขั้นสูงด้วยการตีความเนื้อหาสู่มิติต่างๆทางสังคมได้   หรือแม้แต่คิดกิจกรรมเสริมการอ่าน ด้วยการชวนเด็กๆใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการสร้างเรื่องราวชีวิตใหม่ของตัวละครในตำราได้ 

ซึ่งทักษะการอ่านมีรูปแบบและลำดับขั้นนั้นมีอะไรบ้าง

1. การอ่านจับใจความ 

เป็นการอ่านอย่างละเอียดเพื่อเก็บแนวคิด หรือสรุปสาระสำคัญของเรื่อง โดยมีหลักสำคัญของการอ่านจับใจความ คือการแยกใจความที่จับจากคำสำคัญ (keyword) ที่ปรากฏในเนื้อหา

หลักการ

1. สังเกตส่วนประกอบของงานเขียน เช่น ชื่อเรื่อง คำนำ วัตถุประสงค์ ของผู้เขียนว่าเป็นงานเกี่ยวกับอะไร และเขียนเพื่ออะไร

2. วิเคราะห์จุดประสงค์งานเขียน

3. จัดลำดับเนื้อหาใหม่ตามความสำคัญ เพื่อดูความเชื่อมโยง

4. ใช้การตั้งคำถามกว้าง ๆ ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และทำไม  เพื่อหาความสัมพันธ์ของการดำเนินเรื่อง

2. การอ่านตีความ

เป็นทักษะอีกลำดับขั้นเป็นการอ่านที่ผู้อ่านจะต้องใช้สติปัญญาตีความหมายของคำและข้อความ โดยพิจารณาถึงความหมายแฝงที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ โดยอาศัยเนื้อหาแวดล้อม ความรู้ ประสบการณ์ โดยอาศัยบริบท น้ำเสียงของผู้เขียน เจตคติ ภูมิหลังของเหตุการณ์ประกอบด้วยเป็นตัวช่วยในตีความเนื้อหาให้ตรงตามจุดประสงค์ของผู้เขียนที่ต้องการสื่อ 

หลักการ

1. อ่านเรื่องให้ละเอียด จับประเด็นสำคัญ 

2. หาเหตุผลอย่างรอบคอบเพื่อพิจารณาว่ามีความหมายถึงสิ่งใด

3. ทำความเข้าใจกับเนื้อความที่ได้จากการตีความ

4. เรียบเรียงเนื้อความให้มีความหมายชัดเจน มีเหตุมีผล

3. การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นการอ่านระดับสูงที่ต้องใช้สติปัญญาใคร่ครวญ และพิจารณาสิ่งที่อ่านอย่างรอบคอบ สรุปสาระสำคัญที่เป็นทั้งความหมายโดยนัย อารมณ์ จุดประสงค์ โดยผู้อ่านสามารถแยกแยะข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น เพื่อตัดสินประเมินค่า สิ่งที่อ่านได้อย่างถูกต้อง ทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ผู้อ่านรู้จักวิเคราะห์ ตรวจสอบ และเลือกรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกออนไลน์ที่ล้นไปด้วยข้อมูล

หลักการ

1. จับความหมายของคำ ข้อความ หรือประโยค

2. สรุปมโนทัศน์ของเรื่อง เรียงลำดับเหตุการณ์และเล่าเรื่องได้

3. วิเคราะห์แยกแยะรายละเอียดของเนื้อเรื่อง

4. แยกแยะข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็นและความรู้สึก

5. ประเมินค่า พิจารณาตัดสินข้อเท็จจริงรวมทั้งคุณค่าเหตุผล

4. การอ่านเชิงวิเคราะห์ 

การอ่านชนิดนี้เป็นการอ่านเพื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เป็นการแยกแยะทำความเข้าใจองค์ประกอบหรือโครงสร้างของหนังสือแต่ละประเภท

หลักการ

1. ศึกษารูปแบบของงานเขียนว่าเป็นรูปแบบใด

2. ถอดเนื้อเรื่อง ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และเมื่อไร

3. พิจารณาเนื้อหาแต่ละส่วนให้ละเอียดว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง

4. พิจารณากลวิธีในการนำเสนอ

การอ่านเพื่อประเมินคุณค่า

เป็นการอ่าน เพื่ออธิบายลักษณะของงานเขียนหรือสารที่อ่านว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร มีคุณค่าหรือมีข้อบกพร่องอย่างไร ซึ่งมีวิธีการประเมินค่าการอ่านนั้นประกอบด้วย 4 ด้าน 

  • ด้านวรรณศิลป์ ใช้คำที่สละสลวยเหมาะสม
  • ด้านเนื้อหา มีสาระเป็นข้อเท็จจริง
  • ด้านสังคม มีเนื้อหาตามสภาพสังคม
  • ได้ข้อคิดที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตของผู้อ่านได้

หลักการ

1. พิจารณาความถูกต้องของภาษา

2. พิจารณาความต่อเนื่องของประโยค สอดคล้อง ไม่ขัดแย้งกัน

3. พิจารณาความต่อเนื่องของความหมาย

4. เมื่ออ่านแล้วต้องแยกข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็น และความรู้สึกได้ 

หรือ ชวนไปถึงการสร้างสรรค์วรรณกรรม ด้วยกิจกรรมการอ่านแบบสร้างสรรค์

  1. ชวนเด็กสร้างสรรค์ ด้วยคำว่า “ถ้า”  เช่น   ถ้าเป็นเรา ถ้าเรามีเงิน ถ้าเราไม่มีเงิน ถ้าเราเลือกได้ ถ้าเราทำอาหาร ถ้าไม่ใช่น้ำปลา 
  2. ชวนตีความจากสถานการณ์ของตัวละครในเรื่องว่า ทำไมเขาถึงพอใจในไข่ต้ม และ น้ำปลา 
  3. ชวนเปลี่ยนเรื่องราวในชีวิตใหม่ ถ้าเราอยากกินอาหารที่ดี มีประโยชน์ เราต้องทำอย่างไร 
  4. ชวนเปลี่ยนเรื่องให้มีประโยชน์ต่อต่อสุขภาพ เช่น เราไม่กินน้ำปลาเพื่อป้องกันโรคไตได้ไหม  เราจะกินอะไรกับไข่ต้มได้บ้าง 

ฯลฯ 

ถึงแม้ว่าบทเรียนบางเล่มอาจจะไม่ทันสมัย แต่สังคมการศึกษาเปลี่ยนแปลงไปแล้ว สังคมเปิดกว้างให้ครูได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์  ถ้าเรามีคำถามกับบทเรียนที่เราสอน หรือแม้แต่ที่มาของบทเรียน เราสามารถสร้างสรรค์ หรือชวนเด็กตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบ เราอาจจะได้บทเรียนมากกว่าในตำราและสร้างสรรค์การเรียนรู้ให้ทันสมัยได้มากกว่ามหาศาล

ขอขอบคุณข้อมูล: 

– ทักษะชีวิตที่สร้างด้วยแบบเรียนนอกตำราเด็กจะต้องเรียนรู้อย่างมีวิจารณญาณ

https://d.dailynews.co.th/education/211743/

-ประเภทของการอ่าน

http://mmuthita.blogspot.com/p/blog-page_64.html

-ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยในการอ่าน

https://creamr-yim.wixsite.com/thai/—————–c8h4

-การประเมินคุณค่าหรือแนวคิดที่ได้จากการอ่าน

https://bit.ly/3oyJCeN

-ใบความรู้เรื่อง การอ่านประเมินคุณค่าเรื่องคุณค่าวรรณกรรม รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า