ห้องแนวปฏิบัติที่ดีด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

Share on

 663 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ระบบ Q-Info “กระบวนการจัดเก็บข้อมูล” ที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินงานของครูและบุคลากรด้านการศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านการทดสอบกระบวนการที่สอดคล้องกับการทำงานประจำวัน (Daily Tasks) ของครูและโรงเรียน ซึ่งเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีการศึกษา เป็นข้อมูลที่มีการดำเนินการตลอดปีการศึกษาและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ Q-Info จึงเป็นเครื่องมือพื้นฐานทางข้อมูลสารสนเทศ (Informational infrastructure) เพื่อการพัฒนาโรงเรียนในระยะยาว

กลุ่มเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร 

เริ่มต้นสรุปเรื่องมาตรฐานการทำงานของระบบ Q-Info 5 ขั้นตอน 

  • ทำรายงาน ปพ5 ให้ผู้อำนวยการเซ็นได้เลย 
  • ขาด ลา มา สาย เพื่อพิจารณา 
  • ทำรายงาน ปพ5 ให้ผู้อำนวยการเซ็นได้เลย 
  • เชื่อมโยงไปใช้งานกับฐานข้อมูลอื่น ๆ ได้ง่าย สามารถ Export และ Updoad ต่อเนื่องได้เลย 
  • ผู้ปกครอง มี Q Parent สามารถตรวจเวลามาเรียน ผลการเรียนของลูกได้ 

Q-Info

  1. รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

รู้จักข้อมูลเด็กให้มากที่สุด ผ่านการสอบถามพูดคุยนักเรียนให้มากที่สุด ออกเยี่ยมบ้าน 100% รู้จักสภาพความเป็นอยู่ เพื่อหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเด็กให้มากที่สุด

  1. คัดกรองนักเรียน ส่วนใหญ่ใช้แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน (Strengths and Difficulties Questionnaire: SDQ) และ การคัดกรองนักเรียนยากจน (Conditional Cash-transfer : CCT) ของกองทุนเสมอภาคทางการศึกษา ที่เมื่อกรอก Q-Info ข้อมูลจะไปขึ้นที่ CCT โดยอัตโนมัติคัดกรองสติปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)  และระบบ Q Info ในการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center) ของสพฐ. เพื่อคัดกรองเด็กเข้ารับทุนการศึกษา เงินช่วยเหลือประเภทต่าง ๆ ทั้งจากของ กสศ. ท้องที่ และทุนของเอกชน 
  • ทำรายงาน ปพ5 ให้ผู้อำนวยการเซ็นได้เลย 
  • ขาด ลา มา สาย เพื่อพิจารณา 
  • ทำรายงาน ปพ5 ให้ผู้อำนวยการเซ็นได้เลย 
  • เชื่อมโยงไปใช้งานกับฐานข้อมูลอื่น ๆ ได้ง่าย สามารถ Export และ Updoad ต่อเนื่องได้เลย 
  • ผู้ปกครอง มี Q Parent สามารถตรวจเวลามาเรียน ผลการเรียนของลูกได้ 
  1.  การส่งเสริมนักเรียน
  • แบ่งทักษะตามความถนัด วิชาการ ทักษะทางศิลปะและการแสดงออก  
  • การประชุมผู้ปกครอง ทำความเข้าใจผู้ปกครอง 
  • เครือข่ายชั้นเรียน ช่วยสอดส่อง ช่วยติดตามเด็กที่ไม่มาเรียนได้
  1. การป้องกันแก้ไขปัญหา
  • ใช้การโฮมรูม  
  • TSQP  
  • จิตศึกษา เปลี่ยนครู ทำให้เด็กกล้าคุยกับครูทุกเรื่อง
  • PLC ทำให้ครูเข้าหาและแลกเปลี่ยนเพื่อแก้ปัญหาเด็ก 
  1. การส่งต่อเด็กกับหน่วยงานเพื่อช่วยเหลือ พาไปรักษาอาการเจ็บป่วยหรือเรื้อรัง หรือขอทุนจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อสนับสนุนครอบครัวเด็ก (พม.) ที่ทุกจังหวัดมีอยู่แล้ว

กลุ่มโรงเรียนเขตพื้นที่พิษณุโลก – เพชรบูรณ์

ระบบดูแลช่วยเหลือ 360 องศา

ยกเคสตัวอย่างช่วยทำให้เด็กที่หลุดจากการศึกษาในช่วงโควิดในช่วง 2 ปี เด็กนักเรียนชั้น ป.3 ที่หลุดจากระบบการศึกษาไป 2 ปี กลายเป็นเด็กเร่ร่อนให้กลับมาเรียนโดยผ่าน 5 ขั้นตอน Q-Info และใช้ระบบดูแลช่วยเหลือ 360 องศา เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กกลับเข้ามาสู่ระบบการศึกษา

ระบบดูแลช่วยเหลือ 360 องศา

อิ่มใจ – จิตศึกษา / เพื่อนช่วยเพื่อน 

อิ่มสมอง – กระบวนการจัดการศึกษาวิชาการและความถนัด

อิ่มท้อง – ช่วยเหลือผ่านการคัดกรอง ส่งเสริมการพัฒนาร่างกาย 

นอกจากการช่วยเหลือแล้วคุณครูต้องทำสิ่งเหล่านี้ควบคู่กันไปด้วย 

  • ครูประจำชั้นคัดกรองเด็ก ถ้าเด็กมีปัญหาต้องไปติดตาม ไปเยี่ยมบ้าน และกรอกข้อมูล CCT 

เราต้องทำให้เด็กด้อยโอกาส ได้รับโอกาสและการดูแลเพื่อให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

  • ความรักความเอาใจใส่ และการทำงานเชิงรุก (ทีมเคลื่อนที่เร็ว)
  • ระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพ 
  • ส่งเสริมพัฒนา กระบวนการจัดการเรียนรู้ ตามทักษะและความถนัด 
  • ส่งต่อหน่วยงานที่ช่วยเหลือในด้านจิตใจ เช่นบ้านพักเด็ก หรือหน่วยงานที่สามารถสนับสนุนสิ่งที่เด็กขาดแคลนได้ หรือประสานงานหลายฝ่ายเพื่อช่วยเหลือเด็กให้กลับเข้าระบบ

สิ่งที่นำเสนอได้ส่งต่อเป็นนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการที่ดีของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น

กลุ่มโรงเรียนพิษณุโลก เขต 1 เขต 2 เขต 3 

นำเสนอรูปแบบหรือการตอบสนองต่อการให้ความช่วยเหลือ (Responsiveness to Intervention : RTI) หรือการตอบสนองต่อการให้ความช่วยเหลือ RTI 3 ระยะ 

Tier 1 การสอนปกติของเด็กในห้องเรียน เทคนิคหลากหลาย วัดผลเป็นระยะ

Tier 2 กลุ่มที่เด็กเรียนรู้ไม่เท่าทันเพื่อนการสอนแยกกลุ่ม นำมาสอนทีหลัง

Tier 3 การสอนรายบุคคล (กลุ่มเสี่ยง)

มีการใช้ Demo CCT ได้รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและช่วยให้รู้ข้อมูลมากขึ้น Q-Info ของ โรงเรียนวัดปากพิงตะวันตก นั้นเพิ่มในส่วนเรื่องของการใช้จิตวิทยาเชิงบวกสร้างพื้นที่ที่เป็น Safe zone ของนักเรียน

สิ่งที่กลุ่มนำเสนออยากพัฒนาในระบบช่วยเหลือดูแลนักเรียน 

– การสร้างเครือข่าย

– อยากให้มีกระบวนการส่งต่อบุคลากรรุ่นต่อไป (สำหรับครูที่มารับช่วงงานต่อ) 

– ภาระงานที่เกินกว่าที่จะช่วยเหลือนักเรียนได้

– พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานในระบบนี้สำหรับครูประจำชั้น

กลุ่มเครือข่ายนครสวรรค์ 

ได้นำเสนอเพิ่มเติมในส่วนที่น่าสนใจในด้านการคัดกรองแยกเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม ใช้แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน (Strengths and Difficulties Questionnaire: SDQ) เพื่อทำให้การสามารถบริหารจัดการเรียนการสอนได้ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการเรียนรู้ 

  1. เด็กพิเศษและเด็กมีความสามารถ
  • เด็กพิเศษจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Program: IIP) 
  • เด็กที่มีความสามารถเฉพาะด้านจะใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) 
  1. เด็กปกติ – จัดการเรียนการสอนและหาจุดแข็งเพื่อส่งเสริม
  2. เด็กเสี่ยง – จัดค่ายคุณธรรม / จริยธรรม 

รับชม Live เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

“จากเวทีมหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนพัฒนาตนเองระดับพื้นที่ ครั้งที่ 1” ได้ที่

https://fb.watch/mhX1Fd3NiP/

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า